วันนี้ผมได้อ่านเจอข่าวจากสถาบันราชานุกูลที่ออกมาชี้แจงเรื่องภาพของเด็กคนหนึ่งซึ่งนั่งกินที่บนรถไฟฟ้าสองที่นั่งมาครับ
โดยเนื้อหามีดังนี้
สถาบันราชานุกูลขอชี้แจงว่า เนื่องจากบุคคลในภาพดังกล่าวนั้นเป็นบุคคลออทิสติก เข้ารับการรักษาที่สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ลักษณะอาการของโรคออทิสติก (Autistic Disorder) หรือ ออทิสซึม (Autism) เป็นความผิดปกติด้านพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะสังคม ทักษะทางภาษา และการสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย มีลักษณะพฤติกรรม กิจกรรม และความสนใจ เป็นแบบแผนซ้ำๆ ไม่ยืดหยุ่น
ในกรณีของผู้ป่วยมีอาการสำคัญ ดังนี้
- ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ ไม่ชอบเสียงดัง ไม่ชอบเด็ก หากไม่พอใจจะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ แสดงกิริยาอาการไม่เหมาะสม
- ปัญหาการสื่อสาร ชอบพูดเรื่อยเปื่อย
- ปัญหาทางความคิด ไม่เข้าใจนามธรรมหรือสิ่งที่ซับซ้อน
- ปัญหาทางสังคม ไม่เข้าใจกฎระเบียบของสังคม ไม่รู้จักการรอคอย ไม่ยืดหยุ่น
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น สถาบันราชานุกูล ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้แจ้งผู้ปกครองของน้องรับทราบ และอบรมน้องในเรื่องของมารยาททางสังคมในการโดยสารรถสาธารณะและการแบ่งปันแล้ว
ในการนี้ สถาบันราชานุกูล ขอความร่วมมือประชาชนทุกท่านไม่โพสต์ หรือ แชร์ ภาพดังกล่าวต่อไป และใคร่ขอความกรุณาเปิดพื้นที่ให้กับบุคคลบกพร่องทางสติปัญญาได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข สถาบันราชานุกูลขอขอบพระคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้
สถาบันราชานุกูล
ที่มา
https://www.facebook.com/RajanukulInstitute/photos/a.226856740791847.1073741831.226350177509170/496350887175763/?type=1
เมื่อผมอ่านเรื่องนี้แล้วผมรู้สึกขึ้นมาครับว่า ลักษณะอาการของผู้ป่วยที่เป็นตัวหนานี่ตรงกับสิ่งที่มนุษย์ป้าชอบทำเลย
ผมจึงสงสัยว่า เป็นไปได้ไหมครับว่ามนุษย์ป้าบางคนอาจป่วยเป็นโรคนี้แต่ไม่เคยได้เข้ารับการตรวจรักษาเพราะสมัยก่อนโรคนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างและการไปหาจิตแพทย์จะถูกมองว่าเป็นบ้า หรือจะเป็นไปได้ไหมครับที่จะไม่ได้เป็นโรคนี้มาตั้งแต่เกิดแต่มาป่วยเป็นโรคนี้ทีหลัง
ถ้าเป็นไปได้ คิดว่าจะมีวิธีการอย่างไรกันบ้างถึงจะสามารถเชิญชวนให้คนเข้ารับการตรวจสอบและรักษาได้ครับ
มีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง "มนุษย์ป้า"
โดยเนื้อหามีดังนี้
สถาบันราชานุกูลขอชี้แจงว่า เนื่องจากบุคคลในภาพดังกล่าวนั้นเป็นบุคคลออทิสติก เข้ารับการรักษาที่สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ลักษณะอาการของโรคออทิสติก (Autistic Disorder) หรือ ออทิสซึม (Autism) เป็นความผิดปกติด้านพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะสังคม ทักษะทางภาษา และการสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย มีลักษณะพฤติกรรม กิจกรรม และความสนใจ เป็นแบบแผนซ้ำๆ ไม่ยืดหยุ่น
ในกรณีของผู้ป่วยมีอาการสำคัญ ดังนี้
- ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ ไม่ชอบเสียงดัง ไม่ชอบเด็ก หากไม่พอใจจะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ แสดงกิริยาอาการไม่เหมาะสม
- ปัญหาการสื่อสาร ชอบพูดเรื่อยเปื่อย
- ปัญหาทางความคิด ไม่เข้าใจนามธรรมหรือสิ่งที่ซับซ้อน
- ปัญหาทางสังคม ไม่เข้าใจกฎระเบียบของสังคม ไม่รู้จักการรอคอย ไม่ยืดหยุ่น
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น สถาบันราชานุกูล ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้แจ้งผู้ปกครองของน้องรับทราบ และอบรมน้องในเรื่องของมารยาททางสังคมในการโดยสารรถสาธารณะและการแบ่งปันแล้ว
ในการนี้ สถาบันราชานุกูล ขอความร่วมมือประชาชนทุกท่านไม่โพสต์ หรือ แชร์ ภาพดังกล่าวต่อไป และใคร่ขอความกรุณาเปิดพื้นที่ให้กับบุคคลบกพร่องทางสติปัญญาได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข สถาบันราชานุกูลขอขอบพระคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้
สถาบันราชานุกูล
ที่มา https://www.facebook.com/RajanukulInstitute/photos/a.226856740791847.1073741831.226350177509170/496350887175763/?type=1
เมื่อผมอ่านเรื่องนี้แล้วผมรู้สึกขึ้นมาครับว่า ลักษณะอาการของผู้ป่วยที่เป็นตัวหนานี่ตรงกับสิ่งที่มนุษย์ป้าชอบทำเลย
ผมจึงสงสัยว่า เป็นไปได้ไหมครับว่ามนุษย์ป้าบางคนอาจป่วยเป็นโรคนี้แต่ไม่เคยได้เข้ารับการตรวจรักษาเพราะสมัยก่อนโรคนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างและการไปหาจิตแพทย์จะถูกมองว่าเป็นบ้า หรือจะเป็นไปได้ไหมครับที่จะไม่ได้เป็นโรคนี้มาตั้งแต่เกิดแต่มาป่วยเป็นโรคนี้ทีหลัง
ถ้าเป็นไปได้ คิดว่าจะมีวิธีการอย่างไรกันบ้างถึงจะสามารถเชิญชวนให้คนเข้ารับการตรวจสอบและรักษาได้ครับ