ย้อนรอย 10 เมษา 53 เหตุเกิดที่แยก′คอกวัว′ เขียนด้วยเลือดเนื้อคนไทย
เมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ นำโดย พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ว่าที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แถลงจับกุม 5 ผู้ต้องสงสัยที่คาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรง 10 เมษายน 2553 บริเวณถนนตะนาว สี่แยกคอกวัว ประกอบไปด้วย นายกิตติศักดิ์ หรือ อ้วน สุ่มศรี, นายปรีชา หรือ ไก่เตี้ย อยู่เย็น, นายรณฤทธิ์ หรือ นะ สุริชา, นายชำนาญ หรือ เล็ก ภาคีฉาย และนางปุณิกา หรือ อร ชูศรี
โดยกล่าวหาว่าทั้งหมดคือ "ชายชุดดำ" ที่ปฏิบัติภารกิจที่ถนนตะนาว สี่แยกคอกวัว และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการเสียชีวิตของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่บริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยาและนำไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพเมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา
พลิกหนังสือ "ความจริงเพื่อความยุติธรรม เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53" ที่จัดทำโดย ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) ซึ่งถือว่ารวบรวมหลักฐานข่าวสารและตามสัมภาษณ์ผู้อยู่ในเหตุการณ์บันทึกไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วนมากที่สุด
วันที่ 10 เมษายน 2553 รัฐบาลโดย ศอฉ. ได้สั่งปฏิบัติการ "ขอคืนพื้นที่" มีการปะทะกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงบ่าย ระหว่างผู้ชุมนุม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. และทหาร ตั้งแต่หน้ากองทัพภาคที่ 1 ถนนราชดำเนิน จนมาถึงถนนราชดำเนินใน
บ่ายวันที่ 10 เมษายน มีผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บจากกระสุนจริง 2 ราย หนึ่งในนั้นเสียชีวิตในเวลาต่อมาคือ "นายเกรียงไกร คำน้อย" โดนยิงที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งต่อมาศาลได้มีคำสั่งว่าเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากกระสุนที่มาจากทางฝั่งทหาร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2557
นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ด้วยผลของการใช้แก๊สน้ำตาอีก 2 ราย คือ นายอนันต์ ชินสงคราม และ นายมนต์ชัย แซ่จอง
ในช่วงเย็น มีการเพิ่มกำลังทหารที่สะพานผ่านฟ้า และถนนดินสอหน้าโรงเรียนสตรีวิทย์
ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว หลังจากสิ้นเสียงเพลงธงชาติในเวลา 18.00 น. วันเดียวกัน ทหารได้ตั้งแถวเตรียมเข้าปะทะกับผู้ชุมนุมอีกครั้ง ทิ้งระยะห่างไว้กับผู้ชุมนุมบริเวณใกล้แยกคอกวัว ประมาณ 10-15 เมตร
เวลา 19.00 น. ท้องฟ้ามืดลง ทหารเดินแถวเข้าหา พร้อมกับขว้างแก๊สน้ำตาและยิงกระสุนยางเข้าใส่ผู้ชุมนุม รวมทั้งมีการยิงปืนขึ้นฟ้าเป็นระยะ ทางด้านผู้ชุมนุมได้โต้ตอบกลับด้วยการขว้างปาสิ่งของ ไม้ ก้อนอิฐ ใส่ทหารที่รุกคืบเข้ามา
มีการปะทะเกิดขึ้น มีกลุ่มควันปรากฏด้านหน้ากลุ่มผู้ชุมนุม และมีเสียงปืน เสียงคล้ายระเบิดดังต่อเนื่องตลอดเวลา จนทหารสามารถผลักดันผู้ชุมนุมมาถึงบริเวณแยกคอกวัว แต่ด้วยทิศทางของ "ลม" ที่พัดแก๊สนํ้าตาย้อนกลับไปทางฝั่งทหาร ทําให้เจ้าหน้าที่ทหารต้องถอยร่นกลับเข้าไปในถนนตะนาว
เวลาประมาณ 19.25 น. ทหารเริ่มรุกคืบอีกครั้ง แต่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ฉีดนํ้ายาดับเพลิงเข้าใส่จนฝ่ายทหารต้องถอยเข้าไปบริเวณปากทางถนนข้าวสาร ผู้ชุมนุมจึงสามารถเข้ามาตั้งแนวภายในถนนตะนาว ท่ามกลางเสียงปืนที่ยังดังเป็นระลอก
ฝ่ายผู้ชุมนุมเมื่อรุกเข้าไปได้ก็เริ่มมีการขว้างปาสิ่งของเข้าใส่ทหารเป็นระยะๆ รวมไปถึง "ระเบิดเพลิง"
เวลา 19.30 น. ฝ่ายทหารได้ประกาศให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเดินทางกลับ จากนั้นได้เริ่มเดินหน้าเข้าหาผู้ชุมนุม เริ่มใช้แก๊สน้ำตา กระสุนยาง และกระสุนจริงยิงขึ้นฟ้า ท่ามกลางการปะทะกันและเสียงปืนที่ดังต่อเนื่อง
ในช่วงเวลานี้มีผู้ชุมนุมเสียชีวิตอีก 1 ราย คือ นายบุญจันทร์ ไหมประเสริฐ โดยถูกยิงบริเวณหน้าแมคโดนัลด์ ใกล้โรงเรียนสตรีวิทยา
จากนั้นได้มีเสียงระเบิดดังขึ้น 2 ครั้งที่ฝั่งทหาร บริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ส่งผลทำให้ทหารต้องถอยไปยังบริเวณสะพานวันชาติ จากการระเบิดในครั้งนี้ ได้ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และเสียชีวิต 5 นาย คือ 1.พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม 2.ร.อ.ภูริวัฒน์ ประพันธ์ 3.ร.ท.อนุพงษ์ เมืองอำพัน 4.ร.ต.สิงหา อ่อนทรง 5.ร.อ.อนุพนธ์ หอมมาลี
ในเวลาเดียวกันได้มีการส่งผู้บาดเจ็บที่เป็น นปช.และประชาชนจำนวน 11 คน จากการปะทะที่สี่แยกคอกวัวเข้าโรงพยาบาลกลาง และต่อมาเวลา 19.40 น. ได้มีรายงานผู้ถูกยิงที่แยกคอกวัว บางคนเสียชีวิตทันที บางคนเจ็บหนักและไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
ผู้เสียชีวิตจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนจำนวน 9 ราย ในช่วงเวลาประมาณ 19.00-20.30 น. คือ 1.นายธวัฒนะชัย กลัดสุข 2.นายไพรศล ทิพย์ลม 3.นายอำพน ตติยรัตน์ 4.นายอนันต์ สิริกุลวาณิชย์ 5.นายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ 6.นายสวาท วางาม 7.นายบุญธรรม ทองผุย 8.นายสมิง แตงเพชร 9.นายสมศักดิ์ แก้วสาร
เวลา 20.00 น.เศษ หนังสือระบุว่า "ชายชุดดํา" ปรากฏกายเข้ามาที่บริเวณสี่แยกคอกวัวพร้อมอาวุธสงคราม จากนั้นได้เริ่มยิงไปยังทางฝั่งทหาร จนเจ้าหน้าที่ทหารได้ถอยร่นไปทางย่านบางลำพูโดยภาพจากกล้อง CCTV ได้ระบุเวลาว่า รถตู้ที่ได้นำชายชุดดำไปที่สี่แยกคอกวัว ได้ขับผ่านบริเวณสี่กั๊กพระยาศรี ในเวลา 20.19 น. และรับกลุ่มชายชุดดำกลับไปในเวลา 21.01 น.
ส่วนฟากฝั่งบริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา เวลา 19.15 น. ได้มีผู้ชุมนุมพร้อมเครื่องขยายเสียงจากเวทีราชประสงค์มาสมทบที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทำให้ผู้ชุมนุมได้เริ่มเกาะกลุ่มกันประจันหน้ากับเจ้าหน้าที่ทหาร และได้นำรถยนต์จอดขวางประชิดรถหุ้มเกราะฝั่งถนนดินสอ และได้เริ่มขว้างปาสิ่งของใส่เจ้าหน้าที่ ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารได้ยิงปืนขู่ และมีการโปรยแก๊สน้ำตาจากเฮลิคอปเตอร์ลงมา โดยผู้ชุมนุมบางส่วนได้มีการยิงพลุขึ้นฟ้าเพื่อตอบโต้
ด้านฝั่งผู้ชุมนุมและพลเรือนหลังจากเหตุการณ์ระเบิดแล้ว ในช่วงเวลา 20.00-21.00 น. ได้มีผู้เสียชีวิตจาก "กระสุนปืน" อีก 7 ราย คือ 1.นายยุทธนา ทองเจริญพูลพร 2.นายวสันต์ ภู่ทอง หรือ "คนถือธง" 3.นายสยาม วัฒนนุกูล 4.นายฮิโรยูกิ มูราโมโต (Hiroyuki Muramoto) 5.นายทศชัย เมฆงามฟ้า 6.นายจรูญ ฉายแม้น 7.นายคนึง ฉัตรเท
รวมไปถึง นายนภพล เผ่าพนัส เสียชีวิตด้วยกระสุนปืนเช่นกัน แต่ไม่ทราบเวลาแน่ชัด และไม่ทราบว่าเป็นผู้ชุมนุมด้วยหรือไม่
แต่หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้หยุดปะทะกัน ในช่วงเวลา 23.00 น. ได้พบผู้เสียชีวิตอีกหนึ่งราย คือ นายมานะ อาจราญ เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ ได้ถูกยิงโดยอาวุธสงคราม ภายในสวนสัตว์ดุสิต บริเวณหน้ากรงบ่อเต่ายักษ์
สรุปเหตุการณ์ ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมวันที่ 10 เมษายน 2553
มีผู้เสียชีวิตจำนวน 27 ราย เป็นพลเรือน 22 ราย เจ้าหน้าที่ทหารอีก 5 นาย โดยผู้ที่เสียชีวิตจากอาวุธปืนทั้งหมดแบ่งเป็นพลเรือน 19 ราย สื่อมวลชน 1 ราย ถูกยิงที่บริเวณศีรษะ/ลำคอ 8 ราย บริเวณลำตัวเหนือหัวเข่าขึ้นมา 11 ราย และถูกยิงทั้งศีรษะและขา 1 ราย
บาดเจ็บจำนวน 863 คน เป็นพลเรือน 519 คน ทหารและตำรวจ 344 นาย
เป็นอีกหน้าของบันทึกความขัดแย้งทางการเมือง ที่เขียนด้วยเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกันเอง
(มติชนรายวัน 14 กันยายน 2557)
ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1410669672
ต้องอ่าน! ย้อนรอย 10 เมษา 53 เหตุเกิดที่แยก′คอกวัว′ //มี Timeline การเสียชีวิตของประชาชนและทหาร รวมถึงการปรากฎ MIB
เมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ นำโดย พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ว่าที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แถลงจับกุม 5 ผู้ต้องสงสัยที่คาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรง 10 เมษายน 2553 บริเวณถนนตะนาว สี่แยกคอกวัว ประกอบไปด้วย นายกิตติศักดิ์ หรือ อ้วน สุ่มศรี, นายปรีชา หรือ ไก่เตี้ย อยู่เย็น, นายรณฤทธิ์ หรือ นะ สุริชา, นายชำนาญ หรือ เล็ก ภาคีฉาย และนางปุณิกา หรือ อร ชูศรี
โดยกล่าวหาว่าทั้งหมดคือ "ชายชุดดำ" ที่ปฏิบัติภารกิจที่ถนนตะนาว สี่แยกคอกวัว และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการเสียชีวิตของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่บริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยาและนำไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพเมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา
พลิกหนังสือ "ความจริงเพื่อความยุติธรรม เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53" ที่จัดทำโดย ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) ซึ่งถือว่ารวบรวมหลักฐานข่าวสารและตามสัมภาษณ์ผู้อยู่ในเหตุการณ์บันทึกไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วนมากที่สุด
วันที่ 10 เมษายน 2553 รัฐบาลโดย ศอฉ. ได้สั่งปฏิบัติการ "ขอคืนพื้นที่" มีการปะทะกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงบ่าย ระหว่างผู้ชุมนุม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. และทหาร ตั้งแต่หน้ากองทัพภาคที่ 1 ถนนราชดำเนิน จนมาถึงถนนราชดำเนินใน
บ่ายวันที่ 10 เมษายน มีผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บจากกระสุนจริง 2 ราย หนึ่งในนั้นเสียชีวิตในเวลาต่อมาคือ "นายเกรียงไกร คำน้อย" โดนยิงที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งต่อมาศาลได้มีคำสั่งว่าเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากกระสุนที่มาจากทางฝั่งทหาร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2557
นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ด้วยผลของการใช้แก๊สน้ำตาอีก 2 ราย คือ นายอนันต์ ชินสงคราม และ นายมนต์ชัย แซ่จอง
ในช่วงเย็น มีการเพิ่มกำลังทหารที่สะพานผ่านฟ้า และถนนดินสอหน้าโรงเรียนสตรีวิทย์
ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว หลังจากสิ้นเสียงเพลงธงชาติในเวลา 18.00 น. วันเดียวกัน ทหารได้ตั้งแถวเตรียมเข้าปะทะกับผู้ชุมนุมอีกครั้ง ทิ้งระยะห่างไว้กับผู้ชุมนุมบริเวณใกล้แยกคอกวัว ประมาณ 10-15 เมตร
เวลา 19.00 น. ท้องฟ้ามืดลง ทหารเดินแถวเข้าหา พร้อมกับขว้างแก๊สน้ำตาและยิงกระสุนยางเข้าใส่ผู้ชุมนุม รวมทั้งมีการยิงปืนขึ้นฟ้าเป็นระยะ ทางด้านผู้ชุมนุมได้โต้ตอบกลับด้วยการขว้างปาสิ่งของ ไม้ ก้อนอิฐ ใส่ทหารที่รุกคืบเข้ามา
มีการปะทะเกิดขึ้น มีกลุ่มควันปรากฏด้านหน้ากลุ่มผู้ชุมนุม และมีเสียงปืน เสียงคล้ายระเบิดดังต่อเนื่องตลอดเวลา จนทหารสามารถผลักดันผู้ชุมนุมมาถึงบริเวณแยกคอกวัว แต่ด้วยทิศทางของ "ลม" ที่พัดแก๊สนํ้าตาย้อนกลับไปทางฝั่งทหาร ทําให้เจ้าหน้าที่ทหารต้องถอยร่นกลับเข้าไปในถนนตะนาว
เวลาประมาณ 19.25 น. ทหารเริ่มรุกคืบอีกครั้ง แต่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ฉีดนํ้ายาดับเพลิงเข้าใส่จนฝ่ายทหารต้องถอยเข้าไปบริเวณปากทางถนนข้าวสาร ผู้ชุมนุมจึงสามารถเข้ามาตั้งแนวภายในถนนตะนาว ท่ามกลางเสียงปืนที่ยังดังเป็นระลอก
ฝ่ายผู้ชุมนุมเมื่อรุกเข้าไปได้ก็เริ่มมีการขว้างปาสิ่งของเข้าใส่ทหารเป็นระยะๆ รวมไปถึง "ระเบิดเพลิง"
เวลา 19.30 น. ฝ่ายทหารได้ประกาศให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเดินทางกลับ จากนั้นได้เริ่มเดินหน้าเข้าหาผู้ชุมนุม เริ่มใช้แก๊สน้ำตา กระสุนยาง และกระสุนจริงยิงขึ้นฟ้า ท่ามกลางการปะทะกันและเสียงปืนที่ดังต่อเนื่อง
ในช่วงเวลานี้มีผู้ชุมนุมเสียชีวิตอีก 1 ราย คือ นายบุญจันทร์ ไหมประเสริฐ โดยถูกยิงบริเวณหน้าแมคโดนัลด์ ใกล้โรงเรียนสตรีวิทยา
จากนั้นได้มีเสียงระเบิดดังขึ้น 2 ครั้งที่ฝั่งทหาร บริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ส่งผลทำให้ทหารต้องถอยไปยังบริเวณสะพานวันชาติ จากการระเบิดในครั้งนี้ ได้ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และเสียชีวิต 5 นาย คือ 1.พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม 2.ร.อ.ภูริวัฒน์ ประพันธ์ 3.ร.ท.อนุพงษ์ เมืองอำพัน 4.ร.ต.สิงหา อ่อนทรง 5.ร.อ.อนุพนธ์ หอมมาลี
ในเวลาเดียวกันได้มีการส่งผู้บาดเจ็บที่เป็น นปช.และประชาชนจำนวน 11 คน จากการปะทะที่สี่แยกคอกวัวเข้าโรงพยาบาลกลาง และต่อมาเวลา 19.40 น. ได้มีรายงานผู้ถูกยิงที่แยกคอกวัว บางคนเสียชีวิตทันที บางคนเจ็บหนักและไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
ผู้เสียชีวิตจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนจำนวน 9 ราย ในช่วงเวลาประมาณ 19.00-20.30 น. คือ 1.นายธวัฒนะชัย กลัดสุข 2.นายไพรศล ทิพย์ลม 3.นายอำพน ตติยรัตน์ 4.นายอนันต์ สิริกุลวาณิชย์ 5.นายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ 6.นายสวาท วางาม 7.นายบุญธรรม ทองผุย 8.นายสมิง แตงเพชร 9.นายสมศักดิ์ แก้วสาร
เวลา 20.00 น.เศษ หนังสือระบุว่า "ชายชุดดํา" ปรากฏกายเข้ามาที่บริเวณสี่แยกคอกวัวพร้อมอาวุธสงคราม จากนั้นได้เริ่มยิงไปยังทางฝั่งทหาร จนเจ้าหน้าที่ทหารได้ถอยร่นไปทางย่านบางลำพูโดยภาพจากกล้อง CCTV ได้ระบุเวลาว่า รถตู้ที่ได้นำชายชุดดำไปที่สี่แยกคอกวัว ได้ขับผ่านบริเวณสี่กั๊กพระยาศรี ในเวลา 20.19 น. และรับกลุ่มชายชุดดำกลับไปในเวลา 21.01 น.
ส่วนฟากฝั่งบริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา เวลา 19.15 น. ได้มีผู้ชุมนุมพร้อมเครื่องขยายเสียงจากเวทีราชประสงค์มาสมทบที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทำให้ผู้ชุมนุมได้เริ่มเกาะกลุ่มกันประจันหน้ากับเจ้าหน้าที่ทหาร และได้นำรถยนต์จอดขวางประชิดรถหุ้มเกราะฝั่งถนนดินสอ และได้เริ่มขว้างปาสิ่งของใส่เจ้าหน้าที่ ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารได้ยิงปืนขู่ และมีการโปรยแก๊สน้ำตาจากเฮลิคอปเตอร์ลงมา โดยผู้ชุมนุมบางส่วนได้มีการยิงพลุขึ้นฟ้าเพื่อตอบโต้
ด้านฝั่งผู้ชุมนุมและพลเรือนหลังจากเหตุการณ์ระเบิดแล้ว ในช่วงเวลา 20.00-21.00 น. ได้มีผู้เสียชีวิตจาก "กระสุนปืน" อีก 7 ราย คือ 1.นายยุทธนา ทองเจริญพูลพร 2.นายวสันต์ ภู่ทอง หรือ "คนถือธง" 3.นายสยาม วัฒนนุกูล 4.นายฮิโรยูกิ มูราโมโต (Hiroyuki Muramoto) 5.นายทศชัย เมฆงามฟ้า 6.นายจรูญ ฉายแม้น 7.นายคนึง ฉัตรเท
รวมไปถึง นายนภพล เผ่าพนัส เสียชีวิตด้วยกระสุนปืนเช่นกัน แต่ไม่ทราบเวลาแน่ชัด และไม่ทราบว่าเป็นผู้ชุมนุมด้วยหรือไม่
แต่หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้หยุดปะทะกัน ในช่วงเวลา 23.00 น. ได้พบผู้เสียชีวิตอีกหนึ่งราย คือ นายมานะ อาจราญ เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ ได้ถูกยิงโดยอาวุธสงคราม ภายในสวนสัตว์ดุสิต บริเวณหน้ากรงบ่อเต่ายักษ์
สรุปเหตุการณ์ ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมวันที่ 10 เมษายน 2553
มีผู้เสียชีวิตจำนวน 27 ราย เป็นพลเรือน 22 ราย เจ้าหน้าที่ทหารอีก 5 นาย โดยผู้ที่เสียชีวิตจากอาวุธปืนทั้งหมดแบ่งเป็นพลเรือน 19 ราย สื่อมวลชน 1 ราย ถูกยิงที่บริเวณศีรษะ/ลำคอ 8 ราย บริเวณลำตัวเหนือหัวเข่าขึ้นมา 11 ราย และถูกยิงทั้งศีรษะและขา 1 ราย
บาดเจ็บจำนวน 863 คน เป็นพลเรือน 519 คน ทหารและตำรวจ 344 นาย
เป็นอีกหน้าของบันทึกความขัดแย้งทางการเมือง ที่เขียนด้วยเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกันเอง
(มติชนรายวัน 14 กันยายน 2557)
ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1410669672