แบบแผนการลงทุนของเรา ตอนที่ 2

ตอนที่ 1: http://ppantip.com/topic/32412034

ในตอนที่ 1 ผมได้ถามคำถามที่พวกเราจะต้องตอบให้ได้ เพื่อที่จะช่วยให้พวกเราสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งในเรื่องแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมกับเราก็ดี และก็เรื่องที่เราจะต้องหลีกเลี่ยงในทางปฏิบัติ เรามาเริ่มปลูกทางกันเลยดีกว่า


เริ่มปลูกพื้นฐานตัวเอง

เราจะต้องทำความเข้าใจความพึงพอใจ ความมีอคติ ความต้องการและพื้นฐานของตัวเองให้ชัดเจนเสียก่อน

อย่างเช่น หากเราเล่นหุ้นแบบบัญชีเกษียณอายุ เราก็ต้องเน้นไปที่การลงทุนแบบระยะยาวอย่างเช่นช่วงที่เป็นภาวะกระทิงแต่ละช่วง และก็มีการเคลื่อนไหวบริเวณกรอบต่างๆ จะทำให้การเล่นหุ้นของเรามีความมั่งคงสม่ำเสมอ และก็เหมาะสมสำหรับเรา

เราก็เห็นในตอนที่ 1 แล้วที่ผมบอกกับพวกเราในเรื่องการออกแบบการเล่นหุ้นของตัวเรา


ทำให้ใหญ่และกลับบ้านอย่างสง่างาม

ต่อไปเราก็มาดูในเรื่องความเสี่ยงแต่ละครั้งที่เราได้เล่น จะต้องดูการขาดทุนของเรา ไม่ใช่ไปดูค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง จะต้องคิดในเรื่องความเสี่ยงที่แท้จริงหรือความเสี่ยงตอนที่หุ้นเป็นขาลง โดยดูความผิดพลาดในแต่ละครั้งที่เราได้ขาดทุนไป

ฟังดูแล้วพวกเราไม่ค่อยให้ความสนใจ แต่เรื่องนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก ไม่ว่าเราจะขาดทุน $ 200 หรือ $ 500 หรือ $ 5000 มันก็เป็นการขาดทุนเหมือนกัน เราจะต้องปรับความเสี่ยงให้เหมาะสมกับที่เราได้รับในแต่ละสถานการณ์ โดยจะต้องดูจุดเริ่มต้นที่เราเข้าไปเล่นหุ้นทุกๆครั้งเป็นหลัก

เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ล้มเหลวในเรื่องความเสี่ยงที่เจอมากเกินไป ทำให้พวกเขาต้องเจ็บปวดทรมาน และทำให้พวกเขาใช้เงินเล่นหุ้นมากเกินไปอีกและก็จ่ายค่าเล่าเรียนมากขึ้นอีก ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องดีเลย เราจะต้องตั้งเป้าหมายตามความเหมาะสมของเรา ให้สามารถอยู่รอดในการเล่นหุ้นได้และก็ตัดสินใจให้ดีๆ

อย่างเช่น เรามีความเสี่ยงขาดทุน $ 200 แต่ละครั้ง ก็ทำให้เราสามารถยอมรับความเสี่ยงได้หากเราเล่นหุ้นผิดทาง

หากว่าหุ้น XYZ มันเหมาะสมกับตัวเรา โดยมีแนวต้าน $ 18 และแนวรับ $ 16 เราก็สามารถเข้าไปซื้อได้หากราคาหุ้นทะลุได้ถึง $ 18 และก็ตัดขาดทุน $ 16 ก็เท่ากับว่าเรามีความเสี่ยงขาดทุนในราคา $ 2 ในแต่ละครั้ง และก็มีความเสี่ยงขาดทุน $ 200 หากเราซื้อ 100 หุ้น ก็เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่ต้องคำนวณซับซ้อนอะไรมาก

แล้วเราคิดว่าการคำนวณจะช่วยในเรื่องการเล่นหุ้นของเรามากน้อยแค่ไหนล่ะ กลยุทธ์ที่แท้จริงจะต้องมีจุดที่เราเข้าไปเล่นและก็ต้องถอยหนีตัดขาดทุนออกมาก่อน แต่เราก็ต้องมาดูการลงเงินแต่ละครั้งว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน เทรดเดอร์น้อยคนมากที่จะใช้แบบแผนแบบนี้ แต่หากพวกเขาทำได้ พวกเขาก็สามารถเดินหน้าได้และหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากการเล่นหุ้นได้เป็นอย่างดี

ในตอนที่ 3 ผมจะเขียนเกี่ยวกับภาพรวมแบบแผนของเรา รวมไปถึงการหาแนวทางที่เหมาะสมกับตัวเองและก็คำนวณดูว่าดีมากแค่ไหน

เทรดหุ้นอย่างโจร !!!

ผู้เขียน Jeff White

ผู้แปล Mr.lawrence10

ที่มา : TheStockBandit.net

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่