รอยเตอร์ – อาวุธไฮเปอร์โซนิกความเร็วระดับมักไฟฟ์ (Mach 5) ซึ่งกองทัพสหรัฐฯ พัฒนาขึ้น ถูกทำลายทิ้งหลังปล่อยออกจากฐานยิงในรัฐอะแลสกาได้เพียง 4 วินาที เมื่อเช้าวานนี้(25) เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมตรวจพบความบกพร่องบางประการ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ แถลง
อาวุธชนิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาขีปนาวุธที่จะสามารถโจมตีเป้าหมายได้ “ทุกแห่งในโลก” ในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง หลังได้รับการป้อนข้อมูลและคำสั่งอนุญาตปล่อยจากฐานยิง
มอรีน ชูแมนน์ โฆษกหญิงของเพนตากอน ระบุว่า ภารกิจทดสอบถูกยกเลิกกะทันหันเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดต่อประชาชน และไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเกิดเมื่อเวลาประมาณ 4.00 น. EDT (15.00 น. ตามเวลาในไทยวานนี้) ณ สถานที่ทดสอบโกดิแอกในรัฐอะแลสกา
“เราจำเป็นต้องยุติภารกิจ... อาวุธถูกทำให้ระเบิดหลังปล่อยออกจากฐานยิง และตกลงในเขตสถานที่ทดสอบ” เธอกล่าว พร้อมเผยว่า ความผิดพลาดครั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารสถานที่อยู่บ้าง
สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นความล้มเหลวครั้งสำคัญสำหรับโครงการพัฒนาขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงยิ่งยวด (Advanced Hypersonic Weapon) ของสหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากจรวดพิสัยไกลของอิหร่านและเกาหลีเหนือ ขณะที่ผู้สันทัดกรณีบางคนมองว่า เป็นความพยายามของวอชิงตันที่จะแข่งขันด้านอาวุธกับจีน ซึ่งเพิ่งจะทดสอบระบบอาวุธเร็วเหนือเสียงไปหมาดๆ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ริกี เอลลิสัน ผู้ก่อตั้งสมาพันธ์ Missile Defense Advocacy Alliance ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ชี้ว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่น่าจะทำให้สหรัฐฯ ถึงขั้นยุติโครงการ
“นี่เป็นภารกิจที่สำคัญอย่างมาก และเทคโนโลยีเช่นนี้ยังมีความเป็นไปได้อยู่”
เอลลิสัน ระบุด้วยว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ตัดสินใจยกเลิกภารกิจทันที เนื่องจากพบข้อบกพร่องในระบบคอมพิวเตอร์
แอนโธนี คอร์ดสแมน นักวิเคราะห์ด้านกลาโหมจากสถาบันเพื่อการศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (CSIS) ชี้ว่าเทคโนโลยีนี้เหมาะจะใช้ข่มขู่ประเทศกำลังพัฒนาขนาดเล็กที่มีขีปนาวุธในครอบครอง
“สหรัฐฯ ไม่เคยมุ่งหวังที่จะนำเทคโนโลยีนี้ไปต่อสู้กับมหาอำนาจอย่างจีน... แต่สำหรับอิหร่านและเกาหลีเหนือ มันจะเป็นเครื่องป้องปรามที่มีประสิทธิภาพยิ่ง”
สหรัฐฯทดสอบ “อาวุธไฮเปอร์โซนิก” ไม่สำเร็จ-ต้องทำลายทิ้งหลังออกจากฐานยิงแค่ “4 วินาที”
ด้าน เจมส์ แอคตัน นักวิเคราะห์จากกองทุนคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (Carnegie Endowment for International Peace) ระบุว่า เพนตากอนยังไม่มีเป้าหมายชัดเจนว่าจะนำอาวุธประเภทนี้ไปใช้กับศัตรูกลุ่มใด แม้บางคนจะคาดเดาล่วงหน้าว่า มันจะเป็นอาวุธต่อต้านก่อการร้ายที่มีอานุภาพสูง หรืออาจนำไปใช้ต่อกรจีน อิหร่าน หรือเกาหลีเหนือได้ก็ตาม
แม้อาวุธเร็วเหนือเสียงคงจะยังไม่แพร่หลายในวงการไปอีกอย่างน้อย 10 ปี แต่ แอคตัน ชี้ว่า การที่วอชิงตันและปักกิ่งเริ่มทดสอบอาวุธประเภทนี้นับเป็นสัญญาณบ่งบอกถึง “การแข่งขัน” ที่อาจเกิดขึ้นจริง
“ผมเชื่อว่าโครงการที่สหรัฐฯ กำลังทำอยู่น่าจะมีความสลับซับซ้อนมากกว่าระบบอาวุธของจีน” เขากล่าว
ขีปนาวุธเร็วเหนือเสียงยิ่งยวด ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุงโดยห้องปฏิบัติการแห่งชาติแซนเดียและกองทัพสหรัฐฯ ประกอบด้วยยานลำเลียงที่ติดตั้งบนระบบขับเคลื่อนแบบ 3 ขั้น (Strategic Target System – STARS) ซึ่งเคยเดินทางจากฮาวายไปถึงเกาะปะการังควาจาลีนในหมู่เกาะมาร์แชลล์ได้สำเร็จมาแล้วในการทดสอบเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2011
สหรัฐฯทดสอบ “อาวุธไฮเปอร์โซนิก” ไม่สำเร็จ-ต้องทำลายทิ้งหลังออกจากฐานยิงแค่ “4 วินาที”
อาวุธชนิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาขีปนาวุธที่จะสามารถโจมตีเป้าหมายได้ “ทุกแห่งในโลก” ในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง หลังได้รับการป้อนข้อมูลและคำสั่งอนุญาตปล่อยจากฐานยิง
มอรีน ชูแมนน์ โฆษกหญิงของเพนตากอน ระบุว่า ภารกิจทดสอบถูกยกเลิกกะทันหันเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดต่อประชาชน และไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเกิดเมื่อเวลาประมาณ 4.00 น. EDT (15.00 น. ตามเวลาในไทยวานนี้) ณ สถานที่ทดสอบโกดิแอกในรัฐอะแลสกา
“เราจำเป็นต้องยุติภารกิจ... อาวุธถูกทำให้ระเบิดหลังปล่อยออกจากฐานยิง และตกลงในเขตสถานที่ทดสอบ” เธอกล่าว พร้อมเผยว่า ความผิดพลาดครั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารสถานที่อยู่บ้าง
สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นความล้มเหลวครั้งสำคัญสำหรับโครงการพัฒนาขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงยิ่งยวด (Advanced Hypersonic Weapon) ของสหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากจรวดพิสัยไกลของอิหร่านและเกาหลีเหนือ ขณะที่ผู้สันทัดกรณีบางคนมองว่า เป็นความพยายามของวอชิงตันที่จะแข่งขันด้านอาวุธกับจีน ซึ่งเพิ่งจะทดสอบระบบอาวุธเร็วเหนือเสียงไปหมาดๆ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ริกี เอลลิสัน ผู้ก่อตั้งสมาพันธ์ Missile Defense Advocacy Alliance ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ชี้ว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่น่าจะทำให้สหรัฐฯ ถึงขั้นยุติโครงการ
“นี่เป็นภารกิจที่สำคัญอย่างมาก และเทคโนโลยีเช่นนี้ยังมีความเป็นไปได้อยู่”
เอลลิสัน ระบุด้วยว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ตัดสินใจยกเลิกภารกิจทันที เนื่องจากพบข้อบกพร่องในระบบคอมพิวเตอร์
แอนโธนี คอร์ดสแมน นักวิเคราะห์ด้านกลาโหมจากสถาบันเพื่อการศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (CSIS) ชี้ว่าเทคโนโลยีนี้เหมาะจะใช้ข่มขู่ประเทศกำลังพัฒนาขนาดเล็กที่มีขีปนาวุธในครอบครอง
“สหรัฐฯ ไม่เคยมุ่งหวังที่จะนำเทคโนโลยีนี้ไปต่อสู้กับมหาอำนาจอย่างจีน... แต่สำหรับอิหร่านและเกาหลีเหนือ มันจะเป็นเครื่องป้องปรามที่มีประสิทธิภาพยิ่ง”
สหรัฐฯทดสอบ “อาวุธไฮเปอร์โซนิก” ไม่สำเร็จ-ต้องทำลายทิ้งหลังออกจากฐานยิงแค่ “4 วินาที”
ด้าน เจมส์ แอคตัน นักวิเคราะห์จากกองทุนคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (Carnegie Endowment for International Peace) ระบุว่า เพนตากอนยังไม่มีเป้าหมายชัดเจนว่าจะนำอาวุธประเภทนี้ไปใช้กับศัตรูกลุ่มใด แม้บางคนจะคาดเดาล่วงหน้าว่า มันจะเป็นอาวุธต่อต้านก่อการร้ายที่มีอานุภาพสูง หรืออาจนำไปใช้ต่อกรจีน อิหร่าน หรือเกาหลีเหนือได้ก็ตาม
แม้อาวุธเร็วเหนือเสียงคงจะยังไม่แพร่หลายในวงการไปอีกอย่างน้อย 10 ปี แต่ แอคตัน ชี้ว่า การที่วอชิงตันและปักกิ่งเริ่มทดสอบอาวุธประเภทนี้นับเป็นสัญญาณบ่งบอกถึง “การแข่งขัน” ที่อาจเกิดขึ้นจริง
“ผมเชื่อว่าโครงการที่สหรัฐฯ กำลังทำอยู่น่าจะมีความสลับซับซ้อนมากกว่าระบบอาวุธของจีน” เขากล่าว
ขีปนาวุธเร็วเหนือเสียงยิ่งยวด ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุงโดยห้องปฏิบัติการแห่งชาติแซนเดียและกองทัพสหรัฐฯ ประกอบด้วยยานลำเลียงที่ติดตั้งบนระบบขับเคลื่อนแบบ 3 ขั้น (Strategic Target System – STARS) ซึ่งเคยเดินทางจากฮาวายไปถึงเกาะปะการังควาจาลีนในหมู่เกาะมาร์แชลล์ได้สำเร็จมาแล้วในการทดสอบเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2011