สำหรับที่มาที่ได้ซื้อเครื่องกรองอากาศรุ่นนี้นะครับ
เนื่องจากแอร์ในห้องที่ผมนั่งทำงานเป็นแอร์อาคารและเป็นห้องแบบปิดขนาดประมาณ 50ตรม. กว่าๆและมีพวกอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์อยู่พอสมควรครับ(ตัวอย่างก็ตามรูป) ซึ่งแอร์แบบนี้ก็ทราบอยู่แล้วครับว่าทำให้อากาศแห้งมาก และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์พวกนี้ก็เก็บฝุ่นมากไม่ใช้น้อย เจอห้องแบบปิดเข้าไปอีกนี้ ศูนย์รวมโรคภูมิแพ้กันเลยทีเดียว
ทีนี้ก็มาปรึกษากันกับสมาชิกภายในห้องทำงานว่าจะอย่างไรดี ก็เลยว่าจะจัดเครื่องฟอกอากาศน่าจะพอช่วยได้ไม่มากก็น้อย จริงๆก็มอง Sharp ที่ยิงประจุ Plasmacluster ได้อยู่แต่มีอีกยี้ห้อที่เค้าโฆษณาว่า Hepa ของเค้ากรองอนุภาคได้ที่ 0.009µm ได้ที่ 99.99% ก็แอบสนใจเหมือนกัน ก็เลยมาศึกษากันว่าจะเอาแบบไหนดี ก็มาหาข้อมูลกันจะเจอเป็น 2ลักษณะคือ
1.เครื่องฟอกกลุ่มที่เป็นการดูดเอาฝุ่นกับเชื้อโรคต่างๆเอามากักเก็บหรือทำลายในเครื่อง
ซึ่งหลังจากหาข้อมูลอยู่พักนึงเห็นส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าไส้กรองมีแบบเป็น HEPA กับ ULPA ก็เกิดสงสัยว่าต่างกันอย่างไรก็พบว่ามันต่างกันที่การดักจับอนุภาคนี้เองซึ่งได้ข้อมูลว่าเครื่องส่วนใหญ่จะเป็น HEPA Class H14 ซึ่งจะดักจับอนุภาคขนาด 0.1-0.3µm ได้ที่ 99.995% แต่มียี้ห้อนึงเป็น ULPA Class U15 มั่งดักจับได้ที่ 99.9995% เลยทีเดียวแต่นอนว่า CLEAN AIR DELIVERY RATE (CADR) ก็ต่ำลงทำให้รุ่นที่มีขายก็ใช้กับห้องที่ไม่ใหญ่มากนัก
แต่เห็นบางยี้ห้อระบุว่าเป็น HEPA เหมือนกันแล้วทำไมถึงระบุว่ากรองได้ระดับ 0.009µm ได้ที่ 99.99% เลยหว่าทำไมยี้ห้ออื่นเค้ากรองได้แค่ 0.1-0.3µm แค่นั้นเองเลยลองไปหาข้อมูลดูปรากฏว่า เหตุผลที่ไส้กรองนั้นทดลองประสิทธิภาพที่ 0.1-0.3µm นั้นเกิดจากว่าอนุภาคที่มีขนาดประมาณนี้มันมีขนาดเล็กและเคลื่อนที่แบบมีทิศทางจึงทำให้ดักจับได้ยากนั้นเอง ส่วนอนุภาคที่เล็กกว่า 0.09µm ลงเป็นมันจะเป็นลักษณะฟุ้งกระจายทำให้อำนาจทะลุทะลวงต่ำดักจับได้ง่ายนั้นเอง
ดูกราฟประกอบการดักจับอนุภาคที่ระดับต่างๆได้ของ HEPA ทั่วๆไป(ผมลงค้นๆดูจากหลายเว็บ)จะพบว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆคืออนุภาคช่วง 0.1-0.3µm มีอัตราการหลุดรอดการดักจับได้สูง แต่พออนุภาคมีขนาดเล็กกว่า 0.09µm การดักจับก็ดีขึ้นทันตาเห็น
อันนี้เป็นข้อมูลจาก lab ของเครื่องฟอกอากาศยี้ห้อนึงที่ระบุว่า 0.009µm ได้ที่ 99.99% ก็ทำได้จริงๆครับ แต่ว่ามันเป็นปกติของ HEPA ตามข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นอยู่แล้วครับว่า HEPA ไหนๆก็แล้วแต่พออนุภาคมีขนาดเล็กกว่า 0.09µm มันจะดักจับได้ดีเค้าเลยไม่โฆษณาถึงจุดนี้กัน (มันดักจับยากเฉพาะช่วง 0.1-0.3µm แค่นั้นเองเค้าเลยวัดกันที่จุดนี้)
พอดูข้อมูลแบบนี้แล้วเลยคิดว่า % ที่แตกต่างของ HEPA ไม่ค่อยมีผลแตกต่างอะไรที่น่าสนใจนักรุ่นไหนก็ไม่ได้ต่างกันมากม่ายอะไร(ระดับ 0.0xx%)ลองไปดูเทคโนโลยีอย่างอื่นดีกว่า
ปล.อาจจะพบบางยี้ห้อใช้ UV lamp หรือแผง Plasma มาฆ่าเชื้อที่วิ่งผ่านเครื่องเหมือนกันแต่ดูแล้วก็ยังไม่ค่อยหน้าสนใจเท่าไหร่เพราะต้องรอจนดูดเชื้อโรคเข้ามาก่อนถึงจะทำลายได้ ซึ่งถ้าเป็นเครื่องมีอัตราการไหลเวียนอากาศไม่มากพอเราก็สูดเข้าก่อนเต็มปอดละครับ หรือพวกเชื้อที่ติดแน่นอยู่ตามฝ้าหรือผนังห้องพวกนี้ก็ทำอะไรไม่ได้แน่นอน
2.เครื่องฟอกกลุ่มที่สร้างประจุอนุภาคอะไรก็แล้วแต่เพื่อไปจัดการกับสิ่งที่อยู่รอบๆห้อง
จริงๆมีเทคโนโลยีหลายแบบด้วยกัน ทั้งใช้โอโซน , ทั้งยิงประจุลบ , Picode , Plasmacluster
ดูแล้ว Picode ย่อยอัดโมเลกุลน้ำเข้าอากาศเพิ่มเพื่อทำลายเชื้อน่าจะดูปลอดภัยที่สุด แต่ข้อมูลการทดลองเกี่ยวกับทำลายเชื้อน้อยไปหน่อยเลยตัดไปก่อน ไม่ใช่ไม่ดีนะ
เลยมามองที่เทรนปัจจุบันเหมือน Plasmacluster จะน่าสนใจดีมีงานวิจัยเยอะ ซึ่งตามกระแสโฆษณาเท่าที่ดูพบว่า Plasmacluster มีทั้งแง่ดีแง่ลบเลยลองมาศึกษาดูครับว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่
เลยไปหาข้อมูลทดสอบว่ามันฆ่าเชื้อได้จริงหรือปล่าวสรุปมันทำลายเชื้อและกำจัดกลิ่นได้จริงๆแต่จากผลการทดลอง lab ต่างๆมันใช้ความเข้มข้นที่มากกว่า 20,000 ion/cm3 ทั้งนั้นเลยนี้หว่า(ถ้าน้อยกว่านี้ก็จะใช้เวลานานมากขึ้น) แล้วเครื่องฟอกของ Sharp เท่าที่ลองดูมีแต่ KI-A60TA แค่รุ่นเดียวที่ปล่อยประจุได้ระดับ 25,000 ion/cm3* (ที่กึ่งกลางห้องขนาด 35ตรม ที่สปีดปานกลาง) ส่วนพวกรุ่น KC หรือ FU อะไรพวกนี้ปล่อยได้แค่ 7,000 ion/cm3* (ที่กึ่งกลางห้องขนาด 21-35ตรม ตามรุ่นที่ ที่สปีดปานกลาง)
*ขนาดห้องสูงสุดที่ระบุไว้ที่หน้ากล่องคือต้องอัดสปีดสูงสุดนะครับ ซึ่งเราๆท่านๆก็มักใช้โหมด auto ที่มักจะทำงานที่สปีดเบา-ปานกลาง ทำให้ปริมาณประจุและการไหลเวียนของอากาศไม่ถึงตามที่แนะนำนะครับ เพราะงั้นให้เลือกรุ่นให้ใหญ่กว่าขนาดห้องเยอะนิดนึงนะครับ
แถมพบข้อมูลด้วยว่าการปล่อยประจุที่ระดับ 20,000 ion/cm3 ทำให้ผิวมีความชุ่มชื่นและลดรอยบนผิวได้ด้วย(แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไรสำหรับโจทย์ที่ผมต้องการ)
สรุปเลยเอาเป็นว่าเล็งตัว KI-A60TA ไว้ก่อนละกัน
ทีนี้เห็นมีประเด็นโจมตีเรื่องเกี่ยวกับประจุ Plasmacluster อยู่เหมือนกันว่ามันทำให้ระคายเคืองอะไรได้เลยลองไปค้นดูปรากฏว่า
ตามข้อมูลการทดลอง Proven safe จาก Mitsubishi Chemical Medience Corporation
การระคายเคืองที่ผิวหนังต้องใช้ 1,000,000 ions/cm3
การระคายเคืองระบบหายใจต้องใช้ 7,000,000 ions/cm3
การระคายเคืองตาต้องใช้ 13,000,000 ions/cm3
รุ่น KI-A60TA ที่ปล่อยประจุได้ 25,000 ion/cm3 ซึ่งใช้เวลาไม่นานก็สลายไม่น่าจะสะสมได้มากขนาดเกิดผลกระทบเรื่องการระคายเคืองได้
เพราะฉนั้น Sharp Plasmacluster KI-A60TA จึงน่าจะเหมาะสมและตรงความต้องการของกระผมและสมาชิก เพราะ HEPA ที่อีกยี้ห้อโฆษณาว่ากรองได้ระดับ 0.009µm ได้ที่ 99.99%ก็ไม่ได้แตกต่างกับ HEPA ยี้ห้ออื่นๆเท่าไหร่ (เพราะอนุภาคเล็กกว่า 0.09µm มันจับได้ง่ายอยู่แล้ว)
หลังจากดูข้อมูลหลายๆอย่างแล้วเลยตกลงปลงใจกับ Sharp รุ่น KI-A60TA ก็เลยจัดมา 1เครื่องครับ
หลังจากที่ร้านเอามาส่งก็พบว่าขนาดนี้ใหญ่ไม่ใช้เล่นเลยครับ สำหรับด้านหน้าเครื่องก็จะมีหน้าจอแสดงผลต่างๆ เช่น ความชื้น , ฝุ่น , กลิ่น , ไอน้ำ , การยิงประจุ และหลังจากเปิดเครื่องก็ตามคาดครับสีส้มแจ้งฝุ่นนำมาเลยและความชื้นในห้องเพียงแค่ 43% ถือว่าต่ำมากๆ(บางเวลาเหลือ 35%ก็มี)เครื่องเลยทำความชื้นเพิ่มให้ครับ
ด้านบนเครื่องก็จะมีปุ่มกดตั้งค่าต่างๆครับยืดหยุ่นได้พอสมควร(จริงๆน่าจะมีตั้งเปิดปิดแบบเป็นจำได้ แต่ดันมีแต่เป็นครั้งๆไป) ส่วนหน้าเครื่องก็จะมีไส้กรองหยาบอยู่ 2ชิ้นครับถอดล้างได้
ด้านบนเครื่องเปิดฝาออกมาจะพบกล่องสำหรับปล่อยประจุ Plasmacluster ครับพร้อมแปลงปัดหัวเข็ม แต่ในตัวเครื่องมองเข้าไปตรงตระแกรงเหมือนจะมีตัวปล่อยประจุอีกชุดครับเท่าที่ส่องเข้าไปดู (รุ่นนี้น่าจะมีตัวปล่อยประจุอยู่ 2ชุดด้วยกัน)
หลังเครื่องก็จะมีไส้กรองกลิ่น2สี(เห็นว่าจะกรองได้ 6กลิ่นพิเศษและแพงกว่ารุ่นอื่นที่เป็น Carbon สีดำอย่างเดียว)และไส้กรอง HEPA ซึ่งหนาและใหญ่พอสมควรเลยทีเดียว
ไส้กรองกลิ่น 2สี ทางเว็บ Sharp Japan มีข้อมูลแจ้งอยู่ว่าดีกว่าสีดำอย่างเดียวยังไงแต่ผมแปลไม่ออก ถามไปทาง Sharp ไทยก็ไม่ได้บอกอะไรมาอีกซะงั้น
มองเข้าไปด้านในสุดก็จะเป็นไส้กรองน้ำครับสำหรับปรับความชื้อ ซึ่งเวลาจะเปลี่ยนหรือถอดล้างต้องสไลด์ออกด้านข้างทางช่องถังน้ำครับ
แต่ถังน้ำโดยรวม 4ลิตรค่อนข้างจะน้อยไปสักหน่อยครับ ห้องผมมีความชื้นค่อนข้างต่ำมากไม่เกิน 7ชม หมดถังต้องเติมทุกวัน
สำหรับการทดลองก็ตามนี้ครับ รองเท้า กับ ยาหม่อง เซ็นเซอร์กลิ่นและฝุ่นก็ทำงานค่อนข้างเร็วดีเปลี่ยนสีเลยทีเดียว
อุปกรณ์สิ้นเปลืองสำหรับ Sharp Plasmacluster KI-A60TA
เท่าที่สอบถาม Sharp Thai มาก็จะมีด้วยกัน 4ชิ้นด้วยกันคือ
กลุ่มไส้กรอง 3ชิ้น
ไส้กรอง HEPA , ไส้กรองกลิ่น , ไส้กรองไอน้ำ ประสิทธิภาพจะลดลง 50% ที่ 10ปี (เมื่อกรองบุหรีวันละ 5ม้วน)
กลุ่มเครื่องกำเนิดประจุ 1ชิ้น
อายุการใช้งาน 17,500ชั่วโมง (ใช้ได้ 2ปีถ้าเปิด 24ชม)
ไส้กรอง HEPA กับ ไส้กรองกลิ่นแบบ 2สี
ไส้กรองน้ำ กับ ตัวกำเนิดประจุ Plasmacluster
สรุป
โดยรวมถือว่าประทับใจครับกับเครื่องฟอกอากาศรุ่นนี้ เวลามีอาหารที่มีกลิ่นหรือฝุ่นเข้ามาในห้องกลิ่นและฝุ่นก็หายค่อนข้างเร็ว(แต่ต้องกำจัดต้นตอก่อนไม่งั้นไงๆก็มีกลิ่นแต่จะจางลงหน่อย) ส่วนเรื่องปรับความชื้นได้นี้ชอบมากเพราะว่าอากาศในห้องอากาศค่อนข้างแห้งมากอยู่นานๆนี้แสบตาแสบจมูกน้ำมูกน้ำตาไหลเป็นหวัดกันทีเดียว แต่พอเปิดระบบปรับความชื้นนี้อยู่ทั้งวันตาและจมูกแทบไม่มีอาการแสบเลยทีเดียว (แต่ติดตรงมันใส่น้ำได้แค่ 4ลิตรนี้ละครับอยู่ได้แค่ 7ชม แต่จะอยู่ในห้องประมาณ 8-9ชม ทำให้ต้องเติมน้ำกันวันละ 2รอบ) อีกเรื่องคือไฟฟ้าสถิตคือเวลาพอผมอยู่ในห้องนานๆแล้วไปจับประตูห้องที่เป็นอลูมิเนียมมักจะพบอากาศช็อตแต่ตอนนี้ไม่เจอปัญหานี้เลย
ล่าสุดตอนนี้สอยมาอีกเครื่องเป็นรุ่น KC-D50TA ผมทำรีวิวเรียบร้อยตามลิงค์นี้เลยครับ
http://ppantip.com/topic/32507133
สำหรับท่านที่ขี้เกียจอ่าน
[CR] Customer Review เครื่องฟอกอากาศ Sharp Plasmacluster KI-A60TA
เนื่องจากแอร์ในห้องที่ผมนั่งทำงานเป็นแอร์อาคารและเป็นห้องแบบปิดขนาดประมาณ 50ตรม. กว่าๆและมีพวกอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์อยู่พอสมควรครับ(ตัวอย่างก็ตามรูป) ซึ่งแอร์แบบนี้ก็ทราบอยู่แล้วครับว่าทำให้อากาศแห้งมาก และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์พวกนี้ก็เก็บฝุ่นมากไม่ใช้น้อย เจอห้องแบบปิดเข้าไปอีกนี้ ศูนย์รวมโรคภูมิแพ้กันเลยทีเดียว
ทีนี้ก็มาปรึกษากันกับสมาชิกภายในห้องทำงานว่าจะอย่างไรดี ก็เลยว่าจะจัดเครื่องฟอกอากาศน่าจะพอช่วยได้ไม่มากก็น้อย จริงๆก็มอง Sharp ที่ยิงประจุ Plasmacluster ได้อยู่แต่มีอีกยี้ห้อที่เค้าโฆษณาว่า Hepa ของเค้ากรองอนุภาคได้ที่ 0.009µm ได้ที่ 99.99% ก็แอบสนใจเหมือนกัน ก็เลยมาศึกษากันว่าจะเอาแบบไหนดี ก็มาหาข้อมูลกันจะเจอเป็น 2ลักษณะคือ
1.เครื่องฟอกกลุ่มที่เป็นการดูดเอาฝุ่นกับเชื้อโรคต่างๆเอามากักเก็บหรือทำลายในเครื่อง
ซึ่งหลังจากหาข้อมูลอยู่พักนึงเห็นส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าไส้กรองมีแบบเป็น HEPA กับ ULPA ก็เกิดสงสัยว่าต่างกันอย่างไรก็พบว่ามันต่างกันที่การดักจับอนุภาคนี้เองซึ่งได้ข้อมูลว่าเครื่องส่วนใหญ่จะเป็น HEPA Class H14 ซึ่งจะดักจับอนุภาคขนาด 0.1-0.3µm ได้ที่ 99.995% แต่มียี้ห้อนึงเป็น ULPA Class U15 มั่งดักจับได้ที่ 99.9995% เลยทีเดียวแต่นอนว่า CLEAN AIR DELIVERY RATE (CADR) ก็ต่ำลงทำให้รุ่นที่มีขายก็ใช้กับห้องที่ไม่ใหญ่มากนัก
แต่เห็นบางยี้ห้อระบุว่าเป็น HEPA เหมือนกันแล้วทำไมถึงระบุว่ากรองได้ระดับ 0.009µm ได้ที่ 99.99% เลยหว่าทำไมยี้ห้ออื่นเค้ากรองได้แค่ 0.1-0.3µm แค่นั้นเองเลยลองไปหาข้อมูลดูปรากฏว่า เหตุผลที่ไส้กรองนั้นทดลองประสิทธิภาพที่ 0.1-0.3µm นั้นเกิดจากว่าอนุภาคที่มีขนาดประมาณนี้มันมีขนาดเล็กและเคลื่อนที่แบบมีทิศทางจึงทำให้ดักจับได้ยากนั้นเอง ส่วนอนุภาคที่เล็กกว่า 0.09µm ลงเป็นมันจะเป็นลักษณะฟุ้งกระจายทำให้อำนาจทะลุทะลวงต่ำดักจับได้ง่ายนั้นเอง
ดูกราฟประกอบการดักจับอนุภาคที่ระดับต่างๆได้ของ HEPA ทั่วๆไป(ผมลงค้นๆดูจากหลายเว็บ)จะพบว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆคืออนุภาคช่วง 0.1-0.3µm มีอัตราการหลุดรอดการดักจับได้สูง แต่พออนุภาคมีขนาดเล็กกว่า 0.09µm การดักจับก็ดีขึ้นทันตาเห็น
อันนี้เป็นข้อมูลจาก lab ของเครื่องฟอกอากาศยี้ห้อนึงที่ระบุว่า 0.009µm ได้ที่ 99.99% ก็ทำได้จริงๆครับ แต่ว่ามันเป็นปกติของ HEPA ตามข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นอยู่แล้วครับว่า HEPA ไหนๆก็แล้วแต่พออนุภาคมีขนาดเล็กกว่า 0.09µm มันจะดักจับได้ดีเค้าเลยไม่โฆษณาถึงจุดนี้กัน (มันดักจับยากเฉพาะช่วง 0.1-0.3µm แค่นั้นเองเค้าเลยวัดกันที่จุดนี้)
พอดูข้อมูลแบบนี้แล้วเลยคิดว่า % ที่แตกต่างของ HEPA ไม่ค่อยมีผลแตกต่างอะไรที่น่าสนใจนักรุ่นไหนก็ไม่ได้ต่างกันมากม่ายอะไร(ระดับ 0.0xx%)ลองไปดูเทคโนโลยีอย่างอื่นดีกว่า
ปล.อาจจะพบบางยี้ห้อใช้ UV lamp หรือแผง Plasma มาฆ่าเชื้อที่วิ่งผ่านเครื่องเหมือนกันแต่ดูแล้วก็ยังไม่ค่อยหน้าสนใจเท่าไหร่เพราะต้องรอจนดูดเชื้อโรคเข้ามาก่อนถึงจะทำลายได้ ซึ่งถ้าเป็นเครื่องมีอัตราการไหลเวียนอากาศไม่มากพอเราก็สูดเข้าก่อนเต็มปอดละครับ หรือพวกเชื้อที่ติดแน่นอยู่ตามฝ้าหรือผนังห้องพวกนี้ก็ทำอะไรไม่ได้แน่นอน
2.เครื่องฟอกกลุ่มที่สร้างประจุอนุภาคอะไรก็แล้วแต่เพื่อไปจัดการกับสิ่งที่อยู่รอบๆห้อง
จริงๆมีเทคโนโลยีหลายแบบด้วยกัน ทั้งใช้โอโซน , ทั้งยิงประจุลบ , Picode , Plasmacluster
ดูแล้ว Picode ย่อยอัดโมเลกุลน้ำเข้าอากาศเพิ่มเพื่อทำลายเชื้อน่าจะดูปลอดภัยที่สุด แต่ข้อมูลการทดลองเกี่ยวกับทำลายเชื้อน้อยไปหน่อยเลยตัดไปก่อน ไม่ใช่ไม่ดีนะ
เลยมามองที่เทรนปัจจุบันเหมือน Plasmacluster จะน่าสนใจดีมีงานวิจัยเยอะ ซึ่งตามกระแสโฆษณาเท่าที่ดูพบว่า Plasmacluster มีทั้งแง่ดีแง่ลบเลยลองมาศึกษาดูครับว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่
เลยไปหาข้อมูลทดสอบว่ามันฆ่าเชื้อได้จริงหรือปล่าวสรุปมันทำลายเชื้อและกำจัดกลิ่นได้จริงๆแต่จากผลการทดลอง lab ต่างๆมันใช้ความเข้มข้นที่มากกว่า 20,000 ion/cm3 ทั้งนั้นเลยนี้หว่า(ถ้าน้อยกว่านี้ก็จะใช้เวลานานมากขึ้น) แล้วเครื่องฟอกของ Sharp เท่าที่ลองดูมีแต่ KI-A60TA แค่รุ่นเดียวที่ปล่อยประจุได้ระดับ 25,000 ion/cm3* (ที่กึ่งกลางห้องขนาด 35ตรม ที่สปีดปานกลาง) ส่วนพวกรุ่น KC หรือ FU อะไรพวกนี้ปล่อยได้แค่ 7,000 ion/cm3* (ที่กึ่งกลางห้องขนาด 21-35ตรม ตามรุ่นที่ ที่สปีดปานกลาง)
*ขนาดห้องสูงสุดที่ระบุไว้ที่หน้ากล่องคือต้องอัดสปีดสูงสุดนะครับ ซึ่งเราๆท่านๆก็มักใช้โหมด auto ที่มักจะทำงานที่สปีดเบา-ปานกลาง ทำให้ปริมาณประจุและการไหลเวียนของอากาศไม่ถึงตามที่แนะนำนะครับ เพราะงั้นให้เลือกรุ่นให้ใหญ่กว่าขนาดห้องเยอะนิดนึงนะครับ
แถมพบข้อมูลด้วยว่าการปล่อยประจุที่ระดับ 20,000 ion/cm3 ทำให้ผิวมีความชุ่มชื่นและลดรอยบนผิวได้ด้วย(แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไรสำหรับโจทย์ที่ผมต้องการ)
สรุปเลยเอาเป็นว่าเล็งตัว KI-A60TA ไว้ก่อนละกัน
ทีนี้เห็นมีประเด็นโจมตีเรื่องเกี่ยวกับประจุ Plasmacluster อยู่เหมือนกันว่ามันทำให้ระคายเคืองอะไรได้เลยลองไปค้นดูปรากฏว่า
ตามข้อมูลการทดลอง Proven safe จาก Mitsubishi Chemical Medience Corporation
การระคายเคืองที่ผิวหนังต้องใช้ 1,000,000 ions/cm3
การระคายเคืองระบบหายใจต้องใช้ 7,000,000 ions/cm3
การระคายเคืองตาต้องใช้ 13,000,000 ions/cm3
รุ่น KI-A60TA ที่ปล่อยประจุได้ 25,000 ion/cm3 ซึ่งใช้เวลาไม่นานก็สลายไม่น่าจะสะสมได้มากขนาดเกิดผลกระทบเรื่องการระคายเคืองได้
เพราะฉนั้น Sharp Plasmacluster KI-A60TA จึงน่าจะเหมาะสมและตรงความต้องการของกระผมและสมาชิก เพราะ HEPA ที่อีกยี้ห้อโฆษณาว่ากรองได้ระดับ 0.009µm ได้ที่ 99.99%ก็ไม่ได้แตกต่างกับ HEPA ยี้ห้ออื่นๆเท่าไหร่ (เพราะอนุภาคเล็กกว่า 0.09µm มันจับได้ง่ายอยู่แล้ว)
หลังจากดูข้อมูลหลายๆอย่างแล้วเลยตกลงปลงใจกับ Sharp รุ่น KI-A60TA ก็เลยจัดมา 1เครื่องครับ
หลังจากที่ร้านเอามาส่งก็พบว่าขนาดนี้ใหญ่ไม่ใช้เล่นเลยครับ สำหรับด้านหน้าเครื่องก็จะมีหน้าจอแสดงผลต่างๆ เช่น ความชื้น , ฝุ่น , กลิ่น , ไอน้ำ , การยิงประจุ และหลังจากเปิดเครื่องก็ตามคาดครับสีส้มแจ้งฝุ่นนำมาเลยและความชื้นในห้องเพียงแค่ 43% ถือว่าต่ำมากๆ(บางเวลาเหลือ 35%ก็มี)เครื่องเลยทำความชื้นเพิ่มให้ครับ
ด้านบนเครื่องก็จะมีปุ่มกดตั้งค่าต่างๆครับยืดหยุ่นได้พอสมควร(จริงๆน่าจะมีตั้งเปิดปิดแบบเป็นจำได้ แต่ดันมีแต่เป็นครั้งๆไป) ส่วนหน้าเครื่องก็จะมีไส้กรองหยาบอยู่ 2ชิ้นครับถอดล้างได้
ด้านบนเครื่องเปิดฝาออกมาจะพบกล่องสำหรับปล่อยประจุ Plasmacluster ครับพร้อมแปลงปัดหัวเข็ม แต่ในตัวเครื่องมองเข้าไปตรงตระแกรงเหมือนจะมีตัวปล่อยประจุอีกชุดครับเท่าที่ส่องเข้าไปดู (รุ่นนี้น่าจะมีตัวปล่อยประจุอยู่ 2ชุดด้วยกัน)
หลังเครื่องก็จะมีไส้กรองกลิ่น2สี(เห็นว่าจะกรองได้ 6กลิ่นพิเศษและแพงกว่ารุ่นอื่นที่เป็น Carbon สีดำอย่างเดียว)และไส้กรอง HEPA ซึ่งหนาและใหญ่พอสมควรเลยทีเดียว
ไส้กรองกลิ่น 2สี ทางเว็บ Sharp Japan มีข้อมูลแจ้งอยู่ว่าดีกว่าสีดำอย่างเดียวยังไงแต่ผมแปลไม่ออก ถามไปทาง Sharp ไทยก็ไม่ได้บอกอะไรมาอีกซะงั้น
มองเข้าไปด้านในสุดก็จะเป็นไส้กรองน้ำครับสำหรับปรับความชื้อ ซึ่งเวลาจะเปลี่ยนหรือถอดล้างต้องสไลด์ออกด้านข้างทางช่องถังน้ำครับ
แต่ถังน้ำโดยรวม 4ลิตรค่อนข้างจะน้อยไปสักหน่อยครับ ห้องผมมีความชื้นค่อนข้างต่ำมากไม่เกิน 7ชม หมดถังต้องเติมทุกวัน
สำหรับการทดลองก็ตามนี้ครับ รองเท้า กับ ยาหม่อง เซ็นเซอร์กลิ่นและฝุ่นก็ทำงานค่อนข้างเร็วดีเปลี่ยนสีเลยทีเดียว
อุปกรณ์สิ้นเปลืองสำหรับ Sharp Plasmacluster KI-A60TA
เท่าที่สอบถาม Sharp Thai มาก็จะมีด้วยกัน 4ชิ้นด้วยกันคือ
กลุ่มไส้กรอง 3ชิ้น
ไส้กรอง HEPA , ไส้กรองกลิ่น , ไส้กรองไอน้ำ ประสิทธิภาพจะลดลง 50% ที่ 10ปี (เมื่อกรองบุหรีวันละ 5ม้วน)
กลุ่มเครื่องกำเนิดประจุ 1ชิ้น
อายุการใช้งาน 17,500ชั่วโมง (ใช้ได้ 2ปีถ้าเปิด 24ชม)
ไส้กรอง HEPA กับ ไส้กรองกลิ่นแบบ 2สี
ไส้กรองน้ำ กับ ตัวกำเนิดประจุ Plasmacluster
สรุป
โดยรวมถือว่าประทับใจครับกับเครื่องฟอกอากาศรุ่นนี้ เวลามีอาหารที่มีกลิ่นหรือฝุ่นเข้ามาในห้องกลิ่นและฝุ่นก็หายค่อนข้างเร็ว(แต่ต้องกำจัดต้นตอก่อนไม่งั้นไงๆก็มีกลิ่นแต่จะจางลงหน่อย) ส่วนเรื่องปรับความชื้นได้นี้ชอบมากเพราะว่าอากาศในห้องอากาศค่อนข้างแห้งมากอยู่นานๆนี้แสบตาแสบจมูกน้ำมูกน้ำตาไหลเป็นหวัดกันทีเดียว แต่พอเปิดระบบปรับความชื้นนี้อยู่ทั้งวันตาและจมูกแทบไม่มีอาการแสบเลยทีเดียว (แต่ติดตรงมันใส่น้ำได้แค่ 4ลิตรนี้ละครับอยู่ได้แค่ 7ชม แต่จะอยู่ในห้องประมาณ 8-9ชม ทำให้ต้องเติมน้ำกันวันละ 2รอบ) อีกเรื่องคือไฟฟ้าสถิตคือเวลาพอผมอยู่ในห้องนานๆแล้วไปจับประตูห้องที่เป็นอลูมิเนียมมักจะพบอากาศช็อตแต่ตอนนี้ไม่เจอปัญหานี้เลย
ล่าสุดตอนนี้สอยมาอีกเครื่องเป็นรุ่น KC-D50TA ผมทำรีวิวเรียบร้อยตามลิงค์นี้เลยครับ
http://ppantip.com/topic/32507133
สำหรับท่านที่ขี้เกียจอ่าน