เหตุการณ์ฆาตกรรมและข่มขืน เด็กหญิงวัย13 ปี บนรถไฟ แล้วทิ้งลงข้างทาง หรือเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นกับเด็กวัย4ขวบที่ถูกข่มขืนแล้วทิ้งลงในท่อน้ำทั้งที่ยังไม่เสียชีวิต นับเป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญและสร้างความสลดให้แก่ผู้คนที่รับทราบข่าวนี้จนกลายเป็นกระแสสังคมที่เรียกร้องให้มีการลงโทษประหารผู้ที่กระทำความผิดในคดีข่มขืนกระทำชำเราขึ้น
ในวงเสวนาวิชาการโทษประหารชีวิตเครื่องมือแก้ปัญหาอาชญากรรม ที่จัดโดยภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้มีการพูดคุยเพื่อเป็นแนวทางในการหาทางออกให้กับเรื่องนี้
โดย บุ๋ม ปนัดดา วงษ์ผู้ดีหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทที่เรียกร้องให้มีโทษประหาร ได้แสดงความเห็นว่า โทษประหารเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนแทนกระบวนการยุติธรรมที่มีความบกพร่อง
ขณะที่ คุณปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ตัวแทนจาก amnesty international องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่มีการรณรงค์ยกเลิกโทษประหารมากว่า 30 ปี ยังคงยืนยันจุดยืนในเรื่องนี้ว่า ควรยกเลิกโทษประหารชีวิตเพราะไม่ใช่หนทางเดียวในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงแค่ข้อเสนอที่เกิดขึ้นจากหลายๆมุมมอง แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันในงานเสวนาครั้งนี้คือ ภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในเรื่องกระบวนการยุติธรรมให้เกิดขึ้นจึงจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง
ข่าวจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1410418901
โทษประหารชีวิต เครื่องมือแก้ปัญหาอาชญากรรม?
เหตุการณ์ฆาตกรรมและข่มขืน เด็กหญิงวัย13 ปี บนรถไฟ แล้วทิ้งลงข้างทาง หรือเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นกับเด็กวัย4ขวบที่ถูกข่มขืนแล้วทิ้งลงในท่อน้ำทั้งที่ยังไม่เสียชีวิต นับเป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญและสร้างความสลดให้แก่ผู้คนที่รับทราบข่าวนี้จนกลายเป็นกระแสสังคมที่เรียกร้องให้มีการลงโทษประหารผู้ที่กระทำความผิดในคดีข่มขืนกระทำชำเราขึ้น
ในวงเสวนาวิชาการโทษประหารชีวิตเครื่องมือแก้ปัญหาอาชญากรรม ที่จัดโดยภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้มีการพูดคุยเพื่อเป็นแนวทางในการหาทางออกให้กับเรื่องนี้
โดย บุ๋ม ปนัดดา วงษ์ผู้ดีหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทที่เรียกร้องให้มีโทษประหาร ได้แสดงความเห็นว่า โทษประหารเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนแทนกระบวนการยุติธรรมที่มีความบกพร่อง
ขณะที่ คุณปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ตัวแทนจาก amnesty international องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่มีการรณรงค์ยกเลิกโทษประหารมากว่า 30 ปี ยังคงยืนยันจุดยืนในเรื่องนี้ว่า ควรยกเลิกโทษประหารชีวิตเพราะไม่ใช่หนทางเดียวในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงแค่ข้อเสนอที่เกิดขึ้นจากหลายๆมุมมอง แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันในงานเสวนาครั้งนี้คือ ภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในเรื่องกระบวนการยุติธรรมให้เกิดขึ้นจึงจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง
ข่าวจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1410418901