เครดิตข้อความ พ่อน้องอินทัช 4 มิ.ย. 2553
ลงทุนกับลูกอีกคนที่ชื่อ "หุ้น"
ถือเป็นโชคดี ได้กูรูด้านการเงิน ผศ. ผศ.ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร มาบรรยายสั้นๆ เรื่อง Value Investment ให้ฟังถึงออฟฟิศ หลังจากการบรรยาย สิ่งที่เกิดขึ้นในใจคือ สงสัยต้องหันกลับมามองการลงทุนเรื่อง "หุ้น" ใหม่เสียแล้ว
ครั้งหนึ่งผมเคยเป็นคนเล่นหุ้น เก็บเงินก้อนแรกในชีวิตได้ 2 แสน เลยอยากลองเล่น ผลคือ ขาดทุนยับเยิน เพราะ ไม่ใช่เล่นไม่เป็น แต่ "ใจไม่นิ่ง" "ใจไม่แข็ง"
ซึ่ง "ใจ" ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ ผศ.ดร. นิเวศน์ ท่านแนะนำไว้ ท่านสอนว่า
หุ้นก็เหมือนคน เหมือนเราเลี้ยงลูก ลูกบางคนก็เป็นคนดี หาเงินให้พ่อแม่ใช้ ลูกบางคนก็นิสัยไม่ดี ใช้แต่เงินพ่อแม่ มีแต่ทำให้พ่อแม่เจ็บป่วย
แต่โชคดีอย่างที่หุ้นกับลูกต่างกัน คือ หุ้นเลือกได้แต่สอนไม่ได้ ส่วนลูก เลือกไม่ได้แต่สอนได้
ดังนั้น กลยุทธ์การเล่นหุ้น ที่ ผศ.ดร. นิเวศน์ แนะนำสำหรับคนมีครอบครัว มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ คือ
1. เก็บเงินให้ได้ก้อนหนึ่ง คิดเป็น 10% ของเงินเดือน เช่น ทั้งปีได้รายได้ 5 แสน ก็เก็บเงินกันไว้ 50,000
2. ศึกษาธุรกิจ ไม่ใช่ศึกษาหุ้น การซื้อหุ้นคือ การเป็นเจ้าของธุรกิจ ลองนึกภาพ เราอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ เก็บเงินเอาไปลงทุน เงินที่จมไป ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้เลย เปิดร้านอาหาร 5 แสน ก็หมด 5 แสน เป็นเงินจม ขายคืน อาจไม่ได้ราคาด้วยซ้ำ หุ้นก็คล้ายกัน ต้องมองเป็นเงินจม ไม่ใช่มีสภาพคล่องสูง แต่หุ้นดีกว่า คือ เราเป็นเจ้าของธุรกิจเหมือนกัน มีคนเก่งบริหารงานแทน ด้วย ไม่ต้องเหนื่อย ใช้เงินทำงานแทน
ดังนั้น การซื้อหุ้น จึงต้องศึกษาธุรกิจให้ดี ผศ.ดร. นิเวศน์ ยกตัวอย่างว่า ตอนปี 40 บริษัทเงินทุนปิด ผศ.ดร. นิเวศน์ ตกงาน แต่มีเงินเก็บอยู่ 10 ล้าน (ในระดับผู้บริหารธนาคาร ผศ.ดร. นิเวศน์ บอกก็ไม่เยอะไม่น้อย)
ก็เลยเอาเงิน 10 ล้านมาลงทุน ในหุ้น
โดยจุดสำคัญคือ ธุรกิจที่เราจะซื้อหุ้นต้อง
- มั่นคง เป็นเจ้าตลาด อันดับต้นๆ
- ไม่มีหนี้สิน หรือมีแต่น้อย และมีแนวโน้มใช้หมด ไม่ก่อหนี้เพิ่ม
- มีผลกำไร และมีนโยบายจ่ายเงินปันผลตลอด
- เป็นธุรกิจที่น่าจะไม่ได้รับผลกระทบด้านความเชื่อ มากนัก (แต่ข้อนี้ไม่ห่วงเท่าไร)
ผศ.ดร. นิเวศน์ เลยมองตัวเแรกคือ หุ้นมาม่า (ขอเรียกง่ายๆ) เพราะ มาม่า เป็นสินค้าที่ยามวิกฤต ยังคงขายได้ เป็นอันดับหนึ่ง บริษัทไม่มีหนี้สิน ผู้บริหารเป็นคนดี มีนโยบายจ่ายเงินปันผลตลอด
ผศ.ดร. นิเวศน์ เลยลงทุนไป 1 ล้าน ซื้อหุ้นไว้ หุ้นละ 50 บาท ปีแรกได้เงินปันผลมา 5 บาท เท่ากับ 10% (ปัจจุบันหุ้นมาม่า ผศ.ดร. นิเวศน์ บอกว่า ตอนนี้ 800 บาท แล้ว 10 ปีผ่านไป เงิน 1 ล้านของผศ.ดร. นิเวศน์ กลายเป็น 16 ล้าน โดยยังไม่นับเงินปันผลที่ได้)
3. กระจายความเสี่ยง จะเห็นว่า ผศ.ดร. นิเวศน์ ลงทุนมาม่าแค่ 1 ล้าน แต่ไม่ลงทุน 10 ล้าน เพราะ ต้องกระจายความเสี่ยง ผศ.ดร. นิเวศน์ เล่าว่า หุ้นตัวที่สองที่ลงทุน คือ วาโก้ โดยเหตุผลที่เลือกคือ วาโก้ ธุรกิจเสื้อใน ที่ขายทั่วเอเชีย ตอนนั้นค่าเงินไทยลด ดังนั้นของจากเมืองไทยจึงมีราคาถูก วาโก้ เป็นเสื้อในคุณภาพดี ราคาถูก จึงขายได้ หรือ หุ้นอีกตัวคือ 7/11 เพราะยังไงคนก็ซื้อ ก็กิน
สิ่งที่ ผศ.ดร. นิเวศน์ เน้นคือ การวิเคราะห์ธุรกิจ ไม่ใช่การดูในกระดาษ ดูตัวเลข แต่ต้องสัมผัสจริง เห็นจริง เข้าใจธุรกิจจริงๆ เพราะตัวเลข สะท้อนแค่บางอย่าง แต่เหตุการณ์จริง ในการค้าขาย คือ ผลงาน
บางบริษัท ตัวเลขดี แต่จริงๆ ธุรกิจอาจเริ่มป่วย บางบริษัทตัวเลขไม่ดี แต่อาจกำลังอยู่ขาขึ้น ซึ่งของเหล่านี้ต้องวิเคราะห์จากความจริง เห็นจริง ไม่ใช่ดูตัวเลขในกระดาษ
4. ถือยาว การเล่นหุ้น มีสองแบบคือ เป็นนักลงทุน หรือเป็นนักเล่นหุ้น นักเล่นหุ้น จะเหมือนการพนัน คือ เล่นความเสี่ยง เก็งกำไร แต่การเป็นนักลงทุนคือ ดู 3 ข้อ แล้วเลือกเก็บเงินปันผล ผศ.ดร. นิเวศน์ แนะนำว่า หุ้นแต่ละตัว ให้รอจังหวะที่ บริษัทป่วย คือ เกิดวิกฤต พื้นฐานบริษัทดี แต่ล้มเจ็บเพราะวิกฤตบางอย่าง เช่น แต่ก่อน หุ้นการบินไทย ล้ม แต่พื้นฐานธุรกิจดี สุดท้าย หุ้นก็ขึ้น
ปัญหาคือ คนส่วนใหญ่ รอไม่เป็น ใจไม่นิ่งพอ แม้จะคิดว่า พื้นฐานดี แต่ก็ยอมขายทิ้งก่อน เพราะกลัว
ดังนั้น ถ้าเราคิดว่า พื้นฐานดีแล้ว และไม่มีความเสี่ยง เพียงแต่ ช่วงนี้ หุ้นตก เพราะป่วย ก็ต้องรอให้บริษัท รักษาตัว ให้หายป่วย กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม
โดยพื้นฐาน ผศ.ดร. นิเวศน์ แนะนำให้ ถือหุ้นแต่ละตัว 5 ปี และเริ่มต้นเล่น 5 หุ้น จะกระจายกันไป
คำว่า 5 ปี ไม่จำเป็นต้องถือยาว ก็ได้ ถ้าเห็นว่า พื้นฐานมันเปลี่ยน ก็ขายได้ แต่ให้ ตั้ง "ใจ" ไว้ว่า 5 ปี เพื่อใจจะได้นิ่งพอ
---------------------------------------------
โดยสรุปคือ
1. หาบริษัทที่ดี มีแนวโน้มเติบโต และจ่ายปันผล
2. รอจังหวะ เจ็บไข้ ได้ป่วย (ไม่ใช่แค่หุ้นตกเล็กๆ)
3. ลงทุน
4. เก็บเกี่ยว เงินปันผล (ไม่ต้องสนใจราคาหุ้น ถ้าเลือกบริษัทที่ดี ยังไง ราคาก็ขึ้น)
5. เงินปันผล ให้ถือเป็น เงินที่งอกขึ้นมา จากเงินที่เราไม่มี ดังนั้น ได้มา ถ้าไม่มีเหตุอันควร ให้เก็บไว้เพื่อรอจังหวะ ลงทุนใหม่
---------------------------------------------
จริงๆ ที่อาจารย์สอนเป็นแนวทางง่ายๆ สำคัญที่ "ใจ" เท่านั้น
ตอนผมเล่นใหม่ๆ ที่เสียหายก็เพราะใจ ลองนึกตามหลักการของอาจารย์ ถ้าวันนั้นยังถือหุ้นอยู่ ด้วย "ใจ" ที่ "นิ่ง"
ตอนนี้ก็รวย ....สุดๆ เหมือนกัน
หุ้นตัวหนึ่ง ผมเคยซื้อไว้ 10.50 จ่ายปันผล 0.50-1.00 ต่อปี แต่ผมทนไม่ได้ ขายไป เพราะราคาไม่ค่อยขยับ (ตอนนั้นเป็น คนเล่นหุ้น มองราคาเป็นหลัก)
วันนี้หุ้นตัวนั้น 14.00 บาท เท่ากับ ขึ้นมา 3.5 บาท ถ้าผมลงไว้ 10,000 หุ้น เป็นเงิน 105000 บาท ผมก็จะมีเงิน 140,000 บาท
พร้อมปันผลอีก ปีเฉลี่ย 1 หมื่นบาท (คิดว่า 5 ปี ก็เท่ากับ เงินผม งอกขึ้นมาโดยประมาณเกือบ 100% จาก 105000 -> 190,000 )
ฟังดูอาจจะไม่เยอะ แต่ลองนึกว่า ถ้าเราเริ่มต้นตอนสัก 30 (ผมเกินละ) เริ่มต้นปีละ 50,000 บาท
ค่อยๆ ลงทุน ผ่านไป อายุ 40 เงินตั้นต้น ง่ายๆ 500,000 แต่เงินจะงอก เป็น 1 ล้าน (คิดจากหุ้นที่ผมยกต้วอย่าง แต่ถ้าเป็นหุ้นมาม่าอะ จาก 500,000 จะกลายเป็น 8,000,000 นะครับ)
ทั้งนี้ วิธีนี้ เป็นการลงทุนใน หุ้น ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ให้ลดความเสี่ยงลง และดีกว่า เงินฝาก หรือเอาไปลงทุนทำอย่างอื่น
แต่จุดสำคัญคือ จะหาบริษัทดีๆ ที่ว่าได้อย่างไร และจะมีจังหวะที่เจ็บป่วย ตอนไหนให้เราลงทุน
จังหวะในการเข้าซื้อ กับการมีเงินสดในมือ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของการเริ่มเล่นหุ้น
ลงทุนกับลูกอีกคนที่ชื่อ "หุ้น"
ลงทุนกับลูกอีกคนที่ชื่อ "หุ้น"
ถือเป็นโชคดี ได้กูรูด้านการเงิน ผศ. ผศ.ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร มาบรรยายสั้นๆ เรื่อง Value Investment ให้ฟังถึงออฟฟิศ หลังจากการบรรยาย สิ่งที่เกิดขึ้นในใจคือ สงสัยต้องหันกลับมามองการลงทุนเรื่อง "หุ้น" ใหม่เสียแล้ว
ครั้งหนึ่งผมเคยเป็นคนเล่นหุ้น เก็บเงินก้อนแรกในชีวิตได้ 2 แสน เลยอยากลองเล่น ผลคือ ขาดทุนยับเยิน เพราะ ไม่ใช่เล่นไม่เป็น แต่ "ใจไม่นิ่ง" "ใจไม่แข็ง"
ซึ่ง "ใจ" ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ ผศ.ดร. นิเวศน์ ท่านแนะนำไว้ ท่านสอนว่า
หุ้นก็เหมือนคน เหมือนเราเลี้ยงลูก ลูกบางคนก็เป็นคนดี หาเงินให้พ่อแม่ใช้ ลูกบางคนก็นิสัยไม่ดี ใช้แต่เงินพ่อแม่ มีแต่ทำให้พ่อแม่เจ็บป่วย
แต่โชคดีอย่างที่หุ้นกับลูกต่างกัน คือ หุ้นเลือกได้แต่สอนไม่ได้ ส่วนลูก เลือกไม่ได้แต่สอนได้
ดังนั้น กลยุทธ์การเล่นหุ้น ที่ ผศ.ดร. นิเวศน์ แนะนำสำหรับคนมีครอบครัว มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ คือ
1. เก็บเงินให้ได้ก้อนหนึ่ง คิดเป็น 10% ของเงินเดือน เช่น ทั้งปีได้รายได้ 5 แสน ก็เก็บเงินกันไว้ 50,000
2. ศึกษาธุรกิจ ไม่ใช่ศึกษาหุ้น การซื้อหุ้นคือ การเป็นเจ้าของธุรกิจ ลองนึกภาพ เราอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ เก็บเงินเอาไปลงทุน เงินที่จมไป ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้เลย เปิดร้านอาหาร 5 แสน ก็หมด 5 แสน เป็นเงินจม ขายคืน อาจไม่ได้ราคาด้วยซ้ำ หุ้นก็คล้ายกัน ต้องมองเป็นเงินจม ไม่ใช่มีสภาพคล่องสูง แต่หุ้นดีกว่า คือ เราเป็นเจ้าของธุรกิจเหมือนกัน มีคนเก่งบริหารงานแทน ด้วย ไม่ต้องเหนื่อย ใช้เงินทำงานแทน
ดังนั้น การซื้อหุ้น จึงต้องศึกษาธุรกิจให้ดี ผศ.ดร. นิเวศน์ ยกตัวอย่างว่า ตอนปี 40 บริษัทเงินทุนปิด ผศ.ดร. นิเวศน์ ตกงาน แต่มีเงินเก็บอยู่ 10 ล้าน (ในระดับผู้บริหารธนาคาร ผศ.ดร. นิเวศน์ บอกก็ไม่เยอะไม่น้อย)
ก็เลยเอาเงิน 10 ล้านมาลงทุน ในหุ้น
โดยจุดสำคัญคือ ธุรกิจที่เราจะซื้อหุ้นต้อง
- มั่นคง เป็นเจ้าตลาด อันดับต้นๆ
- ไม่มีหนี้สิน หรือมีแต่น้อย และมีแนวโน้มใช้หมด ไม่ก่อหนี้เพิ่ม
- มีผลกำไร และมีนโยบายจ่ายเงินปันผลตลอด
- เป็นธุรกิจที่น่าจะไม่ได้รับผลกระทบด้านความเชื่อ มากนัก (แต่ข้อนี้ไม่ห่วงเท่าไร)
ผศ.ดร. นิเวศน์ เลยมองตัวเแรกคือ หุ้นมาม่า (ขอเรียกง่ายๆ) เพราะ มาม่า เป็นสินค้าที่ยามวิกฤต ยังคงขายได้ เป็นอันดับหนึ่ง บริษัทไม่มีหนี้สิน ผู้บริหารเป็นคนดี มีนโยบายจ่ายเงินปันผลตลอด
ผศ.ดร. นิเวศน์ เลยลงทุนไป 1 ล้าน ซื้อหุ้นไว้ หุ้นละ 50 บาท ปีแรกได้เงินปันผลมา 5 บาท เท่ากับ 10% (ปัจจุบันหุ้นมาม่า ผศ.ดร. นิเวศน์ บอกว่า ตอนนี้ 800 บาท แล้ว 10 ปีผ่านไป เงิน 1 ล้านของผศ.ดร. นิเวศน์ กลายเป็น 16 ล้าน โดยยังไม่นับเงินปันผลที่ได้)
3. กระจายความเสี่ยง จะเห็นว่า ผศ.ดร. นิเวศน์ ลงทุนมาม่าแค่ 1 ล้าน แต่ไม่ลงทุน 10 ล้าน เพราะ ต้องกระจายความเสี่ยง ผศ.ดร. นิเวศน์ เล่าว่า หุ้นตัวที่สองที่ลงทุน คือ วาโก้ โดยเหตุผลที่เลือกคือ วาโก้ ธุรกิจเสื้อใน ที่ขายทั่วเอเชีย ตอนนั้นค่าเงินไทยลด ดังนั้นของจากเมืองไทยจึงมีราคาถูก วาโก้ เป็นเสื้อในคุณภาพดี ราคาถูก จึงขายได้ หรือ หุ้นอีกตัวคือ 7/11 เพราะยังไงคนก็ซื้อ ก็กิน
สิ่งที่ ผศ.ดร. นิเวศน์ เน้นคือ การวิเคราะห์ธุรกิจ ไม่ใช่การดูในกระดาษ ดูตัวเลข แต่ต้องสัมผัสจริง เห็นจริง เข้าใจธุรกิจจริงๆ เพราะตัวเลข สะท้อนแค่บางอย่าง แต่เหตุการณ์จริง ในการค้าขาย คือ ผลงาน
บางบริษัท ตัวเลขดี แต่จริงๆ ธุรกิจอาจเริ่มป่วย บางบริษัทตัวเลขไม่ดี แต่อาจกำลังอยู่ขาขึ้น ซึ่งของเหล่านี้ต้องวิเคราะห์จากความจริง เห็นจริง ไม่ใช่ดูตัวเลขในกระดาษ
4. ถือยาว การเล่นหุ้น มีสองแบบคือ เป็นนักลงทุน หรือเป็นนักเล่นหุ้น นักเล่นหุ้น จะเหมือนการพนัน คือ เล่นความเสี่ยง เก็งกำไร แต่การเป็นนักลงทุนคือ ดู 3 ข้อ แล้วเลือกเก็บเงินปันผล ผศ.ดร. นิเวศน์ แนะนำว่า หุ้นแต่ละตัว ให้รอจังหวะที่ บริษัทป่วย คือ เกิดวิกฤต พื้นฐานบริษัทดี แต่ล้มเจ็บเพราะวิกฤตบางอย่าง เช่น แต่ก่อน หุ้นการบินไทย ล้ม แต่พื้นฐานธุรกิจดี สุดท้าย หุ้นก็ขึ้น
ปัญหาคือ คนส่วนใหญ่ รอไม่เป็น ใจไม่นิ่งพอ แม้จะคิดว่า พื้นฐานดี แต่ก็ยอมขายทิ้งก่อน เพราะกลัว
ดังนั้น ถ้าเราคิดว่า พื้นฐานดีแล้ว และไม่มีความเสี่ยง เพียงแต่ ช่วงนี้ หุ้นตก เพราะป่วย ก็ต้องรอให้บริษัท รักษาตัว ให้หายป่วย กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม
โดยพื้นฐาน ผศ.ดร. นิเวศน์ แนะนำให้ ถือหุ้นแต่ละตัว 5 ปี และเริ่มต้นเล่น 5 หุ้น จะกระจายกันไป
คำว่า 5 ปี ไม่จำเป็นต้องถือยาว ก็ได้ ถ้าเห็นว่า พื้นฐานมันเปลี่ยน ก็ขายได้ แต่ให้ ตั้ง "ใจ" ไว้ว่า 5 ปี เพื่อใจจะได้นิ่งพอ
---------------------------------------------
โดยสรุปคือ
1. หาบริษัทที่ดี มีแนวโน้มเติบโต และจ่ายปันผล
2. รอจังหวะ เจ็บไข้ ได้ป่วย (ไม่ใช่แค่หุ้นตกเล็กๆ)
3. ลงทุน
4. เก็บเกี่ยว เงินปันผล (ไม่ต้องสนใจราคาหุ้น ถ้าเลือกบริษัทที่ดี ยังไง ราคาก็ขึ้น)
5. เงินปันผล ให้ถือเป็น เงินที่งอกขึ้นมา จากเงินที่เราไม่มี ดังนั้น ได้มา ถ้าไม่มีเหตุอันควร ให้เก็บไว้เพื่อรอจังหวะ ลงทุนใหม่
---------------------------------------------
จริงๆ ที่อาจารย์สอนเป็นแนวทางง่ายๆ สำคัญที่ "ใจ" เท่านั้น
ตอนผมเล่นใหม่ๆ ที่เสียหายก็เพราะใจ ลองนึกตามหลักการของอาจารย์ ถ้าวันนั้นยังถือหุ้นอยู่ ด้วย "ใจ" ที่ "นิ่ง"
ตอนนี้ก็รวย ....สุดๆ เหมือนกัน
หุ้นตัวหนึ่ง ผมเคยซื้อไว้ 10.50 จ่ายปันผล 0.50-1.00 ต่อปี แต่ผมทนไม่ได้ ขายไป เพราะราคาไม่ค่อยขยับ (ตอนนั้นเป็น คนเล่นหุ้น มองราคาเป็นหลัก)
วันนี้หุ้นตัวนั้น 14.00 บาท เท่ากับ ขึ้นมา 3.5 บาท ถ้าผมลงไว้ 10,000 หุ้น เป็นเงิน 105000 บาท ผมก็จะมีเงิน 140,000 บาท
พร้อมปันผลอีก ปีเฉลี่ย 1 หมื่นบาท (คิดว่า 5 ปี ก็เท่ากับ เงินผม งอกขึ้นมาโดยประมาณเกือบ 100% จาก 105000 -> 190,000 )
ฟังดูอาจจะไม่เยอะ แต่ลองนึกว่า ถ้าเราเริ่มต้นตอนสัก 30 (ผมเกินละ) เริ่มต้นปีละ 50,000 บาท
ค่อยๆ ลงทุน ผ่านไป อายุ 40 เงินตั้นต้น ง่ายๆ 500,000 แต่เงินจะงอก เป็น 1 ล้าน (คิดจากหุ้นที่ผมยกต้วอย่าง แต่ถ้าเป็นหุ้นมาม่าอะ จาก 500,000 จะกลายเป็น 8,000,000 นะครับ)
ทั้งนี้ วิธีนี้ เป็นการลงทุนใน หุ้น ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ให้ลดความเสี่ยงลง และดีกว่า เงินฝาก หรือเอาไปลงทุนทำอย่างอื่น
แต่จุดสำคัญคือ จะหาบริษัทดีๆ ที่ว่าได้อย่างไร และจะมีจังหวะที่เจ็บป่วย ตอนไหนให้เราลงทุน
จังหวะในการเข้าซื้อ กับการมีเงินสดในมือ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของการเริ่มเล่นหุ้น