ให้หลังจากการเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเมื่อช่วงเดือนกันยนยน ปี 2012 ของ Baidu พร้อมกับการเปิดตัว
Baidu PC Faster โปรแกรมเพิ่มประสิทธิภาพเครื่อง พร้อมพ่วงฟีเจอร์ป้องกันไวรัสมาให้ในตัว ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด หลังจากตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Baidu PC Faster ออกมารายงานว่าพีซีของตัวเองมีปัญหาอยู่เป็นระยะๆ ในปัญหาที่แตกต่างกันไป โดยพื้นที่แจ้งปัญหาจะอยู่ใน
เว็บไซต์พันทิปเป็นส่วนใหญ่ ส่วนของ Blognone เองก็เคยมีผู้ใช้พบปัญหากับ
เซอร์วิส P2PSVC ทำให้เชื่อมต่อกับ HomeGroup ไม่ได้ ซึ่งทาง Baidu
ได้ส่งข้อมูลมาเพื่อชี้แจงกรณีนี้ในเวลาต่อมา
จากปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลากว่า 9 เดือน ปฏิเสธไม่ได้ว่าในตอนนี้ชื่อของ Baidu และโปรแกรมในเครืออย่าง PC Faster, Spark Browser และเว็บพอร์ทัลอย่าง Hao123 กลายเป็นฝันร้ายของผู้ใช้พีซีบางรายไปแล้ว ทั้งการที่โปรแกรมดังกล่าวเข้าไปพัวพันกับปัญหาของพีซีหลายเรื่อง และการพ่วงโปรแกรมอื่นๆ ในเครือมาโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือใช้ถ้อยคำที่กำกวม อันนำพามาสู่โปรแกรมที่ผู้ใช้ไม่ได้ต้องการแต่ต้น ทาง Baidu มองเห็นปัญหาในเรื่องนี้จึงได้ชวนทางเว็บไซต์ Blognone ไปร่วมคุยเมื่อไม่นานมานี้ เพื่ออธิบายปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีแก้ไข และแนวทางการแก้ปัญหาในอนาคตต่อไป โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ ครับ
ในการชี้แจงครั้งนี้ทีมงาน Baidu ประเทศไทยได้ยกปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้จำนวนมากบนเว็บไซต์พันทิปที่ได้แก้ไขไปแล้ว เรียงตามลำดับมีดังนี้ครับ
ใช้ PC Faster แล้วความละเอียดหน้าจอลดลง
- ปัญหานี้เกิดขึ้นเนื่องมาจากตัวโปรแกรมในเวอร์ชัน 3.6-3.7 (ปัจจุบันเวอร์ชัน 4.0) เมื่อสั่งให้เร่งประสิทธิภาพเครื่อง จะไปปิดเซอร์วิสสำหรับจัดการหน้าจอ (Desktop Windows Manager Session Manager) ส่งผลให้ความละเอียดของหน้าจอต่ำลง
ใช้ PC Faster แล้วขึ้นจอฟ้า
- เรื่องจอฟ้านี้ ทีมงาน Baidu แจ้งว่าโดยมากเกิดจากการทำงานขัดข้อง เมื่อเครื่องที่ใช้งานมีโปรแกรมป้องกันไวรัสตัวอื่นติดตั้งอยู่ด้วย โดยโปรแกรมที่พบว่ามีปัญหาดังกล่าวคือ Avast Free Antivirus 2013 ในลักษณะของทั้ง Avast และ PC Faster พยายามเข้าถึงไฟล์ระบบพร้อมกัน ทำให้ระบบล่มไป
อีกกรณีก็คือ เกิดจากแพตช์อัพเดตวินโดวส์ของไมโครซอฟท์รหัส
KB2859537 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทั้งบูทเครื่องไม่ขึ้น และเกิดจอฟ้า ไม่ว่าจะอัพเดตผ่านระบบ หรือโปรแกรมใดๆ ก็ตาม ซึ่งทางไมโครซอฟท์ออกมายอมรับและแก้ปัญหานี้ไปเรียบร้อยแล้ว
ถอนการติดตั้ง PC Faster ไม่ได้
- เกิดขึ้นจากความหวังดีของโปรแกรมป้องกันไวรัสเจ้าอื่น (ที่ยกมาคือ NOD32) ที่ดันมีรายชื่อของ PC Faster เข้าไปอยู่ในกลุ่มโปรแกรมอันตราย จึงทำให้ไม่สามารถถอนการติดตั้งจากเครื่องได้ กรณีนี้แก้ได้ด้วยการเพิ่ม PC Faster เข้าไปอยู่ในรายชื่อโปรแกรมที่ได้รับการยกเว้น (exclusions) ก็จะสามารถถอนการติดตั้งได้ตามปกติ
ใช้ PC Faster แล้วต่อ Wi-Fi ไม่ได้
- ปัญหานี้เกิดกับ PC Faster เวอร์ชัน 3.7 ที่เข้าไปจัดการเซอร์วิส WLANAutoConfig แล้วมีปัญหากับไดร์เวอร์โมดูล Wi-Fi บางยี่ห้ออย่างอินเทล และซิสโก
ใช้ PC Faster แล้วเข้า Facebook/Gmail ไม่ได้
- อันนี้จะเรียกว่าเป็นปัญหาก็ไม่เชิง เกิดจากการที่ตัวล้างไฟล์ขยะของ PC Faster เข้าไปลบแคชของรหัสผ่านผู้ใช้ อีกกรณีที่เป็นปัญหาจริงๆ คือมีบั๊กกับบัญชีของกูเกิลสำหรับเชื่อมต่อเข้ากับ Chrome
อีกสองประเด็นที่เหลือจะเป็นประเด็นใหญ่ที่หลายคนให้ความสนใจกันมาก เนื่องจากเกี่ยวโยงโดยตรงกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ซึ่งพบเบาะแสครั้งแรกจากพันทิป เกิดขึ้นกับทั้ง PC Faster และ Hao123 ดังนี้ครับ
Hao 123 และ PC Faster ส่งข้อมูลกลับเซิร์ฟเวอร์ประเทศจีนจริงหรือไม่ ?
- ใครที่ติดตามข่าวสารปัญหาของ Hao123 และ PC Faster ในพันทิปน่าจะเคยพบกับกระทู้ที่ออกมาแฉว่า Hao 123 และ PC Faster นั้นแอบส่งข้อมูลกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่จีน โดยแนบมาพร้อมกับภาพหน้าจอตรวจสอบทราฟิกดังกล่าว ซึ่งทาง Baidu บอกว่าเป็นการทอนข้อมูลให้ผู้อ่านได้รับไม่ครบถ้วน เพื่อชี้นำให้เชื่อตามที่เจ้าของกระทู้ต้องการจะสื่อ
ในการชี้แจงครั้งนี้ ทีมงาน Baidu ได้ทดลองสร้างสถานการณ์จำลองแบบเดียวกับเจ้าของกระทู้ ผลปรากฎว่าทราฟิกที่ในกระทู้ระบุว่า Hao123 กำลังส่งข้อมูลกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์นั้น เป็นการเชคไฟล์ก่อนติดตั้ง ส่วนทางฝั่ง PC Faster นั้นเป็นการเรียกข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ (ดูได้จากต้นทาง IP และปลายทาง IP) น่าเสียดายที่ไม่มีภาพยืนยันมาให้ดูกันชัดๆ ครับ
(หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากทาง Baidu)
การบันเดิลโปรแกรมในเครือ Baidu มากับโปรแกรมฟรีต่างๆ และวิธีการติดตั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้
- เชื่อว่าหลายคนคงเคยใช้พีซีอยู่ดีๆ แล้วก็มีบรรดาโปรแกรมของ Baidu ติดมาบ้าง เรื่องนี้ตอบได้อย่างง่ายคือโปรแกรมของ Baidu นั้นได้ถูกบันเดลมาพร้อมกับโปรแกรมฟรีต่างๆ ซึ่งไม่แปลกนักที่ผู้ใช้จะไม่รู้ว่าเคยติดตั้งไป เนื่องมาจาก วิธีการบันเดิลมาของ Baidu นั้นมักจะหลบสายตาของผู้ใช้ และแอบแฝงมากับตัวเลือกที่ต้องอ่านอย่างละเอียด (ตัวอย่างจากพันทิป) ซึ่งสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้จำนวนมาก
สำหรับประเด็นนี้ ทาง Baidu ชี้แจงไว้คล้ายกับที่ส่งไปให้กับบรรดาเว็บไซต์ต่างชาติ ว่าไม่ใช่การทำตลาดโดยสำนักงานใหญ่ แต่เป็นผ่านตัวแทนโฆษณาที่ไปจัดการทำกันเองสี่ราย และผ่านผู้ให้บริการแจกจ่ายซอฟต์แวร์อีกหนึ่งราย ซึ่งทาง Baidu ระบุว่าได้เริ่มแก้ปัญหานี้แล้ว และทำการปรับเงินเอเยนซี่โฆษณาทั้งหมดที่อยู่ในข่ายดังกล่าว
นอกจากปรับเงินแล้ว Baidu สัญญาว่าจะทำการตลาดให้โปร่งใสยิ่งขึ้น ด้วยการใส่ป้ายแบนเนอร์ขนาดใหญ่ให้ผู้ใช้รู้ว่ากำลังจะลงโปรแกรมในเครือ Baidu และเลิกแอบแฝงข้อตกลงในการติดตั้งตามที่เคยทำมาโดยตลอดอีกด้วย (น่าเสียดายที่ไม่มีรูปมาให้ดูกัน)
ทั้งหมดนี้เป็นการชี้แจงจากทาง Baidu ประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยได้เริ่มทยอยแก้ไขปัญหาไปบ้างแล้ว และเพิ่มตัวเลือกให้ผู้ใช้สามารถปรับเลือกฟีเจอร์ได้เองในเวอร์ชันถัดไปอย่าง 5.0 ซึ่งยังไม่ประกาศว่าจะเปิดให้ดาวน์โหลดเมื่อไรครับ
ท้ายข่าวมีวิดีโอช่วงตอบคำถามของทีม Baidu ประเทศไทยแนบมาด้วยครับ
Source :
Blognone
Baidu ประเทศไทยชี้แจงประเด็น "PC Faster สร้างปัญหาให้เครื่องจริงหรือไม่ ?"
ให้หลังจากการเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเมื่อช่วงเดือนกันยนยน ปี 2012 ของ Baidu พร้อมกับการเปิดตัว Baidu PC Faster โปรแกรมเพิ่มประสิทธิภาพเครื่อง พร้อมพ่วงฟีเจอร์ป้องกันไวรัสมาให้ในตัว ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด หลังจากตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Baidu PC Faster ออกมารายงานว่าพีซีของตัวเองมีปัญหาอยู่เป็นระยะๆ ในปัญหาที่แตกต่างกันไป โดยพื้นที่แจ้งปัญหาจะอยู่ในเว็บไซต์พันทิปเป็นส่วนใหญ่ ส่วนของ Blognone เองก็เคยมีผู้ใช้พบปัญหากับเซอร์วิส P2PSVC ทำให้เชื่อมต่อกับ HomeGroup ไม่ได้ ซึ่งทาง Baidu ได้ส่งข้อมูลมาเพื่อชี้แจงกรณีนี้ในเวลาต่อมา
จากปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลากว่า 9 เดือน ปฏิเสธไม่ได้ว่าในตอนนี้ชื่อของ Baidu และโปรแกรมในเครืออย่าง PC Faster, Spark Browser และเว็บพอร์ทัลอย่าง Hao123 กลายเป็นฝันร้ายของผู้ใช้พีซีบางรายไปแล้ว ทั้งการที่โปรแกรมดังกล่าวเข้าไปพัวพันกับปัญหาของพีซีหลายเรื่อง และการพ่วงโปรแกรมอื่นๆ ในเครือมาโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือใช้ถ้อยคำที่กำกวม อันนำพามาสู่โปรแกรมที่ผู้ใช้ไม่ได้ต้องการแต่ต้น ทาง Baidu มองเห็นปัญหาในเรื่องนี้จึงได้ชวนทางเว็บไซต์ Blognone ไปร่วมคุยเมื่อไม่นานมานี้ เพื่ออธิบายปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีแก้ไข และแนวทางการแก้ปัญหาในอนาคตต่อไป โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ ครับ
ในการชี้แจงครั้งนี้ทีมงาน Baidu ประเทศไทยได้ยกปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้จำนวนมากบนเว็บไซต์พันทิปที่ได้แก้ไขไปแล้ว เรียงตามลำดับมีดังนี้ครับ
ใช้ PC Faster แล้วความละเอียดหน้าจอลดลง
- ปัญหานี้เกิดขึ้นเนื่องมาจากตัวโปรแกรมในเวอร์ชัน 3.6-3.7 (ปัจจุบันเวอร์ชัน 4.0) เมื่อสั่งให้เร่งประสิทธิภาพเครื่อง จะไปปิดเซอร์วิสสำหรับจัดการหน้าจอ (Desktop Windows Manager Session Manager) ส่งผลให้ความละเอียดของหน้าจอต่ำลง
ใช้ PC Faster แล้วขึ้นจอฟ้า
- เรื่องจอฟ้านี้ ทีมงาน Baidu แจ้งว่าโดยมากเกิดจากการทำงานขัดข้อง เมื่อเครื่องที่ใช้งานมีโปรแกรมป้องกันไวรัสตัวอื่นติดตั้งอยู่ด้วย โดยโปรแกรมที่พบว่ามีปัญหาดังกล่าวคือ Avast Free Antivirus 2013 ในลักษณะของทั้ง Avast และ PC Faster พยายามเข้าถึงไฟล์ระบบพร้อมกัน ทำให้ระบบล่มไป
อีกกรณีก็คือ เกิดจากแพตช์อัพเดตวินโดวส์ของไมโครซอฟท์รหัส KB2859537 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทั้งบูทเครื่องไม่ขึ้น และเกิดจอฟ้า ไม่ว่าจะอัพเดตผ่านระบบ หรือโปรแกรมใดๆ ก็ตาม ซึ่งทางไมโครซอฟท์ออกมายอมรับและแก้ปัญหานี้ไปเรียบร้อยแล้ว
ถอนการติดตั้ง PC Faster ไม่ได้
- เกิดขึ้นจากความหวังดีของโปรแกรมป้องกันไวรัสเจ้าอื่น (ที่ยกมาคือ NOD32) ที่ดันมีรายชื่อของ PC Faster เข้าไปอยู่ในกลุ่มโปรแกรมอันตราย จึงทำให้ไม่สามารถถอนการติดตั้งจากเครื่องได้ กรณีนี้แก้ได้ด้วยการเพิ่ม PC Faster เข้าไปอยู่ในรายชื่อโปรแกรมที่ได้รับการยกเว้น (exclusions) ก็จะสามารถถอนการติดตั้งได้ตามปกติ
ใช้ PC Faster แล้วต่อ Wi-Fi ไม่ได้
- ปัญหานี้เกิดกับ PC Faster เวอร์ชัน 3.7 ที่เข้าไปจัดการเซอร์วิส WLANAutoConfig แล้วมีปัญหากับไดร์เวอร์โมดูล Wi-Fi บางยี่ห้ออย่างอินเทล และซิสโก
ใช้ PC Faster แล้วเข้า Facebook/Gmail ไม่ได้
- อันนี้จะเรียกว่าเป็นปัญหาก็ไม่เชิง เกิดจากการที่ตัวล้างไฟล์ขยะของ PC Faster เข้าไปลบแคชของรหัสผ่านผู้ใช้ อีกกรณีที่เป็นปัญหาจริงๆ คือมีบั๊กกับบัญชีของกูเกิลสำหรับเชื่อมต่อเข้ากับ Chrome
อีกสองประเด็นที่เหลือจะเป็นประเด็นใหญ่ที่หลายคนให้ความสนใจกันมาก เนื่องจากเกี่ยวโยงโดยตรงกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ซึ่งพบเบาะแสครั้งแรกจากพันทิป เกิดขึ้นกับทั้ง PC Faster และ Hao123 ดังนี้ครับ
Hao 123 และ PC Faster ส่งข้อมูลกลับเซิร์ฟเวอร์ประเทศจีนจริงหรือไม่ ?
- ใครที่ติดตามข่าวสารปัญหาของ Hao123 และ PC Faster ในพันทิปน่าจะเคยพบกับกระทู้ที่ออกมาแฉว่า Hao 123 และ PC Faster นั้นแอบส่งข้อมูลกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่จีน โดยแนบมาพร้อมกับภาพหน้าจอตรวจสอบทราฟิกดังกล่าว ซึ่งทาง Baidu บอกว่าเป็นการทอนข้อมูลให้ผู้อ่านได้รับไม่ครบถ้วน เพื่อชี้นำให้เชื่อตามที่เจ้าของกระทู้ต้องการจะสื่อ
ในการชี้แจงครั้งนี้ ทีมงาน Baidu ได้ทดลองสร้างสถานการณ์จำลองแบบเดียวกับเจ้าของกระทู้ ผลปรากฎว่าทราฟิกที่ในกระทู้ระบุว่า Hao123 กำลังส่งข้อมูลกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์นั้น เป็นการเชคไฟล์ก่อนติดตั้ง ส่วนทางฝั่ง PC Faster นั้นเป็นการเรียกข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ (ดูได้จากต้นทาง IP และปลายทาง IP) น่าเสียดายที่ไม่มีภาพยืนยันมาให้ดูกันชัดๆ ครับ
(หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากทาง Baidu)
การบันเดิลโปรแกรมในเครือ Baidu มากับโปรแกรมฟรีต่างๆ และวิธีการติดตั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้
- เชื่อว่าหลายคนคงเคยใช้พีซีอยู่ดีๆ แล้วก็มีบรรดาโปรแกรมของ Baidu ติดมาบ้าง เรื่องนี้ตอบได้อย่างง่ายคือโปรแกรมของ Baidu นั้นได้ถูกบันเดลมาพร้อมกับโปรแกรมฟรีต่างๆ ซึ่งไม่แปลกนักที่ผู้ใช้จะไม่รู้ว่าเคยติดตั้งไป เนื่องมาจาก วิธีการบันเดิลมาของ Baidu นั้นมักจะหลบสายตาของผู้ใช้ และแอบแฝงมากับตัวเลือกที่ต้องอ่านอย่างละเอียด (ตัวอย่างจากพันทิป) ซึ่งสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้จำนวนมาก
สำหรับประเด็นนี้ ทาง Baidu ชี้แจงไว้คล้ายกับที่ส่งไปให้กับบรรดาเว็บไซต์ต่างชาติ ว่าไม่ใช่การทำตลาดโดยสำนักงานใหญ่ แต่เป็นผ่านตัวแทนโฆษณาที่ไปจัดการทำกันเองสี่ราย และผ่านผู้ให้บริการแจกจ่ายซอฟต์แวร์อีกหนึ่งราย ซึ่งทาง Baidu ระบุว่าได้เริ่มแก้ปัญหานี้แล้ว และทำการปรับเงินเอเยนซี่โฆษณาทั้งหมดที่อยู่ในข่ายดังกล่าว
นอกจากปรับเงินแล้ว Baidu สัญญาว่าจะทำการตลาดให้โปร่งใสยิ่งขึ้น ด้วยการใส่ป้ายแบนเนอร์ขนาดใหญ่ให้ผู้ใช้รู้ว่ากำลังจะลงโปรแกรมในเครือ Baidu และเลิกแอบแฝงข้อตกลงในการติดตั้งตามที่เคยทำมาโดยตลอดอีกด้วย (น่าเสียดายที่ไม่มีรูปมาให้ดูกัน)
ทั้งหมดนี้เป็นการชี้แจงจากทาง Baidu ประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยได้เริ่มทยอยแก้ไขปัญหาไปบ้างแล้ว และเพิ่มตัวเลือกให้ผู้ใช้สามารถปรับเลือกฟีเจอร์ได้เองในเวอร์ชันถัดไปอย่าง 5.0 ซึ่งยังไม่ประกาศว่าจะเปิดให้ดาวน์โหลดเมื่อไรครับ
ท้ายข่าวมีวิดีโอช่วงตอบคำถามของทีม Baidu ประเทศไทยแนบมาด้วยครับ
Source : Blognone