ชาวสวนยางสุราษฎร์ คสช.เร่งแก้ราคาตกให้ 7 วันก่อนเคลื่อนไหวใหญ่ ชวน หลีกภัย แนะให้เลี้ยงโคุน

ไหนห่านป่วยบอกไม่เดือดร้อนไง ไม่เดือดร้อนจะออกมาขู่ปิดถนนทำไม
เชียร์ให้ปิดถนนครับ ปิดไปเลย ปิดนานๆ

ขำตาชวน แนะให้เลี้ยงโคขุน
คนใต้เค้าอยากเลี้ยงแค่วัวชนเท่านั้นแหละ เลี้ยงวัวขุนมันไม่ได้ลุ้น มันผิดวิสัย

เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 21 สิงหาคม ได้มีตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ในนามแนวร่วมเกษตรกรชาวสวนยางพาราบ้านส้องและพันธมิตร  นำโดยนายไพโรจน์  ฤกษ์ดี  มีอาชีพเป็นเกษตรกรและทนายความกับพวกรวม 6 คนได้เดินทางมายื่นหนังสือเปิดผนึกผ่านศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีถึง พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะ คสช.และว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ เรียกร้องให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางอันเนื่องมาจากราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่อง

นายไพโรจน์  กล่าวว่า  อยากให้เร่งช่วยเหลือแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำเป็นวาระเร่งด่วนที่สุด  พร้อมจะรอคำตอบภายใน 7 วันหากไม่ได้รับการเหลียวแล จะรวมตัวเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ ซึ่งขอยืนยันการออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้มาด้วยความบริสุทธิ์ใจเนื่องจากเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรจริงๆไม่มีเกมการเมืองใดๆแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง หรือพรรคการเมืองใดมาหนุนหลัง

“ ตอนนี้ยางพาราแพร่กระจายไปภาคอีสาน ภาคตะวันออกและภาคเหนือ หากแก้ปัญหาทำได้จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรได้ทั้งประเทศ หากไม่ทำอะไรเกษตรกรและมวลชนจะพากันออกมาโดยไม่เกรงกลัวอำนาจของ คสช.หรืออำนาจของรัฐบาลอีกต่อไปแล้ว ” นายไพโรจน์ กล่าว    

ในการนี้นายพิชิต  ตู้บรรเทิง  หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เป็นผู้รับหนังสือดังกล่าวโดยรับจะว่าจะนำเสนอไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด  และหน่วยเหนือที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาตามลำดับขั้นตอนต่อไป

วันเดียวกันที่ตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี ที่สหกรณ์สุราษฎร์ธานี(โคออป) อ.พุนพิน มีการประมูลซื้อขายยางพารา ปรากฎว่า ยางแผ่นดิบ เพิ่มขึ้น 18 สตางค์ ได้ราคา ก.ก.ละ 53.25 บาท ตลาดท้องถิ่น ก.ก.ละ 51 บาท น้ำยางสด 49 บาท เศษยาง 21.50 บาท ส่วนที่ตลาดกลางหาดใหญ่ จ.สงขลา ยางแผ่นดิบชั้น 3 ขึ้น 62 สตางค์ ได้ราคา ก.ก.ละ 52.57 บาทและตลาดกลางนครศรีธรรมราช ได้ราคา 52.41 บาท

นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในพิธีเปิดงานวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ว่า พืชผลสินค้าเกษตรในภาคใต้มีราคาตกต่ำมาก ซึ่งควรที่จะหาวิธีการช่วยเหลือเกษตรกรด้วยให้มีอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงโคขุน ซึ่งจากที่เคยไปพบคนไทยในมาเลเซียแนะนำว่าพื้นที่ภาคใต้มีโอกาสมากการเลี้ยงโคขุนจะง่ายกว่าและทางมาเลเซียรับไม่อั้น

“ ที่มาเลเซียเคยเจอปัญหามาก่อนจึงลดพื้นที่การปลูกยาง เพราะไม่มีคนกรีดยาง หลังเริ่มจากมะพร้าวไปปลูกยางพาราแล้วจึงหันไปปลูกปาล์ม วันนี้เขาพัฒนาเรื่องอื่นๆไปเรื่อยๆ เราจึงจำเป็นจะต้องมาไล่ปัญหาเพราะจะต้องทำงานแบบสร้างสรร สำหรับมหาวิทยาลัยอย่าง ม.อ.สุราษฎร์ที่ทำงานวิจัยยางอยู่อาจจะจับมือกับ ม.อ.หาดใหญ่ มาทำเรื่องยางร่วมกัน ใช้ความหลากหลายในทุกวิทยาเขตที่มีอยู่มาช่วยกัน ” นายชวน กล่าว

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408669954
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่