เว็บไซต์ :
www.weddinginlove.com/articles/gifts/Preparation_of_the_groom-771.html
ขันหมาก
คนไทยสมัยก่อนเป็นชนชาติที่นิยมกินหมาก ขันหมากจึงเป็นการนำหมากมาใส่ไว้ในขัน และเมื่อมีแขกไปใครมาที่บ้านก็จะนำหมากพลู มาต้อนรับ เพื่อแสดงถึงน้ำใจไมตรีที่มีต่อกัน
การเตรียมขบวนขันหมาก สินสอดทองหมั้น
การเตรียมขบวนขันหมาก ใช่ว่าที่บ้านเจ้าสาวจะมีความคึกคักฝ่ายเดียวเท่านั้น วันเดียวกันที่บ้านเจ้าบ่าวก็กำลังเตรียมข้าวของสำหรับแต่งขบวนขันหมากอยู่เช่นกัน ซึ่งข้าวของที่ถูกเลือกมาอยู่ในขบวนขันหมากก็มีหลายอย่าง ค่ะ มีขนมเปี๊ยะ มีของหวาน เป็นของมงคล มีฝอยทอง ทองหยอด ทองหยิบ ขนมชั้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีชื่อเป็นมงคลทั้งสิ้น
ส่วนที่ได้ชื่อว่า ขันหมาก บางตำราได้กล่าวไว้ว่า เกิดจากคนไทยสมัยก่อนเป็นชนชาติที่นิยมกินหมาก ขันหมากจึงเป็นการนำหมากมาใส่ไว้ในขัน และเมื่อมีแขกไปใครมาที่บ้านก็จะนำหมากพลู มาต้อนรับ เพื่อแสดงถึงน้ำใจไมตรีที่มีต่อกัน ซึ่งขันหมากที่ใช้ในงานมงคล นั้นจะมี 2 ประเภท คือ
ขันหมากเอก ประกอบไปด้วย
• ขันหมากพลู สำหรับใส่หมาก พลู พืชมงคล เช่น ถั่ว งา ข้าวเปลือก ใบรัก ใบเงิน ใบทอง ใบนาถ ใบขนุน พร้อมกับตกแต่งอย่างสวยงามค่ะ
ขันหมากโท หรือขันหมากบริวาร ประกอบไปด้วย
• อาหารคาวหวาน ซึ่งนิยมจัดเป็นคู่ เช่น พานไก่ต้ม หมูนอนตอง กล้วยน้ำว้า มะพร้าวอ่อน ห่อหมก ขนมไทยต่างๆ ที่ชื่อเป็นมงคล เช่น ขนมชั้น ขนมทองเอก รวมถึงต้นอ้อยและต้นกล้วย
นอกจากนี้การใช้ต้นอ้อย ต้นกล้วยในขบวนขันหมากยังมีความหมายในทางมงคลแฝงอยู่ด้วยเช่นกัน คือ ต้นกล้วย เป็นของที่แตกหน่อ มีลูกเยอะ หมายถึงความเจริญงอกงาม ทำอะไรก็ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก ส่วนอ้อยก็มีความหวานให้คู่รักบ่าวสาวหวานชื่น ซึ่งเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องทำการปลูกต้นกล้วย ต้นอ้อยร่วมกันคล้ายกับเป็นการเสี่ยงทาย โดยเชื่อกันว่าความรักของหนุ่มสาวคู่นี้ก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น มีลูกเต็มบ้าน มีหลานเต็มเมือง
เช้าของวันถัดไปซึ่งเป็นวันแต่งงาน เมื่อฝ่ายเจ้าบ่าวมาถึงบ้านเจ้าสาวจะทำการตั้งขบวน ขันหมากบริเวณใกล้บ้านเจ้าสาว เพื่อให้เดินทางไปถึงยังบ้านเจ้าสาว ทันฤกษ์ที่กำหนดไว้ ทันทีที่ได้เวลาขบวนขันหมากก็เริ่มเคลื่อนขบวนทันที ในขบวนขันหมากจะนำหน้าด้วย “เถ้าแก่” ที่ทำหน้าที่เป็นผู้มาสู่ขอ ตามมาด้วยเจ้าบ่าวซึ่งจะถือพานธูปเทียนแพ ตามมาด้วยญาติฝ่ายชาย ซึ่งจะเป็นคนหาขันหมากเอกและพ่อแม่เจ้าบ่าวจะยกพานสินสอด ทองหมั้น อีกทั้งมีคนยกพานผ้าไหว้ มาถึงขันหมากโท จะประกอบไปด้วย คนยกพานขนมและผลไม้มงคล ปิดท้ายด้วยคนถือต้อนกล้วยและต้นอ้อย โดยจะเดินเป็นคู่ๆ ตามความเชื่อในประเพณีการแต่งงาน การจัดขบวนขันหมากก็ไม่ได้มีกำหนดตายตัว เพราะในแต่ละท้องถิ่นจะมีประเพณีนิยมที่แตกต่างกันออกไป
เมื่อขบวนขันหมากเดินทางมาถึงบ้านเจ้าสาว ทางฝ่ายเจ้าสาวจะแสดงไมตรีด้วยการถือพานเชิญขันหมากออกมาต้อนรับ แต่ทางฝ่ายเจ้าบ่าวก็ยังไม่สามารถเข้าไปในบ้านได้ เพราะตอนนี้มีสร้อยทองมากั้นเอาไว้ ซึ่งเปรียบเหมือน ประตูเงิน ประตูทอง ซึ่งถือเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งในประเพณีแต่งงาน เป็นการต้อนรับของฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อให้เกิดความสนุกสนานและคุ้นเคยทั้งสองฝ่ายซึ่งจะมีทั้งหมด 3 ประตู
1. ประตูชัยหรือประตูนาค
2. ประตูเงิน
3. ประตูทอง
ซึ่งกว่าจะผ่านแต่ละด่านมาได้ เถ้าแก่ก็จะต้องซองเงินที่เตรียมไว้เงินค่าเปิดประตูจนกว่าเจ้าบ่าวจะได้พบหน้าเจ้าสาวแต่ระหว่างที่ขบวนขันหมากเข้ามาสู่บ้าน เจ้าสาวก็ไม่สามารถออกมาได้ เนื่องจากเป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมาว่าเจ้าสาวจะต้องนั่งรอเจ้าบ่าวอยู่ในห้อง เหมือนกับผู้หญิงเราต้องรักนวลสงวนตัว เขามาหาเราก็จริงแต่ต้องใช้เขาเข้ามาถึงบ้านก่อน แล้วถึงจะออกไปหาเขาไม่ใช่ออกไปต้อนรับ
เมื่อเข้าบ้านได้แล้วเจ้าบ่าวจะมารอที่หน้าห้องเจ้าสาว เมื่อทั้งคู่ได้พบหน้ากันเจ้าบ่าวจะพาเจ้าสาวไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อบอกกล่าวเจ้าที่และบรรพบุรุษให้รับทราบว่า ต่อจากนี้จะมีสมาชิกใหม่ในบ้านเพิ่มมาอีก 1 คน และเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่คนทั้งคู่
ที่มาของข้อมูล: รายการกบนอกกะลา ตอนประเพณีแต่งงานแบบไทย วันที่ 16 เมษายน 2553
เว็บไซต์ :
www.weddinginlove.com
ขันหมาก
ขันหมาก
คนไทยสมัยก่อนเป็นชนชาติที่นิยมกินหมาก ขันหมากจึงเป็นการนำหมากมาใส่ไว้ในขัน และเมื่อมีแขกไปใครมาที่บ้านก็จะนำหมากพลู มาต้อนรับ เพื่อแสดงถึงน้ำใจไมตรีที่มีต่อกัน
การเตรียมขบวนขันหมาก สินสอดทองหมั้น
การเตรียมขบวนขันหมาก ใช่ว่าที่บ้านเจ้าสาวจะมีความคึกคักฝ่ายเดียวเท่านั้น วันเดียวกันที่บ้านเจ้าบ่าวก็กำลังเตรียมข้าวของสำหรับแต่งขบวนขันหมากอยู่เช่นกัน ซึ่งข้าวของที่ถูกเลือกมาอยู่ในขบวนขันหมากก็มีหลายอย่าง ค่ะ มีขนมเปี๊ยะ มีของหวาน เป็นของมงคล มีฝอยทอง ทองหยอด ทองหยิบ ขนมชั้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีชื่อเป็นมงคลทั้งสิ้น
ส่วนที่ได้ชื่อว่า ขันหมาก บางตำราได้กล่าวไว้ว่า เกิดจากคนไทยสมัยก่อนเป็นชนชาติที่นิยมกินหมาก ขันหมากจึงเป็นการนำหมากมาใส่ไว้ในขัน และเมื่อมีแขกไปใครมาที่บ้านก็จะนำหมากพลู มาต้อนรับ เพื่อแสดงถึงน้ำใจไมตรีที่มีต่อกัน ซึ่งขันหมากที่ใช้ในงานมงคล นั้นจะมี 2 ประเภท คือ
ขันหมากเอก ประกอบไปด้วย
• ขันหมากพลู สำหรับใส่หมาก พลู พืชมงคล เช่น ถั่ว งา ข้าวเปลือก ใบรัก ใบเงิน ใบทอง ใบนาถ ใบขนุน พร้อมกับตกแต่งอย่างสวยงามค่ะ
ขันหมากโท หรือขันหมากบริวาร ประกอบไปด้วย
• อาหารคาวหวาน ซึ่งนิยมจัดเป็นคู่ เช่น พานไก่ต้ม หมูนอนตอง กล้วยน้ำว้า มะพร้าวอ่อน ห่อหมก ขนมไทยต่างๆ ที่ชื่อเป็นมงคล เช่น ขนมชั้น ขนมทองเอก รวมถึงต้นอ้อยและต้นกล้วย
นอกจากนี้การใช้ต้นอ้อย ต้นกล้วยในขบวนขันหมากยังมีความหมายในทางมงคลแฝงอยู่ด้วยเช่นกัน คือ ต้นกล้วย เป็นของที่แตกหน่อ มีลูกเยอะ หมายถึงความเจริญงอกงาม ทำอะไรก็ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก ส่วนอ้อยก็มีความหวานให้คู่รักบ่าวสาวหวานชื่น ซึ่งเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องทำการปลูกต้นกล้วย ต้นอ้อยร่วมกันคล้ายกับเป็นการเสี่ยงทาย โดยเชื่อกันว่าความรักของหนุ่มสาวคู่นี้ก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น มีลูกเต็มบ้าน มีหลานเต็มเมือง
เช้าของวันถัดไปซึ่งเป็นวันแต่งงาน เมื่อฝ่ายเจ้าบ่าวมาถึงบ้านเจ้าสาวจะทำการตั้งขบวน ขันหมากบริเวณใกล้บ้านเจ้าสาว เพื่อให้เดินทางไปถึงยังบ้านเจ้าสาว ทันฤกษ์ที่กำหนดไว้ ทันทีที่ได้เวลาขบวนขันหมากก็เริ่มเคลื่อนขบวนทันที ในขบวนขันหมากจะนำหน้าด้วย “เถ้าแก่” ที่ทำหน้าที่เป็นผู้มาสู่ขอ ตามมาด้วยเจ้าบ่าวซึ่งจะถือพานธูปเทียนแพ ตามมาด้วยญาติฝ่ายชาย ซึ่งจะเป็นคนหาขันหมากเอกและพ่อแม่เจ้าบ่าวจะยกพานสินสอด ทองหมั้น อีกทั้งมีคนยกพานผ้าไหว้ มาถึงขันหมากโท จะประกอบไปด้วย คนยกพานขนมและผลไม้มงคล ปิดท้ายด้วยคนถือต้อนกล้วยและต้นอ้อย โดยจะเดินเป็นคู่ๆ ตามความเชื่อในประเพณีการแต่งงาน การจัดขบวนขันหมากก็ไม่ได้มีกำหนดตายตัว เพราะในแต่ละท้องถิ่นจะมีประเพณีนิยมที่แตกต่างกันออกไป
เมื่อขบวนขันหมากเดินทางมาถึงบ้านเจ้าสาว ทางฝ่ายเจ้าสาวจะแสดงไมตรีด้วยการถือพานเชิญขันหมากออกมาต้อนรับ แต่ทางฝ่ายเจ้าบ่าวก็ยังไม่สามารถเข้าไปในบ้านได้ เพราะตอนนี้มีสร้อยทองมากั้นเอาไว้ ซึ่งเปรียบเหมือน ประตูเงิน ประตูทอง ซึ่งถือเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งในประเพณีแต่งงาน เป็นการต้อนรับของฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อให้เกิดความสนุกสนานและคุ้นเคยทั้งสองฝ่ายซึ่งจะมีทั้งหมด 3 ประตู
1. ประตูชัยหรือประตูนาค
2. ประตูเงิน
3. ประตูทอง
ซึ่งกว่าจะผ่านแต่ละด่านมาได้ เถ้าแก่ก็จะต้องซองเงินที่เตรียมไว้เงินค่าเปิดประตูจนกว่าเจ้าบ่าวจะได้พบหน้าเจ้าสาวแต่ระหว่างที่ขบวนขันหมากเข้ามาสู่บ้าน เจ้าสาวก็ไม่สามารถออกมาได้ เนื่องจากเป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมาว่าเจ้าสาวจะต้องนั่งรอเจ้าบ่าวอยู่ในห้อง เหมือนกับผู้หญิงเราต้องรักนวลสงวนตัว เขามาหาเราก็จริงแต่ต้องใช้เขาเข้ามาถึงบ้านก่อน แล้วถึงจะออกไปหาเขาไม่ใช่ออกไปต้อนรับ
เมื่อเข้าบ้านได้แล้วเจ้าบ่าวจะมารอที่หน้าห้องเจ้าสาว เมื่อทั้งคู่ได้พบหน้ากันเจ้าบ่าวจะพาเจ้าสาวไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อบอกกล่าวเจ้าที่และบรรพบุรุษให้รับทราบว่า ต่อจากนี้จะมีสมาชิกใหม่ในบ้านเพิ่มมาอีก 1 คน และเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่คนทั้งคู่
ที่มาของข้อมูล: รายการกบนอกกะลา ตอนประเพณีแต่งงานแบบไทย วันที่ 16 เมษายน 2553
เว็บไซต์ : www.weddinginlove.com