พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 186
http://www.tripitaka91.com/91book/book33/151_200.htm
การทำในใจโดยไม่มีอุบาย ชื่อว่า การทำในใจโดยไม่แยบคาย.
การทำในใจโดยอุบาย ชื่อว่า การทำในใจโดยแยบคาย. ในการทำ
ในใจโดยไม่แยบคายและแยบคายนั้น เมื่อทำในใจโดยไม่แยบคาย มิจฉา-
ทิฏฐิที่ยังไม่เคยเกิด ย่อมเกิดขึ้น ส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ จนถึง
การปฏิสนธิโดยแน่นอน. เนื้อแน่นอนแล้ว มิจฉาทิฏฐิชื่อว่าเจริญแล้ว.
เมื่อทำในใจโดยแยบคาย สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เคยเกิด ย่อมเกิดขึ้น ส่วน
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญมากขึ้น จนถึงพระอรหัตมรรค. เมื่อบรรลุพระ-
อรหัตผลแล้ว สัมมาทิฏฐิชื่อว่าเป็นอันเจริญมากแล้ว.
ในบทว่า มิจฺฉาทิฏฺิยา ภิกฺขเว สมนฺนาคตา สตฺตา นี้
พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ :-
มิจฉาทิฏฐิบางอย่างห้ามสวรรคด้วย ห้ามมรรคด้วย.
บางอย่างห้ามมรรคเท่านั้น ไม่ห้ามสวรรค์.
บางอย่างไม่ห้ามทั้งสวรรค์ ไม่ห้ามทั้งมรรค.
บรรดามิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น มิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่างนี้ คือ
อเหตุกทิฏฐิ
อกิริยทิฏฐิ นัตถิกทิฏฐิ ห้ามสวรรค์และห้ามมรรค.
อันตคาหิกมิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐
ห้ามมรรค แต่
ไม่ห้ามสวรรค์.
สักกายทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐
ไม่ห้ามสวรรค์ ไม่ห้ามมรรค. แต่ปฏิเสธ
วิธีนี้แล้วว่า ธรรมดาทิฏฐิโดยที่สุดกำหนดเอาสักกายทิฏฐิซึ่งมีวัตถุ ๒๐
ประการ ชื่อว่าสามารถนำไปสู่สวรรค์ ไม่มี ย่อมทำให้จมลงในนรกโดย
ส่วนเดียวเท่านั้น โดยพระบาลีในพระสูตรนี้ว่า มิจฺฉาทิฏฺิยา ภิกฺขเว
สมนฺนาคตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้
.....................................................................................................
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 187
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=181
เป็นต้น เหมือนอย่างว่า ก้อนหินแม้ขนาดเท่าถั่วเขียวและถั่วเหลือง
โยนลงไปในน้ำ ชื่อว่าจะลอยอยู่ข้างบน ย่อมไม่มี ย่อมจมลงไปข้างล่าง
อย่างเดียว ฉันใด โดยที่สุด แม้แต่สักกายทิฏฐิ ชื่อว่าสามารถนำไปสู่
สวรรค์ ย่อมไม่มี ย่อมให้จมลงในอบายทั้งหลายโดยส่วนเดียวเท่านั้น
ก็ฉันนั้น.
ในบทว่า สมฺมาทิฏฺิยา สมนฺนาคตา นี้ พึงทราบวินิจฉัย
ดังนี้ :-
สัมมาทิฏฐิมี ๕ อย่าง คือ
กัมมัสสกตสัมมาทิฏฐิ ฌานสัมมาทิฏฐิ
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิ. ในสัมมาทิฏฐิ ๕
อย่างนั้น
กัมมัสสกตสัมมาทิฏฐิ ย่อมชักมาซึ่งสัมปัตติภพ.
ฌานสัมมา-
ทิฏฐิ ย่อมให้ปฏิสนธิในรูปภพ.
มัคคสัมมาทิฏฐิ ย่อมกำจัดวัฏฏะ.
ผลสัมมาทิฏฐิ ย่อมห้ามภพ.
ถามว่า วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิทำอะไร.
ตอบว่า แม้วิปัสสนาสัมมาทิฏฐินั้น ก็ไม่ชักมาซึ่งปฏิสนธิ.
ส่วนพระติปิฎกจูฬอภัยเถระกล่าวว่า ถ้าวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิที่อบรม
ไว้แล้ว อาจให้บรรลุพระอรหัตในปัจจุบันได้ไซร้ ข้อนั้นก็เป็นการดี
ถ้าไม่อาจให้บรรลุพระอรหัตได้ไซร้ ก็ยังให้ปฏิสนธิในภพ ๗ ภพได้
ผู้มีอายุ. ท่านกล่าวถึงสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะและโลกุตระนี้ไว้อย่างนี้.
ก็ในเนื้อความดังกล่าวนี้ พึงทราบสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะซึ่งให้สำเร็จ
ในภพเท่านั้น.
.....................................................................................................
คำอธิบายคัมภีร์ เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย กล่าวว่า...
มิจฉาทิฐิบางอย่างห้ามทั้งสวรรค์และมรรค
บางอย่าง ห้ามแต่มรรคอย่างเดียว ไม่ห้ามสวรรค์
บางอย่างไม่ห้ามทั้งมรรค และสวรรค์
มิจฉาทิฐิ 3 อย่างคือ
1. อกิริยทิฐิ และนัตถิกทิฐิ ห้ามทั้งสวรรค์และมรรค
2. มิจฉาทิฐิถึงที่สุด 10 อย่าง คือการยึดถือว่า โลกเที่ยง เป็นต้น จัดว่าห้ามแต่มรรคอย่างเดียว เป็นความเห็นที่วิปริตจากทางของมรรค แต่ไม่ห้ามสวรรค์เพราะไม่เป็นอกุศลกรรมบถ
3. ส่วนสักกายทิฐิ 20 มีเห็นรูปว่าเป็นตน เห็นตนว่าเป็นรูป เห็นตนในรูป เป็นต้น เป็นการเห็นลักษณะ 4 อย่างในขันธ์ 5 รวมเป็น 20 ไม่ห้ามทั้งสวรรค์และมรรคเพราะไม่เป็นอกุศลกรรมบถ และเมื่อเกิดความรู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ปล่อยจากทิฏฐิที่ยึดถือนั้น ก็บรรลุมรรคผลได้
โปรดพิจารณาสักกายทิฐิ 20 ไม่ห้ามทั้งสวรรค์และมรรคผลนิพพาน นี่ท่านกล่าวไว้ชัดในพระไตรปิฎก...นำมาให้พิจารณา...ว่าท่านเข้าข่ายไหน...?
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
http://www.tripitaka91.com/91book/book33/151_200.htm
การทำในใจโดยไม่มีอุบาย ชื่อว่า การทำในใจโดยไม่แยบคาย.
การทำในใจโดยอุบาย ชื่อว่า การทำในใจโดยแยบคาย. ในการทำ
ในใจโดยไม่แยบคายและแยบคายนั้น เมื่อทำในใจโดยไม่แยบคาย มิจฉา-
ทิฏฐิที่ยังไม่เคยเกิด ย่อมเกิดขึ้น ส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ จนถึง
การปฏิสนธิโดยแน่นอน. เนื้อแน่นอนแล้ว มิจฉาทิฏฐิชื่อว่าเจริญแล้ว.
เมื่อทำในใจโดยแยบคาย สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เคยเกิด ย่อมเกิดขึ้น ส่วน
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญมากขึ้น จนถึงพระอรหัตมรรค. เมื่อบรรลุพระ-
อรหัตผลแล้ว สัมมาทิฏฐิชื่อว่าเป็นอันเจริญมากแล้ว.
ในบทว่า มิจฺฉาทิฏฺิยา ภิกฺขเว สมนฺนาคตา สตฺตา นี้
พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ :-
มิจฉาทิฏฐิบางอย่างห้ามสวรรคด้วย ห้ามมรรคด้วย.
บางอย่างห้ามมรรคเท่านั้น ไม่ห้ามสวรรค์.
บางอย่างไม่ห้ามทั้งสวรรค์ ไม่ห้ามทั้งมรรค.
บรรดามิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น มิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่างนี้ คือ อเหตุกทิฏฐิ
อกิริยทิฏฐิ นัตถิกทิฏฐิ ห้ามสวรรค์และห้ามมรรค.
อันตคาหิกมิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐ ห้ามมรรค แต่ไม่ห้ามสวรรค์.
สักกายทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ ไม่ห้ามสวรรค์ ไม่ห้ามมรรค. แต่ปฏิเสธ
วิธีนี้แล้วว่า ธรรมดาทิฏฐิโดยที่สุดกำหนดเอาสักกายทิฏฐิซึ่งมีวัตถุ ๒๐
ประการ ชื่อว่าสามารถนำไปสู่สวรรค์ ไม่มี ย่อมทำให้จมลงในนรกโดย
ส่วนเดียวเท่านั้น โดยพระบาลีในพระสูตรนี้ว่า มิจฺฉาทิฏฺิยา ภิกฺขเว
สมนฺนาคตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้
.....................................................................................................
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 187
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=181
เป็นต้น เหมือนอย่างว่า ก้อนหินแม้ขนาดเท่าถั่วเขียวและถั่วเหลือง
โยนลงไปในน้ำ ชื่อว่าจะลอยอยู่ข้างบน ย่อมไม่มี ย่อมจมลงไปข้างล่าง
อย่างเดียว ฉันใด โดยที่สุด แม้แต่สักกายทิฏฐิ ชื่อว่าสามารถนำไปสู่
สวรรค์ ย่อมไม่มี ย่อมให้จมลงในอบายทั้งหลายโดยส่วนเดียวเท่านั้น
ก็ฉันนั้น.
ในบทว่า สมฺมาทิฏฺิยา สมนฺนาคตา นี้ พึงทราบวินิจฉัย
ดังนี้ :-
สัมมาทิฏฐิมี ๕ อย่าง คือ กัมมัสสกตสัมมาทิฏฐิ ฌานสัมมาทิฏฐิ
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิ. ในสัมมาทิฏฐิ ๕
อย่างนั้น กัมมัสสกตสัมมาทิฏฐิ ย่อมชักมาซึ่งสัมปัตติภพ. ฌานสัมมา-
ทิฏฐิ ย่อมให้ปฏิสนธิในรูปภพ. มัคคสัมมาทิฏฐิ ย่อมกำจัดวัฏฏะ.
ผลสัมมาทิฏฐิ ย่อมห้ามภพ.
ถามว่า วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิทำอะไร.
ตอบว่า แม้วิปัสสนาสัมมาทิฏฐินั้น ก็ไม่ชักมาซึ่งปฏิสนธิ.
ส่วนพระติปิฎกจูฬอภัยเถระกล่าวว่า ถ้าวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิที่อบรม
ไว้แล้ว อาจให้บรรลุพระอรหัตในปัจจุบันได้ไซร้ ข้อนั้นก็เป็นการดี
ถ้าไม่อาจให้บรรลุพระอรหัตได้ไซร้ ก็ยังให้ปฏิสนธิในภพ ๗ ภพได้
ผู้มีอายุ. ท่านกล่าวถึงสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะและโลกุตระนี้ไว้อย่างนี้.
ก็ในเนื้อความดังกล่าวนี้ พึงทราบสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะซึ่งให้สำเร็จ
ในภพเท่านั้น.
.....................................................................................................
คำอธิบายคัมภีร์ เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย กล่าวว่า...
มิจฉาทิฐิบางอย่างห้ามทั้งสวรรค์และมรรค
บางอย่าง ห้ามแต่มรรคอย่างเดียว ไม่ห้ามสวรรค์
บางอย่างไม่ห้ามทั้งมรรค และสวรรค์
มิจฉาทิฐิ 3 อย่างคือ
1. อกิริยทิฐิ และนัตถิกทิฐิ ห้ามทั้งสวรรค์และมรรค
2. มิจฉาทิฐิถึงที่สุด 10 อย่าง คือการยึดถือว่า โลกเที่ยง เป็นต้น จัดว่าห้ามแต่มรรคอย่างเดียว เป็นความเห็นที่วิปริตจากทางของมรรค แต่ไม่ห้ามสวรรค์เพราะไม่เป็นอกุศลกรรมบถ
3. ส่วนสักกายทิฐิ 20 มีเห็นรูปว่าเป็นตน เห็นตนว่าเป็นรูป เห็นตนในรูป เป็นต้น เป็นการเห็นลักษณะ 4 อย่างในขันธ์ 5 รวมเป็น 20 ไม่ห้ามทั้งสวรรค์และมรรคเพราะไม่เป็นอกุศลกรรมบถ และเมื่อเกิดความรู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ปล่อยจากทิฏฐิที่ยึดถือนั้น ก็บรรลุมรรคผลได้
โปรดพิจารณาสักกายทิฐิ 20 ไม่ห้ามทั้งสวรรค์และมรรคผลนิพพาน นี่ท่านกล่าวไว้ชัดในพระไตรปิฎก...นำมาให้พิจารณา...ว่าท่านเข้าข่ายไหน...?