สารบัญทุกตอน ->
http://ppantip.com/topic/32469271
ในตอนแรกได้ได้กล่าวถึงอรรถกถา 3 ยุคไป
มีผู้สงสัยว่า แล้วเราจะแยกแยะอย่างไร?
ตรงนี้ก็ให้พิจารณาคาถาเริ่มคัมภีร์ที่เคยให้ไปเลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค
อรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกาแปล
มหาวิภังควรรณนา
ภาค ๑
----------------------------------------------
อารัมภกถา
#- ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการแด่พระผู้เป็นที่พึ่งผู้
ประกอบด้วยพระมหากรุณา พระองค์ผู้ทรงกระทำกรรม
ที่ทำได้ยากยิ่งตลอดกาลซึ่งจะนับประมาณมิได้ แม้ด้วย
หลายโกฏิกัป ทรงถึงความยากลำบาก เพื่อประโยชน์
เกื้อกูลแก่สัตวโลก.
ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการแก่พระธรรมอันประเสริฐ
อันขจัดเสียซึ่งข่ายคือกิเลสมีอวิชชาเป็นต้น ที่พระพุทธ
เจ้าทรงเสพอยู่เป็นนิตย์ ซึ่งสัตวโลก เมื่อไม่หยั่งรู้ต้อง
ท่องเที่ยวไปสู่ภพน้อยและภพใหญ่.
ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระ
อริยสงฆ์ ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
และวิมุตติญาณทัสสนะเป็นเค้ามูล เป็นเนื้อนาบุญของ
เหล่าชนผู้มีความต้องการด้วยกุศล.
ข้าพเจ้านมัสการอยู่ ซึ่งพระรัตนตรัยอันควร
นมัสการโดยส่วนเดียว ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ได้
แล้วซึ่งกุศลผลบุญที่ไพบูล หลั่งไหลไม่ขาดสายอันใด
ด้วยอานุภาพแห่งกุศลผลบุญนั้น ขอข้าพเจ้าจงเป็น
ผู้ปลอดอันตราย.
ข้าพเจ้าจักอาศัยอานุภาพของท่านบูรพาจารย์
พรรณนาพระวินัยให้ไม่ปะปนกัน ซึ่งเมื่อทรงอยู่แล้ว
ศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้มิได้ทรงตั้งมั่นอยู่ (ในส่วนสุด
ทั้งสอง) แต่ทรงดำรงชอบด้วยดี (ในมัชฌิมาปฏิปทา)
เป็นอันประดิษฐานอยู่ได้.
แท้ที่จริง พระวินัยนี้ ถึงท่านบูรพาจารย์ผู้องอาจ
ซึ่งขจัดมลทินและอาสวะออกหมดแล้วด้วยน้ำคือญาณ
มีวิชชาและปฏิสัมภิทาบริสุทธิ์ ฉลาดในการสังวรรณนา
พระสัทธรรม หาผู้เปรียบปานในความเป็นผู้ขัดเกลาได้
ไม่ง่าย เปรียบดังธงชัยของวัดมหาวิหาร ได้สังวรรณนา
ไว้โดยนัยอันวิจิตร คล้อยตามพระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ.
กระนั้น เพราะสังวรรณนานี้มิได้อำนวยประโยชน์
ไรๆ แก่ชาวภิกษุในเกาะอื่น เพราะท่านเรียบเรียงไว้ด้วย
ภาษาชาวเกาะสิงหล ฉะนั้น ข้าพเจ้าผู้รำลึกอยู่ด้วยดี
โดยชอบ ถึงคำเชิญของพระเถระนามว่า พุทธสิริ จึงจัก
เริ่มด้วยดี ซึ่งการสังวรรณนานี้ อันควรแก่นัยพระบาลี ณ
บัดนี้. และเมื่อจะเริ่มด้วยดีซึ่งสังวรรณนานั้น จักเอามหา
อรรถกถาเป็นโครงของสังวรรณนานั้น ไม่ละข้อความอัน
ควร แม้จากวินิจฉัย ซึ่งท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามหา
ปัจจรีและอรรถกถาอันปรากฏด้วยดี โดยชื่อว่ากุรุนที
เป็นต้น กระทำเถรวาทไว้ในภายในแล้ว จึงจักเริ่มด้วยดี
โดยชอบซึ่งสังวรรณนา.
ขอภิกษุทั้งหลายปูนเถระ ปูนใหม่และปานกลาง
ผู้มีจิตเลื่อมใสเคารพนับถือพระธรรมของพระตถาคตเจ้า
ผู้มีดวงประทีปคือพระธรรม จงตั้งใจฟังสังวรรณนานั้น
ของข้าพเจ้า โดยเคารพเถิด.
พระอรรถกถาจารย์ชาวสิงหล มิได้ละมติ (อธิบาย)
ของท่านพุทธบุตรทั้งหลาย ผู้รู้ธรรมวินัย เหมือนอย่างที่
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ได้แต่งอรรถกถาในปางก่อน. เพราะ
เหตุนั้นแล คำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหมดยกเว้น
คำที่เขียนด้วยความพลั้งพลาดเสีย ย่อมเป็นประมาณแห่ง
บัณฑิตทั้งหลาย ผู้มีความเคารพในสิกขาในพระศาสนานี้.
ก็เพราะแม้วรรณนานี้ จะแสดงข้อความแห่งคำทั้งหลาย
ที่มาในพระสุตตันตะให้เหมาะสมแก่พระสูตร ละทิ้งภาษา
อื่นจากอรรถกถานั้นเสียทีเดียว และย่นพลความพิสดาร
(คำประพันธ์ที่พิสดาร) ให้รัดกุมเข้า ก็จักไม่ให้เหลือไว้ซึ่ง
ข้อวินิจฉัยทั้งปวง ไม่ข้ามลำดับพระบาลีที่เป็นแบบแผน
อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรตามศึกษา
วรรณนานี้โดยเอื้อเฟื้อแล. @- แสดงให้เห็นว่า....
1. อรรถกถาทั้ง 2 ยุคหลัง ก็คือ มหาอรรถกถา
ที่เพิ่มมติของอาจารย์ยุคหลังเข้าไปนั่นเอง
ดังนั้น
ข้อความใดๆ ในอภินวอรรถกถา (ของ
พระพุทธโฆสาจารย์)ที่ไม่ระบุที่มาไว้ ตรงนั้นจึงเป็น
ข้อความเดิมที่มาในมหาอรรถกถาที่ผ่านปฐมสังคายนา
มาด้วย เว้นแต่ข้อความที่อธิบายพระไตรปิฎก
ส่วนที่ใส่เข้ามาในสังคายนาครั้งหลังๆ
ตรงนั้น ก็ไม่ผ่านปฐมสังคายนา แต่จะผ่านสังคายนา
ครั้งอื่น เช่น สัตตสติกขันธกะ เป็นต้น ครับ.
2. ส่วนข้อความจากอรรถกถายุคอื่น
จะระบุที่มาไว้ ครับ
-คาถาเริ่มคัมภีร์ ในสปอยข้างบน ก็ระบุคำว่า
ข้าพเจ้า (มิ วิภัติ) ไว้ในคาถาแล้ว ก็ทราบได้ว่า
หมายถึงตัวผู้รจนา คือ พระพุทธโฆสาจารย์
-บางที่ก็ระบุเป็น
ชื่ออรรถกถาไว้
ก็ต้องมีพื้นฐานประวัติศาสตร์คัมภีร์
จึงจะแยกออกว่า เป็นอรรถกถายุคไหน.
-บางที่ก็ระบุเป็น
ชื่อบุคคลไว้ ซึ่งเว้นที่ท่าน
อ้างถึงบุคคลในพระไตรปิฎกแล้ว ชื่อที่งอ้างเกือบ
ทั้งหมด เป็นมติของผู้ทรงจำพระไตรปิฎกและ
อรรถกถาในลังกานะครับ
สังเกตได้จากลำดับเวลาและสถานที่ต่างๆ
ในอรรถกถาจุดที่ปรากฎชื่อนั้นๆ
ล้วนเป็นช่วงเวลา และสถานที่ ในลังกาทั้งนั้นครับ.
(แต่ชื่ออาจจะซ้ำกับสายพระวินัยใน
ชมพูทวีปนะครับ แต่ที่จริงเป็นคนละท่านกัน)
ตัวอย่างให้ลองแยกดูเองนะครับว่า อันไหนเป็นกรณีใด
ถ้าพิมพ์ไว้ เดี๋ยวจะช่วยดูให้ครับ ว่าใช่ไหม:
คำของพระพุทธโฆสาจารย์ ตั้งแต่ตรงไหนถึงตรงไหน?
กรณีใด?
กรณีใด?
อรรถกถาเอาพระไตรปิฎกมาเทียบกัน เพื่อให้เห็นว่า ท่านให้ทรงจำจริงๆ
แปลเลี่ยงไม่ได้ จะผิดจากพระไตรปิฎกจุดอื่นที่ท่านยกมา
หลายอรรถกถา รวมกัน (ควรอ่านหน้านี้ทั้งหมด
เพราะขาดจุดนี่จึงเป็นเหตุให้ปัจจุบันศาสนาเสื่อมมาก)
ภาพนี้เป็นเหตุผลให้กับเรื่องไหน?
คร่าวๆ ก็ตามนี้ ครับ รายละเอียด
ต้องค่อยๆ อ่านเก็บประสบการณ์กันเอง
ยึดหลักไว้ว่า "ท่านไม่เพิ่ม ไม่ตัด" อะไรออก
โดยที่ไม่ทิ้งที่มาไว้แน่นอน ครับ.
ป.ล. ถ้าเขียนตอนต่อไปเรื่อยๆ อาจจะมีจำแนกให้ครับ
ว่า พระไตรปิฎก เล่มไหนที่ใส่ข้อความเข้ามาเพิ่ม
จนถึงยุคใด เพราะอะไร (แต่ทั้งหมดที่ใส่มา
ไม่ได้แทรกในพระพุทธพจน์นะครับ แยกตัวออกมาชัดเจน).
------------------------------------------------------------------------
จงอ่านพระไตรปิฎกและอรรถกถาเถรวาทในแบบที่เถรวาทเป็น
อย่าใช้จินตนาการในการอ่าน อย่าเพียงแต่ฟังต่อๆ กันมา.
พออ่านเสร็จเข้าใจตามจริงหมด... ค่อยตัดสินใจว่าจะทำตามหรือไม่...
ก็ยังไม่สาย..... ไม่ใช่ปฏิเสธเพราะอาจารย์สอนตามๆกันมาว่า...
"ไม่ควรเชื่ออรรถกถา"
----------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------
ฝากเพจธรรมะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง:
https://www.facebook.com/DhammaComment
กลุ่มผู้รักษาศีล 8 สัปดาห์ละครั้ง (ศีล 5 ก็เข้าร่วมได้):
https://www.facebook.com/gsila8
เครือข่ายโยมอาสาช่วยงานพุทธศาสนา
https://www.facebook.com/pages/เครือข่ายโยมอาสาช่วยงานพุทธศาสนา/528975920543584
เลิกงมงายเรื่องอรรถกถากันเสียที ตอนที่ 1. (เพิ่มเติม 1) วิธีการสังเกตว่าตรงไหนเป็นอรรถกถายุคใด (พร้อมตัวอย่าง).
ในตอนแรกได้ได้กล่าวถึงอรรถกถา 3 ยุคไป
มีผู้สงสัยว่า แล้วเราจะแยกแยะอย่างไร?
ตรงนี้ก็ให้พิจารณาคาถาเริ่มคัมภีร์ที่เคยให้ไปเลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ แสดงให้เห็นว่า....
1. อรรถกถาทั้ง 2 ยุคหลัง ก็คือ มหาอรรถกถา
ที่เพิ่มมติของอาจารย์ยุคหลังเข้าไปนั่นเอง
ดังนั้น ข้อความใดๆ ในอภินวอรรถกถา (ของ
พระพุทธโฆสาจารย์)ที่ไม่ระบุที่มาไว้ ตรงนั้นจึงเป็น
ข้อความเดิมที่มาในมหาอรรถกถาที่ผ่านปฐมสังคายนา
มาด้วย เว้นแต่ข้อความที่อธิบายพระไตรปิฎก
ส่วนที่ใส่เข้ามาในสังคายนาครั้งหลังๆ
ตรงนั้น ก็ไม่ผ่านปฐมสังคายนา แต่จะผ่านสังคายนา
ครั้งอื่น เช่น สัตตสติกขันธกะ เป็นต้น ครับ.
2. ส่วนข้อความจากอรรถกถายุคอื่น
จะระบุที่มาไว้ ครับ
-คาถาเริ่มคัมภีร์ ในสปอยข้างบน ก็ระบุคำว่า
ข้าพเจ้า (มิ วิภัติ) ไว้ในคาถาแล้ว ก็ทราบได้ว่า
หมายถึงตัวผู้รจนา คือ พระพุทธโฆสาจารย์
-บางที่ก็ระบุเป็นชื่ออรรถกถาไว้
ก็ต้องมีพื้นฐานประวัติศาสตร์คัมภีร์
จึงจะแยกออกว่า เป็นอรรถกถายุคไหน.
-บางที่ก็ระบุเป็นชื่อบุคคลไว้ ซึ่งเว้นที่ท่าน
อ้างถึงบุคคลในพระไตรปิฎกแล้ว ชื่อที่งอ้างเกือบ
ทั้งหมด เป็นมติของผู้ทรงจำพระไตรปิฎกและ
อรรถกถาในลังกานะครับ
สังเกตได้จากลำดับเวลาและสถานที่ต่างๆ
ในอรรถกถาจุดที่ปรากฎชื่อนั้นๆ
ล้วนเป็นช่วงเวลา และสถานที่ ในลังกาทั้งนั้นครับ.
(แต่ชื่ออาจจะซ้ำกับสายพระวินัยใน
ชมพูทวีปนะครับ แต่ที่จริงเป็นคนละท่านกัน)
ตัวอย่างให้ลองแยกดูเองนะครับว่า อันไหนเป็นกรณีใด
ถ้าพิมพ์ไว้ เดี๋ยวจะช่วยดูให้ครับ ว่าใช่ไหม:
คำของพระพุทธโฆสาจารย์ ตั้งแต่ตรงไหนถึงตรงไหน?
กรณีใด?
กรณีใด?
อรรถกถาเอาพระไตรปิฎกมาเทียบกัน เพื่อให้เห็นว่า ท่านให้ทรงจำจริงๆ
แปลเลี่ยงไม่ได้ จะผิดจากพระไตรปิฎกจุดอื่นที่ท่านยกมา
หลายอรรถกถา รวมกัน (ควรอ่านหน้านี้ทั้งหมด
เพราะขาดจุดนี่จึงเป็นเหตุให้ปัจจุบันศาสนาเสื่อมมาก)
ภาพนี้เป็นเหตุผลให้กับเรื่องไหน?
คร่าวๆ ก็ตามนี้ ครับ รายละเอียด
ต้องค่อยๆ อ่านเก็บประสบการณ์กันเอง
ยึดหลักไว้ว่า "ท่านไม่เพิ่ม ไม่ตัด" อะไรออก
โดยที่ไม่ทิ้งที่มาไว้แน่นอน ครับ.
ป.ล. ถ้าเขียนตอนต่อไปเรื่อยๆ อาจจะมีจำแนกให้ครับ
ว่า พระไตรปิฎก เล่มไหนที่ใส่ข้อความเข้ามาเพิ่ม
จนถึงยุคใด เพราะอะไร (แต่ทั้งหมดที่ใส่มา
ไม่ได้แทรกในพระพุทธพจน์นะครับ แยกตัวออกมาชัดเจน).
------------------------------------------------------------------------
จงอ่านพระไตรปิฎกและอรรถกถาเถรวาทในแบบที่เถรวาทเป็น
อย่าใช้จินตนาการในการอ่าน อย่าเพียงแต่ฟังต่อๆ กันมา.
พออ่านเสร็จเข้าใจตามจริงหมด... ค่อยตัดสินใจว่าจะทำตามหรือไม่...
ก็ยังไม่สาย..... ไม่ใช่ปฏิเสธเพราะอาจารย์สอนตามๆกันมาว่า...
"ไม่ควรเชื่ออรรถกถา"
----------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------
ฝากเพจธรรมะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้