บทเรียนราคาแพงของ Baidu ทำไมใครๆถึงพากันขยาด
รอบเดือนสองเดือนที่ผ่านมา ประเด็นร้อนที่สุดในวงการไอทีไทยคงหนีไม่พ้นผลิตภัณฑ์ Baidu PC Faster
ก่อนอื่นผมต้องเล่าที่มาที่ไปสักเล็กน้อยครับ Baidu หรือ “ไป่ตู้” เป็นบริษัทไอทีรายใหญ่จากประเทศจีน เติบโตมาจากการทำเว็บค้นหาภาษาจีน และประสบความสำเร็จจนกลายเป็นเว็บเบอร์หนึ่งของประเทศจีน (เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่กูเกิลเจาะไม่เข้า)
เมื่อ Baidu ประสบความสำเร็จจากระบบค้นหา ก็ได้เวลาแตกลูกแตกหลานผลิตภัณฑ์มากมาย ส่วนใหญ่เป็นบริการบนเว็บลักษณะเดียวกับกูเกิล แต่บริษัทก็ทำซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมที่ติดตั้งลงบนพีซีหลายตัว เช่น Baidu Browser, Baidu Antivirus เป็นต้น แถมภายหลังก็หันไปทำซอฟต์แวร์บนมือถือ โดยดัดแปลงระบบปฏิบัติการ Android ในชื่อใหม่ว่า Baidu Yi อีกด้วย
นอกจากนี้ Baidu ยังเริ่มขยายกิจการออกมานอกประเทศจีนกับเขาบ้าง และหนึ่งในประเทศเป้าหมายของ Baidu คือ “ประเทศไทย” ของเรานี่เองครับ
ยุทธศาสตร์การทำตลาดไทยของ Baidu ไม่ได้เริ่มจากเว็บค้นหา (เหตุผลหลักคงเป็นเรื่องภาษา และบ้านเราเป็นประเทศที่กูเกิลเข้มแข็งมาก) แต่เริ่มจากเว็บพอร์ทัลชื่อ Hao123 และซอฟต์แวร์ช่วยปรับแต่งประสิทธิภาพพีซี Baidu PC Faster
ปัญหาของ Baidu คือกลยุทธ์ด้านการตลาดในไทยใช้วิธีค่อนข้าง “ยัดเยียด” ให้ใช้บริการของตัวเอง เช่น แถมโปรแกรม PC Faster หรือตัวช่วยพาเข้าเว็บ Hao123 มากับโปรแกรมแจกฟรีชื่อดังหลายๆ ตัว ถ้าตอนติดตั้งโปรแกรมแล้วผู้ใช้ไม่ค่อยระวัง ก็จะได้ PC Faster หรือ Hao123 มาโดยไม่ตั้งใจ
พอได้โปรแกรมตัวใดตัวหนึ่งในสองตัวข้างต้นมาแล้ว การลบออกจากเครื่องก็ไม่ง่าย ไม่สามารถกดปุ่ม Uninstall ตามปกติแล้วจบ เพราะโปรแกรมของ Baidu ฝังตัวเองแนบแน่นเข้ากับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และต้องใช้วิธีพิเศษในการถอนโปรแกรมออกจากเครื่องแบบหมดจด (รายละเอียดมีเยอะคงไม่กล่าวถึงในที่นี้ มีคนเขียนคู่มือและวิธีการไว้เยอะแล้ว ค้นหาเองได้ไม่ยากนะครับ)
นอกจากนี้ ในกรณีของโปรแกรม Baidu PC Faster ยังมีผู้ใช้งานชาวไทยจำนวนหนึ่งรายงานว่า การติดตั้งโปรแกรมนี้ทำให้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์รวน เพราะ PC Faster เข้ามาปรับแต่งค่าของระบบ (เพื่อให้ประสิทธิภาพดีขึ้น) จนระบบเพี้ยน อันนี้ผมลองแล้วยังไม่เจอกับตัวเอง แต่ก็คิดว่าเหตุผลเป็นเพราะค่าคอนฟิกของวินโดวส์ในแต่ละเครื่องมีโอกาสแตกต่างกันเยอะมาก ตามพฤติกรรมและโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ในเครื่อง ดังนั้น มีโอกาสสูงที่ Baidu จะไม่เข้าใจค่าบางตัวจากโปรแกรมบางประเภท พอไปปรับเปลี่ยนค่าพวกนี้ย่อมทำให้เครื่องทำงานเพี้ยน
เมื่อโปรแกรมของ Baidu มีปัญหาในเชิงการทำงาน และบริษัทใช้กลยุทธ์การแจกจ่ายโปรแกรมที่ค่อนข้าง “บุกรุกคุกคาม” คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ปัจจัยพวกนี้สะสมกันมากๆ เข้า เลยพลอยให้ภาพลักษณ์ของ Baidu เรียกได้ว่า “เละ” ไปแล้วในหมู่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ชาวไทยจำนวนไม่น้อย (ลอง search คำว่า Baidu ในพันทิป หรือเว็บไซต์ไอทีหลายๆ แห่งดูได้ครับ)
เท่าที่ผมลองประเมินดู หลังมีกรณี PC Faster แล้ว ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยให้คุณค่ากับแบรนด์ Baidu ในทางติดลบอย่างรุนแรง ชนิดว่า Baidu ออกผลิตภัณฑ์อะไรมาอีก (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ PC Faster หรือ Hao123 เลย) ก็จะถูกตั้งแง่ไว้ก่อนว่า “ทำเครื่องพัง” หรือ “ยัดเยียด” อีกหรือเปล่า
เรื่องนี้ถือว่าน่าเสียดายมากนะครับ เพราะ Baidu ไม่ใช่บริษัทไก่กาที่ไหน แต่เป็นเว็บค้นหาอันดับหนึ่งของจีน มีรายได้ปีละเป็นหมื่นล้านหยวน แถมยังเป็นบริษัทมหาชนที่ขายหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ของอเมริกา การสร้างแบรนด์ของบริษัทเหล่านี้ให้คนรู้จักและยอมรับไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สถานะตอนนี้ของแบรนด์ Baidu ในไทยกลับเสียหายไปมาก เพราะ “กลยุทธ์การตลาด” ของผลิตภัณฑ์แค่บางตัวเท่านั้นเอง
ผมยังคิดไม่ออกเหมือนกันว่า Baidu จะกู้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ในหมู่ผู้ใช้ชาวไทยกลับมาได้อย่างไร (คงต้องเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์) ตรงนี้ก็ได้แต่หวังว่า Baidu จะรีบปรับเปลี่ยนนโยบายการทำตลาดของตัวเอง และกลับมาเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้งานชาวไทยได้สำเร็จครับ
ที่มา :
http://www.thairath.co.th/content/441541
บทเรียนราคาแพงของ Baidu ทำไมใครๆถึงพากันขยาด
รอบเดือนสองเดือนที่ผ่านมา ประเด็นร้อนที่สุดในวงการไอทีไทยคงหนีไม่พ้นผลิตภัณฑ์ Baidu PC Faster
ก่อนอื่นผมต้องเล่าที่มาที่ไปสักเล็กน้อยครับ Baidu หรือ “ไป่ตู้” เป็นบริษัทไอทีรายใหญ่จากประเทศจีน เติบโตมาจากการทำเว็บค้นหาภาษาจีน และประสบความสำเร็จจนกลายเป็นเว็บเบอร์หนึ่งของประเทศจีน (เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่กูเกิลเจาะไม่เข้า)
เมื่อ Baidu ประสบความสำเร็จจากระบบค้นหา ก็ได้เวลาแตกลูกแตกหลานผลิตภัณฑ์มากมาย ส่วนใหญ่เป็นบริการบนเว็บลักษณะเดียวกับกูเกิล แต่บริษัทก็ทำซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมที่ติดตั้งลงบนพีซีหลายตัว เช่น Baidu Browser, Baidu Antivirus เป็นต้น แถมภายหลังก็หันไปทำซอฟต์แวร์บนมือถือ โดยดัดแปลงระบบปฏิบัติการ Android ในชื่อใหม่ว่า Baidu Yi อีกด้วย
นอกจากนี้ Baidu ยังเริ่มขยายกิจการออกมานอกประเทศจีนกับเขาบ้าง และหนึ่งในประเทศเป้าหมายของ Baidu คือ “ประเทศไทย” ของเรานี่เองครับ
ยุทธศาสตร์การทำตลาดไทยของ Baidu ไม่ได้เริ่มจากเว็บค้นหา (เหตุผลหลักคงเป็นเรื่องภาษา และบ้านเราเป็นประเทศที่กูเกิลเข้มแข็งมาก) แต่เริ่มจากเว็บพอร์ทัลชื่อ Hao123 และซอฟต์แวร์ช่วยปรับแต่งประสิทธิภาพพีซี Baidu PC Faster
ปัญหาของ Baidu คือกลยุทธ์ด้านการตลาดในไทยใช้วิธีค่อนข้าง “ยัดเยียด” ให้ใช้บริการของตัวเอง เช่น แถมโปรแกรม PC Faster หรือตัวช่วยพาเข้าเว็บ Hao123 มากับโปรแกรมแจกฟรีชื่อดังหลายๆ ตัว ถ้าตอนติดตั้งโปรแกรมแล้วผู้ใช้ไม่ค่อยระวัง ก็จะได้ PC Faster หรือ Hao123 มาโดยไม่ตั้งใจ
พอได้โปรแกรมตัวใดตัวหนึ่งในสองตัวข้างต้นมาแล้ว การลบออกจากเครื่องก็ไม่ง่าย ไม่สามารถกดปุ่ม Uninstall ตามปกติแล้วจบ เพราะโปรแกรมของ Baidu ฝังตัวเองแนบแน่นเข้ากับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และต้องใช้วิธีพิเศษในการถอนโปรแกรมออกจากเครื่องแบบหมดจด (รายละเอียดมีเยอะคงไม่กล่าวถึงในที่นี้ มีคนเขียนคู่มือและวิธีการไว้เยอะแล้ว ค้นหาเองได้ไม่ยากนะครับ)
นอกจากนี้ ในกรณีของโปรแกรม Baidu PC Faster ยังมีผู้ใช้งานชาวไทยจำนวนหนึ่งรายงานว่า การติดตั้งโปรแกรมนี้ทำให้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์รวน เพราะ PC Faster เข้ามาปรับแต่งค่าของระบบ (เพื่อให้ประสิทธิภาพดีขึ้น) จนระบบเพี้ยน อันนี้ผมลองแล้วยังไม่เจอกับตัวเอง แต่ก็คิดว่าเหตุผลเป็นเพราะค่าคอนฟิกของวินโดวส์ในแต่ละเครื่องมีโอกาสแตกต่างกันเยอะมาก ตามพฤติกรรมและโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ในเครื่อง ดังนั้น มีโอกาสสูงที่ Baidu จะไม่เข้าใจค่าบางตัวจากโปรแกรมบางประเภท พอไปปรับเปลี่ยนค่าพวกนี้ย่อมทำให้เครื่องทำงานเพี้ยน
เมื่อโปรแกรมของ Baidu มีปัญหาในเชิงการทำงาน และบริษัทใช้กลยุทธ์การแจกจ่ายโปรแกรมที่ค่อนข้าง “บุกรุกคุกคาม” คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ปัจจัยพวกนี้สะสมกันมากๆ เข้า เลยพลอยให้ภาพลักษณ์ของ Baidu เรียกได้ว่า “เละ” ไปแล้วในหมู่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ชาวไทยจำนวนไม่น้อย (ลอง search คำว่า Baidu ในพันทิป หรือเว็บไซต์ไอทีหลายๆ แห่งดูได้ครับ)
เท่าที่ผมลองประเมินดู หลังมีกรณี PC Faster แล้ว ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยให้คุณค่ากับแบรนด์ Baidu ในทางติดลบอย่างรุนแรง ชนิดว่า Baidu ออกผลิตภัณฑ์อะไรมาอีก (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ PC Faster หรือ Hao123 เลย) ก็จะถูกตั้งแง่ไว้ก่อนว่า “ทำเครื่องพัง” หรือ “ยัดเยียด” อีกหรือเปล่า
เรื่องนี้ถือว่าน่าเสียดายมากนะครับ เพราะ Baidu ไม่ใช่บริษัทไก่กาที่ไหน แต่เป็นเว็บค้นหาอันดับหนึ่งของจีน มีรายได้ปีละเป็นหมื่นล้านหยวน แถมยังเป็นบริษัทมหาชนที่ขายหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ของอเมริกา การสร้างแบรนด์ของบริษัทเหล่านี้ให้คนรู้จักและยอมรับไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สถานะตอนนี้ของแบรนด์ Baidu ในไทยกลับเสียหายไปมาก เพราะ “กลยุทธ์การตลาด” ของผลิตภัณฑ์แค่บางตัวเท่านั้นเอง
ผมยังคิดไม่ออกเหมือนกันว่า Baidu จะกู้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ในหมู่ผู้ใช้ชาวไทยกลับมาได้อย่างไร (คงต้องเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์) ตรงนี้ก็ได้แต่หวังว่า Baidu จะรีบปรับเปลี่ยนนโยบายการทำตลาดของตัวเอง และกลับมาเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้งานชาวไทยได้สำเร็จครับ
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/441541