คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
มองในอีกแง่หนึ่ง ผมว่ามันเป็นเหมือนความฝันที่เติมเต็มชีวิตคนที่มีลูกไม่ได้เลยนะ แล้วลองนึกภาพสิว่าคนแบบนี้มีเยอะแค่ไหนในสังคม
คนมีลูกยาก
คนที่อายุมากกว่า 40 แต่เพิ่งเจอคู่ครอง
คู่รักญ-ญ
คู่รักช-ช
ฯลฯ
แน่นอนว่ามันก็มีอีกทางเลือกคือการรับเลี้ยงเด็กกำพร้า แต่กระบวนการมันยากกว่ามาก อีกทั้งเด็กหลายคนก็โตพอที่จะรู้แล้วว่าพ่อแม่ที่เห็นไม่ใช่พ่อแม่จริงๆ
ผมว่ากฎหมายมันยังไม่ยอมรับมากกว่า ลองปรับเปลี่ยนกฎหมายและควบคุมการอุ้มบุญให้อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานเฉพาะทางไปเลยอาจจะดีกว่า(เช่นห้ามทิ้งลูก คัดกรองคนที่มีความเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม ฯลฯ) ตอนนี้สิ่งที่ทำให้การอุ้มบุญดูไม่ดีก็เพราะมันยังต้องหลบๆซ่อนๆอะไรแบบนั้น
ปล.ใครที่คิดว่าความสัมพันธ์ของคนเราต้องมาจากสายเลือดเท่านั้น ขอบอกเลยว่าเป็นการดูถูกความรักของครอบครัวที่รับเลี้ยงเด็กกำพร้ามากๆ
คนมีลูกยาก
คนที่อายุมากกว่า 40 แต่เพิ่งเจอคู่ครอง
คู่รักญ-ญ
คู่รักช-ช
ฯลฯ
แน่นอนว่ามันก็มีอีกทางเลือกคือการรับเลี้ยงเด็กกำพร้า แต่กระบวนการมันยากกว่ามาก อีกทั้งเด็กหลายคนก็โตพอที่จะรู้แล้วว่าพ่อแม่ที่เห็นไม่ใช่พ่อแม่จริงๆ
ผมว่ากฎหมายมันยังไม่ยอมรับมากกว่า ลองปรับเปลี่ยนกฎหมายและควบคุมการอุ้มบุญให้อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานเฉพาะทางไปเลยอาจจะดีกว่า(เช่นห้ามทิ้งลูก คัดกรองคนที่มีความเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม ฯลฯ) ตอนนี้สิ่งที่ทำให้การอุ้มบุญดูไม่ดีก็เพราะมันยังต้องหลบๆซ่อนๆอะไรแบบนั้น
ปล.ใครที่คิดว่าความสัมพันธ์ของคนเราต้องมาจากสายเลือดเท่านั้น ขอบอกเลยว่าเป็นการดูถูกความรักของครอบครัวที่รับเลี้ยงเด็กกำพร้ามากๆ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ถ้าไม่ควบคุม อีกหน่อย จะไม่ต่างอะไรกับ ฟาร์มมนุษย์ น่ะครับ
ค่อยๆนึก และจินตนาการตามนะครับ
เขาสามารถ เอาผลิตภัณฑ์จากมนุษย์ ไปทำอะไรก็ได้
ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงมหาศาล
เพราะตัวเด็ก ไม่ได้มีเลือดเนื้อเชื้อไข ของเจ้าของฟาร์มเลย
ทั้งตัวเชื้อและไข่
เราอยากอยู่ในสังคมแบบนั้นหรือเปล่า
หรือนี่คือสัญญาณ บอกเหตุว่า เราจะไม่มีวันเลี่ยงมันพ้นแล้ว
ค่อยๆนึก และจินตนาการตามนะครับ
เขาสามารถ เอาผลิตภัณฑ์จากมนุษย์ ไปทำอะไรก็ได้
ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงมหาศาล
เพราะตัวเด็ก ไม่ได้มีเลือดเนื้อเชื้อไข ของเจ้าของฟาร์มเลย
ทั้งตัวเชื้อและไข่
เราอยากอยู่ในสังคมแบบนั้นหรือเปล่า
หรือนี่คือสัญญาณ บอกเหตุว่า เราจะไม่มีวันเลี่ยงมันพ้นแล้ว
ความคิดเห็นที่ 35
ถามง่ายๆ สั้นๆ แต่ตอบยากมาก ..
มันเป็น Conflict of Interest เพราะคำตอบมันขึ้นกับมุมมองและหลักปรัชญา ว่าจะเอาอะไรเป็นพื้นฐาน
ถ้ามองทางผู้มีบุตรยาก - อุ้มบุญเป็นทางออกสุดท้ายของบางเคสแล้ว ไม่อนุญาติ เหมือนบอกว่า
คุณเป็นโรคที่ไม่ควรสืบพันธ์ต่อไป ลิดรอนทางออกทั้งที่ยังมีทาง ดังนั้น ไม่ควรผิดกฏหมาย แต่ควรมีกฏหมายรัดกุม
ถ้ามองทางเศรษฐกิจและสังคม - อุ้มบุญเป็น ทางเลือกของผู้มีฐานะแต่มีปัญหากายภาพ กระจายรายได้สู่ผู้ที่มีฐานะน้อยกว่า
แต่ไม่มีปัญหากายภาพ ประนึ่งกึ่งแลกเปลี่ยน แถมเพิ่มประชากรกลุ่มที่มีเศรษฐานะสูงให้เพิ่มขึ้นด้วย - ควรสนับสนุน
ถ้ามองทางศีลธรรม จรรยา ค่านิยมทางสังคม - อุ้มบุญ เป็นการทำให้การตั้งครรภ์เป็นเพียงภาชนะหรือทางผ่าน ลดคุณค่าของการตั้งครรภ์
มองข้ามความผูกพันธ์ทางจิตใจที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ - ไม่ควรสนับสนุ
ถ้ามองทางอุตสาหกรรมและ ค้ามนุษย์ - อุ้มบุญ มีผลผลิตเป็นมนุษย์ แถมผลิตได้เรื่อยๆ ไม่มีวัตถุดิบที่เสียเปล่า เป็นการลงทุนที่กำไรสูง
เด็กที่ได้ ไม่มีปากเสียง เสี่ยงต่อ การเอาไปเป็น อวัยวะทดแทน รกและเลือดใช้ได้หลายอย่าง แรงงาน ล่วงละเมิดทางเพศ
(คือผลผลิตมีค่าสูงมาก แถมเสี่ยงเยอะ เงินที่จ่ายจริงๆควรแพงกว่านี้เท่าไหร่ ถึงจะคุ้มค่ามนุษย์และแรงงานทั้งชีวิต และความเสี่ยง)
- ไม่ควรสนับสนุน (จ่ายแค่เป็นล้าน คุ้มมากที่จะทำเป็นธุรกิจค้ามนุษย์)
ถ้าอิงปรัชญาหลักเสรีนิยม - อุ้มบุญ เป็นภาวะสมยอมทั้งสองฝ่าย ไม่มีใครเอาเปรียบอีกฝ่าย เป็น demand และ supply - ไม่คัดค้าน
ถ้าอิงปรัชญาหลักสังคมนิยม - อุ้มบุญ เป็นแค่การสนองความต้องการส่วนตัว โดยเสี่ยงต่อผลกระทบต่อส่วนรวม ต่อให้อุ้มบุญ
ให้พ่อแม่ที่ดี ได้ดีใจซัก 10 คู่ แต่มี อุ้มบุญที่ค้ามนุษย์แค่ 1 คน ก็มีผลเสียต่อสังคมโดยรวมมากกว่ามาก - ไม่สนับสนุน
ถ้าอิง หลักการคัดเลือกตามธรรมชาติ - อุ้มบุญ ฝืนธรรมชาติ ถ้าธรรมชาติกำหนดให้คู่ครองไม่มีบุตร อาจจะมีถ่ายทอดยีน
หรือทำให้สมดุลประชากร เปลี่ยนไป - ไม่สนับสนุน
ถ้าอิงกฏหมาย - อุ้มบุญ ไม่มีกฏหมายคุ้มครอง ในทุกประเทศ ประเทศไหนมีแสดงว่า มีความก้าวหน้าแลวิสัยทัศน์ และสนับสนุนแ
การอุ้มบุญโดยมีกรอบคัดกรอง เพื่อลดปัญหา ส่วนประเทศที่ไม่มีกฏหมาย ไม่ได้แปลว่าคัดค้านหรือสนับสนุน
แต่แปลว่าไม่มีวิสัยทัศน์พอ รอให้เกิดปัญหาแล้วค่อยแก้ไข อย่างเช่น ....
มันเป็น Conflict of Interest เพราะคำตอบมันขึ้นกับมุมมองและหลักปรัชญา ว่าจะเอาอะไรเป็นพื้นฐาน
ถ้ามองทางผู้มีบุตรยาก - อุ้มบุญเป็นทางออกสุดท้ายของบางเคสแล้ว ไม่อนุญาติ เหมือนบอกว่า
คุณเป็นโรคที่ไม่ควรสืบพันธ์ต่อไป ลิดรอนทางออกทั้งที่ยังมีทาง ดังนั้น ไม่ควรผิดกฏหมาย แต่ควรมีกฏหมายรัดกุม
ถ้ามองทางเศรษฐกิจและสังคม - อุ้มบุญเป็น ทางเลือกของผู้มีฐานะแต่มีปัญหากายภาพ กระจายรายได้สู่ผู้ที่มีฐานะน้อยกว่า
แต่ไม่มีปัญหากายภาพ ประนึ่งกึ่งแลกเปลี่ยน แถมเพิ่มประชากรกลุ่มที่มีเศรษฐานะสูงให้เพิ่มขึ้นด้วย - ควรสนับสนุน
ถ้ามองทางศีลธรรม จรรยา ค่านิยมทางสังคม - อุ้มบุญ เป็นการทำให้การตั้งครรภ์เป็นเพียงภาชนะหรือทางผ่าน ลดคุณค่าของการตั้งครรภ์
มองข้ามความผูกพันธ์ทางจิตใจที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ - ไม่ควรสนับสนุ
ถ้ามองทางอุตสาหกรรมและ ค้ามนุษย์ - อุ้มบุญ มีผลผลิตเป็นมนุษย์ แถมผลิตได้เรื่อยๆ ไม่มีวัตถุดิบที่เสียเปล่า เป็นการลงทุนที่กำไรสูง
เด็กที่ได้ ไม่มีปากเสียง เสี่ยงต่อ การเอาไปเป็น อวัยวะทดแทน รกและเลือดใช้ได้หลายอย่าง แรงงาน ล่วงละเมิดทางเพศ
(คือผลผลิตมีค่าสูงมาก แถมเสี่ยงเยอะ เงินที่จ่ายจริงๆควรแพงกว่านี้เท่าไหร่ ถึงจะคุ้มค่ามนุษย์และแรงงานทั้งชีวิต และความเสี่ยง)
- ไม่ควรสนับสนุน (จ่ายแค่เป็นล้าน คุ้มมากที่จะทำเป็นธุรกิจค้ามนุษย์)
ถ้าอิงปรัชญาหลักเสรีนิยม - อุ้มบุญ เป็นภาวะสมยอมทั้งสองฝ่าย ไม่มีใครเอาเปรียบอีกฝ่าย เป็น demand และ supply - ไม่คัดค้าน
ถ้าอิงปรัชญาหลักสังคมนิยม - อุ้มบุญ เป็นแค่การสนองความต้องการส่วนตัว โดยเสี่ยงต่อผลกระทบต่อส่วนรวม ต่อให้อุ้มบุญ
ให้พ่อแม่ที่ดี ได้ดีใจซัก 10 คู่ แต่มี อุ้มบุญที่ค้ามนุษย์แค่ 1 คน ก็มีผลเสียต่อสังคมโดยรวมมากกว่ามาก - ไม่สนับสนุน
ถ้าอิง หลักการคัดเลือกตามธรรมชาติ - อุ้มบุญ ฝืนธรรมชาติ ถ้าธรรมชาติกำหนดให้คู่ครองไม่มีบุตร อาจจะมีถ่ายทอดยีน
หรือทำให้สมดุลประชากร เปลี่ยนไป - ไม่สนับสนุน
ถ้าอิงกฏหมาย - อุ้มบุญ ไม่มีกฏหมายคุ้มครอง ในทุกประเทศ ประเทศไหนมีแสดงว่า มีความก้าวหน้าแลวิสัยทัศน์ และสนับสนุนแ
การอุ้มบุญโดยมีกรอบคัดกรอง เพื่อลดปัญหา ส่วนประเทศที่ไม่มีกฏหมาย ไม่ได้แปลว่าคัดค้านหรือสนับสนุน
แต่แปลว่าไม่มีวิสัยทัศน์พอ รอให้เกิดปัญหาแล้วค่อยแก้ไข อย่างเช่น ....
ความคิดเห็นที่ 7
อีกประการก็คือ
ถ้าเราปล่อยให้ มีการครอบครอง หรือเป็นเจ้าของชีวิตเด็ก
หรือ คนๆหนึ่งได้ง่ายๆ
โดยไม่จำเป็นต้องมีความผูกพัน ทางสายเลือด
นั่นหมายถึง ทาสยุคใหม่
ได้เริ่มต้นแล้ว
แล้วเราจะปลดปล่อยทาสเหล่านี้
ได้อย่างไร
ถ้าคุณเป็นคนๆหนึ่ง ซึ่งเกิดมาแล้ว
ไม่สามารถสืบรู้ได้ว่าใครเป็นพ่อ หรือ แม่
รู้แต่ว่า ใครเป็นเจ้าของหรือผู้สั่งผลิต ตัวคุณขึ้นมา
คุณจะรู้สึกอย่างไร
ถ้าเราปล่อยให้ มีการครอบครอง หรือเป็นเจ้าของชีวิตเด็ก
หรือ คนๆหนึ่งได้ง่ายๆ
โดยไม่จำเป็นต้องมีความผูกพัน ทางสายเลือด
นั่นหมายถึง ทาสยุคใหม่
ได้เริ่มต้นแล้ว
แล้วเราจะปลดปล่อยทาสเหล่านี้
ได้อย่างไร
ถ้าคุณเป็นคนๆหนึ่ง ซึ่งเกิดมาแล้ว
ไม่สามารถสืบรู้ได้ว่าใครเป็นพ่อ หรือ แม่
รู้แต่ว่า ใครเป็นเจ้าของหรือผู้สั่งผลิต ตัวคุณขึ้นมา
คุณจะรู้สึกอย่างไร
ความคิดเห็นที่ 32
ที่บอกว่ากลัวจะเป็นการค้ามนุษย์...
...แล้วการอุ้มบุญมันเป็นค้ามนุษย์ในตัวของมันเองหรือเปล่า ?
หรือว่าการค้ามนุษย์เป็นผลต่อจากนั้น ?
ถ้าการอุ้มบุญเป็นการค้ามนุษย์ด้วยตัวของมันเอง นั่นแหละถึงผิดเต็มประตู
แต่หากการค้ามนุษย์เป็นผลต่อจากนั้น แต่ไม่ได้เป็นการค้ามนุษย์ด้วยตัวของมันเอง การอุ้มบุญไม่น่าจะเรียกว่าผิดนะ
เพราะขนาดลูกในไส้แท้ ๆ ยังมีพ่อแม่บางคนเอาไปเร่ขายบริการทางเพศได้เลย
หากการค้ามนุษย์เป็นผลต่อจากนั้น แล้วการอุ้มบุญที่ไม่เป็นการค้ามนุษย์ด้วยตัวของมันเอง ยังถือว่าผิด การตั้งครรภ์ก็น่าจะผิดด้วยเหมือนกัน
จะบอกว่ามีแนวโน้มสูงที่จะค้ามนุษย์กว่าการตั้งครรภ์และให้มันผิดก็ไม่ได้ มันก็เหมือนกับการบอกว่าคนนั้นมีแนวโน้มจะก่ออาชญากรรม แต่ยังไม่ทันได้ก่อก็รีบจับเขามาติดคุกซะแล้วแบบหนังหรือการ์ตูนบางเรื่อง มันเป็นสิ่งที่ถูกงั้นเหรอ ?
ดังนั้นถ้าการอุ้มบุญเป็นการค้ามนุษย์ด้วยตัวของมันเอง นั่นแหละถึงจะให้ผิด
...กระนั้น การอุ้มบุญอาจจะมีหลายรูปแบบ ที่ทำให้รูปแบบหนึ่งนับว่าเป็นการค้ามนุษย์ แต่อีกรูปแบบไม่ใช่ก็เป็นได้
...แล้วการอุ้มบุญมันเป็นค้ามนุษย์ในตัวของมันเองหรือเปล่า ?
หรือว่าการค้ามนุษย์เป็นผลต่อจากนั้น ?
ถ้าการอุ้มบุญเป็นการค้ามนุษย์ด้วยตัวของมันเอง นั่นแหละถึงผิดเต็มประตู
แต่หากการค้ามนุษย์เป็นผลต่อจากนั้น แต่ไม่ได้เป็นการค้ามนุษย์ด้วยตัวของมันเอง การอุ้มบุญไม่น่าจะเรียกว่าผิดนะ
เพราะขนาดลูกในไส้แท้ ๆ ยังมีพ่อแม่บางคนเอาไปเร่ขายบริการทางเพศได้เลย
หากการค้ามนุษย์เป็นผลต่อจากนั้น แล้วการอุ้มบุญที่ไม่เป็นการค้ามนุษย์ด้วยตัวของมันเอง ยังถือว่าผิด การตั้งครรภ์ก็น่าจะผิดด้วยเหมือนกัน
จะบอกว่ามีแนวโน้มสูงที่จะค้ามนุษย์กว่าการตั้งครรภ์และให้มันผิดก็ไม่ได้ มันก็เหมือนกับการบอกว่าคนนั้นมีแนวโน้มจะก่ออาชญากรรม แต่ยังไม่ทันได้ก่อก็รีบจับเขามาติดคุกซะแล้วแบบหนังหรือการ์ตูนบางเรื่อง มันเป็นสิ่งที่ถูกงั้นเหรอ ?
ดังนั้นถ้าการอุ้มบุญเป็นการค้ามนุษย์ด้วยตัวของมันเอง นั่นแหละถึงจะให้ผิด
...กระนั้น การอุ้มบุญอาจจะมีหลายรูปแบบ ที่ทำให้รูปแบบหนึ่งนับว่าเป็นการค้ามนุษย์ แต่อีกรูปแบบไม่ใช่ก็เป็นได้
ความคิดเห็นที่ 22
น่าเศร้าที่หลายฝ่ายและหลายความเห็น
มองกรณีในประเด็นที่ค่อนข้างไร้สาระ เช่น ความผิดปกติของเด็ก, ความผูกพันธ์, พฤติกรรม, ความรู้สึกของเด็ก etc.
แบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในยุคการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
ซึ่งเวลากว่า 37 ปี และเด็กกว่า 5 ล้านคน(ตัวเลขปี 2013และจีนไม่แจ้งตัวเลข) http://www.nbcnews.com/health/kids-health/5-million-babies-born-through-ivf-past-35-years-researchers-f8C11390532
ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ผู้ที่เกิดจากกระบวนการ IVF ไม่แตกต่างจากมนุษย์ทั่วไป
สำหรับตัวเด็กเอง การดูแลเอาใจใส่เลี้ยงดูเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อพฤติกรรม
ไม่ใช่วิธีการเกิด สถานที่เกิด เชื้อชาติหรือแม้แต่พันธุกรรม
หรือถ้าจะมีประเด็นให้กังวล ก็เป็นเรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรม
ที่การคัดเลือกตัวอ่อน อาจทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมของมนุษย์ลดลง
จนเสี่ยงต่อโรคบางชนิด
ดังนั้นประเด็นสำคัญในเรื่องนี้คือ ประเด็นการค้ามนุษย์
ซึ่งต้องมี กม. ออกมาควบคุม เพื่อให้รัฐสามารถคุ้มครองเด็กและหญิงอุ้มบุญ รวมถึงควบคุมมาตรฐานกระบวนการการอุ้มบุญ เช่น คัดกรองประวัติคู่สมรส การให้บริการของสถานพยาบาล รวมถึงติดตามการเลี้ยงดูของคู่สมรสและพัฒนาการของเด็กในระยะยาว
ไม่เช่นนั้นเรื่องนี้จะกลายเป็นอีกปัญหาที่คนไทยหลับตาข้างเดียว
เหมือนกับ การค้าประเวณี (ไม่มีซ่องแต่มีอาบอบนวดทุกมุมถนน), ท้องก่อนวัย (ขาย/แจกถุงยางในโรงเรียน=กระตุ้นให้เด็กมีเพศสัมพันธ์ แต่เด็กใส่ชุดนักเรียนไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลไม่เว้นวัน), ปัญหาลิขสิทธิ์ (แผนผีเต็มพันทิบ/คลองถม), แรงงานทาส (ไต้ก๊งต้มปลาปักเป้าให้ลูกเรือต่างด้าวกิน แล้วถีบศพลงทะเล)
มองกรณีในประเด็นที่ค่อนข้างไร้สาระ เช่น ความผิดปกติของเด็ก, ความผูกพันธ์, พฤติกรรม, ความรู้สึกของเด็ก etc.
แบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในยุคการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
ซึ่งเวลากว่า 37 ปี และเด็กกว่า 5 ล้านคน(ตัวเลขปี 2013และจีนไม่แจ้งตัวเลข) http://www.nbcnews.com/health/kids-health/5-million-babies-born-through-ivf-past-35-years-researchers-f8C11390532
ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ผู้ที่เกิดจากกระบวนการ IVF ไม่แตกต่างจากมนุษย์ทั่วไป
สำหรับตัวเด็กเอง การดูแลเอาใจใส่เลี้ยงดูเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อพฤติกรรม
ไม่ใช่วิธีการเกิด สถานที่เกิด เชื้อชาติหรือแม้แต่พันธุกรรม
หรือถ้าจะมีประเด็นให้กังวล ก็เป็นเรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรม
ที่การคัดเลือกตัวอ่อน อาจทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมของมนุษย์ลดลง
จนเสี่ยงต่อโรคบางชนิด
ดังนั้นประเด็นสำคัญในเรื่องนี้คือ ประเด็นการค้ามนุษย์
ซึ่งต้องมี กม. ออกมาควบคุม เพื่อให้รัฐสามารถคุ้มครองเด็กและหญิงอุ้มบุญ รวมถึงควบคุมมาตรฐานกระบวนการการอุ้มบุญ เช่น คัดกรองประวัติคู่สมรส การให้บริการของสถานพยาบาล รวมถึงติดตามการเลี้ยงดูของคู่สมรสและพัฒนาการของเด็กในระยะยาว
ไม่เช่นนั้นเรื่องนี้จะกลายเป็นอีกปัญหาที่คนไทยหลับตาข้างเดียว
เหมือนกับ การค้าประเวณี (ไม่มีซ่องแต่มีอาบอบนวดทุกมุมถนน), ท้องก่อนวัย (ขาย/แจกถุงยางในโรงเรียน=กระตุ้นให้เด็กมีเพศสัมพันธ์ แต่เด็กใส่ชุดนักเรียนไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลไม่เว้นวัน), ปัญหาลิขสิทธิ์ (แผนผีเต็มพันทิบ/คลองถม), แรงงานทาส (ไต้ก๊งต้มปลาปักเป้าให้ลูกเรือต่างด้าวกิน แล้วถีบศพลงทะเล)
แสดงความคิดเห็น
ถามโง่ๆเลยนะครับ ทำไมการอุ้มบุญถึงผิดกฏหมายครับ
ศีลธรรม?
สิทธิมนุษยชน?
อันตรายต่อแม่และเด็ก?
ความผิดปกติของยีนส์?
------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 57
การอุ้มบุญคืออะไร
การอุ้มบุญ (surrogacy) หรืออาจเรียกให้เข้าใจง่ายและเห็นภาพได้ชัดเจนว่าเป็นการยืมมดลูกหญิงอื่นเพื่อตั้งครรภ์แทน ใช้ในกรณีที่ผู้มีความประสงค์จะมีบุตรแต่ไม่สามารถตั้งท้องเองได้ โดยมีภาวะที่ทำให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัวในมดลูก ภาวะไร้มดลูก หรือมดลูกมีความผิดปกติใด ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเป็นที่อาศัยของตัวอ่อนทารกได้ กระบวนการคือนำน้ำเชื้อและไข่มาผสมกันภายนอก เช่นเดียวกับกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) จากนั้นจึงฉีดเข้าไปเพื่อให้ฝังตัวตัวในมดลูกของผู้รับฝากครรภ์หรือคุณแม่อุ้มบุญนั่นเอง
การอุ้มบุญมีอยู่สองลักษณะ
แบบแรกเรียกว่า อุ้มบุญแท้ (Full suroogacy หรือ Traditional surrogacy) คือการใช้น้ำเชื้อจากฝ่ายชายของคู่ที่ต้องการมีบุตร ผสมกับไข่ของแม่ผู้อุ้มบุญ และฉีดฝังในมดลูกของคุณแม่อุ้มบุญ จะเห็นได้ว่าไม่มีกระบวนการใดเกี่ยวข้องทางชีวภาพกับคุณแม่หรือคุณภรรยาตัวจริงของคุณพ่อที่ต้องการมีบุตรเลย อาจเนื่องมาจากคุณภรรยาผ่าตัดนำรังไข่ออกไป หรือมีปัญหารังไข่ไม่สามารถผลิตไข่ที่สมบูรณ์ได้ คุณแม่ผู้อุ้มบญแท้คือผู้ที่ให้ทั้งไข่และมดลูก
แบบที่สองเรียกว่า อุ้มบุญเทียม (Partial surrogacy หรือ Gestational carrier) คือการที่ใช้น้ำเชื้อและไข่จากคู่คุณพ่อคุณแม่ที่แท้จริง แล้วจึงฝากไข่ที่รับการผสมเรียบร้อยแล้วเข้าไปในตัวของคุณแม่อุ้มบุญ ผู้จะทำหน้าที่เป็นผู้ตั้งครรภ์แทนจนกว่าทารกจะคลอดออกมา ในกรณีนี้เด็กทารกจะไม่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมใด ๆ กับคุณผู้อุ้มบุญเลย แม่อุ้มบุญทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้ยืมมดลูกเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันการอุ้มบุญเทียมเป็นทางเลือกได้รับความนิยมมากกว่าการอุ้มบุญแบบแรก
โอกาสประสบความสำเร็จในการอุ้มบุญ
การตั้งครรภ์ในการอุ้มบุญก็มีโอกาสประสบความสำเร็จในสัดส่วนเท่า ๆ กับการตั้งครรภ์ทั่ว ๆ ไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและความพร้อมของมดมูลคุณแม่ซึ่งเป็นผู้อุ้มบุญนั่นเอง เพราะหากไข่ที่ได้รับการผสมกับสเปิร์มจากภายนอกเรียบร้อยแล้วได้รับการฉีดเข้าไปในมดลูกของผู้อุ้มบุญ โอกาสที่ตัวอ่อนจะฝังตัวและพัฒนาเป็นทารกได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของมดลูกของคุณแม่อุ้มบุญนั่นเอง คือต้องมีความหนาของผนังมดลูกที่เหมาะสม มีระดับฮอร์โมนในร่างกายเหมือนกับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งก่อนดำเนินการถ่ายตัวอ่อนคุณแม่อุ้มบุญก็จะต้องรับประทานยาเพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้เหมาะสมพร้อมจะตั้งท้องไว้ก่อนล่วงหน้า
นอกจากนี้เปอร์เซ็นค์ความสำเร็จในการอุ้มบุญยังขึ้นอยู่กับอายุของคุณแม่ผู้รับท้องแทน ซึ่งควรอยู่ในช่วงวัย 20-35 ปี อันเป็นวัยเจริญพันธุ์ รวมทั้งควรผ่านการมีบุตรมาแล้วอย่างน้อย 1 คน เพื่อลดความยุ่งยากหรือภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดขึ้นได้ง่ายสำหรับการตั้งครรภ์ท้องแรกด้วย ส่วนหลังจากเมื่อตัวอ่อนเกาะกับมดลูกดีแล้ว การดูแลร่างกายของคุณแม่อุ้มบุญก็ไม่ต่างจากคุณแม่ท้องทั่ว ๆ ไป
เด็กมีโอกาสได้รับถ่ายทอดสิ่งใดจากแม่ผู้อุ้มบุญหรือไม่
หากพูดถึงในแง่กรรมพันธุกรรมแล้ว ทารกในท้องจะไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับแม่ผู้อุ้มบุญเลย ตราบเท่าที่ทารกนั้นเกิดจากการผสมกันของสเปิร์มของคุณพ่อและไข่ของคุณแม่ที่แท้จริง (เป็นกรณีของ Partial surrogacy) ซึ่งผสมกันมาเรียบร้อยตั้งแต่ก่อนจะฉีดเข้าในมดลูกของผุ้อุ้มบุญแล้ว แต่นอกเหนือจากแง่พันธุกรรมแล้ว ทั้งสภาพอารมณ์หรือสุขภาพของคุณแม่ผู้ท้องแทนสามารถส่งผ่านถึงทารกในครรภ์ได้ไม่ต่างกับการตั้งท้องปกติ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดผ่านทางรกและระบบการทำงานของร่างกายที่ส่งผลต่อเด็กในครรภ์ได้ ฉะนั้นเพื่อให้ทารกคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรงมากที่สุด คุณแม่ผู้อุ้มบุญจึงจำเป็นต้องผ่านการตรวจโรคอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่ามีสุขภาพแข็งแรงดี และต้องรักษาสุขภาพและบำรุงตนเองอย่างดีระหว่างตั้งครรภ์ด้วย
การอุ้มบุญในประเทศไทย
ในขณะหลาย ๆ ประเทศในแถบเอเชีย เช่น ไต้หวัน จีน การอุ้มบุญถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ด้วยความอ่อนไหวว่าอาจขัดต่อศีลธรรมอันดี โดยเฉพาะกรณีว่าจ้างหรือรับจ้างท้องแทน เนื่องจากร่างกายของผู้หญิงมิใช่สิ่งที่พึงซื้อขายกันได้ แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจน การอุ้มบุญในประเทศไทยจึงเติบโตในอัตราค่อนข้างสูง ถึงขนาดที่คู่รักต่างชาติเข้ามามองหาแม่อุ้มบุญในไทยเลยทีเดียว
อย่างไรก็ดีในทางกฏหมายของบ้านเรานั้น จะถือว่าหญิงผู้ให้กำเนิดหรือผู้ที่คลอดเด็กออกมานั้นเป็นแม่ที่แท้จริงของเด็ก ในใบสูติบัตรจึงระบุชื่อของแม่อุ้มบุญว่าเป็นแม่ที่แท้จริง แม้ว่าผู้อุ้มบุญจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับสายเลือดใด ๆ กับเด็กเลยก็ตาม สิ่งนี้จึงอาจก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากในภายหลังเกี่ยวกับการอ้างสิทธิความเป็นแม่ในตัวเด็ก หากว่าผู้อุ้มบุญเกิดความผูกพันกับทารกขึ้นมา ฉะนั้น ส่วนใหญ่แล้วการอุ้มบุญสำหรับคู่รักชาวไทยจึงนิยมไหว้วานแม่อุ้มบุญที่เป็นญาติพี่น้องที่สนิทสนมและไว้ใจได้เท่านั้น
อย่างไรก็ดีขณะนี้คณะกรรมการแพทยสภากำลังพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับการอุ้มบุญอยู่ ซึ่งในอนาคตหากมีการบัญญัติกฎหมายว่าด้วยเรื่องการอุ้มบุญขึ้นเป็นรูปร่าง ก็อาจให้สิทธิ์แม่ผู้เป็นเจ้าของไข่ได้เป็นแม่ที่แท้จริงและถูกต้องตามกฎหมายก็ได้
การอุ้มบุญเป็นพัฒนาการทางการแพทย์ที่เพิ่มโอกาสให้หญิงผู้ประสบปัญหามีบุตรยากได้มีทายาทมาเชยชมสมใจ หากต้องพึงระวังเรื่องของความอ่อนไหวในประเด็นด้านจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้ามีการเตรียมความพร้อมมาอย่างดี และยินยอมพร้อมใจกันอย่าถูกต้องทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายคู่ที่ต้องการมีบุตร และหญิงผู้เป็นคุณแม่อุ้มบุญ ความปราถนาที่จะให้กำเนิดทารกตัวน้อย ๆ ขึ้นมาเป็นแก้วตาดวงใจก็คงไม่ยากเกินไปนักค่ะ
http://baby.kapook.com/view76101.html
แต่เดี๋ยวนี้บริษัทที่รับทำก็เยอะ เช่น
http://thai.thailand-surrogacy.com/
สมาชิกหมายเลข 769671