คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
จากตัวอย่างที่ให้มา
เคสแรก ใช้เวลา 1 งวดชำระหหนี้หมด เคสที่สองใช้เวลาชำระหนี้ 2 งวด แต่เสียดอกเบี้ยเท่ากัน อัตราดอกเบี้ยในเคสแรกจึงสูงกว่ามาก ทว่าในกรณีผ่อนระยะยาวเป็นร้อยงวดอัตราดอกเบี้ยไม่ต่างกันมากอย่างนี้
เคสแรก เหมือนเรากู้เงินแค่ 40,000 บาท เพราะในวันรับเงินกู้เราต้องชำระเงินงวดแรกทันที 60,000 บาท ต้นงวดถัดไปจึงจะจ่ายอีก 60,000 บาท จากเงินต้น 40,000 บาท เสียดอกเบี้ย 50% เป็นเงิน 20,000 บาท (รวมเป็นเงินผ่อน 60,000 บาท)
เคสที่ 2 ดูจากตารางที่ผมคำนวณดอกเบี้ยให้ดูครับ
เคสแรก ใช้เวลา 1 งวดชำระหหนี้หมด เคสที่สองใช้เวลาชำระหนี้ 2 งวด แต่เสียดอกเบี้ยเท่ากัน อัตราดอกเบี้ยในเคสแรกจึงสูงกว่ามาก ทว่าในกรณีผ่อนระยะยาวเป็นร้อยงวดอัตราดอกเบี้ยไม่ต่างกันมากอย่างนี้
เคสแรก เหมือนเรากู้เงินแค่ 40,000 บาท เพราะในวันรับเงินกู้เราต้องชำระเงินงวดแรกทันที 60,000 บาท ต้นงวดถัดไปจึงจะจ่ายอีก 60,000 บาท จากเงินต้น 40,000 บาท เสียดอกเบี้ย 50% เป็นเงิน 20,000 บาท (รวมเป็นเงินผ่อน 60,000 บาท)
เคสที่ 2 ดูจากตารางที่ผมคำนวณดอกเบี้ยให้ดูครับ
แสดงความคิดเห็น
ฟังก์ชั่นทางการเงินใน Excel type=0, type=1 มีความแตกต่างในการคำนวณกันอย่างไรคะ
แต่อยากทราบหลักการ หรือวิธีคิดที่ทำให้ค่าออกมาไม่เหมือนกันค่ะ
อย่างเช่น ถ้ากู้เงินเงินมา 100,000 บาท ต้องผ่อนคืนทุกๆเดือน เดือนละ 60,000บาท เป็นเวลา 2 เดือน
ถ้าใช้ type=0, RATE(2, -60000, 100000, 0, 0) จะได้ 13.07%
ถ้าใช้ type=1, RATE(2, -60000, 100000, 0, 1) จะได้ 50.00%
โปรแกรมมีการคำนวณอย่างไรคะ ค่าที่ได้ถึงแตกต่างกัน
ขอบคุณมากค่ะ
ปล. หาแท็ก Microsoft Excel ไม่เจอ