สอบถามท่านที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรร หรือหมู่บ้านเอื้ออาทรนะคะ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนมือบริหารจากการเคหะฯ เป็นนิติบุคคลเข้ามาดูแล
ส่งผลให้ ค่าใช้จ่ายของลูกบ้านทุกหลังเพิ่มขึ้น อาทิเช่น ค่าส่วนกลาง จากที่เคยจ่ายแค่ 25 บาท ถูกแจกแจงให้จ่ายเป็น 1. ค่าเก็บขยะ 25 บาท 2. ค่ารักษาอุปกรณ์น้ำ 25 บาท 3. ค่าส่วนกลางประจำเดือน 250 บาท ในส่วนของค่าส่วนกลางที่เพิ่มขึ้นมานี้ ทางฝ่ายนิติฯพยายามสื่อสารบอกลูกบ้าน เชิงบังคับว่ายังไงต้องจ่าย โดยแจ้งแค่เพียงว่า หมู่บ้านเอื้ออาทรที่อื่น เค้าก็จ่ายกันโดยไม่เห็นจะมีคำถามอะไร และค่าใช้จ่ายส่วนนี้เค้าเอามาไว้บริหารจัดการภายในหมู่บ้านในแต่ละเดือน ในหมู่บ้านที่ จขกท. อยู่ เป็นแฟลต อาคารละ 40 ห้อง 130 ตึก รวมเงินได้ของนิติบุคคล ดังนี้ 1. ค่าเก็บขยะ คิดเป็น 25 x 40 x 130 = 130,000 บาทต่อเดือน 2. ค่ารักษาอุปกรณ์น้ำ คิดเป็น 25 x 40 x 130 = 130,000 บาทต่อเดือน 3. เงินส่วนกลางที่เก็บได้แต่ละเดือน คิดเป็น = 250 x 40 x 130 = 1,300,000 บาทต่อเดือน ซึ่งตอนนี้จ่ายค่าส่วนกลางที่เพิ่มขึ้นมานี้ 2 เดือนแล้ว แต่ยังไม่เห็นความแตกต่าง ความสกปรกก็เหมือนเดิม ยามก็น้อย ที่จอดรถก็ไม่มี การทำบัญชีชี้แจงลูกบ้านก็ยังไม่ปรากฎ สอบถามว่า ลูกบ้านต้องยอมรับชะตากรรมหรือเปล่า ในเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีอะไรพัฒนา ร้องเรียนทางนิติฯไปก็ยังไม่เห็นอะไรดีขึ้นมา ไม่มีการมาเก็บขยะทุกวัน ทำให้ขยะล้นถังขนาดใหญ่ที่ตั้งในแต่ละอาคาร ส่งกลิ่นเหม็นตลอด อยากถามว่า ท่านใดที่อยู่บ้านเอื้ออาทร ท่านทำอย่างไร หรือแก้ปัญหาอย่างไร
ประเด็นที่สอง ทางนิติบุคคล เค้าจะขอเรียกเก็บเงินกองทุนหมู่บ้าน เพื่อเป็นเงินสำรองในการบริหารโครงการ ในกรณี หม้อไฟฟ้าระเบิด ท่อน้ำแตก ปั้มน้ำเสียหาย จะเก็บเพิ่มเป็นเงินก้อนห้องหละ 750 บาท ซึ่งก็คือ เงินจำนวน 750 x 40 x 130 = 3,900,000 บาท ทาง จขกท. เกิดความสงสัยว่า จะเก็บเพิ่มอีกทำไม ในเมื่อทุกเดือน ทางนิติบุคคลมีการเก็บ ค่ารักษาอุปกรณ์และค่าส่วนกลางที่เพิ่มขึ้นไปอยู่แล้ว หรือทางนิติบุคคล ที่เข้ามาบริหารไม่มีเงินก้อนเลย จึงอยากมีเงินก้อนเก็บไว้ เผื่อยามฉุกเฉิน มันเป็นการยากในการที่ลูกบ้านจะตรวจสอบว่า ทางนิติบุคคลบริหารจัดการเงินนั้นอย่างไร
ซึ่งที่ผ่านมา ทางลูกบ้านเห็นผลงานของ นิติบุคคลมีแต่เรื่องผลาญเงิน ไม่ว่าการจัดกิจกรรมกลางแจ้งในวันสำคัญๆ ที่ไม่มีใครอยู่ โดยการจ้างวงดงตรีมาแสดง ฯลฯ ซึ่งทาง จขกท. เองอาจเป็นคนที่ไม่เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมแบบนี้ก็ได้ เพราะรู้สึกว่าคนที่ร่วมกิจกรรม หรือมาดูก็มีแต่พรรคพวกของคนที่ทำนิติฯเองทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นวงดนตรี ก็คนของนิติบุคคล แม่ครัวทำอาหาร (ร้านอาหาร) ก็ญาติคนที่ทำนิติบุคคล
สอบถามว่า ถ้าต่อไปเงินไม่พอ ทางนิติบุคคล สามารถมาเรียกเก็บเงินเพิ่มเติมจากลูกบ้านได้เรื่อยๆหรือเปล่า ถ้ามาอ้างว่ามีการจัดประชุมหมู่บ้าน ให้ลูกบ้านรับรู้และแสดงความคิดเห็น จขกท. เข้าไปฟังทุกครั้ง เมื่อลูกบ้านมีข้อสงสัยหรือข้อโต้แย้งกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และการบริหารที่ไม่โปร่งใส ทางนิติก็ไม่สามารถชี้แจง ตอบคำถามได้ตรงคำถาม มีแต่คำพูดที่ไถลไปเรื่อย หาจุดจบตรงที่ว่า ยังไงซะลูกบ้านต้องจ่าย และสุดท้ายก็มาเรียกเก็บในบิลชำระค่าน้ำและค่าส่วนกลาง เป็นเหมือนการบังคับให้จ่ายเพิ่ม การกระทำแบบนี้เหมาะสมแล้วหรือเปล่า
ปัญหาที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มมันอาจดูไม่มากมาย สำหรับ ผู้ที่อยู่หมู่บ้านจัดสรรแห่งอื่น แต่ท่านต้องเข้าใจว่า คนที่อยู่บ้านเอื้ออาทร มีรายได้ที่จำกัดนะคะ การจ่ายเพิ่มแบบนี้ มันส่งผลกระทบต่อลูกบ้านหลายๆครัวเรือนนะ และพวกเขาไม่มีทางเลือกมากนัก ลูกบ้านสามารถฟ้องร้องทางนิติบุคคลได้หรือไม่ ในเรื่องการบริหารที่ไม่ชัดเจน และการเรียกเก็บเงินกองทุนที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากค่าส่วนกลาง วานท่านผู้มีความรู้ช่วยไขข้อข้องใจให้ทีนะคะ
ใครอยู่บ้านเอื้ออาทรบ้างคะ เมื่อมีนิติบุคคลเข้ามาดูแล นอกจากค่าส่วนกลางที่เพิ่มขึ้น ยังต้องมีค่ากองทุนให้นิติเพิ่มขึ้น
ส่งผลให้ ค่าใช้จ่ายของลูกบ้านทุกหลังเพิ่มขึ้น อาทิเช่น ค่าส่วนกลาง จากที่เคยจ่ายแค่ 25 บาท ถูกแจกแจงให้จ่ายเป็น 1. ค่าเก็บขยะ 25 บาท 2. ค่ารักษาอุปกรณ์น้ำ 25 บาท 3. ค่าส่วนกลางประจำเดือน 250 บาท ในส่วนของค่าส่วนกลางที่เพิ่มขึ้นมานี้ ทางฝ่ายนิติฯพยายามสื่อสารบอกลูกบ้าน เชิงบังคับว่ายังไงต้องจ่าย โดยแจ้งแค่เพียงว่า หมู่บ้านเอื้ออาทรที่อื่น เค้าก็จ่ายกันโดยไม่เห็นจะมีคำถามอะไร และค่าใช้จ่ายส่วนนี้เค้าเอามาไว้บริหารจัดการภายในหมู่บ้านในแต่ละเดือน ในหมู่บ้านที่ จขกท. อยู่ เป็นแฟลต อาคารละ 40 ห้อง 130 ตึก รวมเงินได้ของนิติบุคคล ดังนี้ 1. ค่าเก็บขยะ คิดเป็น 25 x 40 x 130 = 130,000 บาทต่อเดือน 2. ค่ารักษาอุปกรณ์น้ำ คิดเป็น 25 x 40 x 130 = 130,000 บาทต่อเดือน 3. เงินส่วนกลางที่เก็บได้แต่ละเดือน คิดเป็น = 250 x 40 x 130 = 1,300,000 บาทต่อเดือน ซึ่งตอนนี้จ่ายค่าส่วนกลางที่เพิ่มขึ้นมานี้ 2 เดือนแล้ว แต่ยังไม่เห็นความแตกต่าง ความสกปรกก็เหมือนเดิม ยามก็น้อย ที่จอดรถก็ไม่มี การทำบัญชีชี้แจงลูกบ้านก็ยังไม่ปรากฎ สอบถามว่า ลูกบ้านต้องยอมรับชะตากรรมหรือเปล่า ในเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีอะไรพัฒนา ร้องเรียนทางนิติฯไปก็ยังไม่เห็นอะไรดีขึ้นมา ไม่มีการมาเก็บขยะทุกวัน ทำให้ขยะล้นถังขนาดใหญ่ที่ตั้งในแต่ละอาคาร ส่งกลิ่นเหม็นตลอด อยากถามว่า ท่านใดที่อยู่บ้านเอื้ออาทร ท่านทำอย่างไร หรือแก้ปัญหาอย่างไร
ประเด็นที่สอง ทางนิติบุคคล เค้าจะขอเรียกเก็บเงินกองทุนหมู่บ้าน เพื่อเป็นเงินสำรองในการบริหารโครงการ ในกรณี หม้อไฟฟ้าระเบิด ท่อน้ำแตก ปั้มน้ำเสียหาย จะเก็บเพิ่มเป็นเงินก้อนห้องหละ 750 บาท ซึ่งก็คือ เงินจำนวน 750 x 40 x 130 = 3,900,000 บาท ทาง จขกท. เกิดความสงสัยว่า จะเก็บเพิ่มอีกทำไม ในเมื่อทุกเดือน ทางนิติบุคคลมีการเก็บ ค่ารักษาอุปกรณ์และค่าส่วนกลางที่เพิ่มขึ้นไปอยู่แล้ว หรือทางนิติบุคคล ที่เข้ามาบริหารไม่มีเงินก้อนเลย จึงอยากมีเงินก้อนเก็บไว้ เผื่อยามฉุกเฉิน มันเป็นการยากในการที่ลูกบ้านจะตรวจสอบว่า ทางนิติบุคคลบริหารจัดการเงินนั้นอย่างไร
ซึ่งที่ผ่านมา ทางลูกบ้านเห็นผลงานของ นิติบุคคลมีแต่เรื่องผลาญเงิน ไม่ว่าการจัดกิจกรรมกลางแจ้งในวันสำคัญๆ ที่ไม่มีใครอยู่ โดยการจ้างวงดงตรีมาแสดง ฯลฯ ซึ่งทาง จขกท. เองอาจเป็นคนที่ไม่เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมแบบนี้ก็ได้ เพราะรู้สึกว่าคนที่ร่วมกิจกรรม หรือมาดูก็มีแต่พรรคพวกของคนที่ทำนิติฯเองทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นวงดนตรี ก็คนของนิติบุคคล แม่ครัวทำอาหาร (ร้านอาหาร) ก็ญาติคนที่ทำนิติบุคคล
สอบถามว่า ถ้าต่อไปเงินไม่พอ ทางนิติบุคคล สามารถมาเรียกเก็บเงินเพิ่มเติมจากลูกบ้านได้เรื่อยๆหรือเปล่า ถ้ามาอ้างว่ามีการจัดประชุมหมู่บ้าน ให้ลูกบ้านรับรู้และแสดงความคิดเห็น จขกท. เข้าไปฟังทุกครั้ง เมื่อลูกบ้านมีข้อสงสัยหรือข้อโต้แย้งกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และการบริหารที่ไม่โปร่งใส ทางนิติก็ไม่สามารถชี้แจง ตอบคำถามได้ตรงคำถาม มีแต่คำพูดที่ไถลไปเรื่อย หาจุดจบตรงที่ว่า ยังไงซะลูกบ้านต้องจ่าย และสุดท้ายก็มาเรียกเก็บในบิลชำระค่าน้ำและค่าส่วนกลาง เป็นเหมือนการบังคับให้จ่ายเพิ่ม การกระทำแบบนี้เหมาะสมแล้วหรือเปล่า
ปัญหาที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มมันอาจดูไม่มากมาย สำหรับ ผู้ที่อยู่หมู่บ้านจัดสรรแห่งอื่น แต่ท่านต้องเข้าใจว่า คนที่อยู่บ้านเอื้ออาทร มีรายได้ที่จำกัดนะคะ การจ่ายเพิ่มแบบนี้ มันส่งผลกระทบต่อลูกบ้านหลายๆครัวเรือนนะ และพวกเขาไม่มีทางเลือกมากนัก ลูกบ้านสามารถฟ้องร้องทางนิติบุคคลได้หรือไม่ ในเรื่องการบริหารที่ไม่ชัดเจน และการเรียกเก็บเงินกองทุนที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากค่าส่วนกลาง วานท่านผู้มีความรู้ช่วยไขข้อข้องใจให้ทีนะคะ