ก่อน พรบ.ยาใหม่จะผ่านหรือไม่ผ่าน เรามาลองทำความเข้าใจกันไหมว่าระบบยาที่ ideal หรือในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาเป็นยังไง
1. ยาแผนปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.1 ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น โดยผู้มีสิทธิ์สั่งใช้ยาคือแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์เท่านั้น
1.2 ยาที่จ่ายโดยเภสัชกร ซึ่งเภสัชกรจะสามารถจ่ายโดยการดูอาการและซักประวัติผู้ป่วย หรือแพทย์ ทันตะ สัตว์แพทย์จะสั่งใช้ยากลุ่มนี้ก็ได้
1.3 ยาที่ประชาชนสามารถเลือกซื้อได้ หรือ OTC drug เป็นยารักษาอาการเบื้องต้น มีอันตรายน้อย ใครขายก็ได้ หรือเก็บไว้ประจำที่บ้านก็ได้
2 สถานประกอบการด้านสุขภาพแต่ละแห่ง มีสิทธิ์สั่งและจ่ายยาได้แค่ไหน
2.1 สถานประกอบการที่มีทั้งแพทย์และเภสัชกรประจำ เช่นโรงพยาบาล สามารถสั่งยาและจ่ายยาได้ครบทุกประเภท
2.2 สถานประกอบการที่มีเฉพาะแพทย์ ทันตแพทย์ แต่ไม่มีเภสัช เช่นคลินิคแพทย์ สามารถสั่งใช้ยาทุกประเภทได้โดยไม่ผ่านเภสัช แต่ต้องเป็นกรณีฉุกเฉิน จำเป็นเร่งด่วน และใช้ภายในสถานประกอบการเท่านั้น สังเกตว่าใช้คำว่าสั่งใช้ ไม่ใช่สั่งจ่าย แต่ถ้าจะให้ยาผู้ป่วยกลับบ้าน ถ้าเป็น 1.1 ต้องเขียนใบสั่งยาเป็นทางการและให้ผู้ป่วยเอาใบสั่งไปซื้อที่ร้านยา ถ้าเป็น 1.2 จะเขียนใบสั่งยาก็ได้ หรือไม่เขียนเป็นทางการ แต่ให้ผู้ป่วยไปซื้อที่ร้านยา มีเพียง 1.3 ที่คลินิคสามารถจ่ายให้ผู้ป่วยได้เลย
2.3 สถานประกอบการของสัตวแพทย์ ถ้าเป็นยาที่ระบุว่าเป็นยาใช้ในสัตว์ ขึ้นทะเบียนเป็นยาสัตว์ สัตว์แพทย์สามารถสั่ง และจ่ายได้ทุกประเภทที่ระบุว่าเป็นยาสัตว์โดยไม่ต้องผ่านเภสัช แต่ถ้าเป็นยาที่ใช้ในคนแต่สัตว์แพทย์ต้องการนำมาใช้ในสัตว์ ต้องเขียนใบสั่งยาให้เจ้าของสัตว์มาซื้อที่ร้านยาตามประเภทของยาในข้อ 1
2.4 สถานประกอบการเวชกรรมแผนโบราณ หรือแผนไทย แพทย์แผนไทยสามารถสั่งจ่ายยาที่เป็นยาแผนโบราณได้ทุกอย่าง แต่ไม่สามารถสั่งจ่ายหรือเขียนใบสั่งยาแผนปัจจุบันได้ ยกเว้นแค่ยาตาม 1.3 ถ้าแพทย์แผนไทยเห็นว่าผู้ป่วยของตนต้องใช้ยาในข้อ 1.1 ต้องส่งต่อคนไข้ไปโรงพยาบาล (2.1) หรือคลีนิค (2.2) และให้แพทย์เป็นผู้รักษาต่อไป ถ้าแพทย์แผนไทยเห็นว่าผู้ป่วยตนต้องใช้ยาในข้อ 1.2 สามารถแนะนำให้ผู้ป่วยไปซื้อยาต่อที่ร้านยาได้ ซึ่งได้แค่แนะนำเท่านั้น จะเขียนเป็นใบสั่งยาไม่ได้ และเภสัชที่ร้านยาจะเป็นผู้ซักประวัติและเลือกยาให้ผู้ป่วยเองต่อไป
2.5 สถานพยาบาลหรือกายภาพบำบัดที่เปิดโดยพยาบาลหรือนักกายภาพ จะจ่ายยาได้เฉพาะข้อ 1.3 เท่านั้น ถ้าคิดว่าลูกค้าตนต้องการยาข้อ 1.1 ต้องแนะนำไปโรงพยาบาลหรือคลินิค ถ้าคิดว่าต้องการ 1.2 ต้องแนะนำไปซื้อที่ร้านยา ย้ำว่าแนะนำเท่านั้น ห้ามเขียนใบสั่ง
2.6 ร้านยาที่มีเภสัชกรประจำ สามารถขายยาได้ทุกประเภท แต่ถ้าเป็นประเภท 1.1 ต้องมีใบสั่งแพทย์ ห้ามจ่ายเอง ประเภท 1.2 สามารถจ่ายได้โดยการซักประวัติและจ่ายยาตามอาการของผู้ป่วย ถ้าต้องใช้ยาข้อ 1.1 หรือคิดว่าต้องตรวจร่างกาย วินิจฉัยเพิ่มเติม หรือมีอาการซับซ้อน หรือเกินกว่าที่จะรักษาตามอาการได้ ต้องแนะนำให้ไปพบแพทย์ตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 ต่อไป
3. ความเป็นจริงในปัจจุบัน
3.1 คลินิคสั่งใช้ยาและจ่ายยาทุกประเภท โดยผู้จ่ายยามักเป็นเพียงลูกจ้างของคลินิค (ทำหน้าที่ตั้งแต่เวชระเบียน การเงิน จนถึงจัดยา จ่ายยา) ทำให้ขาดการตรวจสอบความสมเหตุผลของการใช้ยา และคุณภาพของยา การเก็บรักษายาที่ไม่มาตรฐาน และมักมีราคายาสูงเกินจริง เนื่องจากมักมีการรวมค่า doctor fee เข้าไปกับค่ายา ซึ่งถ้า พรบ.ใหม่ผ่าน คลีนิคจะสามารถทำทุกอย่างได้และถูกต้องตามกฏหมาย
3.2 สถานพยาบาล กายภาพ แพทย์แผนไทยบางแห่ง ยังทำหน้าที่เกินขอบเขตความรับผิดชอบของตนตามที่กฏหมายกำหนด เช่นสถานพยาบาลบางที่มีการฉีดยาและจ่ายยาแก่คนไข้โดยพยาบาลล้วนๆ (จริงๆฉีดได้ถ้าแพทย์สั่งใช้ยา และคนไข้เอายามาให้พยาบาลฉีด แต่ไม่ใช่พยาบาลสั่งใช้ยาเอง)
3.3 ร้านยายังมีร้านยาที่แขวนป้าย และให้ผู้อื่นมาทำหน้าที่แทนเภสัชกร บางร้านยังมีการจ่ายยาตามข้อ 1.1 โดยไม่มีใบสั่งแพทย์ บางร้านยังมีการขายยาโดยนึกถึงธุรกิจมากกว่าการปฏิบัติวิชาชีพ ถ้าพรบ.ใหม่ผ่าน ผู้ปฏิบัติหน้าที่จะไม่ใช่แค่เภสัช แต่อาจเป็นวิชาชีพอื่นๆ ก็มาทำหน้าที่ได้ แพทย์ ทันตะ สัตว์แพทย์ พยาบาล กายภาพ แพทย์แผนไทย และปัญหาที่ยังมีอยู่ก็ใช่ว่าจะหายไปหรือลดลง และจะยิ่งควบคุมยากมากขึ้น ร้านยาจะเกิดขึ้นอีกมากมาย และอาจไม่ใช่แค่ร้านยา แต่สถานพยาบาล กายภาพ แพทย์แผนไทย จะเกิดการเปลี่ยนแปลงมีทั้งการบริการปกติ และมีการขายยาเพิ่มขึ้นมาอีก
4. สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจหรือปรับทัศนะ
4.1 ยา OTC หรือตามข้อ 1.3 ใช่ว่าจะไม่มีประสิทธิภาพหรือรักษาโรครักษาอาการไม่ได้ และความจริงก็มียาที่อยู่ในรายการ OTC ที่สามารถรักษาอาการเบื้องต้นได้เพียงพอ และสามารถให้พยาบาล กายภาพ แพทย์แผนไทยเลือกใช้ได้ครบถ้วนทุกอาการที่อยู่ในขอบเขตการทำหน้าที่ของวิชาชีพเหล่านี้ ปัญหาคือยากลุ่มนี้ราคาถูก กำไรน้อย แต่มันเป็นปัญหาของผู้ทำธุรกิจ ไม่ใช่ปัญหาประชาชน
4.2 ถ้าคนไข้ไปคลีนิคเสียค่าหมอแต่ไม่ได้ยา ต้องมาจ่ายค่ายาอีก ทำให้เหมือนจ่ายสองต่อ ราคาแพง แต่ถ้าเอาเข้าจริงๆ ราคาอาจถูกกว่ารับยาจากคลีนิคโดยตรงก็ได้ และได้ยาที่ตรงมากกว่า (คลีนิคมักมี item ยาน้อยกว่าร้านยา) คุณภาพยาดีกว่าเพราะมีการควบคุมยาเข้าร้านยา การเก็บรักษา ได้ข้อมูลยาครบถ้วนมากกว่า (การให้คำแนะนำในการใช้ยา ชื่อยา ร้านยามักให้ข้อมูลมากกว่าคลีนิค) ตรงนี้บางคนอาจกังวลว่า สุดท้ายคนไข้จะตรงไปร้านยาเลย เพราะไม่อยากจ่ายค่าหมอ ซึ่งทางแก้คือการออกกฏหมายประกันสังคมต่างๆ ที่คนไข้ไปคลีนิคอาจเสียค่าหมอไม่มากหรือไม่เสีย แต่ทางคลีนิคจะไปเบิกกับระบบประกันสังคมต่อไป
4.3 ร้านยา ต้องรู้บทบาทว่าตัวเองไม่ใช่ร้านขายยาอย่างเดียว และต้องใช้วิชาชีพนำธุรกิจ คนที่แขวนป้ายแต่ไม่ปฏิบัติวิชาชีพควรจะหมดไปได้แล้ว คนปฏิบัติวิชาชีพก็คำนึงถึงการคุ้มครองผู้บริโภคและการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การบังคับใช้กฏหมายก็ต้องเข้มแข็ง จริงจัง ผิดก็ว่าไปตามผิด
4.4 ประชาชนต้องเข้าใจว่ายาเป็นสินค้าที่ต่างจากสินค้าทั่วไป มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสผิดพลาดง่าย มีข้อควรระวังในการใช้ ดังนั้น การหาซื้อยาง่ายๆ จ่ายยาง่ายๆ หรือผู้บริโภคถูกเสมอ ไม่ใช่การได้รับบริการที่ดี แต่เป็นการยื่นความเสี่ยงต่อชีวิตให้กับประชาชนด้วยซ้ำ
จากกรณีร่าง พรบ ยาฉบับใหม่ เราลองมาดูว่าระบบยาที่ควรเป็น น่าจะเป็นอย่างไร
1. ยาแผนปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.1 ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น โดยผู้มีสิทธิ์สั่งใช้ยาคือแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์เท่านั้น
1.2 ยาที่จ่ายโดยเภสัชกร ซึ่งเภสัชกรจะสามารถจ่ายโดยการดูอาการและซักประวัติผู้ป่วย หรือแพทย์ ทันตะ สัตว์แพทย์จะสั่งใช้ยากลุ่มนี้ก็ได้
1.3 ยาที่ประชาชนสามารถเลือกซื้อได้ หรือ OTC drug เป็นยารักษาอาการเบื้องต้น มีอันตรายน้อย ใครขายก็ได้ หรือเก็บไว้ประจำที่บ้านก็ได้
2 สถานประกอบการด้านสุขภาพแต่ละแห่ง มีสิทธิ์สั่งและจ่ายยาได้แค่ไหน
2.1 สถานประกอบการที่มีทั้งแพทย์และเภสัชกรประจำ เช่นโรงพยาบาล สามารถสั่งยาและจ่ายยาได้ครบทุกประเภท
2.2 สถานประกอบการที่มีเฉพาะแพทย์ ทันตแพทย์ แต่ไม่มีเภสัช เช่นคลินิคแพทย์ สามารถสั่งใช้ยาทุกประเภทได้โดยไม่ผ่านเภสัช แต่ต้องเป็นกรณีฉุกเฉิน จำเป็นเร่งด่วน และใช้ภายในสถานประกอบการเท่านั้น สังเกตว่าใช้คำว่าสั่งใช้ ไม่ใช่สั่งจ่าย แต่ถ้าจะให้ยาผู้ป่วยกลับบ้าน ถ้าเป็น 1.1 ต้องเขียนใบสั่งยาเป็นทางการและให้ผู้ป่วยเอาใบสั่งไปซื้อที่ร้านยา ถ้าเป็น 1.2 จะเขียนใบสั่งยาก็ได้ หรือไม่เขียนเป็นทางการ แต่ให้ผู้ป่วยไปซื้อที่ร้านยา มีเพียง 1.3 ที่คลินิคสามารถจ่ายให้ผู้ป่วยได้เลย
2.3 สถานประกอบการของสัตวแพทย์ ถ้าเป็นยาที่ระบุว่าเป็นยาใช้ในสัตว์ ขึ้นทะเบียนเป็นยาสัตว์ สัตว์แพทย์สามารถสั่ง และจ่ายได้ทุกประเภทที่ระบุว่าเป็นยาสัตว์โดยไม่ต้องผ่านเภสัช แต่ถ้าเป็นยาที่ใช้ในคนแต่สัตว์แพทย์ต้องการนำมาใช้ในสัตว์ ต้องเขียนใบสั่งยาให้เจ้าของสัตว์มาซื้อที่ร้านยาตามประเภทของยาในข้อ 1
2.4 สถานประกอบการเวชกรรมแผนโบราณ หรือแผนไทย แพทย์แผนไทยสามารถสั่งจ่ายยาที่เป็นยาแผนโบราณได้ทุกอย่าง แต่ไม่สามารถสั่งจ่ายหรือเขียนใบสั่งยาแผนปัจจุบันได้ ยกเว้นแค่ยาตาม 1.3 ถ้าแพทย์แผนไทยเห็นว่าผู้ป่วยของตนต้องใช้ยาในข้อ 1.1 ต้องส่งต่อคนไข้ไปโรงพยาบาล (2.1) หรือคลีนิค (2.2) และให้แพทย์เป็นผู้รักษาต่อไป ถ้าแพทย์แผนไทยเห็นว่าผู้ป่วยตนต้องใช้ยาในข้อ 1.2 สามารถแนะนำให้ผู้ป่วยไปซื้อยาต่อที่ร้านยาได้ ซึ่งได้แค่แนะนำเท่านั้น จะเขียนเป็นใบสั่งยาไม่ได้ และเภสัชที่ร้านยาจะเป็นผู้ซักประวัติและเลือกยาให้ผู้ป่วยเองต่อไป
2.5 สถานพยาบาลหรือกายภาพบำบัดที่เปิดโดยพยาบาลหรือนักกายภาพ จะจ่ายยาได้เฉพาะข้อ 1.3 เท่านั้น ถ้าคิดว่าลูกค้าตนต้องการยาข้อ 1.1 ต้องแนะนำไปโรงพยาบาลหรือคลินิค ถ้าคิดว่าต้องการ 1.2 ต้องแนะนำไปซื้อที่ร้านยา ย้ำว่าแนะนำเท่านั้น ห้ามเขียนใบสั่ง
2.6 ร้านยาที่มีเภสัชกรประจำ สามารถขายยาได้ทุกประเภท แต่ถ้าเป็นประเภท 1.1 ต้องมีใบสั่งแพทย์ ห้ามจ่ายเอง ประเภท 1.2 สามารถจ่ายได้โดยการซักประวัติและจ่ายยาตามอาการของผู้ป่วย ถ้าต้องใช้ยาข้อ 1.1 หรือคิดว่าต้องตรวจร่างกาย วินิจฉัยเพิ่มเติม หรือมีอาการซับซ้อน หรือเกินกว่าที่จะรักษาตามอาการได้ ต้องแนะนำให้ไปพบแพทย์ตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 ต่อไป
3. ความเป็นจริงในปัจจุบัน
3.1 คลินิคสั่งใช้ยาและจ่ายยาทุกประเภท โดยผู้จ่ายยามักเป็นเพียงลูกจ้างของคลินิค (ทำหน้าที่ตั้งแต่เวชระเบียน การเงิน จนถึงจัดยา จ่ายยา) ทำให้ขาดการตรวจสอบความสมเหตุผลของการใช้ยา และคุณภาพของยา การเก็บรักษายาที่ไม่มาตรฐาน และมักมีราคายาสูงเกินจริง เนื่องจากมักมีการรวมค่า doctor fee เข้าไปกับค่ายา ซึ่งถ้า พรบ.ใหม่ผ่าน คลีนิคจะสามารถทำทุกอย่างได้และถูกต้องตามกฏหมาย
3.2 สถานพยาบาล กายภาพ แพทย์แผนไทยบางแห่ง ยังทำหน้าที่เกินขอบเขตความรับผิดชอบของตนตามที่กฏหมายกำหนด เช่นสถานพยาบาลบางที่มีการฉีดยาและจ่ายยาแก่คนไข้โดยพยาบาลล้วนๆ (จริงๆฉีดได้ถ้าแพทย์สั่งใช้ยา และคนไข้เอายามาให้พยาบาลฉีด แต่ไม่ใช่พยาบาลสั่งใช้ยาเอง)
3.3 ร้านยายังมีร้านยาที่แขวนป้าย และให้ผู้อื่นมาทำหน้าที่แทนเภสัชกร บางร้านยังมีการจ่ายยาตามข้อ 1.1 โดยไม่มีใบสั่งแพทย์ บางร้านยังมีการขายยาโดยนึกถึงธุรกิจมากกว่าการปฏิบัติวิชาชีพ ถ้าพรบ.ใหม่ผ่าน ผู้ปฏิบัติหน้าที่จะไม่ใช่แค่เภสัช แต่อาจเป็นวิชาชีพอื่นๆ ก็มาทำหน้าที่ได้ แพทย์ ทันตะ สัตว์แพทย์ พยาบาล กายภาพ แพทย์แผนไทย และปัญหาที่ยังมีอยู่ก็ใช่ว่าจะหายไปหรือลดลง และจะยิ่งควบคุมยากมากขึ้น ร้านยาจะเกิดขึ้นอีกมากมาย และอาจไม่ใช่แค่ร้านยา แต่สถานพยาบาล กายภาพ แพทย์แผนไทย จะเกิดการเปลี่ยนแปลงมีทั้งการบริการปกติ และมีการขายยาเพิ่มขึ้นมาอีก
4. สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจหรือปรับทัศนะ
4.1 ยา OTC หรือตามข้อ 1.3 ใช่ว่าจะไม่มีประสิทธิภาพหรือรักษาโรครักษาอาการไม่ได้ และความจริงก็มียาที่อยู่ในรายการ OTC ที่สามารถรักษาอาการเบื้องต้นได้เพียงพอ และสามารถให้พยาบาล กายภาพ แพทย์แผนไทยเลือกใช้ได้ครบถ้วนทุกอาการที่อยู่ในขอบเขตการทำหน้าที่ของวิชาชีพเหล่านี้ ปัญหาคือยากลุ่มนี้ราคาถูก กำไรน้อย แต่มันเป็นปัญหาของผู้ทำธุรกิจ ไม่ใช่ปัญหาประชาชน
4.2 ถ้าคนไข้ไปคลีนิคเสียค่าหมอแต่ไม่ได้ยา ต้องมาจ่ายค่ายาอีก ทำให้เหมือนจ่ายสองต่อ ราคาแพง แต่ถ้าเอาเข้าจริงๆ ราคาอาจถูกกว่ารับยาจากคลีนิคโดยตรงก็ได้ และได้ยาที่ตรงมากกว่า (คลีนิคมักมี item ยาน้อยกว่าร้านยา) คุณภาพยาดีกว่าเพราะมีการควบคุมยาเข้าร้านยา การเก็บรักษา ได้ข้อมูลยาครบถ้วนมากกว่า (การให้คำแนะนำในการใช้ยา ชื่อยา ร้านยามักให้ข้อมูลมากกว่าคลีนิค) ตรงนี้บางคนอาจกังวลว่า สุดท้ายคนไข้จะตรงไปร้านยาเลย เพราะไม่อยากจ่ายค่าหมอ ซึ่งทางแก้คือการออกกฏหมายประกันสังคมต่างๆ ที่คนไข้ไปคลีนิคอาจเสียค่าหมอไม่มากหรือไม่เสีย แต่ทางคลีนิคจะไปเบิกกับระบบประกันสังคมต่อไป
4.3 ร้านยา ต้องรู้บทบาทว่าตัวเองไม่ใช่ร้านขายยาอย่างเดียว และต้องใช้วิชาชีพนำธุรกิจ คนที่แขวนป้ายแต่ไม่ปฏิบัติวิชาชีพควรจะหมดไปได้แล้ว คนปฏิบัติวิชาชีพก็คำนึงถึงการคุ้มครองผู้บริโภคและการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การบังคับใช้กฏหมายก็ต้องเข้มแข็ง จริงจัง ผิดก็ว่าไปตามผิด
4.4 ประชาชนต้องเข้าใจว่ายาเป็นสินค้าที่ต่างจากสินค้าทั่วไป มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสผิดพลาดง่าย มีข้อควรระวังในการใช้ ดังนั้น การหาซื้อยาง่ายๆ จ่ายยาง่ายๆ หรือผู้บริโภคถูกเสมอ ไม่ใช่การได้รับบริการที่ดี แต่เป็นการยื่นความเสี่ยงต่อชีวิตให้กับประชาชนด้วยซ้ำ