[Dog training] โทชิ "ToShi ShibaDog" สุนัขผู้เกลียดสายจูง

From http://toshishibadog.blogspot.com/2014/08/how-to-teach-your-dog-to-walk-on-leash.html

โทชิ “ToShi ShibaDog” เป็นสุนัขที่เกลียดสายจูงมาก...

ครั้งแรกที่ใส่สายจูงก็ออกอาการทันที  


อาการเริ่มแรก โทชิจะตัวแข็งค้าง นิ่งไม่ขยับตัว



อาการถัดมา...หากผมยังฝืนดึงสายจูงต่อ มันก็จะนั่งลง เอาก้นแหมะกับพื้นเหมือนพยายามจะตั้งป้อมสู้กับผม พร้อมทั้งหันมามองและแสดงสีหน้าคล้ายๆจะบอกผมว่า

“เจ้านาย!! เอาอะไรมาใส่คอโทชิ โทชิไม่ยอมนะ"




             และถ้ายังฝืนดึงสายจูงอีก โทชิจะลงไปนอนแผละท่าไก่ย่าง ไม่ก็นอนหงายท้องเลย ผมรู้สึกเพลียกับอาการต่อต้านของมันมาก.....มีคนบอกว่าการฝึกให้สุนัขยอมรับสายจูง ยากง่ายนั้นขึ้นกับสุนัขแต่ล่ะตัวและความมีอำนาจเหนือสุนัขของเจ้าของ ยิ่งสุนัขหัวแข็งมากเท่าไรยิ่งฝึกยาก และหากเจ้าของมีความเป็นจ่าฝูงน้อยกว่ามัน ความยากในการฝึกก็จะทวีขึ้นเหมือนเงาตามตัว

               ผมว่าโทชิคงเป็นสุนัขประเภทหัวแข็ง และมันคงมองผมเป็นลูกฝูงเพราะผมใจอ่อน ตามใจมันตลอด จนสร้างนิสัยที่ไม่ดีให้มัน

              วิธีฝึกสุนัขเข้าสายจูงนั้นมีหลายวิธี

              วิธีแรกเป็นวิธีที่อ่อนโยนสุด Softๆ “วิธีใช้สุนัขสอนสุนัข” วิธีหมาสอนหมา ซึ่งวิธีนี้คงต้องตัดออกไป เพราะผมเลี้ยงสุนัขตัวเดียวคือ “ToShi ShibaDog”

             วิธีที่สองใช้ของเล่นหรือขนมกระตุ้น” วิธีนี้ทำโดยเมื่อสุนัขหยุดเดิน ก็ใช้ขนมหรือของเล่นที่สุนัขชอบ เป้นตัวกระตุ้นให้สุนัขเดินตาม แต่ไม่ควรให้กินทันทีต้องให้สุนัขเดินตามเราสักพัก ยิ่งไกลเท่าไรได้ยิ่งดี การให้ขนมหรือรางวัลเร็วเกินไป สุนัขจะเรียนรู้ว่าเดินแค่ไม่กี่ก้าวก็จะได้ขนมแล้ว ต่อไปเขาจะนั่งต่อลองเพื่อให้เราหยิบขนมออกมา กลายเป็นเราเองนี่แหละที่ถูกมันควบคุม ซะงั้น!!
              วิธีนี้ผมว่าเหมาะสำหรับสุนัขหัวอ่อน ซึ่งเมื่อลองกับ ToShi แล้ว ใช้ได้ผลแค่ช่วงแรกเท่านั้น หลังๆมันก็ไม่ยอมเดินตามแล้ว ทั้งๆที่มีขนมล่อ อ้ากก ....สุดยอดของความดื้อ


จึงมีพี่ที่รู้จักกันแนะนำให้ผมลองใช้วิธีสุดท้าย


                  วิธีสุดท้ายใจแข็งเข้าสู้เท่านั้น” วิธีนี้ต้องอาศัยความหนักแน่น และความใจเย็นของผู้ถือสายจูงเท่านั้น ซึ่งวิธีนี้อาจใช้เวลานานจึงควรฝึกในวันที่เรามีเวลาว่างจริงๆ

                เมื่อเราก้าวเดินแล้วสุนัขหยุดเดิน ให้เราหยุดเดิน ดึงสายจูงให้ตึงเล็กน้อยไปในทิศทางที่เราต้องการให้มันเดิน พยายามอย่าให้สายจูงหย่อน แต่ต้องไม่กระชากหรือชักเย่อกับสุนัข ทำจนกว่าสุนัขจะยอมเดินตาม ช่วงนี้แหละที่เป็นช่วงเวลา “วัดใจ” ระหว่างเรากับสุนัข ใครยอมผ่อนก่อนคนนั้นเป็นผู้แพ้ เราต้องนิ่งให้ได้ ห้ามโกรธ ห้ามหงุดหงิดหรือโมโหเป็นอันขาด

                ช่วงนี้บางตัวไม่ใช่จะนิ่งวัดใจกับเราอย่างเดียวนะครับ บางตัวจะร้องเหมือนสุนัขถูกเชือด ดิ้นแสดงอาการต่อต้านต่างๆนานา เราต้องไม่ใจอ่อนเป็นอันขาด ถ้าเรายอมผ่อนก่อน เราจะสูญเสียอำนาจไปในทันที และคราวนี้หากฝึกใหม่อาจยากกว่าเดิมเป็นสองเท่า

มาดูคลิปการฝึกเข้าสายจูง “เนเน่” ของพี่เก๋ Manunya Muangkrajang
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
วิธีนี้ใช้กับ โทชิ “ToShi ShibaDog”แล้วค่อนข้างได้ผล โทชินิ่งขัดขืนอยู่นานหลายนาที....แต่สุดท้ายก็ยอมเดินโดยดี
          
           ผมลองสลับใช้วิธีที่สองกับสาม สุดท้าย “โทชิ”ก็ยอมรับสายจูงในที่สุด พยายามฝึกสุนัขของเราบ่อยๆครับ ฝึกตั้งแต่ยังเด็กดีที่สุด เพราะ “ไม้อ่อนดัดง่าย....แต่ไม้แก่ดัดยาก” สำนวนนี้ใช้กับสุนัขได้ด้วยนะครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


สุดท้าย“โทชิ”ก็ยังยิ้มได้ทั้งๆที่ใส่สายจูงอยู่


----------------------------------------------------------------------------------------
UPDATE

ได้ลองใส่แบบ Harness ตามพี่ๆแนะนำแล้ว

โทชิชอบมากฮับ





-----------------------------------------------------------------------------
กระทู้อื่นๆของ ToShi ShibaDog


[REVIEW]วันนี้โทชิ “ToShi ShibaDog” จะพาไปรีวิวดูการฝัง Microchipสุนัขกันครับ
http://ppantip.com/topic/32590521

✦✦✦✦ผมเป็นทาสหมา...ไปแล้ว : Getting a dog changed our life✦✦✦✦
http://ppantip.com/topic/32598179

[ Dog Training ]วันนี้ โทชิ “ToShi ShibaDog” จะมาสาธิตวิธีฝึกรอกันครับ
http://ppantip.com/topic/32560807

[Dog Training]แชร์วิธีแก้ปัญหาพฤติกรรมสุนัขตื่นเต้นดีใจ...แล้วกัดเจ้าของจนเนื้อตัวลายพร้อย
http://ppantip.com/topic/32544304

[Dog behavior] ToShi 1st day : วันแรกที่รับหมาน้อย ToShi เข้ามาอยู่ในบ้าน
http://ppantip.com/topic/32527352

----------------------------------------------------------------------------

หากสนใจเรื่องราวของโทชิ ติดตามได้ทาง [Blog]ToShi ShibaDog ครับ

http://toshishibadog.blogspot.com/

ขอบคุณครับ
เม่ารักสัตว์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่