ปฏิเสธไม่ได้ว่าการถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 4 เมษายน ค.ศ.1949 ขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization : NATO) องค์กรความร่วมมือทางทหารที่ใหญ่ที่สุดของโลกตะวันตก ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญนั้น มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกที่มีสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำในยุคสมัย “สงครามเย็น”
อย่างไรก็ดี การล่มสลายของสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 1991 ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อนาโต เพราะนั่นหมายความว่า ศัตรูตัวฉกาจซึ่งถูกมองเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความสงบสุขของโลก ที่นาโตตั้งตัวเป็นปรปักษ์ด้วยอย่างออกนอกหน้ามาตลอดหลายทศวรรษนั้น ได้ “อันตรธานหายวับไป” ในชั่วข้ามคืน
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และระบอบการปกครองของพวกฝ่ายซ้าย ในหลายประเทศทั่วยุโรปตะวันออกเมื่อต้นทศวรรษ 1990 ส่งผลให้นาโตต้องเผชิญกับ “วิกฤตด้านอัตลักษณ์” ต่อเนื่องมานานเกินกว่า 20 ปี จนหลายฝ่ายพากันย้อนตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการดำรงอยู่ขององค์กรความร่วมมือทางทหารแห่งนี้ว่า ยังคงมีอยู่มากน้อยเพียงใดในเมื่อ ศัตรูคู่อาฆาตของนาโตอย่างสหภาพโซเวียตและรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆของยุโรปตะวันออกได้ “ล้มหายตายจาก” ไปจนหมดสิ้น
ดังนั้น จึงมิใช่เรื่องแปลกที่รัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำของชายที่ชื่อบารัค โอบามา จะ “ฉกฉวยโอกาสทอง” จากวิกฤตทางการเมืองในยูเครนมาใช้เป็นเครื่องมือในการ “โฆษณาชวนเชื่อ” และปลุกกระแสความหวาดกลัวต่อ “รัสเซีย” ในหมู่มิตรประเทศของตนในยุโรปตะวันตก รัฐบาลโอบามาได้กระทำทุกวิถีทางในการชูภาพให้รัสเซียในยุคของ “วลาดิมีร์ ปูติน” กลายเป็นผู้ร้าย และเป็นศัตรูที่ต้องถูกสกัดกั้นปิดล้อมทั้งทางการเมือง การทหารและเศรษฐกิจ
วิกฤตการเมืองในยูเครนที่มีต้นตอมาจากความขัดแย้งระหว่างประชาชนในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นพวก “นิยมตะวันตก” กับชาวยูเครนทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศที่เป็นพวก “โปรรัสเซีย” ได้ถูกรัฐบาลอเมริกันในยุคโอบามาหยิบยกมาเป็นประเด็นในการป้ายสีรัฐบาลรัสเซีย ที่กำลังมีอิทธิพลและบทบาทในเวทีโลกเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ
และการป้ายสีของสหรัฐฯนี้เองที่ทำให้ นาโตกลับมามีศัตรูตัวฉกาจอย่างเป็นเรื่องเป็นราวอีกครั้ง หลังจากที่นาโตต้องอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายแบบไร้ศัตรูมานาน นับตั้งแต่สิ้นยุคสงครามเย็น
แต่ในอีกด้านหนึ่ง แรงบีบคั้นของสหรัฐฯและโลกตะวันตกที่พุ่งเป้าไปยังรัสเซียจากผลพวงของวิกฤตในยูเครน จนนำไปสู่การประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อแดนหมีขาวในช่วงที่ผ่านมานั้น กลับกลายเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ผลักดันให้รัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของวลาดิมีร์ ปูติน หันไปกระชับความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนมากขึ้น จนสายสัมพันธ์ระหว่างมอสโกและปักกิ่งเข้าสู่สภาวะแน่นแฟ้นที่สุดในรอบมากกว่าครึ่งศตวรรษ หรืออาจกล่าวได้ว่า แรงบีบคั้นจากตะวันตก ได้ผลักให้รัสเซียต้องบ่ายหน้าไปทางตะวันออกเพื่อมองหา “มิตรแท้ในยามยาก” ซึ่งในเวลานี้ก็คือจีนนั่นเอง
ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา รัสเซียและจีนมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงนับครั้งไม่ถ้วนรวมถึงมีการประกาศโครงการความร่วมมือสำคัญๆ มากมายชนิดที่โลกตะวันตกยังต้องอิจฉา
ล่าสุดในวันพุธ (10 ก.ย.) ที่ผ่านมา อเล็กซานเดอร์ มิชาริน รองประธานการรถไฟแห่งชาติรัสเซีย ที่อยู่ระหว่างการเดินทางเยือนแดนมังกร ระบุ รัฐบาลจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดี สี จิ้นผิงอนุมัติให้นักลงทุนภาคเอกชนของจีนเข้าร่วมงานกับรัฐบาล วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ในโครงการเมกะโปรเจกต์สร้างเส้นทาง “รถไฟความเร็วสูง” ความยาว 720 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อกรุงมอสโก เมืองหลวงของรัสเซีย กับ “นครคาซาน” ที่เป็นเมืองใหญ่อันดับ 8 ของรัสเซีย และเป็นบ้านของประชากรราว 1.1 ล้านคน
โดยรองประธานการรถไฟแห่งชาติของรัสเซีย ยังระบุด้วยว่า รัฐบาลจีนเตรียมร่วมลงทุนในโครงการใหญ่ยักษ์นี้ด้วยในวงเงินราว 400,000 ล้านรูเบิล (คิดเป็นเงินไทยราว 344,685 ล้านบาท) ในการเชื่อมต่อกรุงมอสโกเข้ากับคาซานเมืองเอกของสาธารณรัฐตาตาร์สถาน ที่กำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญทางภาคใต้ของรัสเซีย โดยคาดว่า การก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายนี้ จะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2018
ความเคลื่อนไหวล่าสุดมีขึ้นไม่นานหลังจากที่รัฐบาลจีนเพิ่งประกาศจับมือรัสเซีย ร่วมกันก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติในเขต “ไซบีเรีย” ทางภาคตะวันออกของรัสเซียความยาว “เกือบ 4,000 กิโลเมตร”เพื่อรองรับการจัดส่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาลจากรัสเซียไปยังจีนตลอด 30 ปีข้างหน้า โดยแหล่งข่าวทางการทูตในกรุงมอสโก เปิดเผยว่า โครงการความร่วมมือก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติระหว่างรัสเซีย และจีน ในครั้งนี้ มีมูลค่ารวมของโครงการสูงกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือราว 159,875 ล้านบาท) และสามารถรองรับการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากแดนหมีขาวไปยังแดนมังกร ได้ถึงปีละ 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 เป็นต้นไป
ดังนั้น คงจะไม่ผิดแปลกไปจากความเป็นจริงมากนักหากจะสรุปว่า ความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำของบารัค โอบามาในการสกัดกั้นอิทธิพลของรัสเซียโดยอาศัยวิกฤตในยูเครนเป็นฉากหน้านั้น ถือเป็นความพยายามที่ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะนอกจากจะไม่สามารถหยุดยั้งอิทธิพลที่กำลังเฟื่องฟูของรัสเซียในยุคของวลาดิมีร์ ปูติน แล้ว การกระทำของรัฐบาลโอบามายังผลักให้รัสเซียหันไปใกล้ชิดกับจีนมากยิ่งขึ้นซึ่งมิใช่เรื่องที่รัฐบาลอเมริกันปรารถนาเช่นกัน
หรืออาจกล่าวได้ว่า หมากเกมนี้ของโอบามามีแต่ “เสียกับเสีย” และสะท้อนถึงความ “หน่อมแน้ม” ของโอบามาที่ดูจะไม่ประสีประสาเอาเสียเลย ในการเดินเกมการเมืองระหว่างประเทศทั้งที่ตนเองได้ชื่อว่าเป็นอภิมหาอำนาจหมายเลขหนึ่งของโลก
Weekend Focus:โอบามาคว้าน้ำเหลวสกัดอิทธิพลรัสเซีย จากผลพวงความ “หน่อมแน้ม” ผลักมอสโก-ปักกิ่งกระชับสัมพันธ์แน่น
อย่างไรก็ดี การล่มสลายของสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 1991 ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อนาโต เพราะนั่นหมายความว่า ศัตรูตัวฉกาจซึ่งถูกมองเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความสงบสุขของโลก ที่นาโตตั้งตัวเป็นปรปักษ์ด้วยอย่างออกนอกหน้ามาตลอดหลายทศวรรษนั้น ได้ “อันตรธานหายวับไป” ในชั่วข้ามคืน
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และระบอบการปกครองของพวกฝ่ายซ้าย ในหลายประเทศทั่วยุโรปตะวันออกเมื่อต้นทศวรรษ 1990 ส่งผลให้นาโตต้องเผชิญกับ “วิกฤตด้านอัตลักษณ์” ต่อเนื่องมานานเกินกว่า 20 ปี จนหลายฝ่ายพากันย้อนตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการดำรงอยู่ขององค์กรความร่วมมือทางทหารแห่งนี้ว่า ยังคงมีอยู่มากน้อยเพียงใดในเมื่อ ศัตรูคู่อาฆาตของนาโตอย่างสหภาพโซเวียตและรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆของยุโรปตะวันออกได้ “ล้มหายตายจาก” ไปจนหมดสิ้น
ดังนั้น จึงมิใช่เรื่องแปลกที่รัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำของชายที่ชื่อบารัค โอบามา จะ “ฉกฉวยโอกาสทอง” จากวิกฤตทางการเมืองในยูเครนมาใช้เป็นเครื่องมือในการ “โฆษณาชวนเชื่อ” และปลุกกระแสความหวาดกลัวต่อ “รัสเซีย” ในหมู่มิตรประเทศของตนในยุโรปตะวันตก รัฐบาลโอบามาได้กระทำทุกวิถีทางในการชูภาพให้รัสเซียในยุคของ “วลาดิมีร์ ปูติน” กลายเป็นผู้ร้าย และเป็นศัตรูที่ต้องถูกสกัดกั้นปิดล้อมทั้งทางการเมือง การทหารและเศรษฐกิจ
วิกฤตการเมืองในยูเครนที่มีต้นตอมาจากความขัดแย้งระหว่างประชาชนในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นพวก “นิยมตะวันตก” กับชาวยูเครนทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศที่เป็นพวก “โปรรัสเซีย” ได้ถูกรัฐบาลอเมริกันในยุคโอบามาหยิบยกมาเป็นประเด็นในการป้ายสีรัฐบาลรัสเซีย ที่กำลังมีอิทธิพลและบทบาทในเวทีโลกเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ
และการป้ายสีของสหรัฐฯนี้เองที่ทำให้ นาโตกลับมามีศัตรูตัวฉกาจอย่างเป็นเรื่องเป็นราวอีกครั้ง หลังจากที่นาโตต้องอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายแบบไร้ศัตรูมานาน นับตั้งแต่สิ้นยุคสงครามเย็น
แต่ในอีกด้านหนึ่ง แรงบีบคั้นของสหรัฐฯและโลกตะวันตกที่พุ่งเป้าไปยังรัสเซียจากผลพวงของวิกฤตในยูเครน จนนำไปสู่การประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อแดนหมีขาวในช่วงที่ผ่านมานั้น กลับกลายเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ผลักดันให้รัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของวลาดิมีร์ ปูติน หันไปกระชับความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนมากขึ้น จนสายสัมพันธ์ระหว่างมอสโกและปักกิ่งเข้าสู่สภาวะแน่นแฟ้นที่สุดในรอบมากกว่าครึ่งศตวรรษ หรืออาจกล่าวได้ว่า แรงบีบคั้นจากตะวันตก ได้ผลักให้รัสเซียต้องบ่ายหน้าไปทางตะวันออกเพื่อมองหา “มิตรแท้ในยามยาก” ซึ่งในเวลานี้ก็คือจีนนั่นเอง
ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา รัสเซียและจีนมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงนับครั้งไม่ถ้วนรวมถึงมีการประกาศโครงการความร่วมมือสำคัญๆ มากมายชนิดที่โลกตะวันตกยังต้องอิจฉา
ล่าสุดในวันพุธ (10 ก.ย.) ที่ผ่านมา อเล็กซานเดอร์ มิชาริน รองประธานการรถไฟแห่งชาติรัสเซีย ที่อยู่ระหว่างการเดินทางเยือนแดนมังกร ระบุ รัฐบาลจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดี สี จิ้นผิงอนุมัติให้นักลงทุนภาคเอกชนของจีนเข้าร่วมงานกับรัฐบาล วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ในโครงการเมกะโปรเจกต์สร้างเส้นทาง “รถไฟความเร็วสูง” ความยาว 720 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อกรุงมอสโก เมืองหลวงของรัสเซีย กับ “นครคาซาน” ที่เป็นเมืองใหญ่อันดับ 8 ของรัสเซีย และเป็นบ้านของประชากรราว 1.1 ล้านคน
โดยรองประธานการรถไฟแห่งชาติของรัสเซีย ยังระบุด้วยว่า รัฐบาลจีนเตรียมร่วมลงทุนในโครงการใหญ่ยักษ์นี้ด้วยในวงเงินราว 400,000 ล้านรูเบิล (คิดเป็นเงินไทยราว 344,685 ล้านบาท) ในการเชื่อมต่อกรุงมอสโกเข้ากับคาซานเมืองเอกของสาธารณรัฐตาตาร์สถาน ที่กำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญทางภาคใต้ของรัสเซีย โดยคาดว่า การก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายนี้ จะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2018
ความเคลื่อนไหวล่าสุดมีขึ้นไม่นานหลังจากที่รัฐบาลจีนเพิ่งประกาศจับมือรัสเซีย ร่วมกันก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติในเขต “ไซบีเรีย” ทางภาคตะวันออกของรัสเซียความยาว “เกือบ 4,000 กิโลเมตร”เพื่อรองรับการจัดส่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาลจากรัสเซียไปยังจีนตลอด 30 ปีข้างหน้า โดยแหล่งข่าวทางการทูตในกรุงมอสโก เปิดเผยว่า โครงการความร่วมมือก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติระหว่างรัสเซีย และจีน ในครั้งนี้ มีมูลค่ารวมของโครงการสูงกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือราว 159,875 ล้านบาท) และสามารถรองรับการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากแดนหมีขาวไปยังแดนมังกร ได้ถึงปีละ 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 เป็นต้นไป
ดังนั้น คงจะไม่ผิดแปลกไปจากความเป็นจริงมากนักหากจะสรุปว่า ความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำของบารัค โอบามาในการสกัดกั้นอิทธิพลของรัสเซียโดยอาศัยวิกฤตในยูเครนเป็นฉากหน้านั้น ถือเป็นความพยายามที่ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะนอกจากจะไม่สามารถหยุดยั้งอิทธิพลที่กำลังเฟื่องฟูของรัสเซียในยุคของวลาดิมีร์ ปูติน แล้ว การกระทำของรัฐบาลโอบามายังผลักให้รัสเซียหันไปใกล้ชิดกับจีนมากยิ่งขึ้นซึ่งมิใช่เรื่องที่รัฐบาลอเมริกันปรารถนาเช่นกัน
หรืออาจกล่าวได้ว่า หมากเกมนี้ของโอบามามีแต่ “เสียกับเสีย” และสะท้อนถึงความ “หน่อมแน้ม” ของโอบามาที่ดูจะไม่ประสีประสาเอาเสียเลย ในการเดินเกมการเมืองระหว่างประเทศทั้งที่ตนเองได้ชื่อว่าเป็นอภิมหาอำนาจหมายเลขหนึ่งของโลก