คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
ความคิดเห็นที่ ๘
จะลำดับเหตุการณ์ให้ เริ่มจาก.............
๑. บทตั้งภาษาบาลี ที่ท่านเจ้าของกระทู้ยกมา
(นวมฺปน ภิกฺขุนา จีวรลาเภณ ติณฺณํ ทุพฺพณฺณกรณานํ อญฺญตรํ ทุพฺพณฺณกรนํ อาทาตพฺพํ นีลํ วา กทฺทมํ วา กาฬสามํวา อนาทา เจ ภิกฺขู ติณฺณํ ทุพฺพณฺณกรณานํ อญฺญตรํ ทุพณฺณกรนํ นวํ จีวรํ ปริภุญฺเชยฺย ปาจิตฺติยํ)
๒. แปล (โดยอรรถ) เป็นภาษาไทยว่า
(อนึ่ง ภิกษุได้จีวรมาใหม่ พึงถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี
๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ของเขียวครามก็ได้ ตมก็ได้ ของดำคล้ำก็ได้
ถ้าภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้จีวรใหม่
เป็นปาจิตตีย์.)
๓. เจ้าของกระทู้จึงสงสัยว่า
ในวิดีโอ(วัดนาป่าพง) ให้การบรรยายสิกขาบทว่า ให้ทำให้เสียสี คือ ให้ย้อมผ้า
๔. เจ้าของกระทู้มีความรู้ว่า
(วัดป่า)ที่ข้าพเจ้าบวชนั่น ว่า ให้ทำเครื่องหมาย
คำถามของเจ้าของกระทู้จึงมีว่า ก็สงสัยว่า (บาลี) ตรงไหนว่าย้อม ตรงไหนว่าพินทุ
=============================================================================
การขยายความของคำว่า จีวรใหม่ คือ จีวรที่ยังมิได้ทำเครื่องหมาย ด้วยวัตถุสำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ในความคิดเห็นที่ ๙ ของท่าน thaithinker
ประเด็นของใจความสำคัญที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย สำหรับการใช้สอย จีวรใหม่ ก็คือ การใช้สีอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่าง ทำให้เป็นวงกลมโดยที่สุดแม้ด้วยปลายหญ้า (แปลไทย เป็นไทย อีกที คือ วงกลม จุดเล็กๆ)
แปลไทยกลับเป็นบาลี วงกลมจุดเล็กๆ คือ =====> พินฺทุ ตามความหมายในความคิดเห็นที่ ๖-๑
การทำให้เสียสี คือ พินฺทุ ตามแบบที่ท่านเจ้าของกระทู้ สงสัย จึงถูกต้องแบบที่ท่านสมาชิกหลายท่านพยายามอธิบาย ไม่ใช่แบบ การย้อม แบบที่อีกฝ่ายอธิบาย
จะลำดับเหตุการณ์ให้ เริ่มจาก.............
๑. บทตั้งภาษาบาลี ที่ท่านเจ้าของกระทู้ยกมา
(นวมฺปน ภิกฺขุนา จีวรลาเภณ ติณฺณํ ทุพฺพณฺณกรณานํ อญฺญตรํ ทุพฺพณฺณกรนํ อาทาตพฺพํ นีลํ วา กทฺทมํ วา กาฬสามํวา อนาทา เจ ภิกฺขู ติณฺณํ ทุพฺพณฺณกรณานํ อญฺญตรํ ทุพณฺณกรนํ นวํ จีวรํ ปริภุญฺเชยฺย ปาจิตฺติยํ)
๒. แปล (โดยอรรถ) เป็นภาษาไทยว่า
(อนึ่ง ภิกษุได้จีวรมาใหม่ พึงถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี
๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ของเขียวครามก็ได้ ตมก็ได้ ของดำคล้ำก็ได้
ถ้าภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้จีวรใหม่
เป็นปาจิตตีย์.)
๓. เจ้าของกระทู้จึงสงสัยว่า
ในวิดีโอ(วัดนาป่าพง) ให้การบรรยายสิกขาบทว่า ให้ทำให้เสียสี คือ ให้ย้อมผ้า
๔. เจ้าของกระทู้มีความรู้ว่า
(วัดป่า)ที่ข้าพเจ้าบวชนั่น ว่า ให้ทำเครื่องหมาย
คำถามของเจ้าของกระทู้จึงมีว่า ก็สงสัยว่า (บาลี) ตรงไหนว่าย้อม ตรงไหนว่าพินทุ
=============================================================================
การขยายความของคำว่า จีวรใหม่ คือ จีวรที่ยังมิได้ทำเครื่องหมาย ด้วยวัตถุสำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ในความคิดเห็นที่ ๙ ของท่าน thaithinker
ประเด็นของใจความสำคัญที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย สำหรับการใช้สอย จีวรใหม่ ก็คือ การใช้สีอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่าง ทำให้เป็นวงกลมโดยที่สุดแม้ด้วยปลายหญ้า (แปลไทย เป็นไทย อีกที คือ วงกลม จุดเล็กๆ)
แปลไทยกลับเป็นบาลี วงกลมจุดเล็กๆ คือ =====> พินฺทุ ตามความหมายในความคิดเห็นที่ ๖-๑
การทำให้เสียสี คือ พินฺทุ ตามแบบที่ท่านเจ้าของกระทู้ สงสัย จึงถูกต้องแบบที่ท่านสมาชิกหลายท่านพยายามอธิบาย ไม่ใช่แบบ การย้อม แบบที่อีกฝ่ายอธิบาย
แสดงความคิดเห็น
ทำไมวัดน่าป่าพงศ์ จึงพูดทำนองว่า การพินทุ หมายถึงการย้อมผ้า แต่ที่อื่น ๆ ว่า หมายถึงการทำสัญลักษณ์
สิกขาบท ๘ สุราปานวรรค ว่าด้วยเรื่องการแห่งความพินทุ
( นวมฺปน ภิกฺขุนา จีวรลาเภณ ติณฺณํ ทุพฺพณฺณกรณานํ อญฺญตรํ ทุพฺพณฺณกรนํ อาทาตพฺพํ นีลํ วา กทฺทมํ วา กาฬสามํวา อนาทา เจ ภิกฺขู ติณฺณํ ทุพฺพณฺณกรณานํ อญฺญตรํ ทุพณฺณกรนํ นวํ จีวรํ ปริภุญฺเชยฺย ปาจิตฺติยํ )
ํวีดีโอ You to be ประมาณนาที 59
ในวิดีโอ(วัดนาป่าพง) ให้การบรรยายสิกขาบทว่า ให้ทำให้เสียสี คือ ให้ย้อมผ้า แต่วัด(วัดป่า)ที่ข้าพเจ้าบวชนั่น ว่าให้ทำเครื่องหมาย เผื่อหาย หรือเผื่อให้จำได้ โดยการทำสัญลักษณ์ไว้(พินทุ) หรือนัยหนึ่ง ว่า จะได้รู้ว่าหัวผ้า หรือปลายผ้าอยู่ทางไหน เวลาจะคลุม ก็วางท่าจับ ทำคลุมหมุนปลายไปจากข้างที่หมายตราไว้ ก็จะสะดวกเร็วกว่า และไม่ผิดข้าง สงสัยบ้างเหมือนกันว่า ตรงไหน แปลว่า ย้อม ตรงไหน แปลว่า ให้ทำพินทุ
ข้อมูลจาก wiki pedia ว่า การพินทุ หมายถึงการกระทำตามที่พระศาสดาอนุญาตในเรื่องการทำเครื่องหมาย ว่า ให้กระทำพินทุ พระศาสดาไม่อนุญาตให้ใช้ผ้าบริขารโดยปราศจากการทำเครื่องหมาย ฯลฯ ในพระธรรมวินนัย กำหนดให้ มีวิธีประกอบการพินทุ โดยให้กล่าวคาถาว่า อิมํ พินฺทุ กปฺปํ..ฯ ไปจนจบ แล้วให้มีการทำวิกัปเกี่ยวกับผ้าจีวรและผ้าสังฆาฏิด้วย ถ้าไม่กระทำ ถือว่าเป็นการผิดวินัยบัญญัติ ในข้อกำหนดว่าด้วย การกระทำผิดอาบัติวินัย มีโทษเป็น ปาจิตติยะกรรม
คำว่าพินทุนั้นยังหมายถึง กิริยาอาการที่เรียกว่าพินทุอีกด้วย ซึ่งกำหนดว่า เป็นอาการๆเขียนอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปในขณะนั้น คำว่าพินทุนั้น ส่วนสำคัญ ว่าด้วยการกระทำจุด 3 จุด คำว่าพินทุอาจหมายถึง "เครื่องหมายพินทุ" และเครื่องหมายเหล่านี้ด้วย ซึ่งมีความหมายในทางเครื่องหมายอย่างเดียวกัน
นิคฺหิต (สันสกฤต ว่า นิคฺฤหิต)[• พุทธศาสนาสุภาษิตนำชีวิตให้รุ่งเรืองสถาพร]
องศา (อังกฤษ ว่า degrees)[• oxford wordpower: dictionary for thai learners]
หยาดน้ำค้าง หรือ พินทุ (ในภาษาไทย)[• พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต]
บางแห่งเรียก จุดสังยุต (อื่นๆ..)[• ในพจนานุกรม จีน-ไทย(อังกฤษ) บางฉบับเรียกว่า Conjugate point (จุดชี้ชัด,จุดสังยุต)]
อาจารย์ของข้าพเจ้าไม่เห็นจะได้พูดว่า ในข้อนี้นะหมายถึงการย้อม เหมือนดั่งที่วัดนาป่าพงศ์บอกมา ก็สงสัยว่า (บาลี) ตรงไหนว่าย้อม ตรงไหนว่าพินทุ