ทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดิน พอไปขอกู้ธนาคาร พบว่าเป็นที่ตาบอด ธนาคารไม่รับ จะขอเงินมัดจำคืนได้ไหมครับ

คือว่าเมื่อประมาณ 2 เดือนก่อน ไปติดต่อทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้าน (เป็นบ้านเก่า เจ้าของสร้างเอง อยู่มา 50 ปีแล้ว แต่ตัวบ้านเพิ่งสร้างใหม่ได้ประมาณ 10ปี ) โดยมัดจำไว้ 5%

ติดต่อทำเรื่องกู้ ตรวจสอบเครดิตเรียบร้อย สามารถกู้ได้ ธนาคารอนุมัติวงเงินกู้แล้ว ว่าได้ประมาณเท่าไร

พอประเมินราคาที่ดิน พบว่าเป็นที่ตาบอด (จริงๆแล้วมีซอย สามารถขับรถเข้าบ้านได้เลย) โดยเจ้าของที่ไม่ได้แจ้งให้เราทราบ

เหตุการณ์แบบนี้จะขอเงินมัดจำคืน หรือขอคืนเป็นบางส่วนได้ไหมครับ หรือในทางปฏิบัติแล้ว จะต้องทำอย่างไรครับ

ปล. ที่ดินแปลงนี้ เจ้าของก็เคยจดจำนองไว้กับ ktb แต่ตอนนี้ได้ไถ่ถอนมาเป็นเวลาประมาณ 10 ปีแล้ว

ปล.2 สัญญาจะซื้อจะขายกำหนดระยะเวลาไว้ 60 วัน ซื่งตอนนี้ใกล้ครบกำหนดแล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
กรณีนี้น่าจะเป็นเพียงการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ ซึ่งตามปกติถือเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมตกเป็นโมฆียะ ถ้าที่ดินแปลงที่ซื้อขาย เป็นที่ดินแปลงที่มีการตกลงจะซื้อขายกันจริง ย่อมไม่ใช่การสำคัญผิดในตัวทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นเพียงการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ ตามมาตรา 157
การสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ เช่น เช่าซื้อรถยนต์ที่มีหมายเลขตัวถังและหมายเลขเครื่องยนต์ไม่ตรงกับใบอนุญาตทะเบียนรถยนต์คันที่เช่าซื้อ เป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญตามมาตรา 157 ไม่ใช่สำคัญผิดในตัวทรัพย์ตามมาตรา 156 สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆียะ ไม่ใช่โมฆะ

การสำคัญผิดในทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม(มาตรา 156) จึงจะเป็นโมฆะ เช่น การสำคัญผิดจะถือว่าเป็นการสำคัญผิดอันจะทำให้สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะหรือไม่ต้องดูว่าคู่สัญญาถือเอาตัวทรัพย์เป็นสาระสำคัญหรือไม่ แต่ถ้าในการซื้อขายที่ดิน ผู้ขายชี้ให้ดูที่ดินแปลงอื่นแต่ส่งมอบอีกแปลงหนึ่ง ถือว่าทำสัญญาโดยสำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญของนิติกรรม สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ(ฎ.1710/2500)

มาตรา 156 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ แห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ
ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัว บุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่ง เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น

มาตรา 157 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล หรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ
ความสำคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติ ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิด ดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่