บางคนอาจจะอ่านข้อความของผมแล้ว มีทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ไม่ว่ากันน่ะครับ ผมแค่อยากจะแชร์ในความคิด และความรู้สึกของคนในครอบครัวผม
ผมและครอบครัว ไม่ได้ต้องการเป็นข่าว และไม่ต้องการอยากดัง แต่ทางครอบครัวของผมถูกเอาเปรียบจากบริษัทมหาชน 2 แห่ง ที่ประกาศกับผู้ถือหุ้น / ลูกค้าได้รับทราบตลอดเวลาว่าทำงานด้วยจรรยาบรรณ มีธรรมาภิบาลในการบริหารงาน มีมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากล ต้องการประกาศตัวเองให้เป็นบริษัทอันดับ 1 แข่งกันประชาสัมพันธ์ โดยการใช้เงินจากการลงทุนของลูกค้าอย่างเรา ประชาสัมพันธ์อวดสรรพคุณความดีเกือบทุกชั่วโมง พอพบกับตัวเอง ผมถึงรู้เลยว่า ผมและครอบครัว ไม่น่าเสียเงินให้กับบริษัทพวกนี้อีกเลย
หลายๆ คนคงพอทราบแล้วว่า ครอบครัวผม ถูกบริษัทประกันยักษ์ใหญ่ 2 แห่งด้วย เอาเปรียบ เรียกว่า เอาเปรียบแม้กระทั่งคนตายที่พูดไม่ได้ สืบความไม่ได้ คิดว่า ทางครอบครัวผมไม่มีความรู้ กะจะเอาเปรียบพ่อแม่ผมครับ เอาเงินเล็กน้อยมาปิดปาก อ้างกฎหมายที่พวกกรรมการบริษัทประกันมารวมตัวกัน ออกกฎหมายคุ้มครองตัวเอง ออกกฎหมายเอื้อผลประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ถึงแม้จะมีหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ดูแลเฉพาะทางด้านประกันชีวิต / ประกันภัย ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ อย่าง "สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)" ก็ตาม ทำหน้าที่หลักๆ ได้เพียงการไกล่เกลี่ยเท่านั้น ผมไปมาแล้วครับ สรุปสุดท้าย ผมต้องฟ้องร้องเท่านั้นครับ แต่สิ่งที่ผมคิดมาตลอดครับว่า กฎหมายประกันเอื้อประโยชน์ยังไง ผมจะลองยกตัวอย่างกฎหมายพวกนี้น่ะครับ
•กฎหมายเกี่ยวกับการบอกล้างสัญญาประกันภัย
สัญญาประกันชีวิตมีหลักที่สำคัญคือ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายต้องมีความสุจริตใจอย่างยิ่ง ฉะนั้น เมื่อผู้ขอเอาประกันชีวิต ตกลงทำสัญญาประกันชีวิตแล้ว ผู้ขอเอาประกันชีวิตจะต้องกรอกข้อความเป็นที่จริงในใบคำขอ บริษัทจะใช้ประกอบการพิจารณาว่าจะรับประกันหรือไม่ หรือจะไม่รับ การไม่กรอกรายละเอียดในคำขอให้ครบถ้วน ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับตัวผู้ขอเอาประกันภัยซึ่งบริษัทจำเป็นต้องทราบก่อนรับประกันชีวิต สัญญาที่เกิดขึ้นจากการปกปิดข้อเท็จจริง เรียกว่า สัญญาที่เป็นโฆฆียะ บริษัทมีสิทธิบอกล้างได้ โดยบริษัทจะต้องบอกล้างภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่บริษัทได้รับทราบข้อูลอันจะบอกล้างได้ แต่ถ้าสัญญาทำมาครบกำหนดเกินว่า 2 ปีแล้ว (ความหมายคือต้องชำระเบี้ยของปีที่ 3 แล้ว จึงจะถือว่าเกินกว่า 2 ปี)
สิทธิในการบอกล้างเป็นอันระงับไป ดังนั้น หากผู้เอาประกันชีวิตเสียชีวิตภายใน 2 ปี บริษัทจะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แต่จะคืนเบี้ยที่ชำระไว้เท่านั้น หากเกินว่า 2 ปีตามกฎหมาย ต่อมามีการเคลมเกิดขึ้น บริษัทต้องรับผิดชอบ
555 บริษัทประกันทั้งหลาย ใช้กฎหมายนี้เยอะมาก ถึงแม้บางรายลูกค้าทำมาเกิน 2 ปี พอบริษัทฯ ทราบเท่านั้น บอกเลิกทันทีครับ ไม่ได้โม้ครับ เกิดกับคนในตระกูลผมถึง 2 คนครับ
•คนแรกคือ ลุงผมครับ ทำมาถึง 8 -9 ปีครับ พอมีโรคเท่านั้นครับ ขอยกเลิกทันที
•และคนที่ 2 คือ คุณแม่ภรรยาผมเองครับ ทำมาเกือบครบสัญญาครบ 18 ปี เช่นกันครับ ตรวจพบโรคร้ายเท่านั้นครับ เอาเงินมาคืนให้ถึงที่ครับ
ความน่าเชื่อถือลดลงทันทีครับสำหรับผม … แล้วนี้แค่ข้อเดียวน่ะครับ มีอีกหลายๆ ข้อที่เอาเปรียบผู้บริโภคครับ
ส่วนใหญ่ต้องฟ้องร้องกันแทบทุกคดี ถ้าอยากได้รับความเป็นธรรม ทำไมรัฐบาลไม่ลงมาดูเรื่องนี้บ้าง เพราะรัฐบาลเป็นคนอนุมัติให้จัดตั้งบริษัทประกันให้กับบริษัทพวกนี้ และรัฐบาลเองมีนโยบายเน้นให้ประชาชนเก็บออม / ลงทุนในรูปแบบประกัน ด้วย ทำไมถึงปล่อยให้ประชาชนตาดำๆ ที่ทำงานสุจริต จ่ายภาษีทุกบาททุกสตางค์ ไม่เคยบิดเบือนบ้าง สิ่งที่ผมแค่อยากเสนอแนะให้กับรัฐบาลน่ะครับ
•ทบทวนกฎหมายประกันชีวิต / ประกันภัยใหม่ครับ และขอให้เป็นฝ่ายกฎหมายโดยตรงครับที่มาดูแลในเรื่องนี้ ไม่ใช่ออกกฎหมายโดยกรรมการของแต่ละบริษัทประกัน ลดการเอื้อผลประโยชน์ของตัวเองครับ
•ทบทวนใบอนุญาติประกอบธุรกิจประกันชีวิต / ประกันภัยของบริษัทประกันทุกๆ ปี ทั้งนี้ดูจากการร้องเรียนของลูกค้าเป็นหลักด้วย เพราะทุกวันนี้ ถ้ารัฐบาลเข้าไปดูที่ คปภ. จะทราบได้ว่า มีแต่เรื่องร้องเรียนของลูกค้าที่ให้เจ้าหน้าที่ต้องมานั่งไกล่เกลี่ย แล้วขอให้เช็คสอบสถิติด้วยว่า มีสัดส่วนเท่าไรที่ไกล่เกลี่ยจบ และมีสัดส่วนเท่าไรที่ไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ
•ทบทวนระเบียบการปฏิบัติของบริษัทประกันด้วยครับ ควรกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนบ้างน่ะครับ ว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเมื่อไร เพราะถ้าไม่มีระยะเวลากำหนดไว้ บริษัทฯ มีเงินทุนจากประชาชนจำนวนมาก ประวิงเวลาได้ ยิ่งทำ (สำรวจจากเจ้าหน้าที่ คปภ. ก็ได้ครับ ว่าเขาต้องนั่งเห็นประชาชนตาดำๆ ร้องไห้จากการถูกเอาเปรียบในแต่ละวันกี่ราย)
•นอกจากนี้ มีการใช้พรบ. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 หมวด 3 อย่างจริงจังครับ มีแล้วไม่เคยได้ใช้ แล้ว บริษัทประกันฯ พวกนี้ ถึงได้กล้าทำกับพวกผม ซ้ำเติมคนแล้วคนเล่าครับ (เดี๋ยวผมจะแชร์ให้เห็นครับ ว่า ไม่ใช่แค่ผมเท่านั้นที่โดน) แต่ตอนนี้ ผมขอแชร์ พรบ. หมวด 3 เกี่ยวกับ การเพิกถอนใบอนุญาติประกอบธุรกิจประกันชีวิต ก่อนครับ มีรายละเอียด ดังนี้
มาตรา 64 รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาติประกอบธุรกิจประกันชีวิต เมื่อปรากฎแก่รัฐมนตรีว่าบริษัท
(1) มีหนี้สินเกินว่าทรัพย์สิน หรือมีฐานะการเงินไม่มั่นคงอันอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
(2) ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวง เงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดหรือ ประกาศที่ออกหรือกำหนดตามความในพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐมนตรี นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ในเมื่ออาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
(3) หยุดประกันกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(4) ประวิงการจ่ายเงินที่ต้องใช้ตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายหรือคืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือจ่ายหรือคืนไปโดยไม่สุจริต
(5) ถ้าประกอบธุรกิจประกันชีวิตต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัย หรือประชาชน
บริษัทประกันชีวิต จริยธรรมหดหาย กลโกงที่ซ่อนเร้น ศึกษาไม่ดีโดนเอาเปรียบทุกทางครับ
ผมและครอบครัว ไม่ได้ต้องการเป็นข่าว และไม่ต้องการอยากดัง แต่ทางครอบครัวของผมถูกเอาเปรียบจากบริษัทมหาชน 2 แห่ง ที่ประกาศกับผู้ถือหุ้น / ลูกค้าได้รับทราบตลอดเวลาว่าทำงานด้วยจรรยาบรรณ มีธรรมาภิบาลในการบริหารงาน มีมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากล ต้องการประกาศตัวเองให้เป็นบริษัทอันดับ 1 แข่งกันประชาสัมพันธ์ โดยการใช้เงินจากการลงทุนของลูกค้าอย่างเรา ประชาสัมพันธ์อวดสรรพคุณความดีเกือบทุกชั่วโมง พอพบกับตัวเอง ผมถึงรู้เลยว่า ผมและครอบครัว ไม่น่าเสียเงินให้กับบริษัทพวกนี้อีกเลย
หลายๆ คนคงพอทราบแล้วว่า ครอบครัวผม ถูกบริษัทประกันยักษ์ใหญ่ 2 แห่งด้วย เอาเปรียบ เรียกว่า เอาเปรียบแม้กระทั่งคนตายที่พูดไม่ได้ สืบความไม่ได้ คิดว่า ทางครอบครัวผมไม่มีความรู้ กะจะเอาเปรียบพ่อแม่ผมครับ เอาเงินเล็กน้อยมาปิดปาก อ้างกฎหมายที่พวกกรรมการบริษัทประกันมารวมตัวกัน ออกกฎหมายคุ้มครองตัวเอง ออกกฎหมายเอื้อผลประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ถึงแม้จะมีหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ดูแลเฉพาะทางด้านประกันชีวิต / ประกันภัย ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ อย่าง "สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)" ก็ตาม ทำหน้าที่หลักๆ ได้เพียงการไกล่เกลี่ยเท่านั้น ผมไปมาแล้วครับ สรุปสุดท้าย ผมต้องฟ้องร้องเท่านั้นครับ แต่สิ่งที่ผมคิดมาตลอดครับว่า กฎหมายประกันเอื้อประโยชน์ยังไง ผมจะลองยกตัวอย่างกฎหมายพวกนี้น่ะครับ
•กฎหมายเกี่ยวกับการบอกล้างสัญญาประกันภัย
สัญญาประกันชีวิตมีหลักที่สำคัญคือ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายต้องมีความสุจริตใจอย่างยิ่ง ฉะนั้น เมื่อผู้ขอเอาประกันชีวิต ตกลงทำสัญญาประกันชีวิตแล้ว ผู้ขอเอาประกันชีวิตจะต้องกรอกข้อความเป็นที่จริงในใบคำขอ บริษัทจะใช้ประกอบการพิจารณาว่าจะรับประกันหรือไม่ หรือจะไม่รับ การไม่กรอกรายละเอียดในคำขอให้ครบถ้วน ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับตัวผู้ขอเอาประกันภัยซึ่งบริษัทจำเป็นต้องทราบก่อนรับประกันชีวิต สัญญาที่เกิดขึ้นจากการปกปิดข้อเท็จจริง เรียกว่า สัญญาที่เป็นโฆฆียะ บริษัทมีสิทธิบอกล้างได้ โดยบริษัทจะต้องบอกล้างภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่บริษัทได้รับทราบข้อูลอันจะบอกล้างได้ แต่ถ้าสัญญาทำมาครบกำหนดเกินว่า 2 ปีแล้ว (ความหมายคือต้องชำระเบี้ยของปีที่ 3 แล้ว จึงจะถือว่าเกินกว่า 2 ปี)
สิทธิในการบอกล้างเป็นอันระงับไป ดังนั้น หากผู้เอาประกันชีวิตเสียชีวิตภายใน 2 ปี บริษัทจะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แต่จะคืนเบี้ยที่ชำระไว้เท่านั้น หากเกินว่า 2 ปีตามกฎหมาย ต่อมามีการเคลมเกิดขึ้น บริษัทต้องรับผิดชอบ
555 บริษัทประกันทั้งหลาย ใช้กฎหมายนี้เยอะมาก ถึงแม้บางรายลูกค้าทำมาเกิน 2 ปี พอบริษัทฯ ทราบเท่านั้น บอกเลิกทันทีครับ ไม่ได้โม้ครับ เกิดกับคนในตระกูลผมถึง 2 คนครับ
•คนแรกคือ ลุงผมครับ ทำมาถึง 8 -9 ปีครับ พอมีโรคเท่านั้นครับ ขอยกเลิกทันที
•และคนที่ 2 คือ คุณแม่ภรรยาผมเองครับ ทำมาเกือบครบสัญญาครบ 18 ปี เช่นกันครับ ตรวจพบโรคร้ายเท่านั้นครับ เอาเงินมาคืนให้ถึงที่ครับ
ความน่าเชื่อถือลดลงทันทีครับสำหรับผม … แล้วนี้แค่ข้อเดียวน่ะครับ มีอีกหลายๆ ข้อที่เอาเปรียบผู้บริโภคครับ
ส่วนใหญ่ต้องฟ้องร้องกันแทบทุกคดี ถ้าอยากได้รับความเป็นธรรม ทำไมรัฐบาลไม่ลงมาดูเรื่องนี้บ้าง เพราะรัฐบาลเป็นคนอนุมัติให้จัดตั้งบริษัทประกันให้กับบริษัทพวกนี้ และรัฐบาลเองมีนโยบายเน้นให้ประชาชนเก็บออม / ลงทุนในรูปแบบประกัน ด้วย ทำไมถึงปล่อยให้ประชาชนตาดำๆ ที่ทำงานสุจริต จ่ายภาษีทุกบาททุกสตางค์ ไม่เคยบิดเบือนบ้าง สิ่งที่ผมแค่อยากเสนอแนะให้กับรัฐบาลน่ะครับ
•ทบทวนกฎหมายประกันชีวิต / ประกันภัยใหม่ครับ และขอให้เป็นฝ่ายกฎหมายโดยตรงครับที่มาดูแลในเรื่องนี้ ไม่ใช่ออกกฎหมายโดยกรรมการของแต่ละบริษัทประกัน ลดการเอื้อผลประโยชน์ของตัวเองครับ
•ทบทวนใบอนุญาติประกอบธุรกิจประกันชีวิต / ประกันภัยของบริษัทประกันทุกๆ ปี ทั้งนี้ดูจากการร้องเรียนของลูกค้าเป็นหลักด้วย เพราะทุกวันนี้ ถ้ารัฐบาลเข้าไปดูที่ คปภ. จะทราบได้ว่า มีแต่เรื่องร้องเรียนของลูกค้าที่ให้เจ้าหน้าที่ต้องมานั่งไกล่เกลี่ย แล้วขอให้เช็คสอบสถิติด้วยว่า มีสัดส่วนเท่าไรที่ไกล่เกลี่ยจบ และมีสัดส่วนเท่าไรที่ไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ
•ทบทวนระเบียบการปฏิบัติของบริษัทประกันด้วยครับ ควรกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนบ้างน่ะครับ ว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเมื่อไร เพราะถ้าไม่มีระยะเวลากำหนดไว้ บริษัทฯ มีเงินทุนจากประชาชนจำนวนมาก ประวิงเวลาได้ ยิ่งทำ (สำรวจจากเจ้าหน้าที่ คปภ. ก็ได้ครับ ว่าเขาต้องนั่งเห็นประชาชนตาดำๆ ร้องไห้จากการถูกเอาเปรียบในแต่ละวันกี่ราย)
•นอกจากนี้ มีการใช้พรบ. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 หมวด 3 อย่างจริงจังครับ มีแล้วไม่เคยได้ใช้ แล้ว บริษัทประกันฯ พวกนี้ ถึงได้กล้าทำกับพวกผม ซ้ำเติมคนแล้วคนเล่าครับ (เดี๋ยวผมจะแชร์ให้เห็นครับ ว่า ไม่ใช่แค่ผมเท่านั้นที่โดน) แต่ตอนนี้ ผมขอแชร์ พรบ. หมวด 3 เกี่ยวกับ การเพิกถอนใบอนุญาติประกอบธุรกิจประกันชีวิต ก่อนครับ มีรายละเอียด ดังนี้
มาตรา 64 รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาติประกอบธุรกิจประกันชีวิต เมื่อปรากฎแก่รัฐมนตรีว่าบริษัท
(1) มีหนี้สินเกินว่าทรัพย์สิน หรือมีฐานะการเงินไม่มั่นคงอันอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
(2) ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวง เงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดหรือ ประกาศที่ออกหรือกำหนดตามความในพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐมนตรี นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ในเมื่ออาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
(3) หยุดประกันกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(4) ประวิงการจ่ายเงินที่ต้องใช้ตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายหรือคืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือจ่ายหรือคืนไปโดยไม่สุจริต
(5) ถ้าประกอบธุรกิจประกันชีวิตต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัย หรือประชาชน