1.
ระยะห่างของรอบประจำเดือนของผู้หญิงแต่ละคนที่สั้น-ยาว ไม่เท่ากันนั้น ขึ้นกับระยะเวลาก่อนตกไข่เป็นสำคัญ เพราะเซลล์ไข่ของผู้หญิงแต่ละคนใช้เวลาในการเจริญเติบโตจนโตสมบูรณ์เต็มที่ไม่เท่ากัน ในรายที่ใช้ระยะเวลาในการเจริญของ Follicle จนสมบูรณ์พร้อมจะตกไข่ไม่นาน ระยะห่างของรอบประจำเดือนก็จะสั้นยังไงล่ะครับ เพราะระยะเวลาภายหลังจากตกไข่ไปแล้วนั้นส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกันมาก แทบจะไม่ค่อยแตกต่างกันเลย ประมาณ 14-16 วัน ซึ่งเป็นผลจากอายุขัยของ คอร์ปัส ลูเตียม (Corpus luteum) ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน Progesterone เพื่อช่วยคงสภาพเยื่อบุโพรงมดลูกให้ยังคงหนาตัวได้เสื่อมสลายไปยังไงหล่ะครับ
2. ป
ริมาณเลือดประจำเดือนที่ออกนั้น ขึ้นกับว่าความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกในแต่ละรอบเดือนเป็นอย่างไร เพราะเลือดประจำเดือน ก็คือเศษเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกปนออกมากับเลือด ดังนั้นถ้าหากเยื่อบุโพรงมดลูกหนามากเวลาหลุดลอกออกมาจึงทำให้มีปริมาณเลือดมากตามไปด้วย ส่วนสาเหตุอื่นที่ทำให้ประจำเดือนมามากก็คือ มดลูกบีบตัวเพื่อหยุดเลือดได้ไม่ดี เช่น มีเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกไปขัดขวางการบีบตัวเพื่อหยุดเลือดของมดลูก เป็นต้นครับ
3.
เลือดประจำเดือนสีน้ำตาล ที่มักนำมาก่อน เลือดประจำเดือนสีแดงๆ นั่นเพราะการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกเกิดขึ้นเป็นบางส่วน ยังไม่ทั่วทั้งโพรงมดลูก ทำให้เลือดยังออกไม่มาปริมาณเล็กน้อย เมื่อเจอสภาพความเป็นกรดและความร้อนในช่องคลอดทำให้เห็นเลือดที่ออกมามีปริมาณเล็กน้อยสีน้ำตาลๆ แต่เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกพร้อมกันทั่วโพรงมดลูก จึงมีปริมาณเลือดที่ออกมาขึ้นและเป็นสีแดง
4.
เลือดประจำเดือนสีน้ำตาล ที่มักตามมาช่วงท้ายๆของประจำเดือน คือช่วงที่เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเกือบจะหมดแล้ว และมดลูกก็พยายามขับเลือดปริจำเดือนออกมาในที่สุด ปริมาณเลือดจึงเล็กน้อยและสีน้ำตาลๆเพราะเจอสภาพความเป็นกรดและความร้อนในช่องคลอดเช่นกันครับ
5.
อาการร่วมอื่นๆ เช่น อาการปวดท้องประจำเดือนเป็น เพราะมดลูกมีการบีบตัว เพื่อหยุดเลือดและพยายามขับเยื่บโพรงมดลูกที่เสื่อมสลายออกมา บางคนอาจมีอาการ คัดตึงหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อย หงุดหงิด หรือรู้สึกซึมเศร้า นำมาก่อนการมีประจำเดือน อาการเหล่านี้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนต่างๆในช่วงกำลังจะเป็นประจำเดือนครับ
แล้วประจำแบบไหนถึงเรียกว่าปกติ ???
1. ระยะห่างแต่ละรอบประจำเดือน ควรอยู่ในช่วง 28 ± 7 วัน และไม่ควรมีเลือดออกกะปริดกะปรอยระหว่างรอบประจำเดือน ภายหลังจากที่เลือดประจำเดือนได้หยุดสนิทไปแล้ว
2. ระยะเวลาที่เป็นประจำเดือน เฉลี่ยแล้วประมาณ 3-5 วัน ไม่ควรน้อยกว่า 1 วัน และไม่ควรนานเกิน 7 วัน (ทั้งเลือดสีแดงและน้ำตาล)
3. ปริมาณเลือดประจำเดือน ประมาณ 80-100 ลูกบาศก์เซนติเมตร/วัน หรือไม่ควรใช้ผ้าอนามัยขนาดปกติเกินวันละ 2-3 ผืนชุ่มๆ
4. ลักษณะของเลือดประจำเดือน ไม่ควรจับกันเป็นลิ่มเลือดขนาดเกินปลายนิ้วก้อย วันแรกๆ จะมีสีแดงคอนข้างสด วันต่อมาจะค่อยๆแดงจางๆ หรือน้ำตาลคล้ำๆจนหายไป
นพ.ปัญญา ศักดิ์สง่าวงษ์
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
ทำไมรอบประจำเดือนแต่ละรอบสั้นยาวไม่เท่ากัน ปริมาณมาก-น้อยไม่เหมือนกัน แถมยังสีน้ำตาลบ้าง-แดงบ้าง
1. ระยะห่างของรอบประจำเดือนของผู้หญิงแต่ละคนที่สั้น-ยาว ไม่เท่ากันนั้น ขึ้นกับระยะเวลาก่อนตกไข่เป็นสำคัญ เพราะเซลล์ไข่ของผู้หญิงแต่ละคนใช้เวลาในการเจริญเติบโตจนโตสมบูรณ์เต็มที่ไม่เท่ากัน ในรายที่ใช้ระยะเวลาในการเจริญของ Follicle จนสมบูรณ์พร้อมจะตกไข่ไม่นาน ระยะห่างของรอบประจำเดือนก็จะสั้นยังไงล่ะครับ เพราะระยะเวลาภายหลังจากตกไข่ไปแล้วนั้นส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกันมาก แทบจะไม่ค่อยแตกต่างกันเลย ประมาณ 14-16 วัน ซึ่งเป็นผลจากอายุขัยของ คอร์ปัส ลูเตียม (Corpus luteum) ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน Progesterone เพื่อช่วยคงสภาพเยื่อบุโพรงมดลูกให้ยังคงหนาตัวได้เสื่อมสลายไปยังไงหล่ะครับ
2. ปริมาณเลือดประจำเดือนที่ออกนั้น ขึ้นกับว่าความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกในแต่ละรอบเดือนเป็นอย่างไร เพราะเลือดประจำเดือน ก็คือเศษเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกปนออกมากับเลือด ดังนั้นถ้าหากเยื่อบุโพรงมดลูกหนามากเวลาหลุดลอกออกมาจึงทำให้มีปริมาณเลือดมากตามไปด้วย ส่วนสาเหตุอื่นที่ทำให้ประจำเดือนมามากก็คือ มดลูกบีบตัวเพื่อหยุดเลือดได้ไม่ดี เช่น มีเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกไปขัดขวางการบีบตัวเพื่อหยุดเลือดของมดลูก เป็นต้นครับ
3. เลือดประจำเดือนสีน้ำตาล ที่มักนำมาก่อน เลือดประจำเดือนสีแดงๆ นั่นเพราะการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกเกิดขึ้นเป็นบางส่วน ยังไม่ทั่วทั้งโพรงมดลูก ทำให้เลือดยังออกไม่มาปริมาณเล็กน้อย เมื่อเจอสภาพความเป็นกรดและความร้อนในช่องคลอดทำให้เห็นเลือดที่ออกมามีปริมาณเล็กน้อยสีน้ำตาลๆ แต่เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกพร้อมกันทั่วโพรงมดลูก จึงมีปริมาณเลือดที่ออกมาขึ้นและเป็นสีแดง
4. เลือดประจำเดือนสีน้ำตาล ที่มักตามมาช่วงท้ายๆของประจำเดือน คือช่วงที่เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเกือบจะหมดแล้ว และมดลูกก็พยายามขับเลือดปริจำเดือนออกมาในที่สุด ปริมาณเลือดจึงเล็กน้อยและสีน้ำตาลๆเพราะเจอสภาพความเป็นกรดและความร้อนในช่องคลอดเช่นกันครับ
5. อาการร่วมอื่นๆ เช่น อาการปวดท้องประจำเดือนเป็น เพราะมดลูกมีการบีบตัว เพื่อหยุดเลือดและพยายามขับเยื่บโพรงมดลูกที่เสื่อมสลายออกมา บางคนอาจมีอาการ คัดตึงหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อย หงุดหงิด หรือรู้สึกซึมเศร้า นำมาก่อนการมีประจำเดือน อาการเหล่านี้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนต่างๆในช่วงกำลังจะเป็นประจำเดือนครับ
แล้วประจำแบบไหนถึงเรียกว่าปกติ ???
1. ระยะห่างแต่ละรอบประจำเดือน ควรอยู่ในช่วง 28 ± 7 วัน และไม่ควรมีเลือดออกกะปริดกะปรอยระหว่างรอบประจำเดือน ภายหลังจากที่เลือดประจำเดือนได้หยุดสนิทไปแล้ว
2. ระยะเวลาที่เป็นประจำเดือน เฉลี่ยแล้วประมาณ 3-5 วัน ไม่ควรน้อยกว่า 1 วัน และไม่ควรนานเกิน 7 วัน (ทั้งเลือดสีแดงและน้ำตาล)
3. ปริมาณเลือดประจำเดือน ประมาณ 80-100 ลูกบาศก์เซนติเมตร/วัน หรือไม่ควรใช้ผ้าอนามัยขนาดปกติเกินวันละ 2-3 ผืนชุ่มๆ
4. ลักษณะของเลือดประจำเดือน ไม่ควรจับกันเป็นลิ่มเลือดขนาดเกินปลายนิ้วก้อย วันแรกๆ จะมีสีแดงคอนข้างสด วันต่อมาจะค่อยๆแดงจางๆ หรือน้ำตาลคล้ำๆจนหายไป
นพ.ปัญญา ศักดิ์สง่าวงษ์
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
http://drchawtoo.com/