เฮ้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ............นี่คือนายกฯเจ้าอารมณ์ จอมฉุนเฉียว ตัวจริงงงง !!!!!!!!!

คุณนึกถึงใครล่ะ  ????

จ่านึกถึง "วินสตัน เชอร์ชิล" ครัฟฟฟ



จ่ามองว่า
เป็นเพราะเชอร์ชิลนี่แหละครัฟฟฟ
ที่ทำให้อังกฤษเอาชนะเยอรมันได้ในสงครามโลกครั้งที่ 2

ค่าที่ว่าเชอร์ชิลสามารถเอาหัวใจของคนอังกฤษทั้งชาติ
มา "มัดรวมกันไว้" ให้เป็นหนึ่งเดียวในยามหน้าสิ่วหน้าขวาน

และ รวมพลังกันต่อสู้กับพวกนาซีจนโลกต้องจารึก

อีกทั้งเชอร์ชิลยังมีสหายร่วมรบ
อย่าง แฟรงคลิน รูสเวลท์ แห่งสหรัฐ
และ ยอเซฟ สตาลิน แห่งสหภาพโซเวียต
ที่โดนฮิตเล่อร์กรีฑาทัพเข้ารุกราน มาเป็นพันธมิตร

ประกอบกับความเป็นสาลิกาลิ้นทองของเชอร์ชิล
ที่กล่อมคนโน้นคนนี้ จนกลายเป็นศูนย์กลางของการวางแผนรับมือกับนาซี



จ่าว่าความเข้มแข็ง และ กุศโลบายแบบเชอร์ชิล
ทำให้นาซีติดหล่มสงครามและพ่ายแพ้ไปในที่สุด

ของไทยเราก็มี "รู๊ท" ครัฟฟฟฟฟ

"รู๊ท" ที่ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากความเป็นผู้แพ้ในสงครามครั้งนั้น

เพราะ "รู๊ท" ได้เดินเกมส์เสรีไทยใต้ดิน
จนทำให้เมื่อสงครามยุติลง ไทยเราที่ควรจะโดนเหมาอยู่ฝ่ายญี่ปุ่น
กลับพลิกสถานะจากผู้ที่ควรจะเป็นผู้แพ้ มาอยู่กับฝ่ายสัมพันธมิตร

"รู๊ท" คือชื่อจัดตั้งของ อ.ปรีดี พนมยงค์ ครัฟฟฟฟ....



กลับมาที่เชอร์ชิลต่อ.......

เชอร์ชิลนั้นมาถูกที่ ถูกเวลา
มาในช่วงที่ "พี่เน" เนวิล แชมเบอร์เลน ไขก๊อกลาออก
เชอร์ชิลจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกฯในช่วงวิกฤติ



คุณพี่เชอร์ชิลเนี่ย
จะว่าไปก็เรียนไม่เก่งนะครัฟฟฟ
เพราะสมองไม่ดี และเอาดีทางการเรียนไม่ได้

แต่ไม่รู้ไปไงมาไง อาจจะด้วยบารมีก็เป็นได้ที่ทำให้มาถึงจุดนี้ได้

เชอร์ชิลเป็น "ศิลปิน" ครัฟฟฟฟ
เขามีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และ งานศิลปะ
เขามีอารมณ์ขี้หงุดหงิดตามประสาศิลปินทั้งหลายที่พึงจะเป็นนั่นแหละ

ปากคอเราะร้าย อารมณ์ผันแปรง่าย

แต่ด้วยความเป็นศิลปินของพี่แกนี่แหละ
ที่ทำให้การกล่าวปลุกระดมทุกครั้งของเชอร์ชิล
เพื่อเรียกกำลังใจจากคนในชาติ มักเต็มไปด้วยความเผ็ดร้อน

เรียกว่าเป็นนักพูดที่ปลุกระดมเก่ง
พูดจาได้เร้าใจ ดราม่ายิ่งกว่ากระทู้ในพันทิปซะอีก !!!!!

นี่แหละครัฟฟฟฟ.....ข้อได้เปรียบของคนมีวาทะศิลป์

คนอังกฤษได้ฟังแล้วก็ฮึกเฮิม
อยากไปลุยกับฮิตเล่อร์เลยก็ว่าได้

เชอร์ชิลเกิดในตระกูลนักบู๊
ต้นตระกูลของแกบู๊ยิ่งกว่า จา พนม ซะะอีก
เพราะต้นตระกูลเชอร์ชิลเคยอยู่ในฐานะของแม่ทัพ
ที่ยกทัพไปตะลุมบอนกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งเมืองน้ำหอม

แถมปะป๋าของเชอร์ชิล
ก็เคยเป็น รมว.คลังใน ครม.ชุดหนึ่งด้วย

มีเชอร์ชิลนี่แหละครัฟฟฟ
ที่สมองไม่ดี เรียนตกแล้วตกอีก
และไอ้ที่บันทึกกันไว้ว่าเชอร์ชิลสอบเข้า รร.นายร้อยได้เนี่ย
ถ้าไปลองค้นดูดีๆแล้ว จะพบว่ากว่าจะสอบเข้าได้ พี่แก "ซิ่วแล้วซิ่วอีก" ครัฟฟฟฟ

สอบตกซ้ำตกซาก กว่าจะได้เรียน....ว่างั้นเหอะ.....



แต่คนเราลองว่า "ดวงแรง" แล้ว
มันก็อย่างที่หลวงพ่อโตบอกนั่นแหละ...ถึงเวลาแล้วก็ไม่มีอะไรต้านได้

เชอร์ชิลเล่นการเมืองจนได้เป็นเสนาบดี
และสร้างตำนานของการ "ขอคืนพื้นที่" เหมือนของพี่ไทยเราเป๊ะเลย

เมื่อครั้งที่กรรมกรหยุดงานทั้งประเทศนั้น
กระบวนการผลิตของอังกฤษเสียหายยับเยิน
ข้าวปลาอาหาร โครงสร้างพ้นฐานทั้งหลายกระทบหมด

เชอร์ชิลไม่รู้นึกยังไง
แทนที่จะให้ตำรวจจัดการการประท้วง
กลับไป "กระชับพื้นที่" โดยใช้กำลังทหารครัฟฟฟ

ทหารเขาก็มีวิธีแบบทหารนี่แหละครัฟฟฟ  จะไปโทษเขาใย...

เล่นเอาโกลาหลวุ่นวาย จนกรรมกรเกลียดแกทั้งประเทศไปเลย



ชีวิตของเชอร์ชิลมีขึ้น มีลง

ในช่วงที่ตกต่ำสุดขีดนั้น เชอร์ชิลลาออกจาก รมต.
แล้วก็ตัดสินใจบ้าระห่ำด้วยการสมัครเป็นทหารไปรบแนวหน้า

บ้ามั๊ยละครัฟฟฟฟ....!!!!!??????????

ลองนึกถึงคนอย่าง สุเทพ เฉลิม จตุพร เทพไท ณัฐวุฒิ ชวนนท์
ที่จู่ๆลาออกจากตำแหน่งเสนาบดี แล้วสมัครไปรบซิครัฟฟฟ....จ่าไม่อยากนึก....ดูไม่จืดแน่ๆ

แต่เชอร์ชิลทำมาแล้วครัฟฟฟฟฟ....!!!!!!

หากจะมีใครซักคน
ที่มีชีวิตโลดโผนโจนทะยาน
จากเด็กที่เรียนไม่เก่ง มาเป็นศิลปิน ทหาร นักการเมือง
และได้กลายมาเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีอิทธิพลสูงสุดของโลกแล้วละก็

จ่าว่าเชอร์ชิล คือ หนึ่งในคนพิเศษแบบนั้นครัฟฟฟฟ

เชอร์ชิลได้กลับมาเป็นนายกฯอีกครั้ง
เมื่อคนอังกฤษเห็นว่าไม่มีใครเจ๋งเท่าเขาอีกแล้ว
คนอังกฤษจึงเลือกพรรคอนุรักษ์นิยมของเชอร์ชิล
จนสามารถเอาชนะพรรคแรงงานได้สำเร็จ และส่งเชอร์ชิลขึ้นเป็นนายกฯรอบ 2 ครัฟฟฟ

เชอร์ชิลคือตัวอย่างของ คนเจ้าอารมณ์ ฉุนเฉียว พูดเก่ง คุมอารมณ์ไม่ค่อยอยู่
แต่ทุกครั้งที่พูด เขาพูดแล้วปลุกระดมความรักชาติ และ หล่อหลอมผู้คนให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ครัฟฟฟ

และที่สำคัญ
คนเป็นนายกฯนั้น
จะพูดเก่ง จะเจ้าอารมณ์ จะฉุนเฉียว จะชี้ไม้ชี้มือใส่คนอื่น ก็ตามสบาย

แต่......ขออย่างเดียว ต้องทำงานเก่งให้สมราคาของความเป็น "คนดี" ด้วยครัฟฟฟฟ  !!!!!









จ่าพิเชษฐ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่