อยากทราบครับว่าแต่ละคนมีความคิดเห็นตามความเข้าใจของตัวเองเกี่ยวกับการใช้คำ "อาบัง" นั้นอย่างไร และคำนี้มีขอบเขตกว้างครอบคลุมขนาดไหนครับ
เท่าที่ผมสังเกตการใช้คำว่า "อาบัง" ในบริบทของคนไทย ผมพอที่จะสรุปตามความเข้าใจของผมดังนี้
คำว่า "อาบัง" เป็นคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษามลายู (ภาษาที่ใช้แถบประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ บางส่วนของฟิลิปปินส์ และภาคใต้ตอนล่างของไทย) แล้วถูกนำมาใช้เรียกผู้ชายบางกลุ่มในภาษาไทย ซึ่งตามทัศนะของคนไทยนั้น "อาบัง" มักหมายถึง ผู้ชายที่นับถือศาสนาอิสลามหรือเป็นมุสลิม จะเห็นว่าไม่ว่าใครคนนั้นจะมีหน้าตาออกไปทางไหน ฝรั่งเอย จีนจ๋า ไทย มลายู อินเดีย หรือว่า อาหรับ ต่างก็ถูกคนไทยเรียกว่าอาบัง โดยไม่ได้คำนึงถึงอายุว่าใครเยอะกว่าหรือน้อยกว่า
อย่างไรก็ตามบางครั้งในทัศนะของคนไทยคำว่า "อาบัง" อาจไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผู้ชายมุสลิมเท่านั้น หากหมายรวมถึงผู้ชายที่มีวัฒนธรรมการแต่งกายหรือรูปลักษณ์หน้าตาออกไปแนวเอเชียใต้ (อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา ฯลฯ) หรือตะวันออกกลาง (กลุ่มประเทศอาหรับและเปอร์เซีย) สังเกตได้ว่าคนไทยมักเรียกผู้ชายที่เร่ขายถั่วว่า "อาบัง" ถึงแม้ว่าเขาอาจนับถือพุทธ ฮินดู หรือ ซิกซ์ก็ตาม
ทีนี้มาดูสิว่า "อาบัง" ในภาษาต้นกำเนิดแปลว่าอะไร
"อาบัง" หรือ Abang ในตัวเขียนภาษามลายูกลาง แปลว่า "
พี่ชาย" ในภาษาไทย ซึ่งไม่จำกัดว่าเขาจะนับถือศาสนาอะไร เกิดในชาติพันธุ์ใด หรือจากประเทศไหนก็ตาม ผู้ชายที่มีอายุมากกว่าเราก็คืออาบังทั้งนั้น ในอินโดนีเซีย คนมุสลิมจะเรียกผู้ชายพุทธที่อาวุโสกว่าว่าอาบัง เช่นเดียวกันกับคนคริสเตียนเรียกผู้ชายฮินดูที่อายุเยอะกว่าว่าอาบังเหมือนกัน
ใครมีข้อคิดเห็นอื่นที่แตกต่างไปจากของผมบ้างไหมครับ
คำว่า "อาบัง" ที่คนไทยชอบใช้เรียกแทนผู้ชายบางกลุ่มมีขอบเขตขนาดไหน
เท่าที่ผมสังเกตการใช้คำว่า "อาบัง" ในบริบทของคนไทย ผมพอที่จะสรุปตามความเข้าใจของผมดังนี้
คำว่า "อาบัง" เป็นคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษามลายู (ภาษาที่ใช้แถบประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ บางส่วนของฟิลิปปินส์ และภาคใต้ตอนล่างของไทย) แล้วถูกนำมาใช้เรียกผู้ชายบางกลุ่มในภาษาไทย ซึ่งตามทัศนะของคนไทยนั้น "อาบัง" มักหมายถึง ผู้ชายที่นับถือศาสนาอิสลามหรือเป็นมุสลิม จะเห็นว่าไม่ว่าใครคนนั้นจะมีหน้าตาออกไปทางไหน ฝรั่งเอย จีนจ๋า ไทย มลายู อินเดีย หรือว่า อาหรับ ต่างก็ถูกคนไทยเรียกว่าอาบัง โดยไม่ได้คำนึงถึงอายุว่าใครเยอะกว่าหรือน้อยกว่า
อย่างไรก็ตามบางครั้งในทัศนะของคนไทยคำว่า "อาบัง" อาจไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผู้ชายมุสลิมเท่านั้น หากหมายรวมถึงผู้ชายที่มีวัฒนธรรมการแต่งกายหรือรูปลักษณ์หน้าตาออกไปแนวเอเชียใต้ (อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา ฯลฯ) หรือตะวันออกกลาง (กลุ่มประเทศอาหรับและเปอร์เซีย) สังเกตได้ว่าคนไทยมักเรียกผู้ชายที่เร่ขายถั่วว่า "อาบัง" ถึงแม้ว่าเขาอาจนับถือพุทธ ฮินดู หรือ ซิกซ์ก็ตาม
ทีนี้มาดูสิว่า "อาบัง" ในภาษาต้นกำเนิดแปลว่าอะไร
"อาบัง" หรือ Abang ในตัวเขียนภาษามลายูกลาง แปลว่า "พี่ชาย" ในภาษาไทย ซึ่งไม่จำกัดว่าเขาจะนับถือศาสนาอะไร เกิดในชาติพันธุ์ใด หรือจากประเทศไหนก็ตาม ผู้ชายที่มีอายุมากกว่าเราก็คืออาบังทั้งนั้น ในอินโดนีเซีย คนมุสลิมจะเรียกผู้ชายพุทธที่อาวุโสกว่าว่าอาบัง เช่นเดียวกันกับคนคริสเตียนเรียกผู้ชายฮินดูที่อายุเยอะกว่าว่าอาบังเหมือนกัน
ใครมีข้อคิดเห็นอื่นที่แตกต่างไปจากของผมบ้างไหมครับ