คนภาคกลางเคยนึกอิจฉาคนภาคอื่นบ้างไหมที่เขาพูดกันได้สองสำเนียง คือสำเนียงภาคกลางแล้วยังพูดภาษาถิ่นได้อีก

กระทู้คำถาม
เคยมีเพื่อนคนหนึ่งเป็นคนกรุงเทพฯ  เปรยขึ้นว่าอยากพูดภาษาถิ่นได้อีกสักภาษาหนึ่ง เขาอยากรู้ว่าฟิลที่เราพูดเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาสองสำเนียงได้นี่เป็นเช่นไร  เขาเกิดมาก็พูดได้แต่ภาษาไทยกลาง  อยากรู้ว่าสมองคนเปลี่ยนภาษาพูดไปมาได้อัตโนมัตินี่เป็นอย่างไร  ส่วนผมคนตจว. ก็พูดสองสำเนียงมาตั้งแต่เข้าโรงเรียน หรือก่อนหน้านั้นก็ไม่รู้ คงตั้งแต่จำความได้แล้ว  เลยไม่รู้สีกแปลกอะไรครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 93
อิจฉาค่ะ อยากพูดได้เหมือนกัน
ที่บ้านใช้ศัพท์ภาคกลางแต่มีสำเนียงเหน่อ อยากให้มีศัพท์เฉพาะบ้างแบบถิ่นอื่นๆ
ในทางการศึกษาด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาไทย และภาษาถิ่นไทย
คนที่พูดได้หลายภาษานี่เรียกได้ว่าเป็นทรัพยากรบุคคลเลยนะคะ
อาจารย์ทุกท่านพูดตรงกันว่าคนที่พูดได้หลายภาษาเป็นกำไรมาก
และภาษาถิ่นก็มีคุณค่ามากกว่าเป็นแค่ภาษาที่เอาไว้สื่อสารในท้องถิ่น
อย่างคำศัพท์ภาษาไทยโบราณที่ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว ภาษาถิ่นยังรักษาไว้อยู่ค่ะ
ง่ายๆเลย คำว่า "เดิน" ที่เราใช้กันเป็นปกติ คิดว่าเป็นคำไทยเหรอคะ ผิดค่ะ ยืมภาษาเขมรมาค่ะ
คำไทยแท้ๆ มีใช้อยู่ในภาษาถิ่นค่ะ คือคำว่า "ย่าง"
"จมูก" นี่ก็ยืมเขมรมา ภาษาไทยแท้ๆใช้ "ดั้ง" (หมายถึงทั้งจมูก ไม่ได้หมายถึงเฉพาะสันจมูก)
คำพวกนี้ภาษาถิ่นยังรักษาได้ดีค่ะ อาจารย์ย้ำเสมอว่าภาษาถิ่นมีคุณค่ามาก
ไม่อยากให้คนที่ท้องถิ่นเองที่มีทรัพยากรล้ำค่าแบบนี้ทิ้งภาษาถิ่นเพราะอาย หรือคิดว่าไม่ทันสมัย
หลายคนเลยนะคะที่รุ่นพ่อรุ่นแม่พูดได้ แต่รุ่นลูกพูดไม่ได้ ไม่ยอมให้ลูกพูด น่าเสียดายมาก
บางคนซ้ำร้าย ดูถูกภาษาถิ่นว่าเชย บ้านนอก ดูไม่ศิวิไลซ์ คนประเภทนี้โลกแคบจริงๆค่ะ
คนที่มีภาษาถิ่นใช้ ภูมิใจไว้เถอะนะคะ มีลูกมีหลานก็สอนพวกเขาด้วย ตอนนี้คนใช้ภาษาถิ่นกำลังลดน้อยลงแล้วค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
"...ผมคนเจียงฮายครับ คนเมือง 100%  อู้ภาษาเหนือมาตั้งแต่จำความได้  อยู่โรงเรียนก็ไม่ค่อยได้ใช้ภาษากลางเลย ที่โรงเรียนนะ ใครพูดภาษากลางจะโดนหาว่าดัดจริด 555+ แล้วก็แซวว่าเจ็บเอว (เจ๊บแอว) ไม่รู้ว่าเกี่ยวกันยังไง ผมมาเริ่มใช้ภาษากลางเมื่อเข้ามหาลัย เพราะผมไปเรียนต่างจังหวัด  เป็นอะไรที่ลำบากมาก ผมพูดแปล็ดบ่อยมาก เอิ่ม~~ หมายถึงพูดผิดพูดถูก พูดทองแดงน่ะ 555+ การที่คนเหนือจะพูดภาษากลางนั้นผมต้องแปลภาษาเหนือให้เป็นภาษากลางในสมองก่อนแล้วจึงพูด ทำให้สื่อสารช้ามากในตอนแรก นานๆไปก็ชินไปเอง 5555 แต่ผมนี่ไม่รู้ว่าเป็นคนเดียวป่าว มีปัญหาออกเสียง ช.ช้าง มันจะกลายเป็น ซ.ซ้าง 5555+ เคยไปเป็นพี่ว๊าก ว๊ากไปว่า "ใส่รองเท้าคัดซูมาโด้ย"  โอ้ยฮา 55555+
อยากเรียนภาษาเหนือสอนได้ครับ 55555+..."

*แก้ไขคำผิด
ความคิดเห็นที่ 49
เอ่อ จะบอกว่าจริงๆ มันมีอีกเป็นร้อยๆ พันๆ ภาษาเลยมั้งครับ
ไม่ใช่มีแค่ภาษาภาคนั้นๆอย่างเดียวน๊ะ
บังเอิญผมเป็นคนต่างจังหวัด เลยแยกออก
คนกรุงเทพ ส่วนมาก เข้าใจว่ามีแค่ 3-4 ภาษา (ไม่รวมภาษากลาง)
เหนือ / อีสาน / ใต้ / ตะวันออก
จริงๆ แล้ว มันยิบย่อยเลยน๊ะ และก็ไม่เหมือนกันด้วย
เอาง่ายๆน๊ะ โรงเรียนที่ผมเรียนเป็นโรงเรียนประจำอำเภอหน่ะ มีภาษาท้องถิ่น ที่ผมจำได้ก็ประมาณ 5-6 ภาษาเลยครับ
ประมาณว่า ถ้าให้พูดภาษาท้องถิ่นของตัวเอง จะรู้เลยว่า มาจากหมู่บ้านไหน หรือตำบลไหน
นี่แค่อำเภอเล็กๆ อำเภอเดียวน๊ะครับ

มีเรื่องเล่าตลกๆ ให้ฟัง เป็นเรื่องจริงซึ่งออกข่าวด้วย(แต่ในเรื่อง ที่จะเล่าไม่มีรายละเอียดในข่าว)
มีโจร ไปปล้นธนาคารครับ
ปล้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็หนีไป ตำรวจก็มาสืบสวน
เขาก็สอบถามพนักงานแบ๊งค์
พนักงาน:  โจรมันเป็นคนคลองขลุงคะ
ตำรวจ: คุณรู้ได้ยังไง คุณรู้จักมันเหรอ
พนักงาน:  ป่าวคะ  มันใส่หมวกไอ้โม่งปิดหน้าคะ
ตำรวจ: อ้าวคุณรู้ได้ยังไงว่ามันเป็นคนคลองขลุง
พนักงาน:  มันพูดว่า "หยุด  ยู นิ๊ง หนิง"

ถ้าจำไม่ผิด เคสนี้ ตำรวจสามารถตามสืบจนจับได้นะครับ
จริงๆ อาจจะไม่ใช่เพราะคำพูด แต่เพราะอย่างอื่นประกอบด้วย
แต่จะเห็นว่า สามารถระบุ "อำเภอ" กันได้เลยทีเดียว ไม่ใช่แค่ "ภาค"

สำหรับเคสผม สามารถระบุ ตำบล หรือหมู่บ้านกันได้เลยครับ
แต่ไม่ถูก 100% เพราะหลายๆ ตำบล หรือหลายๆ หมู่บ้าน พูดสำเนียงเดียวกัน
แต่บอกได้ว่า ไม่ใช่อีกหมู่บ้าน หรืออีกตำบลแน่ๆ (สามารถจัดกลุ่มได้)
แต่บางหมู่บ้าน พูดเป็นเอกลักษณ์ คือมีหมู่บ้านเดียว ที่ต่างจากหมู่บ้านอื่นๆ มากๆ นี่ไม่ผิดตัวเลยครับ

นอกเรื่องไปเยอะ
สำหรับกระทู้ ที่ถาม ไม่ใช่แต่คนภาคกลางครับ ผมว่า หลายๆคน แม้ไม่ใช่คนภาคกลาง ก็อยากพูดภาษาภาคอื่นได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่