จากการที่ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ให้ข่าวเกี่ยวกับมติของมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับการสวดพระปาติโมกข์ 150 ข้อ ของพระคึกฤทธ์ จริง ๆ แล้วยังไม่ได้มีการตัดสินอะไรหรอกครับ มติพระคึกฤทธิ์ เป็นเพียงมติจรที่ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เสนอที่ประชุมมหาเถรสมาคมให้รับทราบเพื่อขอมติจากมหาเถรสมาคม มติจึงออกมาในรูปเมื่อผิดก็ทำให้ถูกเสียสิ ตอนนี้ยังไม่มีการเผยแพร่มติที่ประชุม แต่สามารถรออ่านได้จากเวปนี้ครับ
http://www.mahathera.org/mati.php
มติมหาเถรสมาคมที่ยืนยันให้สวดพระปาติโมกข์ 227 ข้อนั้น จึงเป็นเหมือนคำเตือน แต่ว่ายังไม่ได้มีการพิจารณากรณีอื่น ๆ นะครับ ยังไม่เป็นกรณีที่ต้องตั้งขึ้นเป็นอธิกรณ์ตั้งคณะกรรมการเข้ามาตรวจสอบ ซึ่งจริง ๆ ควรจะเป็นแล้ว แต่ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กลับเห็นภัยใหญ่เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย พยายามจะไกล่เกลี่ย เพื่อหาความชอบธรรมและให้โอกาสในการทำสิ่งที่ผิดให้ถูกเสีย
หรืออาจจะมองอีกมุมหนึ่งว่า ถึงแม้ว่าจะมีตำแหน่งเป็นถึง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แต่กลับไม่มีความรู้ด้านพระพุทธศาสนาเอาเสียเลย ทำงานแบบขอไปทีให้เรื่องมันจบ ๆ ไป มองไม่เห็นปัญหาใหญ่ที่จะตามมา ถึงท่านจะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่มีเวลาหรืออะไรก็แล้วแต่ ท่านก็อยู่ในตำแหน่งที่จะใช้ใครก็ได้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะเข้ามาตรวจสอบพิจารณาอย่างถี่ถ้วน แล้วเสนอมาให้ท่านได้พิจารณาเพื่อการแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องได้ แต่ท่านก็ไม่ทำ น่าเสียดายตำแหน่งจริง ๆ ส่วนผู้ที่มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าหากจะแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ คงจะได้ออกมาหลายกลุ่ม
กลุ่มแรก เรียกได้ว่า เป็นสาวก เป็นแฟนพันธุ์แท้ของพระคึกฤทธิ์ กลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รู้จักพระพุทธศาสนาเลย รู้ก็น้อยมาก ไม่เคยประพฤติปฏิบัติธรรม เริ่มเข้ามาศึกษาก็เพราะได้รับการสารต่าง ๆ ที่พระคึกฤทธิ์ได้สร้างขึ้น ได้เข้ามาศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรมแล้วได้รับผลจากการปฏิบัติ เลยสรุปเอาง่าย ๆ เลยว่าแบบนี้แหละดี แบบนี้แหละถูกต้อง บางคนแทบจะนับถือพระคึกฤทธิ์เป็นพระพุทธเจ้าแทนเสียแล้ว ท่านสอนไม่ให้ฟังคำของสาวก คำของพระอรรถกถา ยกเว้นท่านเพียงผู้เดียว กลุ่มนี้ มองเห็นปัญหานี้เป็นเพียงปัญหาระดับส่วนตัว พระคึกฤทธิ์เลยถูกทุกอย่าง ใครมาว่าร้ายให้ร้ายท่านถือว่าผิดหมด เถียงแบบหัวชนฝาได้ ไม่รับฟังความคิดเห็นอื่นใดอีก
กลุ่มที่สอง เห็นพระภิกษุสามเณรทำผิดพระธรรมวินัย มีความประพฤติที่ผิดแผกแปลกไปจากพระพุทธศาสนา รู้สึกเบื่อหน่ายเอือมระอา เมื่อได้เข้ามาพบพระคึกฤทธิ์ที่มีความประพฤติตามธรรมวินัย ถือศีลตั้งสองพันกว่าข้อ สอนแต่สิ่งที่เป็นพุทธวจนะเท่านั้น ก็เลื่อมใส กลุ่มนี้ ไม่ได้ศึกษาให้ถี่ถ้วนโดยรอบด้าน ว่าบริบทของพระพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้นเป็นอย่างไร ปัญหาพระพุทธศาสนาในเมืองไทย ต้องมองในองค์รวม เริ่มตั้งแต่บริบททางสังคมของไทยก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเผยแผ่เข้ามา มีการนับถือผีสางเทวดา เครื่องรางของขลัง พิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ของศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาเผยแผ่ก่อน เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาจึงไม่ได้เข้ามาแบบบริสุทธิ์ มีการประยุกต์ผสมผสานกับลัทธิความเชื่อเดิม ๆ จนเป็นพุทธศาสนาแบบไทย ๆ เท่าที่เราเห็นกัน แต่เท่าที่ผ่านมาทุกยุคทุกสมัย ก็ยังมีพระไตรปิฎกให้ได้ตรวจสอบความถูกต้องอยู่ว่า จริง ๆ แล้ว พระพุทธศาสนาสอนว่าอย่างไร ไม่เคยมีใครตัดความตอนใดตอนหนึ่งมาด้วยความคิดเห็นของตนแล้วบอกว่า แค่นี้เท่านั้นแหละที่เชื่อได้ อย่างที่พระคึกฤทธิ์กำลังทำอยู่ในขณะนี้ ส่วนเรื่องความประพฤติของพระภิกษุสามเณร มันก็เกิดจากปัญหาต่าง ๆ ที่สั่งสมมา รวมทั้งปัญหาสังคมในทุกระดับชั้น ผู้ที่เข้ามาบวชก็คือ คนที่มาจากสังคมปัจจุบัน ผ่านระบบครอบครัว โรงเรียน มหาวิทยาลัย วัด ในแบบต่าง ๆ ตามสิ่งแวดล้อมของตน เข้ามาบวชย่อมต้องมีอุปนิสัยเดิม ๆ ติดเข้ามาด้วย จะให้สมบูรณ์แบบ เพอร์เฟคในทันทีทันใดย่อมเป็นไปไม่ได้ ไม่ใช่ว่าเอาผ้าเหลืองคลุมแล้ว กลายเป็นพระอรหันต์ มีความประพฤติสมบูรณ์ถูกต้องตามพระวินัยทุกอย่างเสียเมื่อไหร่ หากแต่ทุกคนที่เข้ามาบวช ก็อยู่ในฐานะที่ต้องฝึกฝนปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น ได้มากบ้างน้อยบ้างก็ย่อมขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแต่ละคน เข้ามาบวชแล้วก็มาเจอปัญหาภายในวัดอีกที่มีมากมายตามสังคมที่หลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน ปัญหาต่าง ๆ ก็ตามมาเป็นธรรมดา ถ้ามองโดยรวม ๆ แล้วก็เป็นปัญหาที่ต้องร่วมกันแก้ไขในทุก ๆ ระดับชั้นของสังคม แต่พระคึกฤทธิ์กลับถือเป็นโอกาส เอาความชั่วใส่คนอื่น สร้างความดีความชอบให้กับตนเอง บอกว่าที่พระภิกษุสามเณรเป็นแบบนี้ เพราะพระไตรปิฎกนั้นไม่บริสุทธิ์ มีคำที่สาวกแต่งเข้ามาใหม่เยอะไป พระเลยไม่ได้ศึกษาสิ่งที่ถูกต้อง เลยประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้อง ประเด็นนี้เดี๋ยวเสริมข้างล่าง จากเหตุผลนี้ ก็พระคึกฤทธิ์ก็ได้แนวร่วมไปค่อนข้างเยอะ
กลุ่มที่สาม กลุ่มที่ไม่เห็นด้วย ผมก็คงอยู่ในกลุ่มนี้ ที่บอกว่าไม่เห็นด้วย ผมไม่ได้ปฏิเสธคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ปฏิเสธ พุทธวจน แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการสอนของพระคึกฤทธิ์เอาเสียเลย วิธีการของท่านจะนำพาความวิบัติมาให้พระพุทธศาสนาโดยแน่แท้ จริง ๆ ส่วนดีก็มีอยู่มี ท่านก็ดึงมวลชนเข้ามาสนใจพระพุทธศาสนาได้มากขึ้น แต่ดีก็ส่วนดี ไม่ดีก็ส่วนไม่ดี ต้องแยกประเด็นกันพูด เหมือนกับการกล่าวอ้างของสาวกพระคึกฤทธิ์บางคนที่บอกว่า ทำไมไม่เอาเวลาไปจับผิดพระที่ไม่อยู่ในธรรมวินัยอื่น ๆ เล่า ท่านก็ทำของท่านดีแล้ว อันนี้ผิดประเด็น ดีส่วนดี ไม่ดีส่วนไม่ดี ถูกว่าไปตามถูก ผิดว่าไปตามผิด
ในความเห็นส่วนตัวผมเอง ประเด็นความผิดพระคึกฤทธิ์ มีดังนี้
1. การสวดพระปาติโมกข์ 150 ข้อ โดยอ้างความจากพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐแปลภาษาไทยที่แปลคำว่า สาธิกมิทํ ว่า "ถ้วน" ซึ่งเป็นการแปลผิด เพราะจริง ๆ ต้องแปลว่า "มีมากกว่านี้" เพราะความไม่รู้ภาษาบาลีเลย จึงไม่เห็นผิดว่าเป็นผิด เมื่อมีผู้รู้หลายท่านมาชี้ให้เห็นสิ่งที่ถูกต้อง กลับเอาสีข้างเข้าถู แถไปเรื่อย ๆ อ้างคนโน้นคนนี้ พระไตรปิฎกฉบับนั้น ฉบับนี้เพื่อรับรองความถูกต้องของตนเอง ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ไม่ให้เชื่อใครเลยนอกจากพุทธวจนและคำพูดของตน เมื่อเห็นว่าชักจะไม่ได้ผล ก็อ้างอีกเลยว่า จริง ๆ ไม่ได้ถือแค่ 150 หรือ 227 หรอก รวม ๆ แล้วตั้งสองพันกว่าข้อเลยนะ พระวัดอื่นไม่เห็นทำได้แบบท่านเลย ศีลง่าย ๆ ยังปฏิบัติไม่ได้เลย ทำไมต้องมากล่าวหาท่านที่มีศีลต้องสองพันกว่าข้อ อันนี้เริ่มส่อสันดานเสีย เอาดีเข้าตัว เอาชั่วใส่คนอื่น แบบที่บอกไว้ข้างต้น เอาปัญหาพระพุทธศาสนาในปัจจุบันไว้ข้างหลัง ถีบตัวเองขึ้นที่สูง ลอยตัวเหนือปัญหา แทนที่จะช่วยกันแก้ไข จริง ๆ แล้วศีลที่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ของพระภิกษุ ที่ต้องสวดทุกกึ่งเดือน 150 ในเบื้องต้น รวมกับ สาธิกมิทัง ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกนี้ รวมเป็น 227 ข้อ ซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้สวดกันทุกกึ่งเดือนในพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทในประเทศต่าง ๆ เช่น ไทย พม่า ลาว เขมร ศรีลังกา เป็นต้น เป็นศีลหลักของพระภิกษุ ที่ห้ามทำ หรือ ต้องทำ ถ้าละเมิดหรือผิดศีล มีความผิดหนักเบาตามแต่ศีลนั้น ๆ โทษสูงสุดถึงกับประหารชีวิตจากความเป็นพระ คือให้สึก รอง ๆ ลงมาก็มีกักบริเวณ ให้สำนึกผิด คือ การให้อยู่ปริวาสกรรม มีการสละสิ่งของคืน การสารภาพความผิดและปฏิญญาว่าจะไม่ทำผิดอีก เป็นต้น ส่วนศีลนอกเหนือจากนี้รวมเป็นสองพันกว่าข้อที่ท่านอ้าง ส่วนหนึ่งเป็นคุณสมบัติของพระอริยะที่เรียกว่าสัมปันนศีล และเป็นศีลที่ควรปฏิบัติเพื่อความเรียบร้อยดีงามแห่งสงฆ์ หรือเพื่อการรักษาศีลให้ละเอียดประณีตยิ่ง ๆ ขึ้นไป เอื้ออาศัยกันและกัน แต่ก็ถือกันโดยทั่วไปว่า พระภิกษุสงฆ์มีศีล 227 ข้อเฉพาะที่มาในปาติโมกข์ ส่วนที่เหลือก็ไม่มีใครนำมากล่าวอ้างเพื่อยกตนเองข่มผู้อื่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าท่านเหล่านั้นไม่ได้ประพฤติปฏิบัติศีลเหล่านี้เลย
2. ความผิดที่ถือว่าหนัก คือ การจัดทำพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ โดยอ้างว่า พระไตรปิฎก ฉบับเดิมนั้นเชื่อถือไม่ได้ เพราะมีคำของสาวกปะปนอยู่ ท่านจึงตัดพระอภิธรรมทิ้งไป เหลือพระไตรปิฎก 33 เล่ม ในพระไตรปิฎกเหล่านั้นก็ตัดทิ้งข้อความออกไปโดยความคิดเห็นของท่านเอง ไม่ได้พิมพ์ตามพระไตรปิฎกสยามรัฐ ฉบับแปลไทยตามที่กล่าวอ้าง เหลือไว้แต่ส่วนที่ท่านบอกว่า เป็น พระพุทธวจน แท้ หากท่านมีความเป็นนักปราชญ์ หรือนักวิชาการ จะแสดงทิฐิความเห็นส่วนตัวของตนเอง แล้วนำมาเผยแผ่ แบบที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านเคยได้ทำไว้ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร นำเสนอความคิดเห็น แสดงไว้เป็นหลักฐานว่า ท่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ส่วนไหนเชื่อถือได้ ส่วนไหนควรตัดทิ้ง แต่ท่านก็ไม่เคยตัดความ แก้ไข พิมพ์พระไตรปิฎกของตนเองขึ้นมาใหม่ มาประกาศลัทธิของตนเองแบบที่พระคึกฤทธิ์กำลังจะทำอยู่ เป็นการทำลายรากเหง้าของพระศาสนาโดยตรง (ข้อนี้คงจะมีภาค 2 ครับ พรุ่งนี้ค่อยมาต่อ)
กรณี มติมหาเถรสมาคม พระคึกฤทธิ์สวดพระปาติโมกข์ 150 ข้อ
มติมหาเถรสมาคมที่ยืนยันให้สวดพระปาติโมกข์ 227 ข้อนั้น จึงเป็นเหมือนคำเตือน แต่ว่ายังไม่ได้มีการพิจารณากรณีอื่น ๆ นะครับ ยังไม่เป็นกรณีที่ต้องตั้งขึ้นเป็นอธิกรณ์ตั้งคณะกรรมการเข้ามาตรวจสอบ ซึ่งจริง ๆ ควรจะเป็นแล้ว แต่ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กลับเห็นภัยใหญ่เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย พยายามจะไกล่เกลี่ย เพื่อหาความชอบธรรมและให้โอกาสในการทำสิ่งที่ผิดให้ถูกเสีย
หรืออาจจะมองอีกมุมหนึ่งว่า ถึงแม้ว่าจะมีตำแหน่งเป็นถึง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แต่กลับไม่มีความรู้ด้านพระพุทธศาสนาเอาเสียเลย ทำงานแบบขอไปทีให้เรื่องมันจบ ๆ ไป มองไม่เห็นปัญหาใหญ่ที่จะตามมา ถึงท่านจะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่มีเวลาหรืออะไรก็แล้วแต่ ท่านก็อยู่ในตำแหน่งที่จะใช้ใครก็ได้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะเข้ามาตรวจสอบพิจารณาอย่างถี่ถ้วน แล้วเสนอมาให้ท่านได้พิจารณาเพื่อการแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องได้ แต่ท่านก็ไม่ทำ น่าเสียดายตำแหน่งจริง ๆ ส่วนผู้ที่มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าหากจะแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ คงจะได้ออกมาหลายกลุ่ม
กลุ่มแรก เรียกได้ว่า เป็นสาวก เป็นแฟนพันธุ์แท้ของพระคึกฤทธิ์ กลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รู้จักพระพุทธศาสนาเลย รู้ก็น้อยมาก ไม่เคยประพฤติปฏิบัติธรรม เริ่มเข้ามาศึกษาก็เพราะได้รับการสารต่าง ๆ ที่พระคึกฤทธิ์ได้สร้างขึ้น ได้เข้ามาศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรมแล้วได้รับผลจากการปฏิบัติ เลยสรุปเอาง่าย ๆ เลยว่าแบบนี้แหละดี แบบนี้แหละถูกต้อง บางคนแทบจะนับถือพระคึกฤทธิ์เป็นพระพุทธเจ้าแทนเสียแล้ว ท่านสอนไม่ให้ฟังคำของสาวก คำของพระอรรถกถา ยกเว้นท่านเพียงผู้เดียว กลุ่มนี้ มองเห็นปัญหานี้เป็นเพียงปัญหาระดับส่วนตัว พระคึกฤทธิ์เลยถูกทุกอย่าง ใครมาว่าร้ายให้ร้ายท่านถือว่าผิดหมด เถียงแบบหัวชนฝาได้ ไม่รับฟังความคิดเห็นอื่นใดอีก
กลุ่มที่สอง เห็นพระภิกษุสามเณรทำผิดพระธรรมวินัย มีความประพฤติที่ผิดแผกแปลกไปจากพระพุทธศาสนา รู้สึกเบื่อหน่ายเอือมระอา เมื่อได้เข้ามาพบพระคึกฤทธิ์ที่มีความประพฤติตามธรรมวินัย ถือศีลตั้งสองพันกว่าข้อ สอนแต่สิ่งที่เป็นพุทธวจนะเท่านั้น ก็เลื่อมใส กลุ่มนี้ ไม่ได้ศึกษาให้ถี่ถ้วนโดยรอบด้าน ว่าบริบทของพระพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้นเป็นอย่างไร ปัญหาพระพุทธศาสนาในเมืองไทย ต้องมองในองค์รวม เริ่มตั้งแต่บริบททางสังคมของไทยก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเผยแผ่เข้ามา มีการนับถือผีสางเทวดา เครื่องรางของขลัง พิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ของศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาเผยแผ่ก่อน เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาจึงไม่ได้เข้ามาแบบบริสุทธิ์ มีการประยุกต์ผสมผสานกับลัทธิความเชื่อเดิม ๆ จนเป็นพุทธศาสนาแบบไทย ๆ เท่าที่เราเห็นกัน แต่เท่าที่ผ่านมาทุกยุคทุกสมัย ก็ยังมีพระไตรปิฎกให้ได้ตรวจสอบความถูกต้องอยู่ว่า จริง ๆ แล้ว พระพุทธศาสนาสอนว่าอย่างไร ไม่เคยมีใครตัดความตอนใดตอนหนึ่งมาด้วยความคิดเห็นของตนแล้วบอกว่า แค่นี้เท่านั้นแหละที่เชื่อได้ อย่างที่พระคึกฤทธิ์กำลังทำอยู่ในขณะนี้ ส่วนเรื่องความประพฤติของพระภิกษุสามเณร มันก็เกิดจากปัญหาต่าง ๆ ที่สั่งสมมา รวมทั้งปัญหาสังคมในทุกระดับชั้น ผู้ที่เข้ามาบวชก็คือ คนที่มาจากสังคมปัจจุบัน ผ่านระบบครอบครัว โรงเรียน มหาวิทยาลัย วัด ในแบบต่าง ๆ ตามสิ่งแวดล้อมของตน เข้ามาบวชย่อมต้องมีอุปนิสัยเดิม ๆ ติดเข้ามาด้วย จะให้สมบูรณ์แบบ เพอร์เฟคในทันทีทันใดย่อมเป็นไปไม่ได้ ไม่ใช่ว่าเอาผ้าเหลืองคลุมแล้ว กลายเป็นพระอรหันต์ มีความประพฤติสมบูรณ์ถูกต้องตามพระวินัยทุกอย่างเสียเมื่อไหร่ หากแต่ทุกคนที่เข้ามาบวช ก็อยู่ในฐานะที่ต้องฝึกฝนปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น ได้มากบ้างน้อยบ้างก็ย่อมขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแต่ละคน เข้ามาบวชแล้วก็มาเจอปัญหาภายในวัดอีกที่มีมากมายตามสังคมที่หลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน ปัญหาต่าง ๆ ก็ตามมาเป็นธรรมดา ถ้ามองโดยรวม ๆ แล้วก็เป็นปัญหาที่ต้องร่วมกันแก้ไขในทุก ๆ ระดับชั้นของสังคม แต่พระคึกฤทธิ์กลับถือเป็นโอกาส เอาความชั่วใส่คนอื่น สร้างความดีความชอบให้กับตนเอง บอกว่าที่พระภิกษุสามเณรเป็นแบบนี้ เพราะพระไตรปิฎกนั้นไม่บริสุทธิ์ มีคำที่สาวกแต่งเข้ามาใหม่เยอะไป พระเลยไม่ได้ศึกษาสิ่งที่ถูกต้อง เลยประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้อง ประเด็นนี้เดี๋ยวเสริมข้างล่าง จากเหตุผลนี้ ก็พระคึกฤทธิ์ก็ได้แนวร่วมไปค่อนข้างเยอะ
กลุ่มที่สาม กลุ่มที่ไม่เห็นด้วย ผมก็คงอยู่ในกลุ่มนี้ ที่บอกว่าไม่เห็นด้วย ผมไม่ได้ปฏิเสธคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ปฏิเสธ พุทธวจน แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการสอนของพระคึกฤทธิ์เอาเสียเลย วิธีการของท่านจะนำพาความวิบัติมาให้พระพุทธศาสนาโดยแน่แท้ จริง ๆ ส่วนดีก็มีอยู่มี ท่านก็ดึงมวลชนเข้ามาสนใจพระพุทธศาสนาได้มากขึ้น แต่ดีก็ส่วนดี ไม่ดีก็ส่วนไม่ดี ต้องแยกประเด็นกันพูด เหมือนกับการกล่าวอ้างของสาวกพระคึกฤทธิ์บางคนที่บอกว่า ทำไมไม่เอาเวลาไปจับผิดพระที่ไม่อยู่ในธรรมวินัยอื่น ๆ เล่า ท่านก็ทำของท่านดีแล้ว อันนี้ผิดประเด็น ดีส่วนดี ไม่ดีส่วนไม่ดี ถูกว่าไปตามถูก ผิดว่าไปตามผิด
ในความเห็นส่วนตัวผมเอง ประเด็นความผิดพระคึกฤทธิ์ มีดังนี้
1. การสวดพระปาติโมกข์ 150 ข้อ โดยอ้างความจากพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐแปลภาษาไทยที่แปลคำว่า สาธิกมิทํ ว่า "ถ้วน" ซึ่งเป็นการแปลผิด เพราะจริง ๆ ต้องแปลว่า "มีมากกว่านี้" เพราะความไม่รู้ภาษาบาลีเลย จึงไม่เห็นผิดว่าเป็นผิด เมื่อมีผู้รู้หลายท่านมาชี้ให้เห็นสิ่งที่ถูกต้อง กลับเอาสีข้างเข้าถู แถไปเรื่อย ๆ อ้างคนโน้นคนนี้ พระไตรปิฎกฉบับนั้น ฉบับนี้เพื่อรับรองความถูกต้องของตนเอง ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ไม่ให้เชื่อใครเลยนอกจากพุทธวจนและคำพูดของตน เมื่อเห็นว่าชักจะไม่ได้ผล ก็อ้างอีกเลยว่า จริง ๆ ไม่ได้ถือแค่ 150 หรือ 227 หรอก รวม ๆ แล้วตั้งสองพันกว่าข้อเลยนะ พระวัดอื่นไม่เห็นทำได้แบบท่านเลย ศีลง่าย ๆ ยังปฏิบัติไม่ได้เลย ทำไมต้องมากล่าวหาท่านที่มีศีลต้องสองพันกว่าข้อ อันนี้เริ่มส่อสันดานเสีย เอาดีเข้าตัว เอาชั่วใส่คนอื่น แบบที่บอกไว้ข้างต้น เอาปัญหาพระพุทธศาสนาในปัจจุบันไว้ข้างหลัง ถีบตัวเองขึ้นที่สูง ลอยตัวเหนือปัญหา แทนที่จะช่วยกันแก้ไข จริง ๆ แล้วศีลที่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ของพระภิกษุ ที่ต้องสวดทุกกึ่งเดือน 150 ในเบื้องต้น รวมกับ สาธิกมิทัง ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกนี้ รวมเป็น 227 ข้อ ซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้สวดกันทุกกึ่งเดือนในพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทในประเทศต่าง ๆ เช่น ไทย พม่า ลาว เขมร ศรีลังกา เป็นต้น เป็นศีลหลักของพระภิกษุ ที่ห้ามทำ หรือ ต้องทำ ถ้าละเมิดหรือผิดศีล มีความผิดหนักเบาตามแต่ศีลนั้น ๆ โทษสูงสุดถึงกับประหารชีวิตจากความเป็นพระ คือให้สึก รอง ๆ ลงมาก็มีกักบริเวณ ให้สำนึกผิด คือ การให้อยู่ปริวาสกรรม มีการสละสิ่งของคืน การสารภาพความผิดและปฏิญญาว่าจะไม่ทำผิดอีก เป็นต้น ส่วนศีลนอกเหนือจากนี้รวมเป็นสองพันกว่าข้อที่ท่านอ้าง ส่วนหนึ่งเป็นคุณสมบัติของพระอริยะที่เรียกว่าสัมปันนศีล และเป็นศีลที่ควรปฏิบัติเพื่อความเรียบร้อยดีงามแห่งสงฆ์ หรือเพื่อการรักษาศีลให้ละเอียดประณีตยิ่ง ๆ ขึ้นไป เอื้ออาศัยกันและกัน แต่ก็ถือกันโดยทั่วไปว่า พระภิกษุสงฆ์มีศีล 227 ข้อเฉพาะที่มาในปาติโมกข์ ส่วนที่เหลือก็ไม่มีใครนำมากล่าวอ้างเพื่อยกตนเองข่มผู้อื่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าท่านเหล่านั้นไม่ได้ประพฤติปฏิบัติศีลเหล่านี้เลย
2. ความผิดที่ถือว่าหนัก คือ การจัดทำพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ โดยอ้างว่า พระไตรปิฎก ฉบับเดิมนั้นเชื่อถือไม่ได้ เพราะมีคำของสาวกปะปนอยู่ ท่านจึงตัดพระอภิธรรมทิ้งไป เหลือพระไตรปิฎก 33 เล่ม ในพระไตรปิฎกเหล่านั้นก็ตัดทิ้งข้อความออกไปโดยความคิดเห็นของท่านเอง ไม่ได้พิมพ์ตามพระไตรปิฎกสยามรัฐ ฉบับแปลไทยตามที่กล่าวอ้าง เหลือไว้แต่ส่วนที่ท่านบอกว่า เป็น พระพุทธวจน แท้ หากท่านมีความเป็นนักปราชญ์ หรือนักวิชาการ จะแสดงทิฐิความเห็นส่วนตัวของตนเอง แล้วนำมาเผยแผ่ แบบที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านเคยได้ทำไว้ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร นำเสนอความคิดเห็น แสดงไว้เป็นหลักฐานว่า ท่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ส่วนไหนเชื่อถือได้ ส่วนไหนควรตัดทิ้ง แต่ท่านก็ไม่เคยตัดความ แก้ไข พิมพ์พระไตรปิฎกของตนเองขึ้นมาใหม่ มาประกาศลัทธิของตนเองแบบที่พระคึกฤทธิ์กำลังจะทำอยู่ เป็นการทำลายรากเหง้าของพระศาสนาโดยตรง (ข้อนี้คงจะมีภาค 2 ครับ พรุ่งนี้ค่อยมาต่อ)