พาหิรกา และ สาวกภาษิตา ......... หมายถึง ?

เห็นว่า มีการพูดถึงเรื่องนี้ กันมาก จึงขออนุญาต นำเสนอ ข้อมูล หลักฐาน บางประการ เพื่อประกอบการพิจารณา
สำหรับชาวพุทธทั้งหลาย ที่นิยมการ สอบทาน เทียบเคียง ในพระสูตร และ พระวินัย นะครับ

เริ่มต้นที่ หลักฐานชั้นพระบาลีพุทธพจน์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสถึง พาหิรกา และ สาวกภาษิตา เอาไว้ดังนี้



ในอังคุตตรนิกาย อรรถกถาจารย์ ได้ไขความเอาไว้ดังนี้ว่า ........

พาหิรกา หมายถึง (๑) ที่ตั้งอยู่ภายนอกพระศาสนา (๒) เป็นสุตตันตะนอกพระศาสนา
สาวกภาษิตา หมายถึง (๑) ที่สาวกภายนอก(พระศาสนา)กล่าวไว้ (๒) ที่พวกสาวกของพาหิรกศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้

แน่นอนว่า เมื่อกล่าวสำหรับชาวพุทธโดยทั่วไป ที่อาจจะอ่อนความเข้าใจในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
เมื่อเห็นคำอธิบายของอรรถกถาจารย์ ดังนี้แล้ว ก็อาจพลั้งเผลอไปว่า พระสูตร ที่กล่าวว่า เป็น พาหิรกา
และ สาวกภาษิตา นี้หมายถึง พระสูตรของพวกอัญญเดียรถีย์ นอกพระพุทธศาสนา เช่น พวกปริพาชก
หรือ นิครนถ์ อะไรทำนองนั้น โดยมิได้หมายความถึง ภิกษุสาวกในพระพุทธศาสนา เป็นแน่

แต่ถ้าหากท่านทั้งหลาย ลองพิจารณา อรรถกถาจาก สังยุตตนิกาย เพิ่มเติมขึ้นอีกสักนิด
นั่นอาจทำให้ ท่านทั้งหลาย มีความเข้าใจ ลึกซึ้ง แจ่มแจ้ง มากยิ่งขึ้น ก็ได้ ดังนี้



ในสังยุตตนิกาย อรรถกถาจารย์ ได้ไขความเอาไว้ดังนี้ว่า ........

พาหิรกา หมายถึง มีภายนอกพระศาสนา

สาวกภาษิตา หมายถึง ..........
(๑) ความว่า  สามเณร  ภิกษุหนุ่ม มาตุคาม  และ มหาคหบดี เป็นต้น  มีความพอใจ  
เพราะพระสูตรเหล่านั้น มีอักษรวิจิตรและสมบูรณ์ด้วยการฟัง  จักเป็นผู้ปรารถนาประชุมฟัง
(๒) ด้วยคิดว่า  ผู้นี้เป็นธรรมกถึก !

ผมเห็นว่า ข้อความจาก อรรถกถาสังยุตตนิกาย นี้สามารถแสดงภาพให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า ที่จริงแล้ว
สาวก ที่กล่าวถึงนี้ จะหมายถึง พวกอัญญเดียรถีย์ เช่น พวกปริพาชก หรือ นิครนถ์ อะไรทำนองนั้น มิได้เลย

เพราะมันย่อมเป็นไปไม่ได้เช่นกันที่ สามเณร  ภิกษุหนุ่ม มาตุคาม  และ มหาคหบดี เป็นต้น จะนั่งฟังคำเหล่านั้น
โดยไม่ทราบว่า ผู้กล่าว เป็นพวกนิครนถ์ หรือ นักบวชนอกศาสนา อีกทั้ง ยังเข้าใจผิดไปอีกว่า นักบวชนอกศาสนา
เหล่านั้น ซึ่งย่อมนุ่งห่ม แตกต่างไปจากภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา อย่างชัดเจน เป็น ธรรมกถึก ในพระศาสนานี้ไปเสียได้ !

หากถามว่า แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า สาวก ที่อรรถกถาจารย์ กล่าวถึงนี้ ที่แท้ก็เป็น ภิกษุในพระพุทธศาสนา นี่แหละ
ตอบว่า ถ้าหากท่าน ไม่ทราบความเป็นไปในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา(โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลังกา) จริงๆ
ท่านก็สามารถพิจารณา ข้อเท็จจริง ได้จากข้อความของอรรถกถาจารย์ จาก อรรถกถาพระวินัย ได้ดังนี้ ......



ข้อความในส่วนนี้ อรรถกถาจารย์ กำลังกล่าวถึงขั้นตอนใน สอบสวน เทียบเคียง พระธรรมวินัย
ระหว่าง ฝ่ายเถรวาท กับ ฝ่ายปรวาที ซึ่งก็คือ ภิกษุในพระพุทธศาสนา ที่ถูกกล่าวหา(ว่าเป็นพวกมิจฉาทิฐิ)

ใจความสำคัญของเรื่องนี้ มันอยู่ตรงที่ อรรถกถาจารย์ ได้กล่าวถึง พาหิรกสูตร ซึ่งหมายถึง สูตรภายนอก
ซึ่งโดยทั่วไป มักแปลกันว่า สูตรภายนอกพระพุทธศาสนา แต่ที่จริงควรแปลว่า สูตรนอกแนว หมายถึง
นอกแนวคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่น พวกวรรณคดีประโลมโลก หรือ ตำราที่ไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์ ฯลฯ



แต่ในที่นี้ อรรถกถาจารย์ได้อธิบายว่า หมายถึง บรรดาสูตรทั้งหลาย
ที่ไม่ปรากฏหลักฐาน อยู่ในการสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง ของฝ่ายเถรวาท

ซึ่งแม้หากฝ่ายปรวาที อ้างสูตรเหล่านั้น ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่ควรถือเอา !

จากหลักฐานส่วนนี้นี่เอง ทำให้ทราบว่า คำว่าสูตรภายนอกที่ถูกแต่งขึ้นใหม่นี้
แท้ที่จริง ก็หมายถึง พระสูตรที่ถูกแต่งขึ้นโดยภิกษุในพระพุทธศาสนา นี่เอง
โดยฝ่ายเถรวาท มีมติว่า หากเมื่อสอบทานกับพระบาลีในการสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง
แล้วปรากฏว่า เข้ากันไม่ได้ ลงกันไม่ได้ ก็ไม่ควรถือเอา เพราะนั่นไม่ใช่พระสูตรของจริง

ชัดเจนไหมครับ ?

ดังนั้น คำว่า พาหิรกา ที่มักแปลกันว่า ภายนอกพระศาสนานั้น ที่จริงควรแปลให้ชัดๆ ว่า
หมายถึง นอกแนวคำสอน(ศาสนา = คำสอน) คือ ไม่เกี่ยวกับทุกข์ และ ความดับทุกข์ ฯลฯ

ส่วนคำว่า สาวกภาษิตา นั้น แท้ที่จริงก็หมายถึง ภิกษุ ในพระพุทธศาสนา นี่แหละ
เพียงแต่ว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้ถูกตราหน้า จากฝ่ายเถรวาท(ลังกาวงศ์) ไปแล้วว่า
เป็นพวกมิจฉาทิฐิ เป็นพวกอัญญเดียรถีย์ นอกพระพุทธศาสนา เท่านั้นเอง

ซึ่งถ้าหากท่านทั้งหลาย มีความเข้าใจในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาดีพอ ก็ย่อมทราบอยู่เองว่า
นี่เป็น อคติ ของอรรถกถาจารย์ชาวลังกา ที่มัก ติเตียนภิกษุสงฆ์ฝ่ายอื่น ที่เห็นต่างไปจากตน
ด้วยคำว่า มิจฉาทิฐิ อัญญเดียรถีย์ นอกพระพุทธศาสนา ทุกคราวไป จนกลายเป็น ปกติวิสัย ของพวกเขา



ขอให้ถือเสียว่า ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงแค่ การเล่าสู่กันฟัง ท่านไม่จำเป็นต้องเชื่อตาม นะครับ

สวัสดี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่