1. ผู้มีอำนาจบริหารกิจการของ TT&T
นับตั้งแต่ TT&T เข้ากระบวนการแผนฟื้นฟูกิจการ จนถึง ณ ปัจจุบัน ผู้ที่มีอำนาจบริหารกิจการของ TT&T คือ ผู้บริหารแผนที่ศาลล้มละลายฯมีคำสั่งเห็นชอบแต่งตั้งตามที่เจ้าหนี้เสียงส่วนใหญ่เลือก ส่วนกรรมการที่มีชื่อปรากฏในหนังสือรับรองบริษัทฯ จะไม่มีอำนาจบริหารกิจการใดๆของ TT&T
*กล่าวอีกนัยนึงผู้บริหารแผนเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารงาน TT&T นั่นเอง
ผู้บริหารแผนของ TT&T มี 2 ช่วง กล่าวคือ
- ช่วงแรก บริษัท พี แพลนเนอร์ จำกัด
(P Planner) เป็นผู้บริหารแผน (วันที่ 22 กรกฎาคม 2552 – วันที่ 6 พฤศจิกายน 2556) ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเจ้าหนี้ Hedge Fund (Avenue Asia Capital Partners) และกลุ่มสถาบันการเงิน ศาลศาลล้มละลายกลาง ฯ มีคำสั่งให้ บริษัท พี แพลนเนอร์ จำกัด พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติของผู้บริหารแผน คือ ใบอนุญาตหมดอายุ และยังไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาต
- ปัจจุบัน บริษัท พีซีแอล แพลนเนอร์ จำกัด
(PCL Planner) (เป็นบริษัทในเครือ บริษัท เพลินจิต แคปปิตอล จำกัด) เป็นผู้บริหารแผนนับแต่ วันที่ 3 มีนาคม 2557 – ปัจจุบัน ได้รับการสนับสนุนจาก เจ้าหนี้กลุ่ม Hedge Fund (Ayuthaya Limited ซึ่งเป็นกลุ่มที่ซื้อหนี้มาจาก Avenue Asia Capital Partners)
ส่วนกรรมการที่ยังคงมีชื่อปรากฏอยู่ตามหนังสือรับรองบริษัทฯ ณ ปัจจุบัน ไม่มีอำนาจในการบริหารกิจการของ TT&T อันเป็นผลมาจาก TT&T เข้าฟื้นฟูกิจการ
นาย ปลื้มใจ สินอากร กรรมการ
(ไม่มีอำนาจบริหารใดๆ)
นาย พิชญ์ โพธารามิก กรรมการ
(ไม่มีอำนาจบริหารใดๆ)
นาย สุรช ล่ำซำ กรรมการ
(ไม่มีอำนาจบริหารใดๆ)
นาย วสันต์ จาติกวณิช กรรมการ
(ไม่มีอำนาจบริหารใดๆ)
นาย สมบุญ พัชรโสภาคย์ กรรมการ
(ไม่มีอำนาจบริหารใดๆ)
*เนื่องจาก บริษัท พีซีแอล แพลนเนอร์ จำกัด (PCL Planner)เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารกิจการของ TT&T
2. นับแต่เข้าฟื้นฟูกิจการจนถึงปัจจุบัน TT&T ทำอะไรบ้าง
2.1 วันที่ 22 กรกฎาคม 2552 – วันที่ 6 พฤศจิกายน 2556
(P Planner)
- ประกอบกิจการหลัก คือ การให้บริการวงจรเช่าในต่างจังหวัด และการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในต่างจังหวัด (ได้รับสัมปทานจาก ทีโอที ซึ่งจะหมดอายุสัมปทาน ในปี 2561)
-TT&T และ 3BB มีปัญหา เกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติตามสัญญาการให้บริการวงจรเช่าในต่างจังหวัด จนเกินเป็นคดีความระหว่างกัน ทั้งแพ่งและอาญาหลายคดีทั่วประเทศ (ปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล)
-TT&T ทำการรื้อถอนคู่สายที่ 3BB เช่าใช้บริการวงจรเช่า และนำไปให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ผู้ใช้บริการทั่วไป อันเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาการปฏิบัติตามสัญญาการให้บริการวงจรเช่า ระหว่าง TT&T และ 3BB จนกระทั้ง กสทช. มีคำสั่งให้ TT&T ยุติการกระทำดังกล่าว ซึ่งกสทช.ระบุว่าเป็นการกระทำที่ผิด มาตรา 20 พรบ.กิจการโทรคมนาคมฯ (ปัจจุบัน TT&T อุทธรณ์คำสั่ง คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองอยู่)
-TT&T บอกกล่าวต่อ 3BB ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีระหว่างกันทั้งหมด (กุมภาพันธ์ 2554) โดยอ้างเหตุว่า เป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดภาระเกินกว่าประโยชน์ที่พึงจะได้รับ (ผลเท่ากับว่าสัญญาที่มีระหว่างกันสิ้นสุดลง และ TT&T ขาดรายได้จากการให้บริการเช่าใช้วงจรเช่าส่วนนี้ไปทั้งหมด)
-TT&T เปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตในนาม เน็ตสามัญประจำบ้าน
-มีความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการซื้อหนี้ TT&T ของกลุ่ม Hedge Fund คือ กลุ่ม Avenue Asia Capital Partners เปลี่ยนมือเป็นของกลุ่ม Ayuthaya Limited
-TT&T แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า เมื่อ 18 ธ.ค. 55 Ayuthaya Limited ถือหุ้น TT&T สัดส่วน 16.40% เป็นผลให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1
-หุ้นของ TT&T ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP
2.2 นับแต่ วันที่ 3 มีนาคม 2557 ถึงปัจจุบัน
(PCL Planner)
-TT&T มีปัญหาเกี่ยวกับกระแสเงินสดที่จะต้องจ่ายชำระหนี้ตามแผน
ฟื้นฟูกิจการอย่างหนัก โดย TT&T มีรายได้หลักจากการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในต่างจังหวัด (สัมปทานจะหมดอายุ ในปี 2561)
-TT&T ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ บริษัท ซีทีเอช จำกัด(มหาชน) (CTH) (10 เม.ย. 57) เพื่อเป็นตัวแทนจัดจำหน่าย และกระจายสินค้าให้กับ CTH ได้แก่ การจำหน่ายกล่องรับสัญญาณดาวเทียม และติดตั้ง Set Top Boxes ของ CTH รวมถึงความร่วมมือกิจกรรมทางการตลาด และส่งเสริมการขายในช่องทางของ TT&T โดย TT&T จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของ ค่าดำเนินการติดตั้งที่ได้รับโดยตรงจากผู้ใช้บริการ และส่วนแบ่งรายได้จาก CTH
-เห็นชอบให้มีการดำเนินการต่อสู้คดีความที่ TT&T และ 3BB มีปัญหาฟ้องร้องระหว่างกันเกี่ยวกับ เรื่องการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างกัน ต่อไป
-TT&T ยื่นฟ้อง บริษัท อคิวเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ("จัสมิน") ต่อศาลจังหวัดนนทบุรี เพื่อบังคับให้อคิวเมนท์ดำเนินการขายหุ้นที่ถืออยู่ใน 3BB คืนแก่ผู้ถือหุ้นของ TT&T ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดในบันทึกข้อตกลงในการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนฉบับลงวันที่ 13 กันยายน 2549
-ปัจจุบัน หุ้น TT&T ก็ยังคงถูกขึ้นเครื่องหมาย SP อยู่เช่นเดิม (ตลาดหลักทรัพย์ขยายเวลาเพื่อดูผลประกอบการของ TT&T อีก 1 ปี)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สรุปว่า TT&T ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ โดยมีผู้บริหารแผนฯ คือ
บริษัท พีซีแอล แพลนเนอร์ จำกัด (PCL Planner) เป็นผู้ควบคุมและดำเนินกิจการ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเจ้าหนี้กองทุนเฮดจ์ฟันที่ซื้อหนี้มาในราคาถูก
(Ayuthaya Limited) ซึ่งตามกฎหมายผู้บริหารแผนเป็นผู้มีอำนาจบริหารกิจการ และทรัพย์สินของ TT&T ทั้งหมด
ส่วนกรรมการที่มีชื่ออยู่ตามหนังสือรับรองบริษัทหมดอำนาจลงระหว่างฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น การฟ้องร้องที่เป็นคดีความต่างๆทั้งหมด จึงเป็นการดำเนินการของผู้บริหารแผนทั้งสิ้น
(PCL Planner) (จะเห็นได้ว่าปัจจุบันกลุ่มจัสมินและ TT&T เป็นปฏิปักษ์กันอย่างชัดเจน)
หากจะวิเคราะห์ประโยชน์ที่จะได้รับ จากกรณี TT&T ฟ้อง อคิวเมนท์ จะเห็นว่า ไม่ใช่ตัว TT&T จะได้เข้ามามีส่วนได้เสียใน TTTBB หากแต่เป็น
ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นใครก็ยังไม่รู้? แต่ที่แน่ๆ ผลกระทบเกิดในช่วงเวลาที่กลุ่มจัสมินจะทำกองทุนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเกี่ยวโยงกับ TTTBB จนมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในหุ้น JAS จึง
น่าจะมีผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่กุมอำนาจการตัดสินใจใน TT&T เข้ามาอาศัยประโยชน์จากการฟ้องร้องคดี
สิ่งที่น่าสังเกตุและต้องค้นหา คือ Avenue Asia Capital Partners และ Ayuthaya Limited คือใคร มีความเป็นมาและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และ การปรากฎตัวของ CTH ในช่วงเวลานี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร และที่สำคัญ
ใครกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการทุบหุ้น JAS โปรดติดตามต่อไป?
- คนที่สั่งฟ้อง TTTBB คือ บริษัท พีซีแอล แพลนเนอร์ จำกัด (PCL Planner)
- หาก TT&T ชนะ คนได้ผลประโยชน์คือผู้ถือหุ้น TT&T ไม่ใช่ตัวบริษัท TT&T
- Avenue Asia Capital Partners / Ayuthaya Limited / CTH เกี่ยวข้องกับ TT&T ยังไง?
เบื้องหลังการฟ้องร้อง TT&T VS JAS
นับตั้งแต่ TT&T เข้ากระบวนการแผนฟื้นฟูกิจการ จนถึง ณ ปัจจุบัน ผู้ที่มีอำนาจบริหารกิจการของ TT&T คือ ผู้บริหารแผนที่ศาลล้มละลายฯมีคำสั่งเห็นชอบแต่งตั้งตามที่เจ้าหนี้เสียงส่วนใหญ่เลือก ส่วนกรรมการที่มีชื่อปรากฏในหนังสือรับรองบริษัทฯ จะไม่มีอำนาจบริหารกิจการใดๆของ TT&T
*กล่าวอีกนัยนึงผู้บริหารแผนเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารงาน TT&T นั่นเอง
ผู้บริหารแผนของ TT&T มี 2 ช่วง กล่าวคือ
- ช่วงแรก บริษัท พี แพลนเนอร์ จำกัด (P Planner) เป็นผู้บริหารแผน (วันที่ 22 กรกฎาคม 2552 – วันที่ 6 พฤศจิกายน 2556) ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเจ้าหนี้ Hedge Fund (Avenue Asia Capital Partners) และกลุ่มสถาบันการเงิน ศาลศาลล้มละลายกลาง ฯ มีคำสั่งให้ บริษัท พี แพลนเนอร์ จำกัด พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติของผู้บริหารแผน คือ ใบอนุญาตหมดอายุ และยังไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาต
- ปัจจุบัน บริษัท พีซีแอล แพลนเนอร์ จำกัด (PCL Planner) (เป็นบริษัทในเครือ บริษัท เพลินจิต แคปปิตอล จำกัด) เป็นผู้บริหารแผนนับแต่ วันที่ 3 มีนาคม 2557 – ปัจจุบัน ได้รับการสนับสนุนจาก เจ้าหนี้กลุ่ม Hedge Fund (Ayuthaya Limited ซึ่งเป็นกลุ่มที่ซื้อหนี้มาจาก Avenue Asia Capital Partners)
ส่วนกรรมการที่ยังคงมีชื่อปรากฏอยู่ตามหนังสือรับรองบริษัทฯ ณ ปัจจุบัน ไม่มีอำนาจในการบริหารกิจการของ TT&T อันเป็นผลมาจาก TT&T เข้าฟื้นฟูกิจการ
นาย ปลื้มใจ สินอากร กรรมการ (ไม่มีอำนาจบริหารใดๆ)
นาย พิชญ์ โพธารามิก กรรมการ (ไม่มีอำนาจบริหารใดๆ)
นาย สุรช ล่ำซำ กรรมการ (ไม่มีอำนาจบริหารใดๆ)
นาย วสันต์ จาติกวณิช กรรมการ (ไม่มีอำนาจบริหารใดๆ)
นาย สมบุญ พัชรโสภาคย์ กรรมการ (ไม่มีอำนาจบริหารใดๆ)
*เนื่องจาก บริษัท พีซีแอล แพลนเนอร์ จำกัด (PCL Planner)เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารกิจการของ TT&T
2. นับแต่เข้าฟื้นฟูกิจการจนถึงปัจจุบัน TT&T ทำอะไรบ้าง
2.1 วันที่ 22 กรกฎาคม 2552 – วันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 (P Planner)
- ประกอบกิจการหลัก คือ การให้บริการวงจรเช่าในต่างจังหวัด และการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในต่างจังหวัด (ได้รับสัมปทานจาก ทีโอที ซึ่งจะหมดอายุสัมปทาน ในปี 2561)
-TT&T และ 3BB มีปัญหา เกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติตามสัญญาการให้บริการวงจรเช่าในต่างจังหวัด จนเกินเป็นคดีความระหว่างกัน ทั้งแพ่งและอาญาหลายคดีทั่วประเทศ (ปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล)
-TT&T ทำการรื้อถอนคู่สายที่ 3BB เช่าใช้บริการวงจรเช่า และนำไปให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ผู้ใช้บริการทั่วไป อันเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาการปฏิบัติตามสัญญาการให้บริการวงจรเช่า ระหว่าง TT&T และ 3BB จนกระทั้ง กสทช. มีคำสั่งให้ TT&T ยุติการกระทำดังกล่าว ซึ่งกสทช.ระบุว่าเป็นการกระทำที่ผิด มาตรา 20 พรบ.กิจการโทรคมนาคมฯ (ปัจจุบัน TT&T อุทธรณ์คำสั่ง คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองอยู่)
-TT&T บอกกล่าวต่อ 3BB ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีระหว่างกันทั้งหมด (กุมภาพันธ์ 2554) โดยอ้างเหตุว่า เป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดภาระเกินกว่าประโยชน์ที่พึงจะได้รับ (ผลเท่ากับว่าสัญญาที่มีระหว่างกันสิ้นสุดลง และ TT&T ขาดรายได้จากการให้บริการเช่าใช้วงจรเช่าส่วนนี้ไปทั้งหมด)
-TT&T เปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตในนาม เน็ตสามัญประจำบ้าน
-มีความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการซื้อหนี้ TT&T ของกลุ่ม Hedge Fund คือ กลุ่ม Avenue Asia Capital Partners เปลี่ยนมือเป็นของกลุ่ม Ayuthaya Limited
-TT&T แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า เมื่อ 18 ธ.ค. 55 Ayuthaya Limited ถือหุ้น TT&T สัดส่วน 16.40% เป็นผลให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1
-หุ้นของ TT&T ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP
2.2 นับแต่ วันที่ 3 มีนาคม 2557 ถึงปัจจุบัน (PCL Planner)
-TT&T มีปัญหาเกี่ยวกับกระแสเงินสดที่จะต้องจ่ายชำระหนี้ตามแผน
ฟื้นฟูกิจการอย่างหนัก โดย TT&T มีรายได้หลักจากการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในต่างจังหวัด (สัมปทานจะหมดอายุ ในปี 2561)
-TT&T ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ บริษัท ซีทีเอช จำกัด(มหาชน) (CTH) (10 เม.ย. 57) เพื่อเป็นตัวแทนจัดจำหน่าย และกระจายสินค้าให้กับ CTH ได้แก่ การจำหน่ายกล่องรับสัญญาณดาวเทียม และติดตั้ง Set Top Boxes ของ CTH รวมถึงความร่วมมือกิจกรรมทางการตลาด และส่งเสริมการขายในช่องทางของ TT&T โดย TT&T จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของ ค่าดำเนินการติดตั้งที่ได้รับโดยตรงจากผู้ใช้บริการ และส่วนแบ่งรายได้จาก CTH
-เห็นชอบให้มีการดำเนินการต่อสู้คดีความที่ TT&T และ 3BB มีปัญหาฟ้องร้องระหว่างกันเกี่ยวกับ เรื่องการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างกัน ต่อไป
-TT&T ยื่นฟ้อง บริษัท อคิวเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ("จัสมิน") ต่อศาลจังหวัดนนทบุรี เพื่อบังคับให้อคิวเมนท์ดำเนินการขายหุ้นที่ถืออยู่ใน 3BB คืนแก่ผู้ถือหุ้นของ TT&T ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดในบันทึกข้อตกลงในการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนฉบับลงวันที่ 13 กันยายน 2549
-ปัจจุบัน หุ้น TT&T ก็ยังคงถูกขึ้นเครื่องหมาย SP อยู่เช่นเดิม (ตลาดหลักทรัพย์ขยายเวลาเพื่อดูผลประกอบการของ TT&T อีก 1 ปี)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สรุปว่า TT&T ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ โดยมีผู้บริหารแผนฯ คือ บริษัท พีซีแอล แพลนเนอร์ จำกัด (PCL Planner) เป็นผู้ควบคุมและดำเนินกิจการ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเจ้าหนี้กองทุนเฮดจ์ฟันที่ซื้อหนี้มาในราคาถูก (Ayuthaya Limited) ซึ่งตามกฎหมายผู้บริหารแผนเป็นผู้มีอำนาจบริหารกิจการ และทรัพย์สินของ TT&T ทั้งหมด ส่วนกรรมการที่มีชื่ออยู่ตามหนังสือรับรองบริษัทหมดอำนาจลงระหว่างฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น การฟ้องร้องที่เป็นคดีความต่างๆทั้งหมด จึงเป็นการดำเนินการของผู้บริหารแผนทั้งสิ้น (PCL Planner) (จะเห็นได้ว่าปัจจุบันกลุ่มจัสมินและ TT&T เป็นปฏิปักษ์กันอย่างชัดเจน)
หากจะวิเคราะห์ประโยชน์ที่จะได้รับ จากกรณี TT&T ฟ้อง อคิวเมนท์ จะเห็นว่า ไม่ใช่ตัว TT&T จะได้เข้ามามีส่วนได้เสียใน TTTBB หากแต่เป็นผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นใครก็ยังไม่รู้? แต่ที่แน่ๆ ผลกระทบเกิดในช่วงเวลาที่กลุ่มจัสมินจะทำกองทุนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเกี่ยวโยงกับ TTTBB จนมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในหุ้น JAS จึงน่าจะมีผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่กุมอำนาจการตัดสินใจใน TT&T เข้ามาอาศัยประโยชน์จากการฟ้องร้องคดี
สิ่งที่น่าสังเกตุและต้องค้นหา คือ Avenue Asia Capital Partners และ Ayuthaya Limited คือใคร มีความเป็นมาและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และ การปรากฎตัวของ CTH ในช่วงเวลานี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร และที่สำคัญ ใครกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการทุบหุ้น JAS โปรดติดตามต่อไป?
- คนที่สั่งฟ้อง TTTBB คือ บริษัท พีซีแอล แพลนเนอร์ จำกัด (PCL Planner)
- หาก TT&T ชนะ คนได้ผลประโยชน์คือผู้ถือหุ้น TT&T ไม่ใช่ตัวบริษัท TT&T
- Avenue Asia Capital Partners / Ayuthaya Limited / CTH เกี่ยวข้องกับ TT&T ยังไง?