เส้นทาง "วรเจตน์" ลูกชายนายสถานีรถไฟ สู่ "ศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย" รั้วแม่โดม
อาจารย์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีชื่อเสียงจากการร่วมก่อตั้งคณะนิติราษฎร์ที่เสนอแนะการปรับปรุงสังคมในหลายด้านโดยเฉพาะการต่อต้านอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตยแต่เนื่องจากมีผู้ไม่เห็นด้วยจึงมีการต่อต้านวรเจตน์กับเพื่อนหลายครั้งคราวร้ายแรงที่สุดมีผู้ทำร้ายร่างกายเขาจนบาดเจ็บ
ดร.วรเจตน์เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพี่น้องสี่คน บิดาเป็นอดีตนายสถานีรถไฟบ้านม้า เขาสนใจศึกษาการเมืองการปกครอง ด้วยตนเองมาตั้งแต่เด็ก จึงมีแนวคิดที่จะศึกษาในสาขารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้รับการศึกษาในชั้นอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนหอวัง เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว ได้ศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และปีที่ ๕ และได้สอบเทียบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้ขณะที่ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
จากนั้นได้สอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาใน พ.ศ.๒๕๓๐โดยเลือกคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอันดับหนึ่งและอันดับเดียว
ในขณะที่ศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้รับรางวัลเรียนดีในฐานะนักศึกษาที่ได้คะแนนสูงสุดของชั้นปีในทุกปีการศึกษา และได้เข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย โดยเคยเป็นรองประธานสภานักศึกษาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑
ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ สำเร็จการศึกษาเป็นนิติศาสตร์บัณฑิตในปีการศึกษา ๒๕๓๓ และได้รับรางวัลเรียนดีทุนภูมิพลในฐานะบัณฑิตที่สอบได้คะแนนสูงสุดของคณะนิติศาสตร์ในปีการศึกษานั้น
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วดร.วรเจตน์ภาคีรัตน์ได้เข้าทำงานเป็นนิติกรที่สำนักงานกฎหมายบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และได้สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๓๕ได้รับพระราชทุนมูลนิธิอานันทมหิดลให้ไปศึกษาวิชานิติศาสตร์ เน้นหนักทางด้านกฎหมายมหาชน ณ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในระดับชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้เลือกศึกษาที่คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัย Goettingen ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสำเร็จการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต (Magister Iuris) ด้วยคะแนนดีมาก (sehr gut) ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดตามหลักสูตร Magister Iuris ของมหาวิทยาลัย โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “หลักกฎหมาย clausula rebus sic stantibus ในสัญญาทางปกครอง”
หลังจากนั้นได้กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเวลาหกเดือนและได้กลับไปศึกษาต่อในชั้นปริญญาเอก
สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอกทางกฎหมายเป็น “Doktor der Rechte” ได้รับคะแนนระดับ “summa cum laude” ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “วิวัฒนาการทางทฤษฎีของสัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน” วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ Dunker & Humblot (Berlin)
หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอกใน พ.ศ.๒๕๔๒ แล้ว ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้กลับมารับราชการที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ โดยเป็นหัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน
ดร.วรเจตน์ชื่นชอบนวนิยายจีน อาทิ มังกรหยก ฤทธิ์มีดสั้น
มีผลงานทางวิชาการได้แก่ หนังสือ
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ (2546)
ความรับผิดทางละเมิดของฝ่ายปกครองตาม Common Law ในระบบกฎหมายอังกฤษ (2546)
หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง (2546)
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน (2549)
การเปลี่ยนแปลงแนวคำวินิจฉัย และผลผูกพันของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ (2550)
จุดไฟในสายลม (2552)
กฎหมายปกครอง (2554)
รัฐและหลักกฎหมายมหาชน (2555)
ดร.วรเจตน์ ถูกทำร้ายร่างกาย ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จนกระทั่งสามรถจับกุมตัวฝาแฝดผู้กระทำความผิดได้ ภายหลัง ศาลมีคำพิพากษา ให้จำเลยทั้งสองมีความผิดตามฟ้อง ให้จำคุกคนละหกเดือน คำรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี มีเหตุบรรเทาโทษ ให้ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เป็นจำคุกคนละสามเดือน จำเลยทั้งคู่อุทธรณ์ญาติจำเลยขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ วางประกันคนละ 22,000 บาท ศาลอนุญาต
หลังทราบเหตุ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กตนว่า ขอประณามความรุนแรงทุกประเภท ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้เหตุผล และแม้ว่าทางมหาวิทยาลัยจะรักษาความปลอดภัยดีแล้ว แต่ก็จะวางเวรยามเพิ่มต่อไป
อนึ่ง "บรรดาเพื่อนอาจารย์ และลูกศิษย์ รวมทั้งประชาชนผู้สนับสนุนอาจารย์วรเจตน์ ต่างออกมาประณามการกระทำอันป่าเถื่อนครั้งนั้น เย็นวันที่ 1 มีนาคม 2555 มีบุคคลจำนวนมาก เข้าให้กำลังใจแก่วรเจตน์ โดยถือป้ายว่า "คิดต่าง แต่ไม่คิดต่อย"
ส่วนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองออกแถลงการณ์ซึ่งมีเนื้อหาทำนองเดียวกัน กับทั้งวิงวอนให้สังคมใช้เหตุผลเป็นที่ตั้ง และรายงานผลการเพิ่มความรัดกุม ให้แก่ระบบรักษาความปลอดภัย
วันที่ 24 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกคำสั่งฉบับที่ 5/2557 เพื่อให้วรเจตน์มารายงานตัว แต่ครั้งนั้นเขาไม่ไป และยังมีคำสั่งฉบับที่ 57/2557 เพื่อให้เขาไปรายงานตัวอีกครั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย รายงานว่า วรเจตน์มอบหมายให้พัชรินทร์ ภริยา เข้ารายงานตัวแทน และให้เหตุผลว่า เขาป่วย จึงไม่สามารถเข้ารายงานตัวด้วยตนเอง
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2557 สำนักข่าวหลายแห่งรายงานว่า ดร.วรเจตน์แต่ตัดสินใจเข้ารายงานตัวด้วยตัวเอง
เช้าวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ทหารควบคุมวรเจตน์มายังกองบังคับการกองปราบปราม เพื่อให้ตำรวจถามปากคำ และแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง ว ครอบครัวของวรเจตน์ยื่นหลักทรัพย์เงินสด 20,000 บาท เพื่อขอประกันตัว ในเวลาประมาณ 16:00 นาฬิกา ศาลทหารอนุญาตให้ประกันตัว โดยมีเงื่อนไขห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง ต้องขออนุญาตก่อนออกนอกราชอาณาจักร และให้มารายงานตัวตามวันที่นัดหมาย มีผู้มาคอยต้อนรับและให้กำลังใจจำนวนหนึ่ง
ล่าสุด สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การประชุมครั้งที่ 7/2557 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 ได้รายงานผลการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ และมีมติอนุมัติแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์จำนวน 15 ราย รองศาสตราจารย์ 1 ราย และ ตำแหน่ง ศาสตราจารย์ 6 ราย โดยรายชื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ให้“รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์” ได้รับอนุมัติให้เสนอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการเป็น “ศาสตราจารย์”
อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งศาสตราจารย์ในประเทศไทย จะต้องผ่านกระบวนการตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) และทบวงมหาวิทยาลัย จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ แล้วการแต่งตั้งก็นำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ต่อไป
นี่คือเรื่องราว ของชาย นักวิชาการคนหนึ่ง ที่บนเส้นทางวิชาการ และ อุดมการณ์ ไม่ได้โปรยด้วยกลีบกุหลาบ
และตลอดเวลา ของเส้นทาง ที่ก้าวเดิน และปรากฎให้เห็น
"ประชาชน"เท่านั้นจะเป็นผู้คิดวิพากษ์ ตัดสิน "วรเจตน์" ด้วยภูมิความรู้ของเขาเอง
มติชนออนไลน์
19 สิงหาคม พ.ศ. 2557
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408420478
???????????????????????????????????????????
"ประชาชน"เท่านั้นจะเป็นผู้คิดวิพากษ์ ตัดสิน "วรเจตน์" ด้วยภูมิความรู้ของเขาเอง
ประชาชนเท่านั้น
ประชาชนเท่านั้น
ประชาชนเท่านั้น
ประชาชนเท่านั้น
ประชาชนเท่านั้น.......
เส้นทาง "วรเจตน์" ลูกชายนายสถานีรถไฟ สู่ "ศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย" รั้วแม่โดม
อาจารย์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีชื่อเสียงจากการร่วมก่อตั้งคณะนิติราษฎร์ที่เสนอแนะการปรับปรุงสังคมในหลายด้านโดยเฉพาะการต่อต้านอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตยแต่เนื่องจากมีผู้ไม่เห็นด้วยจึงมีการต่อต้านวรเจตน์กับเพื่อนหลายครั้งคราวร้ายแรงที่สุดมีผู้ทำร้ายร่างกายเขาจนบาดเจ็บ
ดร.วรเจตน์เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพี่น้องสี่คน บิดาเป็นอดีตนายสถานีรถไฟบ้านม้า เขาสนใจศึกษาการเมืองการปกครอง ด้วยตนเองมาตั้งแต่เด็ก จึงมีแนวคิดที่จะศึกษาในสาขารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้รับการศึกษาในชั้นอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนหอวัง เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว ได้ศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และปีที่ ๕ และได้สอบเทียบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้ขณะที่ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
จากนั้นได้สอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาใน พ.ศ.๒๕๓๐โดยเลือกคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอันดับหนึ่งและอันดับเดียว
ในขณะที่ศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้รับรางวัลเรียนดีในฐานะนักศึกษาที่ได้คะแนนสูงสุดของชั้นปีในทุกปีการศึกษา และได้เข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย โดยเคยเป็นรองประธานสภานักศึกษาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑
ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ สำเร็จการศึกษาเป็นนิติศาสตร์บัณฑิตในปีการศึกษา ๒๕๓๓ และได้รับรางวัลเรียนดีทุนภูมิพลในฐานะบัณฑิตที่สอบได้คะแนนสูงสุดของคณะนิติศาสตร์ในปีการศึกษานั้น
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วดร.วรเจตน์ภาคีรัตน์ได้เข้าทำงานเป็นนิติกรที่สำนักงานกฎหมายบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และได้สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๓๕ได้รับพระราชทุนมูลนิธิอานันทมหิดลให้ไปศึกษาวิชานิติศาสตร์ เน้นหนักทางด้านกฎหมายมหาชน ณ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในระดับชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้เลือกศึกษาที่คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัย Goettingen ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสำเร็จการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต (Magister Iuris) ด้วยคะแนนดีมาก (sehr gut) ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดตามหลักสูตร Magister Iuris ของมหาวิทยาลัย โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “หลักกฎหมาย clausula rebus sic stantibus ในสัญญาทางปกครอง”
หลังจากนั้นได้กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเวลาหกเดือนและได้กลับไปศึกษาต่อในชั้นปริญญาเอก
สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอกทางกฎหมายเป็น “Doktor der Rechte” ได้รับคะแนนระดับ “summa cum laude” ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “วิวัฒนาการทางทฤษฎีของสัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน” วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ Dunker & Humblot (Berlin)
หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอกใน พ.ศ.๒๕๔๒ แล้ว ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้กลับมารับราชการที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ โดยเป็นหัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน
ดร.วรเจตน์ชื่นชอบนวนิยายจีน อาทิ มังกรหยก ฤทธิ์มีดสั้น
มีผลงานทางวิชาการได้แก่ หนังสือ
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ (2546)
ความรับผิดทางละเมิดของฝ่ายปกครองตาม Common Law ในระบบกฎหมายอังกฤษ (2546)
หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง (2546)
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน (2549)
การเปลี่ยนแปลงแนวคำวินิจฉัย และผลผูกพันของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ (2550)
จุดไฟในสายลม (2552)
กฎหมายปกครอง (2554)
รัฐและหลักกฎหมายมหาชน (2555)
ดร.วรเจตน์ ถูกทำร้ายร่างกาย ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จนกระทั่งสามรถจับกุมตัวฝาแฝดผู้กระทำความผิดได้ ภายหลัง ศาลมีคำพิพากษา ให้จำเลยทั้งสองมีความผิดตามฟ้อง ให้จำคุกคนละหกเดือน คำรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี มีเหตุบรรเทาโทษ ให้ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เป็นจำคุกคนละสามเดือน จำเลยทั้งคู่อุทธรณ์ญาติจำเลยขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ วางประกันคนละ 22,000 บาท ศาลอนุญาต
หลังทราบเหตุ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กตนว่า ขอประณามความรุนแรงทุกประเภท ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้เหตุผล และแม้ว่าทางมหาวิทยาลัยจะรักษาความปลอดภัยดีแล้ว แต่ก็จะวางเวรยามเพิ่มต่อไป
อนึ่ง "บรรดาเพื่อนอาจารย์ และลูกศิษย์ รวมทั้งประชาชนผู้สนับสนุนอาจารย์วรเจตน์ ต่างออกมาประณามการกระทำอันป่าเถื่อนครั้งนั้น เย็นวันที่ 1 มีนาคม 2555 มีบุคคลจำนวนมาก เข้าให้กำลังใจแก่วรเจตน์ โดยถือป้ายว่า "คิดต่าง แต่ไม่คิดต่อย"
ส่วนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองออกแถลงการณ์ซึ่งมีเนื้อหาทำนองเดียวกัน กับทั้งวิงวอนให้สังคมใช้เหตุผลเป็นที่ตั้ง และรายงานผลการเพิ่มความรัดกุม ให้แก่ระบบรักษาความปลอดภัย
วันที่ 24 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกคำสั่งฉบับที่ 5/2557 เพื่อให้วรเจตน์มารายงานตัว แต่ครั้งนั้นเขาไม่ไป และยังมีคำสั่งฉบับที่ 57/2557 เพื่อให้เขาไปรายงานตัวอีกครั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย รายงานว่า วรเจตน์มอบหมายให้พัชรินทร์ ภริยา เข้ารายงานตัวแทน และให้เหตุผลว่า เขาป่วย จึงไม่สามารถเข้ารายงานตัวด้วยตนเอง
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2557 สำนักข่าวหลายแห่งรายงานว่า ดร.วรเจตน์แต่ตัดสินใจเข้ารายงานตัวด้วยตัวเอง
เช้าวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ทหารควบคุมวรเจตน์มายังกองบังคับการกองปราบปราม เพื่อให้ตำรวจถามปากคำ และแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง ว ครอบครัวของวรเจตน์ยื่นหลักทรัพย์เงินสด 20,000 บาท เพื่อขอประกันตัว ในเวลาประมาณ 16:00 นาฬิกา ศาลทหารอนุญาตให้ประกันตัว โดยมีเงื่อนไขห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง ต้องขออนุญาตก่อนออกนอกราชอาณาจักร และให้มารายงานตัวตามวันที่นัดหมาย มีผู้มาคอยต้อนรับและให้กำลังใจจำนวนหนึ่ง
ล่าสุด สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การประชุมครั้งที่ 7/2557 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 ได้รายงานผลการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ และมีมติอนุมัติแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์จำนวน 15 ราย รองศาสตราจารย์ 1 ราย และ ตำแหน่ง ศาสตราจารย์ 6 ราย โดยรายชื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ให้“รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์” ได้รับอนุมัติให้เสนอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการเป็น “ศาสตราจารย์”
อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งศาสตราจารย์ในประเทศไทย จะต้องผ่านกระบวนการตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) และทบวงมหาวิทยาลัย จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ แล้วการแต่งตั้งก็นำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ต่อไป
นี่คือเรื่องราว ของชาย นักวิชาการคนหนึ่ง ที่บนเส้นทางวิชาการ และ อุดมการณ์ ไม่ได้โปรยด้วยกลีบกุหลาบ
และตลอดเวลา ของเส้นทาง ที่ก้าวเดิน และปรากฎให้เห็น
"ประชาชน"เท่านั้นจะเป็นผู้คิดวิพากษ์ ตัดสิน "วรเจตน์" ด้วยภูมิความรู้ของเขาเอง
มติชนออนไลน์
19 สิงหาคม พ.ศ. 2557
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408420478
???????????????????????????????????????????
"ประชาชน"เท่านั้นจะเป็นผู้คิดวิพากษ์ ตัดสิน "วรเจตน์" ด้วยภูมิความรู้ของเขาเอง
ประชาชนเท่านั้น
ประชาชนเท่านั้น
ประชาชนเท่านั้น
ประชาชนเท่านั้น
ประชาชนเท่านั้น.......