ปล่อยภาพมาให้งุนงงกันชุดใหญ่ สำหรับภาพกลุ่มชายลักษณะคล้าย 'นักโทษ' ถูกจองจำอยู่ในกรงขังแห่งหนึ่ง หลังทำการโพสต์ภาพส่วนตัว บรรยากาศอึมครึมใต้แสงไฟสลัว ซึ่งด้านหลังเผยให้กรงเหล็กขนาดใหญ่ที่กั้นพวกเขาออกจากอิสรภาพ ทั้งยังมีการโพสต์ข้อความตอบโต้กับเพื่อนในเฟซฯ ทำนองว่า.. จะออกจากคุกเร็วๆ นี้
ทีมข่าว Astv ผู้จัดการ Live สำรวจผ่านเฟซบุ๊กชื่อว่า Jittachok Jza และ ดีกกว่านี้ก็ เทวดา พบภาพชายฉกรรจ์ประมาณ 3-4 คน ร่วมเฟรมถ่ายภาพด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม และมีการโพสต์ข้อความเชิงก่นด่าว่าสถานที่ที่พวกตนอยู่นั้นยุงเยอะ
อย่างไรก็ตาม ทีมข่าวฯ ต่อสายตรงไปยัง วิทยา สุริยะวงศ์ อธิบดีราชทัณฑ์ แต่ท่านไม่สะดวกให้สัมภาษณ์ในประเด็นดังกล่าวเพราะกำลังติดประชุมอยู่ (ข้อมูล ณ เวลา17.42 น. วันที่ 15 ก.ย. 57)
ประเด็นดังกล่าว หากบุคคลในภาพเป็นกลุ่มนักโทษจริงอย่างที่มีการตั้งข้อสันนิษฐาน ทางหน่วยงานราชทัณฑ์จะดำเนินการจัดการกับผู้เกี่ยวข้องอย่างไร สิทธิในการใช้งานโทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นสิทธิที่กลุ่มคนที่ถูกจองจำนั้นสมควรได้รับหรือไม่
ดร.วิษณุ บุญมารัตน์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง อธิบายถึงการใช้งานโทรศัพท์มือถือของกลุ่มผู้ต้องหาในเรือนจำว่า โดยปกติต้องอยู่ในสายตาผู้คุมฯ อย่างเข้มงวด และขึ้นชื่อว่าเป็น 'นักโทษ' พวกเขาต้องถูกจำกัดสิทธิในหลายๆ อย่างเป็นธรรมดา แต่ภาพลักษณะชายฉกรรจ์ลักษณะคล้ายนักโทษที่ถูกโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวนั้นทำให้เกิดข้อกังขาถึงระบบกระบวนการยุติธรรม
“คนในเรือนจำจะต้องควบคุมนะครับ เพราะว่าภาพที่มันออกไปหมายถึงประสิทธิภาพของหน่วยงาน ขนาดโทรศัพท์เขายังเอาเข้ามาได้ มันก็สะท้อนว่ามันจะต้องมีในเรื่องของยาเสพติด อาวุธ สิ่งที่ผิดกฎหมายหลายเข้าไปข้างใน การที่โพสต์ไปอย่างนั้นสังคมก็จะมองว่าคุกไม่เคยลงโทษคนผิดเลย ก็เหมือนเป็นที่พักร้อนของคนทำผิดเท่านั้นเอง ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ใช้กฎหมายไม่สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์”
เบื้องลึกเบื้องหลังในเรือนจำของประเทศไทยนั้นยังมีเรื่องหมกเม็ดอยู่มาก ดังที่เป็นข่าวเป็นระยะๆ ว่าพบสิ่งของแปลกปลอมในเรือนจำ จนผู้คุมฯ หลายๆ คนถูกลงโทษด้วยการสั่งย้าย ซึ่งในประเด็นนี้ หากมีการสืบสวนสอบสวนผู้บัญชาการเรือนจำจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบแบบเลี่ยงไม่ได้ ดร.วิษณุ แสดงทัศนะว่ากรณีนี้ยังถือเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะเรื่องผลประโยชน์ในเรือนจำนั้นยังมีอีกหลายประเด็นที่คนวงในเลือกจะไม่พูดถึง
“ในเรือนจำยังมีปัญหาอีกมาก ทุกวันนี้เวลาเจ้าหน้าที่น เข้าไปกวาดล้างเราจะเห็นปัญหาทุกอย่างเลย ตรวจพบยาเสพติดตรวจพบอาวุธ ก็จะคิดเป็นอย่างอื่นไม่ได้คนก็รู้ทันทีว่าเจ้าหน้าที่ในเรือนจำน่าจะรู้เห็นเป็นใจ ทางออกก็คือต้องมีมาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ทำผิด แล้วก็มีในลักษณะของคณะกรรมการภายนอกตรวจสอบอีกทีหนึ่งเพื่อถ่วงดุลอำนาจของเจ้าหน้าที่ในเรือนจำ ถ้าไม่อย่างนั้น ปัญหาก็จะซ้ำๆ เดิมๆ เพราะไม่อย่างนั้นเราก็จะแก้ปัญหาไม่จบ เพราะเราไม่ได้แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นไปได้อนาคตอาจจะเจอมากกว่านั้นอีก อาจจะเอาผู้หญิงไปค้าประเวณีในเรือนจำ เพราะว่าความหละหลวมของเจ้าหน้าที่”
CR:
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000106105
มาร์ค ซักเกอร์เบริ์กอึ้ง! นักโทษไทยสุดไฮเทค เล่นเฟซฯผ่านกรงขัง
ปล่อยภาพมาให้งุนงงกันชุดใหญ่ สำหรับภาพกลุ่มชายลักษณะคล้าย 'นักโทษ' ถูกจองจำอยู่ในกรงขังแห่งหนึ่ง หลังทำการโพสต์ภาพส่วนตัว บรรยากาศอึมครึมใต้แสงไฟสลัว ซึ่งด้านหลังเผยให้กรงเหล็กขนาดใหญ่ที่กั้นพวกเขาออกจากอิสรภาพ ทั้งยังมีการโพสต์ข้อความตอบโต้กับเพื่อนในเฟซฯ ทำนองว่า.. จะออกจากคุกเร็วๆ นี้
ทีมข่าว Astv ผู้จัดการ Live สำรวจผ่านเฟซบุ๊กชื่อว่า Jittachok Jza และ ดีกกว่านี้ก็ เทวดา พบภาพชายฉกรรจ์ประมาณ 3-4 คน ร่วมเฟรมถ่ายภาพด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม และมีการโพสต์ข้อความเชิงก่นด่าว่าสถานที่ที่พวกตนอยู่นั้นยุงเยอะ
อย่างไรก็ตาม ทีมข่าวฯ ต่อสายตรงไปยัง วิทยา สุริยะวงศ์ อธิบดีราชทัณฑ์ แต่ท่านไม่สะดวกให้สัมภาษณ์ในประเด็นดังกล่าวเพราะกำลังติดประชุมอยู่ (ข้อมูล ณ เวลา17.42 น. วันที่ 15 ก.ย. 57)
ประเด็นดังกล่าว หากบุคคลในภาพเป็นกลุ่มนักโทษจริงอย่างที่มีการตั้งข้อสันนิษฐาน ทางหน่วยงานราชทัณฑ์จะดำเนินการจัดการกับผู้เกี่ยวข้องอย่างไร สิทธิในการใช้งานโทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นสิทธิที่กลุ่มคนที่ถูกจองจำนั้นสมควรได้รับหรือไม่
ดร.วิษณุ บุญมารัตน์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง อธิบายถึงการใช้งานโทรศัพท์มือถือของกลุ่มผู้ต้องหาในเรือนจำว่า โดยปกติต้องอยู่ในสายตาผู้คุมฯ อย่างเข้มงวด และขึ้นชื่อว่าเป็น 'นักโทษ' พวกเขาต้องถูกจำกัดสิทธิในหลายๆ อย่างเป็นธรรมดา แต่ภาพลักษณะชายฉกรรจ์ลักษณะคล้ายนักโทษที่ถูกโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวนั้นทำให้เกิดข้อกังขาถึงระบบกระบวนการยุติธรรม
“คนในเรือนจำจะต้องควบคุมนะครับ เพราะว่าภาพที่มันออกไปหมายถึงประสิทธิภาพของหน่วยงาน ขนาดโทรศัพท์เขายังเอาเข้ามาได้ มันก็สะท้อนว่ามันจะต้องมีในเรื่องของยาเสพติด อาวุธ สิ่งที่ผิดกฎหมายหลายเข้าไปข้างใน การที่โพสต์ไปอย่างนั้นสังคมก็จะมองว่าคุกไม่เคยลงโทษคนผิดเลย ก็เหมือนเป็นที่พักร้อนของคนทำผิดเท่านั้นเอง ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ใช้กฎหมายไม่สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์”
เบื้องลึกเบื้องหลังในเรือนจำของประเทศไทยนั้นยังมีเรื่องหมกเม็ดอยู่มาก ดังที่เป็นข่าวเป็นระยะๆ ว่าพบสิ่งของแปลกปลอมในเรือนจำ จนผู้คุมฯ หลายๆ คนถูกลงโทษด้วยการสั่งย้าย ซึ่งในประเด็นนี้ หากมีการสืบสวนสอบสวนผู้บัญชาการเรือนจำจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบแบบเลี่ยงไม่ได้ ดร.วิษณุ แสดงทัศนะว่ากรณีนี้ยังถือเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะเรื่องผลประโยชน์ในเรือนจำนั้นยังมีอีกหลายประเด็นที่คนวงในเลือกจะไม่พูดถึง
“ในเรือนจำยังมีปัญหาอีกมาก ทุกวันนี้เวลาเจ้าหน้าที่น เข้าไปกวาดล้างเราจะเห็นปัญหาทุกอย่างเลย ตรวจพบยาเสพติดตรวจพบอาวุธ ก็จะคิดเป็นอย่างอื่นไม่ได้คนก็รู้ทันทีว่าเจ้าหน้าที่ในเรือนจำน่าจะรู้เห็นเป็นใจ ทางออกก็คือต้องมีมาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ทำผิด แล้วก็มีในลักษณะของคณะกรรมการภายนอกตรวจสอบอีกทีหนึ่งเพื่อถ่วงดุลอำนาจของเจ้าหน้าที่ในเรือนจำ ถ้าไม่อย่างนั้น ปัญหาก็จะซ้ำๆ เดิมๆ เพราะไม่อย่างนั้นเราก็จะแก้ปัญหาไม่จบ เพราะเราไม่ได้แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นไปได้อนาคตอาจจะเจอมากกว่านั้นอีก อาจจะเอาผู้หญิงไปค้าประเวณีในเรือนจำ เพราะว่าความหละหลวมของเจ้าหน้าที่”
CR: http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000106105