จากมติชนออนไลน์
พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับศพ คนก็มักจะนึกถึงสภาพความน่ารังเกียจทางการแพทย์ หรือ เรื่องผี แต่แท้จริงแล้วความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องวิ่งหนีจริงหรือ ?
วันนี้ เรามีหนึ่งในคนทำงาน จากเบื้องหลัง นั่นก็คือ คุณสุรศักดิ์ อุดมหรรษากุล เจ้าหน้าที่ฌาปนกิจ วัดหนังราชวรวิหาร วัย 35 ปี ได้เล่าประสบการณ์ส่วนตัวให้ฟังว่า
"ปัจจุบันผมก็ทำงานประจำอยู่ แต่ด้วยความที่เติบโตมาด้วยความผูกพันกับวัด ตั้งแต่อายุ 13 ปี ช่วงแรก ๆ ก็เข้าไปช่วยงานบุญกับทางวัด แต่ต่อมาก็ได้เข้าไปช่วยมากขึ้นในส่วนของการทำศพ จนกระทั่งเข้ามาทำจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2544 เพราะสัปเหร่อคนเดิมเสียชีวิตลง จึงมาช่วยเต็มตัวโดยไม่ได้เน้นทำรายได้ ดังนั้น ก่อนที่จะมาทำก็ต้องมีการครอบครู ตามความเชื่อในการป้องกันสิ่งชั่วร้าย"
ส่วนความรู้สึกแรกเมื่อทำศพถามว่ากลัวไหม ?
"ก็.. รู้สึกเฉยๆ นะ"
"สมัยนี้เมื่อมีคนเสียชีวิต ก็จะมีการแจ้งความ ปอเต็กตึ้งจะมาจัดการ และให้ฉีดยาทำศพไปในตัว แต่สมัยก่อนไม่มีกระบวนการเหล่านี้ ทำให้การรับรู้ในการทำศพนั้นค่อนๆเลือนหายไป หากเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ทางด้านโรงพยาบาลเองก็จะเสนอโลงและการทำศพให้เสร็จ แต่อีกนัยยะหนึ่ง ก็สะท้อนว่าอาจกลายเป็นธุรกิจศพ ในประเด็นราคาโลงศพที่แพง คล้ายมัดมือชก ส่วนกระบวนการทำศพเบ็ดเสร็จเท่าที่เห็นคือ สุริยาหีบศพ ซึ่งมีราคาในกระบวนการทำศพอยู่ที่ราวหมื่นบาท ครบถ้วนทุกกระบวนการ ตั้งแต่กระบวนการแต่งหน้าแต่งตัว จนบรรจุลงหีบศพ แต่เนื้อไม้โล่งจะดีกว่า เพราะไม้แข็ง แม้ราคาจะแพงกว่าเจ้าอื่นก็ตาม
หากเสียที่บ้าน อันดับแรกให้จุดธูปก่อนเพื่อให้รู้ว่าเขาเสียชีวิตแล้ว และให้วิญญาณอยู่ตรงนั้น หลังจากนั้น ให้ทำประตูป่า โดยเดินไปที่ต้นไม้นอกบ้านเท้าเปล่าติดดิน แล้วจึงกลั้นใจใช้มีดเลื่อยกิ่งไม้เหมาะๆสองกิ่ง ร่ายคาถา เดินไปประตูบ้านแล้วบริกรรมคาถาขอเจ้าที่นำศพออก จากนั้นเอากิ่งไม้ปักไว้สองกิ่งที่ประตูซ้ายขวา เสร็จแล้วนำศพออก เสร็จแล้วจึงดึงกิ่งไม้ออกเสียบไว้ที่ข้างศพ ถ้าไม่ทำก็มีความเชื่อว่าจะทำให้วิญญาณยังหลงทางอยู่
แต่ปัจจุบันก็จะมีแพทย์เข้าไปตรวจ แพทย์ก็จะมีการเสนอฉีดฟอร์มาลีนให้ศพ โดยราคาไม่เกิน 800 บาท แต่บางครั้งก็มี 1,500-2,500 บาท ซึ่งแพงเกินจริง โดยมักจะฉีดที่บ้าน ซึ่งที่จริงแล้วฟอร์มาลีน เป็นอันตราย และจะไม่ให้เด็กเล็กเข้าใกล้จนกว่าจะฉีดเสร็จ ถ้าแนะนำจะให้มาฉีดที่วัดมากกว่า จุดที่ฉีด มักนิยมฉีดที่ ตาตุ่ม เพราะเนื้อตรงนั้นบางและเห็นเส้นง่าย หรือ ฉีดที่โคนขาด้านในซึ่งเนื้อจะหนาและจะมีเส้นเยอะ
เมื่อมาถึงวัด ก็จะมีการเปลี่ยนเสื้อผ้าศพ ซึ่งจะมีขั้นตอนลำบากนิดหน่อย ต้องใช้คน 2 คน ใส่กางเกงและเอาปลายขาเข้ามาที่มือ จับศพยกแล้วจับรูดกางเกงเข้าไป ส่วนเสื้อต้องใส่จากลำตัวขึ้นไป จะใส่ผ่านศีรษะไม่ได้ หากในกรณีที่ศพอุบัติเหตุหนัก หรือติดโรคร้ายแรงก็จะใส่ซองซิปมา
การแต่งหน้าศพ ส่วนใหญ่จะแต่งเอง แต่ช่วงหลังเริ่มมีการรับแต่งตามวัดตามโรงพยาบาล"
การแต่งหน้าศพเป็นกระบวนการที่ทำให้คนตายกลายเป็นภาพคล้ายคนนอนหลับ หรือรอการกลับมาของศพมาเกิดใหม่ ตรงนี้จริงหรือไม่ ?
"ตรงนี้เท่าที่ผมทราบมา คือ ตามความเชื่อคนไทย มีความเชื่อประมาณว่า ถ้าคนมีฐานะก็จะบอก สิ้นบุญแล้ว แต่ถ้า เป็นคนจน ก็จะบอกว่า หมดกันแล้ว"
"มาต่อกันที่ขั้นตอนต่อไป เมื่อเสร็จแล้วก็จะขึ้นเตียง หงายมือขวามารดน้ำ บางศพก็ดึงแขนออกมาง่าย บางศพดึงแขนออกมาไม่ได้ ก็ต้องใช้ด้ายพันข้อแขนแล้วพันไว้กับโต๊ะ แต่หากเป็นศพในถุงซิปก็จะไม่เอาออกมา จะพรมน้ำในโลงเฉย ๆ ต่อมาเมื่อเวลาราว 5 โมงเย็น ก็จะมีการรดน้ำเพื่อขออภัยสิ่งที่ได้ล่วงเกินกับศพ
ต่อมาก็จะทำการอาบน้ำศพเสร็จก็จะทำพิธีเบิกโลงโดยการเอาไม้ไผ่มาผ่าครึ่งหนีบไว้ที่ขอบโลงจุดเทียนแล้วนำของยำสามอย่างใส่ใบตองแล้วไว้กลางโลงสายสิญจ์พันวนซ้ายถามญาติให้บอกชื่อคนตายเจ้าของโลงแล้วเอามีดสับเบิกโลงเพื่อขออนุญาตินางไม้เทพารักษ์ไม่ให้มากวนดวงวิญญาณที่จะมาอยู่ในโลงต่อมาจึง พรมน้ำมนต์ธรณีสาร คือ นำเอา ด้ายตราสังข์ ดอกไม้หนึ่งกำ เทียนขาวหนึ่งเล่ม ธูปห้าดอก ขันน้ำมนต์ เงินสิบสองบาทค่าครู เอามือขวาพรมน้ำมนต์ที่หน้าศพสามครั้ง แล้วพรมที่หัว กลาง ท้ายของโลง
ขั้นตอนต่อมา ก็จะทำการมัดตราสังข์ ที่แรกมัดค คอ ซึ่งหมายถึงว่า การมีลูกก็เหมือนมีห่วงมาคล้องคอ เสร็จก็จะเลื่อนมาที่ มือ ซึ่งเป็นมือที่เชื่อว่าทำเงิน ก็จะมัดเป็นห่วงคล้องมือ แล้วก็มัดที่ ข้อเท้า คือ สามห่วงเป็นสิ่งที่เรามักห่วง
เรียกได้ว่ามัด รูป ที่คอ มัดทรัพย์ ที่ มือ และครอบครัวเพื่อนฝูง คือ เท้าที่ใช้เดินไปหาเขา เพื่อให้หมดห่วง ส่วนเงินที่ใส่ปากผี คือให้คนตายสอนคนเป็น เป็นการสอนของคนโบราณ เหมือนกับสอนว่า ตายแล้วแม้แต่เงินบาทเดียวก็เอาไปไม่ได้ ส่วนการเคาะโลงกินข้าว ก็เป็นการสอนว่า พอเขาตายเคาะยังไงเขาก็ออกมากินไม่ได้ เพราะฉะนั้นควรดูแลตั้งแต่ตอนเขาอยู่
เสร็จแล้วก็จะให้ญาติผู้ตายช่วยยกศพลงโลงเชื่อว่าคนเราตายแล้วจะไปหาพระเกตุแก้วจุฬามณีจึงมัดดอกไม้ไว้ที่มือเพื่อให้นำไปไหว้องค์พระบนสวรรค์
หากเป็นคนธรรมดาก็จะลงโลงจับมัดตราสังข์แล้วนอนส่วนคนที่มียศมีตำแหน่งก็จะลงโกศวิธีการลงโกศก็จะจับศพนั่งชันเข่าแล้วเอามือคร่อมข้างหน้าสองมือ มัดตราสังข์ ข้างโกศ จะมี ไม้เสียบผี คือ เป็นแท่งเหล็กเอาไว้พยุงศพทำการขันเชนาะ แล้วมีนวมบุข้างในโกศ แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีธรรมเนียมนี้แล้ว ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ส่วนการจัดการน้ำเหลือง คือ ถ้าฝังเป็นลักษณะของ โลงศพ ก็จะปล่อยให้ไหลในโลง ส่วนโกศก็จะมีท่อในโกศ แล้วก็จะเอาน้ำเหลืองไปเคี่ยวกับเครื่องหอม ใส่กับขี้เลื่อย เอาไปเผาน้ำเหลืองเสร็จแล้วศพก็จะแห้งอยู่ข้างใน ต่อมาจึงเปลี่ยนโกศใหม่
พิธีการเปิดโลง สมัยก่อนก็จะมีการนำน้ำมะพร้าวมาล้างหน้าศพ เพราะเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ แล้วจึงตัดบ่วงมัดตราสังข์ แต่ปัจจุบันไม่มีการเปิดโลงเพราะ เวลาเปิดโลงมามันจะทำให้มีเชื้อโรคและรา แรงลมแรงอัดภายในโลง พัดเข้าหน้าสัปเหร่อ ส่งผลให้สัปเหร่อคนก่อนหน้าผม ติดเชื้อในปอดจนเสียชีวิตในที่สุด สัปเหร่อวัดอื่นบางคนก็เช่นกัน ปัจจุบันเมื่อไม่เปิดโลงก็จะใช้มีดจามแทน
ในเรื่องของด้ายตราสังข์ มองว่าตามความเชื่อจะเอาด้ายไปเพื่อให้วิญญาณคุ้มครอง แต่ส่วนตัวผมไม่ทำให้ เพราะ มองว่าทำศพไปแล้วก็อย่าไปเอามาเลย
การทอดผ้าบังสุกุลก่อนเผา ทำเพื่ออุทิศให้ผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย ต่อมาจะเป็น การเผา สมัยก่อนก็จะโยนผลฝรั่งเข้าไป 10-20 ลูก เพื่อลดกลิ่นสาปศพในการเผาแบบเชิงตะกอน แต่ปัจจุบันก็จะเปลี่ยนไปเป็นการเผาที่มช้เตาแบบลดมลพิษ โดยการพลิกศพไปมาขณะเผา
หลังจากเผาแล้วก็จะมีการเก็บอัฐิ เรียกว่า การแปรธาตุ ก็จะนำกระดูกมาเรียง หันหน้าทางทิศตะวันตก ถ้าแต่เดิมก็จะเป็น พิธีการสามหาบ ซึ่งเป็นพิธีการโบราณ การทำหาบสามหาบ มีข้าวของคล้ายกับทำสังฆทาน เสร็จแล้วก็จะหันอัฐิ ไปทิศตะวันออก มีพระหนึ่งรูป สวดทำพิธี บางคนเอาอัฐิไปลอยอังคาร บางคนเอากลับบ้าน ก็มีความเชื่อว่าควรจะปฏิบัติ ดังนี้ คือ การหันรูปคนตายเข้าหน้าคนถือ ระหว่างทางห้ามพูดกับใคร กลับให้ถึงบ้าน ก่อนเข้าบ้านก็ให้คนไปไหว้พระขอเจ้าที่เจ้าทางให้ดวงวิญญาณญาติเข้าบ้าน
มาต่อกันที่ความเชื่อคือตามความเชื่อเดิมเล่าว่าคนตายมักจะรู้ตัวว่าตายภายใน3-7วันเท้าก็จะงอขึ้นไม่ติดพื้นดินปกติส่วนตัวทำมา20 ปี ไม่เคยเจอผี ที่หน้าตาเละ แต่เชื่อว่ามาจิต มีวิญญาณ จริงๆ แต่ส่วนใหญ่คนที่สัมผัสกลิ่นเสียงจะอยู่กับคนที่มีญาณมีบุญเยอะๆ เพราะคนธรรมดาบาปเยอะ ไม่มีใครมาขอส่วนบุญ แต่ส่วนตัวเชื่อว่าคนที่เห็นผี คือ อาจจะเป็นภาวะจิตปรุงแต่งไปเอง
ในเรื่องรายได้ เฉลี่ยแล้ว ค่าใช้จ่ายเป็นสัปเหร่อ ครั้งละ 700-800 บาท ที่มาทำก็เพราะรับคำหลวงปู่หลวงพ่อมาบอกว่าให้ช่วยคนเพราะเขาเดือดร้อนมา บางงานก็ช่วยฟรี แต่ปัจจุบัน วัดในกรุงเทพฯส่วนใหญ่ ก็กลับกลายเป็นธุรกิจทำศพไปแล้ว คือ เจ้าภาพไม่ต้องทำอะไรเลยก็จะมีใบมาให้เลือก แล้วก็จะมีเจ้าหน้าที่แต่ละแผนก แล้วก็รับเป็นเงินเดือนไป"
ธุรกิจหลังความตาย ค่าใช้จ่ายงานศพพุทธต้องใช้งบกันเท่าไหร่?
พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับศพ คนก็มักจะนึกถึงสภาพความน่ารังเกียจทางการแพทย์ หรือ เรื่องผี แต่แท้จริงแล้วความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องวิ่งหนีจริงหรือ ?
วันนี้ เรามีหนึ่งในคนทำงาน จากเบื้องหลัง นั่นก็คือ คุณสุรศักดิ์ อุดมหรรษากุล เจ้าหน้าที่ฌาปนกิจ วัดหนังราชวรวิหาร วัย 35 ปี ได้เล่าประสบการณ์ส่วนตัวให้ฟังว่า
"ปัจจุบันผมก็ทำงานประจำอยู่ แต่ด้วยความที่เติบโตมาด้วยความผูกพันกับวัด ตั้งแต่อายุ 13 ปี ช่วงแรก ๆ ก็เข้าไปช่วยงานบุญกับทางวัด แต่ต่อมาก็ได้เข้าไปช่วยมากขึ้นในส่วนของการทำศพ จนกระทั่งเข้ามาทำจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2544 เพราะสัปเหร่อคนเดิมเสียชีวิตลง จึงมาช่วยเต็มตัวโดยไม่ได้เน้นทำรายได้ ดังนั้น ก่อนที่จะมาทำก็ต้องมีการครอบครู ตามความเชื่อในการป้องกันสิ่งชั่วร้าย"
ส่วนความรู้สึกแรกเมื่อทำศพถามว่ากลัวไหม ?
"ก็.. รู้สึกเฉยๆ นะ"
"สมัยนี้เมื่อมีคนเสียชีวิต ก็จะมีการแจ้งความ ปอเต็กตึ้งจะมาจัดการ และให้ฉีดยาทำศพไปในตัว แต่สมัยก่อนไม่มีกระบวนการเหล่านี้ ทำให้การรับรู้ในการทำศพนั้นค่อนๆเลือนหายไป หากเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ทางด้านโรงพยาบาลเองก็จะเสนอโลงและการทำศพให้เสร็จ แต่อีกนัยยะหนึ่ง ก็สะท้อนว่าอาจกลายเป็นธุรกิจศพ ในประเด็นราคาโลงศพที่แพง คล้ายมัดมือชก ส่วนกระบวนการทำศพเบ็ดเสร็จเท่าที่เห็นคือ สุริยาหีบศพ ซึ่งมีราคาในกระบวนการทำศพอยู่ที่ราวหมื่นบาท ครบถ้วนทุกกระบวนการ ตั้งแต่กระบวนการแต่งหน้าแต่งตัว จนบรรจุลงหีบศพ แต่เนื้อไม้โล่งจะดีกว่า เพราะไม้แข็ง แม้ราคาจะแพงกว่าเจ้าอื่นก็ตาม
หากเสียที่บ้าน อันดับแรกให้จุดธูปก่อนเพื่อให้รู้ว่าเขาเสียชีวิตแล้ว และให้วิญญาณอยู่ตรงนั้น หลังจากนั้น ให้ทำประตูป่า โดยเดินไปที่ต้นไม้นอกบ้านเท้าเปล่าติดดิน แล้วจึงกลั้นใจใช้มีดเลื่อยกิ่งไม้เหมาะๆสองกิ่ง ร่ายคาถา เดินไปประตูบ้านแล้วบริกรรมคาถาขอเจ้าที่นำศพออก จากนั้นเอากิ่งไม้ปักไว้สองกิ่งที่ประตูซ้ายขวา เสร็จแล้วนำศพออก เสร็จแล้วจึงดึงกิ่งไม้ออกเสียบไว้ที่ข้างศพ ถ้าไม่ทำก็มีความเชื่อว่าจะทำให้วิญญาณยังหลงทางอยู่
แต่ปัจจุบันก็จะมีแพทย์เข้าไปตรวจ แพทย์ก็จะมีการเสนอฉีดฟอร์มาลีนให้ศพ โดยราคาไม่เกิน 800 บาท แต่บางครั้งก็มี 1,500-2,500 บาท ซึ่งแพงเกินจริง โดยมักจะฉีดที่บ้าน ซึ่งที่จริงแล้วฟอร์มาลีน เป็นอันตราย และจะไม่ให้เด็กเล็กเข้าใกล้จนกว่าจะฉีดเสร็จ ถ้าแนะนำจะให้มาฉีดที่วัดมากกว่า จุดที่ฉีด มักนิยมฉีดที่ ตาตุ่ม เพราะเนื้อตรงนั้นบางและเห็นเส้นง่าย หรือ ฉีดที่โคนขาด้านในซึ่งเนื้อจะหนาและจะมีเส้นเยอะ
เมื่อมาถึงวัด ก็จะมีการเปลี่ยนเสื้อผ้าศพ ซึ่งจะมีขั้นตอนลำบากนิดหน่อย ต้องใช้คน 2 คน ใส่กางเกงและเอาปลายขาเข้ามาที่มือ จับศพยกแล้วจับรูดกางเกงเข้าไป ส่วนเสื้อต้องใส่จากลำตัวขึ้นไป จะใส่ผ่านศีรษะไม่ได้ หากในกรณีที่ศพอุบัติเหตุหนัก หรือติดโรคร้ายแรงก็จะใส่ซองซิปมา
การแต่งหน้าศพ ส่วนใหญ่จะแต่งเอง แต่ช่วงหลังเริ่มมีการรับแต่งตามวัดตามโรงพยาบาล"
การแต่งหน้าศพเป็นกระบวนการที่ทำให้คนตายกลายเป็นภาพคล้ายคนนอนหลับ หรือรอการกลับมาของศพมาเกิดใหม่ ตรงนี้จริงหรือไม่ ?
"ตรงนี้เท่าที่ผมทราบมา คือ ตามความเชื่อคนไทย มีความเชื่อประมาณว่า ถ้าคนมีฐานะก็จะบอก สิ้นบุญแล้ว แต่ถ้า เป็นคนจน ก็จะบอกว่า หมดกันแล้ว"
"มาต่อกันที่ขั้นตอนต่อไป เมื่อเสร็จแล้วก็จะขึ้นเตียง หงายมือขวามารดน้ำ บางศพก็ดึงแขนออกมาง่าย บางศพดึงแขนออกมาไม่ได้ ก็ต้องใช้ด้ายพันข้อแขนแล้วพันไว้กับโต๊ะ แต่หากเป็นศพในถุงซิปก็จะไม่เอาออกมา จะพรมน้ำในโลงเฉย ๆ ต่อมาเมื่อเวลาราว 5 โมงเย็น ก็จะมีการรดน้ำเพื่อขออภัยสิ่งที่ได้ล่วงเกินกับศพ
ต่อมาก็จะทำการอาบน้ำศพเสร็จก็จะทำพิธีเบิกโลงโดยการเอาไม้ไผ่มาผ่าครึ่งหนีบไว้ที่ขอบโลงจุดเทียนแล้วนำของยำสามอย่างใส่ใบตองแล้วไว้กลางโลงสายสิญจ์พันวนซ้ายถามญาติให้บอกชื่อคนตายเจ้าของโลงแล้วเอามีดสับเบิกโลงเพื่อขออนุญาตินางไม้เทพารักษ์ไม่ให้มากวนดวงวิญญาณที่จะมาอยู่ในโลงต่อมาจึง พรมน้ำมนต์ธรณีสาร คือ นำเอา ด้ายตราสังข์ ดอกไม้หนึ่งกำ เทียนขาวหนึ่งเล่ม ธูปห้าดอก ขันน้ำมนต์ เงินสิบสองบาทค่าครู เอามือขวาพรมน้ำมนต์ที่หน้าศพสามครั้ง แล้วพรมที่หัว กลาง ท้ายของโลง
ขั้นตอนต่อมา ก็จะทำการมัดตราสังข์ ที่แรกมัดค คอ ซึ่งหมายถึงว่า การมีลูกก็เหมือนมีห่วงมาคล้องคอ เสร็จก็จะเลื่อนมาที่ มือ ซึ่งเป็นมือที่เชื่อว่าทำเงิน ก็จะมัดเป็นห่วงคล้องมือ แล้วก็มัดที่ ข้อเท้า คือ สามห่วงเป็นสิ่งที่เรามักห่วง
เรียกได้ว่ามัด รูป ที่คอ มัดทรัพย์ ที่ มือ และครอบครัวเพื่อนฝูง คือ เท้าที่ใช้เดินไปหาเขา เพื่อให้หมดห่วง ส่วนเงินที่ใส่ปากผี คือให้คนตายสอนคนเป็น เป็นการสอนของคนโบราณ เหมือนกับสอนว่า ตายแล้วแม้แต่เงินบาทเดียวก็เอาไปไม่ได้ ส่วนการเคาะโลงกินข้าว ก็เป็นการสอนว่า พอเขาตายเคาะยังไงเขาก็ออกมากินไม่ได้ เพราะฉะนั้นควรดูแลตั้งแต่ตอนเขาอยู่
เสร็จแล้วก็จะให้ญาติผู้ตายช่วยยกศพลงโลงเชื่อว่าคนเราตายแล้วจะไปหาพระเกตุแก้วจุฬามณีจึงมัดดอกไม้ไว้ที่มือเพื่อให้นำไปไหว้องค์พระบนสวรรค์
หากเป็นคนธรรมดาก็จะลงโลงจับมัดตราสังข์แล้วนอนส่วนคนที่มียศมีตำแหน่งก็จะลงโกศวิธีการลงโกศก็จะจับศพนั่งชันเข่าแล้วเอามือคร่อมข้างหน้าสองมือ มัดตราสังข์ ข้างโกศ จะมี ไม้เสียบผี คือ เป็นแท่งเหล็กเอาไว้พยุงศพทำการขันเชนาะ แล้วมีนวมบุข้างในโกศ แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีธรรมเนียมนี้แล้ว ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ส่วนการจัดการน้ำเหลือง คือ ถ้าฝังเป็นลักษณะของ โลงศพ ก็จะปล่อยให้ไหลในโลง ส่วนโกศก็จะมีท่อในโกศ แล้วก็จะเอาน้ำเหลืองไปเคี่ยวกับเครื่องหอม ใส่กับขี้เลื่อย เอาไปเผาน้ำเหลืองเสร็จแล้วศพก็จะแห้งอยู่ข้างใน ต่อมาจึงเปลี่ยนโกศใหม่
พิธีการเปิดโลง สมัยก่อนก็จะมีการนำน้ำมะพร้าวมาล้างหน้าศพ เพราะเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ แล้วจึงตัดบ่วงมัดตราสังข์ แต่ปัจจุบันไม่มีการเปิดโลงเพราะ เวลาเปิดโลงมามันจะทำให้มีเชื้อโรคและรา แรงลมแรงอัดภายในโลง พัดเข้าหน้าสัปเหร่อ ส่งผลให้สัปเหร่อคนก่อนหน้าผม ติดเชื้อในปอดจนเสียชีวิตในที่สุด สัปเหร่อวัดอื่นบางคนก็เช่นกัน ปัจจุบันเมื่อไม่เปิดโลงก็จะใช้มีดจามแทน
ในเรื่องของด้ายตราสังข์ มองว่าตามความเชื่อจะเอาด้ายไปเพื่อให้วิญญาณคุ้มครอง แต่ส่วนตัวผมไม่ทำให้ เพราะ มองว่าทำศพไปแล้วก็อย่าไปเอามาเลย
การทอดผ้าบังสุกุลก่อนเผา ทำเพื่ออุทิศให้ผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย ต่อมาจะเป็น การเผา สมัยก่อนก็จะโยนผลฝรั่งเข้าไป 10-20 ลูก เพื่อลดกลิ่นสาปศพในการเผาแบบเชิงตะกอน แต่ปัจจุบันก็จะเปลี่ยนไปเป็นการเผาที่มช้เตาแบบลดมลพิษ โดยการพลิกศพไปมาขณะเผา
หลังจากเผาแล้วก็จะมีการเก็บอัฐิ เรียกว่า การแปรธาตุ ก็จะนำกระดูกมาเรียง หันหน้าทางทิศตะวันตก ถ้าแต่เดิมก็จะเป็น พิธีการสามหาบ ซึ่งเป็นพิธีการโบราณ การทำหาบสามหาบ มีข้าวของคล้ายกับทำสังฆทาน เสร็จแล้วก็จะหันอัฐิ ไปทิศตะวันออก มีพระหนึ่งรูป สวดทำพิธี บางคนเอาอัฐิไปลอยอังคาร บางคนเอากลับบ้าน ก็มีความเชื่อว่าควรจะปฏิบัติ ดังนี้ คือ การหันรูปคนตายเข้าหน้าคนถือ ระหว่างทางห้ามพูดกับใคร กลับให้ถึงบ้าน ก่อนเข้าบ้านก็ให้คนไปไหว้พระขอเจ้าที่เจ้าทางให้ดวงวิญญาณญาติเข้าบ้าน
มาต่อกันที่ความเชื่อคือตามความเชื่อเดิมเล่าว่าคนตายมักจะรู้ตัวว่าตายภายใน3-7วันเท้าก็จะงอขึ้นไม่ติดพื้นดินปกติส่วนตัวทำมา20 ปี ไม่เคยเจอผี ที่หน้าตาเละ แต่เชื่อว่ามาจิต มีวิญญาณ จริงๆ แต่ส่วนใหญ่คนที่สัมผัสกลิ่นเสียงจะอยู่กับคนที่มีญาณมีบุญเยอะๆ เพราะคนธรรมดาบาปเยอะ ไม่มีใครมาขอส่วนบุญ แต่ส่วนตัวเชื่อว่าคนที่เห็นผี คือ อาจจะเป็นภาวะจิตปรุงแต่งไปเอง
ในเรื่องรายได้ เฉลี่ยแล้ว ค่าใช้จ่ายเป็นสัปเหร่อ ครั้งละ 700-800 บาท ที่มาทำก็เพราะรับคำหลวงปู่หลวงพ่อมาบอกว่าให้ช่วยคนเพราะเขาเดือดร้อนมา บางงานก็ช่วยฟรี แต่ปัจจุบัน วัดในกรุงเทพฯส่วนใหญ่ ก็กลับกลายเป็นธุรกิจทำศพไปแล้ว คือ เจ้าภาพไม่ต้องทำอะไรเลยก็จะมีใบมาให้เลือก แล้วก็จะมีเจ้าหน้าที่แต่ละแผนก แล้วก็รับเป็นเงินเดือนไป"