สวัสดีเพื่อนๆชาวจักรยานพันทิพทุกท่านครับ วันนี้มีเรื่องราวที่ผมรู้สึกประทับใจอยากมาเล่าสู่กันฟังให้กับเพื่อนๆ เผื่อเป็นไอเดียให้ได้ไปต่อยอดกันต่อไปนะครับ
สืบเนื่องจากผมเองเป็นคนที่ให้ความสำคัญและจริงจังกับการขี่จักรยานเสือหมอบเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวตลอดในชีวิตของผมที่ผ่านมา แถมเพิ่งจะมาเริ่มต้นออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬาขี่จักรยานนี้เมื่อตอนอายุ 40 ปีอีกด้วย พอได้ขี่จักรยานจริงๆจังๆก็เริ่มเจอปัญหาต่างๆจากการขี่ ไม่ว่าจะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย ให้เวลาอดทนกับมันก็แล้ว เปลี่ยนอุปกรณ์ตามที่อ่านๆเจอมาก็แล้ว ก็ยังไม่หาย แก้ปัญหานี้หายกลับเจอปัญหาใหม่ขึ้นมา รวมถึงพอจะสามารถจัดอุปกรณ์ตัวช่วยต่างๆในการขี่จักรยานให้ดีมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นโดยไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ก็เลยจัดแจงอัพอุปกรณ์ต่างๆมาโดยตลอด
จนกระทั่งได้มีโอกาสจัดจักรยานเสือหมอบเฟรมคาร์บอนคันที่ 2 ในชีวิตมาเมื่อปีที่แล้ว แน่นอนครับสายหมอบแบบเอาจริงเอาจังอย่างผม ก็ต้องเอารถไปทำ Bike Fitting (คือการปรับแต่งจักรยานให้เหมาะสมกับร่างกายของผู้ขี่และปรับท่าทางการขี่ของผู้ขี่ให้สามารถรีดประสิทธิภาพของรถออกมาได้อย่างเต็มที่) ก็ได้ค่า fitting รถออกมาค่าหนึ่งและได้คำแนะนำในการปรับตัวเพื่อปรับแก้ท่าขี่จักรยานให้ถูกต้องเหมาะสมเพิ่มมากยิ่งขึ้นต่อไป หลังจากนั้นก็ใช้เวลาซ้อมๆๆๆๆๆๆ ขี่เก็บเกี่ยวกิโลเมตรและนาทีจากรถจักรยานมาโดยตลอด
สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งข้อสังเกตุจากการขี่จักรยานตลอด 1 ปีที่ผ่านมาก็คือ ผมจะมีระยะทำการโดยประมาณที่ 60-70 กิโลเมตร หลังจากนั้นตะคริวจะเริ่มมาเยือน โดยเริ่มจากตอดที่น่อง แล้วถ้ารุนแรงจะลามมาหน้าขา จนกระทั่งจะไม่สามารถขี่ต่อได้เลย ก่อนหน้านี้ไปทริปของ Probike ที่หนองหญ้าปล้อง หลังจากขี่ขึ้นเนินมา 2 เนินตะคริวก็กินที่น่อง พอจอดพักนวดๆ กลับขึ้นมาหน้าขา ทำอย่างไรก็ขี่ต่อไม่ได้ต้องขึ้นรถพยาบาลกลับมาที่รีสอร์ต ล่าสุดไปทริป GMM กำลังลากกลุ่มที่ 30 นิ่งๆมาดีๆ พอเลยระยะทำการที่ 60 โล ตะคริวเริ่มมาตอดที่น่องจนต้องผ่อนและปล่อยหลุดกลุ่มที่ลากอยู่ไปเพื่อประคองตัวให้สามารถปีนขึ้นสันเขื่อนได้ต่อ ก็เข้าใจว่าตัวเองยังต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆทั้งโภชนาการและการฝึกซ้อมเพื่อแก้ไขปัญหานี้
ประกอบกับได้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากของเดิมที่เคยเอาไปทำ fitting ไว้ มีเปลี่ยนรองเท้าใหม่ เปลี่ยนพื้นรองรองเท้าใหม่ให้เข้ากับรูปเท้าเพิ่มมากขึ้น เปลี่ยนอานใหม่ จริงๆคือทรงเดิมแหละ เพียงแค่เปลี่ยนสี และที่สำคัญคือ มีความรู้สึกว่าร่างกายยืดหยุ่นได้ดีกว่าเดิมอยากปรับท่าการขี่ตัวเองใหม่เลยเอาแหวนรองคอออกหมดเหลือแค่วงเล็กสุดรองไว้อันสุดท้ายเท่านั้น ก็เลยถอดแหวนรองคอออก เปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆด้วยตัวเองก่อนแล้วให้เวลาในการปรับตัวเองเข้ากับรถดูระยะเวลาหนึ่ง
จนกระทั่งพอมีเวลาว่าง นึกอยากจะเอารถไปทำ re-fitting ดูเพราะเวลาผ่านไปจากการทำ fitting ครั้งแรกมาก็จะ 1 ปีแล้ว รถเราก็ได้มีการปรับเปลี่ยนระยะต่างๆไปจากเดิมบ้างจากการแก้ไขด้วยตัวเอง รวมถึงท่าทางการปั่นของเราก็แตกต่างไปจากเดิมแข็งแรงขึ้นมากกว่าเมื่อปีที่แล้ว น่าจะเห็นถึงความแตกต่างจากการ re-fitting ขึ้นมาพอสมควรเลย ก็เลยนัด Fitter ทำ re-fitting กัน
พอไปถึงได้เวลาก็เอารถขึ้นเทรนเนอร์แล้ว Fitter ก็ให้ผมปั่นโดยใช้เกียร์ที่หนักเบาแตกต่างกันไปเพื่อตรวจสอบปรับแต่งแก้ไขท่าปั่นให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น มีการสอบถามถึงความรู้สึกของกล้ามเนื้อที่จำเป็นต้องใช้ในการปั่นแบบใหม่ให้เสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนนั้นเพิ่มมากขึ้น มีการสอบถามอาการเจ็บปวดต่างๆจากการปั่นเพื่อปรับแต่งแก้ไขรถเพื่อแก้ที่สาเหตุของปัญหานั้นๆ ผมใช้เวลาในการทำ re-fitting ไปประมาณชั่วโมงกว่าๆเสียเหงื่อไปหลายก็ได้ค่า fitting ครั้งที่ 2 ออกมา
ลองดูครับว่ามีอะไรที่แตกต่างไปจากการทำ Bike Fitting ครั้งแรกบ้าง
[CR] รีวิวการทำ Bike Fitting: Re-Fitting เพื่อปรับท่าขี่ใหม่หลังจากปรับตำแหน่งรถใหม่
สวัสดีเพื่อนๆชาวจักรยานพันทิพทุกท่านครับ วันนี้มีเรื่องราวที่ผมรู้สึกประทับใจอยากมาเล่าสู่กันฟังให้กับเพื่อนๆ เผื่อเป็นไอเดียให้ได้ไปต่อยอดกันต่อไปนะครับ
สืบเนื่องจากผมเองเป็นคนที่ให้ความสำคัญและจริงจังกับการขี่จักรยานเสือหมอบเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวตลอดในชีวิตของผมที่ผ่านมา แถมเพิ่งจะมาเริ่มต้นออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬาขี่จักรยานนี้เมื่อตอนอายุ 40 ปีอีกด้วย พอได้ขี่จักรยานจริงๆจังๆก็เริ่มเจอปัญหาต่างๆจากการขี่ ไม่ว่าจะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย ให้เวลาอดทนกับมันก็แล้ว เปลี่ยนอุปกรณ์ตามที่อ่านๆเจอมาก็แล้ว ก็ยังไม่หาย แก้ปัญหานี้หายกลับเจอปัญหาใหม่ขึ้นมา รวมถึงพอจะสามารถจัดอุปกรณ์ตัวช่วยต่างๆในการขี่จักรยานให้ดีมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นโดยไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ก็เลยจัดแจงอัพอุปกรณ์ต่างๆมาโดยตลอด
จนกระทั่งได้มีโอกาสจัดจักรยานเสือหมอบเฟรมคาร์บอนคันที่ 2 ในชีวิตมาเมื่อปีที่แล้ว แน่นอนครับสายหมอบแบบเอาจริงเอาจังอย่างผม ก็ต้องเอารถไปทำ Bike Fitting (คือการปรับแต่งจักรยานให้เหมาะสมกับร่างกายของผู้ขี่และปรับท่าทางการขี่ของผู้ขี่ให้สามารถรีดประสิทธิภาพของรถออกมาได้อย่างเต็มที่) ก็ได้ค่า fitting รถออกมาค่าหนึ่งและได้คำแนะนำในการปรับตัวเพื่อปรับแก้ท่าขี่จักรยานให้ถูกต้องเหมาะสมเพิ่มมากยิ่งขึ้นต่อไป หลังจากนั้นก็ใช้เวลาซ้อมๆๆๆๆๆๆ ขี่เก็บเกี่ยวกิโลเมตรและนาทีจากรถจักรยานมาโดยตลอด
สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งข้อสังเกตุจากการขี่จักรยานตลอด 1 ปีที่ผ่านมาก็คือ ผมจะมีระยะทำการโดยประมาณที่ 60-70 กิโลเมตร หลังจากนั้นตะคริวจะเริ่มมาเยือน โดยเริ่มจากตอดที่น่อง แล้วถ้ารุนแรงจะลามมาหน้าขา จนกระทั่งจะไม่สามารถขี่ต่อได้เลย ก่อนหน้านี้ไปทริปของ Probike ที่หนองหญ้าปล้อง หลังจากขี่ขึ้นเนินมา 2 เนินตะคริวก็กินที่น่อง พอจอดพักนวดๆ กลับขึ้นมาหน้าขา ทำอย่างไรก็ขี่ต่อไม่ได้ต้องขึ้นรถพยาบาลกลับมาที่รีสอร์ต ล่าสุดไปทริป GMM กำลังลากกลุ่มที่ 30 นิ่งๆมาดีๆ พอเลยระยะทำการที่ 60 โล ตะคริวเริ่มมาตอดที่น่องจนต้องผ่อนและปล่อยหลุดกลุ่มที่ลากอยู่ไปเพื่อประคองตัวให้สามารถปีนขึ้นสันเขื่อนได้ต่อ ก็เข้าใจว่าตัวเองยังต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆทั้งโภชนาการและการฝึกซ้อมเพื่อแก้ไขปัญหานี้
ประกอบกับได้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากของเดิมที่เคยเอาไปทำ fitting ไว้ มีเปลี่ยนรองเท้าใหม่ เปลี่ยนพื้นรองรองเท้าใหม่ให้เข้ากับรูปเท้าเพิ่มมากขึ้น เปลี่ยนอานใหม่ จริงๆคือทรงเดิมแหละ เพียงแค่เปลี่ยนสี และที่สำคัญคือ มีความรู้สึกว่าร่างกายยืดหยุ่นได้ดีกว่าเดิมอยากปรับท่าการขี่ตัวเองใหม่เลยเอาแหวนรองคอออกหมดเหลือแค่วงเล็กสุดรองไว้อันสุดท้ายเท่านั้น ก็เลยถอดแหวนรองคอออก เปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆด้วยตัวเองก่อนแล้วให้เวลาในการปรับตัวเองเข้ากับรถดูระยะเวลาหนึ่ง
จนกระทั่งพอมีเวลาว่าง นึกอยากจะเอารถไปทำ re-fitting ดูเพราะเวลาผ่านไปจากการทำ fitting ครั้งแรกมาก็จะ 1 ปีแล้ว รถเราก็ได้มีการปรับเปลี่ยนระยะต่างๆไปจากเดิมบ้างจากการแก้ไขด้วยตัวเอง รวมถึงท่าทางการปั่นของเราก็แตกต่างไปจากเดิมแข็งแรงขึ้นมากกว่าเมื่อปีที่แล้ว น่าจะเห็นถึงความแตกต่างจากการ re-fitting ขึ้นมาพอสมควรเลย ก็เลยนัด Fitter ทำ re-fitting กัน
พอไปถึงได้เวลาก็เอารถขึ้นเทรนเนอร์แล้ว Fitter ก็ให้ผมปั่นโดยใช้เกียร์ที่หนักเบาแตกต่างกันไปเพื่อตรวจสอบปรับแต่งแก้ไขท่าปั่นให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น มีการสอบถามถึงความรู้สึกของกล้ามเนื้อที่จำเป็นต้องใช้ในการปั่นแบบใหม่ให้เสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนนั้นเพิ่มมากขึ้น มีการสอบถามอาการเจ็บปวดต่างๆจากการปั่นเพื่อปรับแต่งแก้ไขรถเพื่อแก้ที่สาเหตุของปัญหานั้นๆ ผมใช้เวลาในการทำ re-fitting ไปประมาณชั่วโมงกว่าๆเสียเหงื่อไปหลายก็ได้ค่า fitting ครั้งที่ 2 ออกมา
ลองดูครับว่ามีอะไรที่แตกต่างไปจากการทำ Bike Fitting ครั้งแรกบ้าง