จากมติชนออนไลน์
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2557 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพิจิตร จากกรณีที่วัดอารามหลวง หรือวัดท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตรได้จัดงานประเพณี แข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานจังหวัดพิจิตร โดยเริ่มมีงานตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม - 7 กันยายน 2557 งานประเพณีสำคัญระดับจังหวัดเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ ซึ่งงานดังกล่าวประชาชนให้ความสนใจร่วมงานจำนวนมากทุกปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าการจัดงานครั้งนี้ ทางวัดให้ ผู้รับเหมา เป็นผู้ดำเนินการบริเวณร้านค้าเก็บค่าที่แผงลอย
โดยกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าผู้มาจองที่เข้าขายในงานเป็นประจำทุกปี แต่ในปีนี้ต้องประสบปัญหาได้รับความเดือดร้อน ค่าเช่าแผงขายของมีอัตราการเก็บเงินค่าเช่าแผงมีอัตราค่าเช่าสูงกว่าทุกปี โดยในบริเวณทำเลดีขายบริเวณในวัด
มีการเก็บค่าเช่าล็อคละ 20,000- 25,000 บาท ส่วนกลุ่มผู้ค้ารายย่อยเก็บเงินค่าที่ล็อคละ 3,000-10,000 บาท นอกจากนี้
ที่อยู่นอกบริเวณวัดยาวไปจนถึง สำนักงาน อบจ. พิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะนอกงานยังมีการเก็บค่าเช่าที่ตารางเมตรละ 500 บาทและจะต้องจ่ายเงินเป็นรายวันอีกวันละ 250-300 บาท ทุกวันจนถึงงานเลิก
ซึ่งชาวบ้านที่เคยอาศัยงานประเพณีดังกล่าวเป็นพื้นที่ขายของหารายได้ต่างได้รับความเดือดร้อนพากันให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจในช่วงนี้ประสบปัญหามากข้าวของแพง การจัดงานดังกล่าวน่าจะเป็นโอกาสของชาวบ้านกลับกลายเป็นกิจกรรมที่มีการขูดรีด โก่งราคาค่าเช่าที่อย่างรุนแรง เป็นอัตราการเก็บสูงกว่าทุกปีมากกว่า 2 เท่าตัว
ซึ่งมาตรการเก็บค่าเช่าโหดดังกล่าว จะส่งผลกระทบกับผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ค่าเช่าที่แพง ข้าวของที่ผู้บริโภคจะต้องมาจับจ่ายหรือหาอาหารรับประทานภายในงานจะต้องแพงขึ้นตามตัว สูงตามราคาค่าที่ จากการสอบถามแม่ค้าพ่อค้าภายในงานมีการพูดเสียงเดียวกันว่า ที่ขายของราคาแพงนั้น เนื่องจากค่าเช่าที่ มีราคาสูง ประกอบกับไม่ใช่ค่าที่เท่านั้นพ่อค้าแม่ค้ายังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ถูกเรียกเก็บ เช่น
ค่าพื้นไม้กระดานรองกันเปื้อนเนื่องจากฝนตกแผ่นละ 150 บาท ไฟแสงสว่าง หลอดละ 40-80 บาท
ทางด้านนางกุหลาบ มุกดี อายุ 24 ปี ซึ่งเป็นแม่ค้าจากจังหวัดลำปาง กล่าวว่าตนเองมาเช่าที่บริเวณ นอกวัด
โดยมาจองที่ขาย 3 เมตร เสียเงิน 1,500 บาท ซึ่งตกลงกันว่าขายตลอดงาน แต่ปรากฏว่า หลังจาก เข้ามาขาย จะต้องจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมาเพิ่มเป็นรายวันอีก เมตรละ 250 บาท ต่อ 1 วันหากใครจอง 3 เมตรจะต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 750 ต่อ 1 วัน ซึ่งยอมรับว่าค่าที่แพง กำไรไปอยู่ค่าที่หมด คงไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องเพิ่มราคาสินค้าแน่นอนว่าต้องกระทบกับผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากอัตราค่าเช่าที่มีอัตราสูงกว่าทุกปีแล้วผู้ควบคุมงานยังใช้วาจาที่ไม่สุภาพไม่ง้อลูกค้าที่เข้ามาเช่าที่เพราะคิดว่ากลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่มาเช่าไม่มีทางเลือก อยากให้ทางการหรือ ผู้แทน คสช. ในระดับจังหวัดเข้ามาดูแลเพราะถ้าปล่อยไปจะเป็นความเดือดร้อนต่อประชาชนโดยทั่วไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การกำหนดพื้นที่ค้าขายในงานแข่งเรือปีนี้ ทางวัดที่เป็นเจ้าภาพจัดงานแทนจังหวัด เปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาดำเนินการทั้งหมด มีการกำหนดพื้นที่ค้าขายลุกลามไปในสองข้างถนนมากกว่าทุกปี ซึ่งพื้นที่เช่ายังไปปิดกั้นชาวบ้านที่มีบ้านอยู่ริมทางทุกปีได้เปิดหน้าบ้านจำหน่ายสินค้าได้ แต่ในปีนี้ไม่สามารถทำได้เพราะข้างถนนเป็นพื้นที่เช่าทั้งหมด ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยอยากให้มีการจัดระเบียบใหม่เพื่องานแข่งเรือเป็นโอกาสที่คนจนได้มีโอกาสทำมาหากินบ้าง
ผู้ค้าโอด! ค่าเช่าที่ขายของแข่งเรือยาวพิจิตร แพงมหาโหด รีดเลือดคนจน ปชช.กินของแพง!?
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2557 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพิจิตร จากกรณีที่วัดอารามหลวง หรือวัดท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตรได้จัดงานประเพณี แข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานจังหวัดพิจิตร โดยเริ่มมีงานตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม - 7 กันยายน 2557 งานประเพณีสำคัญระดับจังหวัดเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ ซึ่งงานดังกล่าวประชาชนให้ความสนใจร่วมงานจำนวนมากทุกปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าการจัดงานครั้งนี้ ทางวัดให้ ผู้รับเหมา เป็นผู้ดำเนินการบริเวณร้านค้าเก็บค่าที่แผงลอย
โดยกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าผู้มาจองที่เข้าขายในงานเป็นประจำทุกปี แต่ในปีนี้ต้องประสบปัญหาได้รับความเดือดร้อน ค่าเช่าแผงขายของมีอัตราการเก็บเงินค่าเช่าแผงมีอัตราค่าเช่าสูงกว่าทุกปี โดยในบริเวณทำเลดีขายบริเวณในวัด มีการเก็บค่าเช่าล็อคละ 20,000- 25,000 บาท ส่วนกลุ่มผู้ค้ารายย่อยเก็บเงินค่าที่ล็อคละ 3,000-10,000 บาท นอกจากนี้ ที่อยู่นอกบริเวณวัดยาวไปจนถึง สำนักงาน อบจ. พิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะนอกงานยังมีการเก็บค่าเช่าที่ตารางเมตรละ 500 บาทและจะต้องจ่ายเงินเป็นรายวันอีกวันละ 250-300 บาท ทุกวันจนถึงงานเลิก
ซึ่งชาวบ้านที่เคยอาศัยงานประเพณีดังกล่าวเป็นพื้นที่ขายของหารายได้ต่างได้รับความเดือดร้อนพากันให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจในช่วงนี้ประสบปัญหามากข้าวของแพง การจัดงานดังกล่าวน่าจะเป็นโอกาสของชาวบ้านกลับกลายเป็นกิจกรรมที่มีการขูดรีด โก่งราคาค่าเช่าที่อย่างรุนแรง เป็นอัตราการเก็บสูงกว่าทุกปีมากกว่า 2 เท่าตัว
ซึ่งมาตรการเก็บค่าเช่าโหดดังกล่าว จะส่งผลกระทบกับผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ค่าเช่าที่แพง ข้าวของที่ผู้บริโภคจะต้องมาจับจ่ายหรือหาอาหารรับประทานภายในงานจะต้องแพงขึ้นตามตัว สูงตามราคาค่าที่ จากการสอบถามแม่ค้าพ่อค้าภายในงานมีการพูดเสียงเดียวกันว่า ที่ขายของราคาแพงนั้น เนื่องจากค่าเช่าที่ มีราคาสูง ประกอบกับไม่ใช่ค่าที่เท่านั้นพ่อค้าแม่ค้ายังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ถูกเรียกเก็บ เช่น ค่าพื้นไม้กระดานรองกันเปื้อนเนื่องจากฝนตกแผ่นละ 150 บาท ไฟแสงสว่าง หลอดละ 40-80 บาท
ทางด้านนางกุหลาบ มุกดี อายุ 24 ปี ซึ่งเป็นแม่ค้าจากจังหวัดลำปาง กล่าวว่าตนเองมาเช่าที่บริเวณ นอกวัด โดยมาจองที่ขาย 3 เมตร เสียเงิน 1,500 บาท ซึ่งตกลงกันว่าขายตลอดงาน แต่ปรากฏว่า หลังจาก เข้ามาขาย จะต้องจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมาเพิ่มเป็นรายวันอีก เมตรละ 250 บาท ต่อ 1 วันหากใครจอง 3 เมตรจะต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 750 ต่อ 1 วัน ซึ่งยอมรับว่าค่าที่แพง กำไรไปอยู่ค่าที่หมด คงไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องเพิ่มราคาสินค้าแน่นอนว่าต้องกระทบกับผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากอัตราค่าเช่าที่มีอัตราสูงกว่าทุกปีแล้วผู้ควบคุมงานยังใช้วาจาที่ไม่สุภาพไม่ง้อลูกค้าที่เข้ามาเช่าที่เพราะคิดว่ากลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่มาเช่าไม่มีทางเลือก อยากให้ทางการหรือ ผู้แทน คสช. ในระดับจังหวัดเข้ามาดูแลเพราะถ้าปล่อยไปจะเป็นความเดือดร้อนต่อประชาชนโดยทั่วไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การกำหนดพื้นที่ค้าขายในงานแข่งเรือปีนี้ ทางวัดที่เป็นเจ้าภาพจัดงานแทนจังหวัด เปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาดำเนินการทั้งหมด มีการกำหนดพื้นที่ค้าขายลุกลามไปในสองข้างถนนมากกว่าทุกปี ซึ่งพื้นที่เช่ายังไปปิดกั้นชาวบ้านที่มีบ้านอยู่ริมทางทุกปีได้เปิดหน้าบ้านจำหน่ายสินค้าได้ แต่ในปีนี้ไม่สามารถทำได้เพราะข้างถนนเป็นพื้นที่เช่าทั้งหมด ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยอยากให้มีการจัดระเบียบใหม่เพื่องานแข่งเรือเป็นโอกาสที่คนจนได้มีโอกาสทำมาหากินบ้าง