ใครๆ อาจจะมองว่าเหรียญบาท เหรียญ5บาท มีค่าน้อย แต่ในความเป็นจริงเหรียญกษาปณ์เหล่านี้สามารถใช้ฝากหรือชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไม่ต่างจากธนบัตร เพียงแต่มีกฎเกณฑ์ที่ต้องเข้าใจ
จากกรณีที่มีการแชร์ภาพและข้อความเหรียญผู้ปกครองพาลูกสาววัย5ขวบ นำเงินเหรียญที่หยอดกระปุกได้กว่า6600บาท ไปฝากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ แต่กลับถูกปฏิเสธว่าตู้เซฟเต็ม ไม่มีที่เก็บ ให้นำไปธนาคารพาณิชย์อื่นที่อยู่ติดกันนั้น ได้สร้างคำถามให้เด็กน้อยไร้เดียงสาว่า "ทำไมเขาไม่รับฝากเงินหนูคะ" จนกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์และข้อสงสัยในสังคมว่า การรับฝากเหรียญของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันใช้หลักเกณฑ์ใดในการตอบรับหรือปฏิเสธการรับฝาก มีค่าธรรมเนียมการรับฝากอย่างไร และหากธนาคารไม่รับฝากตัวลูกค้าเองจะต้องดำเนินการอย่างไรกับเหรียญที่เหมือนไร้ค่าในปัจจุบันนี้
เบื้องต้นจากการสอบถามไปยังศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ทราบว่า ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้เข้าไปกำกับดูแลเรื่องการรับฝากหรือไม่รับฝากเหรียญกษาปณ์ของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากเป็นการทำข้อตกลงของชมรมธนาคาร ซึ่งแต่ละธนาคารจะตั้งหลักเกณฑ์และค่าธรรมเนียมการรับฝากเหรียญกษาปณ์ไว้ อาทิ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร้อยละ1ของมูลค่าเหรียญกษาปณ์, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ฝากเงินไม่เกิน 2,000บาท ไม่คิดค่าบริการ หากยอดเงินฝากส่วนที่เกิน2,000บาท คิดร้อยละ1 ,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 2 ของมูลค่าที่ฝากหรือแลกเงินทั้งหมดตั้งแต่100 เหรียญขึ้นไป, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) ไม่เกิน500เหรียญ ไม่คิดค่าธรรมเนียม ตั้งแต่ 501เหรียญขึ้นไป ร้อยละ1ของมูลค่ารวม, ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ร้อยละ2ของมูลค่ารวม หรือของยอดเงินฝากส่วนที่เกิน100บาท ยอดเงินฝากต่ำกว่า100บาท ไม่คิดค่าบริการ, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ตั้งแต่ 200เหรียญ ขึ้นไปอัตราค่าบริการร้อยละ2ของจำนวนรวมมูลค่าเหรียญขั้นต่ำ20บาท
ทั้งนี้ กฎกระทรวงได้กำหนดจำนวนเหรียญกษาปณ์ที่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย กล่าวคือ เหรียญ1สตางค์ ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน5บาท,เหรียญ5, 10, 25, 50สตางค์ ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน10บาท,เหรียญ1บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน500บาท, เหรียญ5 บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน500บาทและเหรียญ10บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน1,000บาท
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) 1213
หากธนาคารพาณิชย์ปฏิเสธการรับฝากเหรียญ สามารถร้องเรียนมายัง ศคง. โดยส่ง Email มาที่ fcc@bot.or.thและระบุข้อมูลดังนี้
1. ชื่อ – นามสกุลจริงของผู้ร้องเรียน
2. ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้
3. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
4. รายละเอียดเรื่องร้องเรียน
5. เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ หากมีเหรียญเป็นจำนวนมาก สามารถรวบรวมเหรียญดังกล่าวไปแลกคืนได้ที่สำนักบริหารเงินตรา กรมธนารักษ์ โทร. 0-2280-7404-8
ขอบคุณข้อมูลจาก : นสพ.เดลินิวส์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.dailynews.co.th/Content/economic/256506/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8D%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2!+%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%81
เหรียญบาทมีค่า! แต่ต้องทำความเข้าใจเรื่องการฝาก
ใครๆ อาจจะมองว่าเหรียญบาท เหรียญ5บาท มีค่าน้อย แต่ในความเป็นจริงเหรียญกษาปณ์เหล่านี้สามารถใช้ฝากหรือชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไม่ต่างจากธนบัตร เพียงแต่มีกฎเกณฑ์ที่ต้องเข้าใจ
จากกรณีที่มีการแชร์ภาพและข้อความเหรียญผู้ปกครองพาลูกสาววัย5ขวบ นำเงินเหรียญที่หยอดกระปุกได้กว่า6600บาท ไปฝากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ แต่กลับถูกปฏิเสธว่าตู้เซฟเต็ม ไม่มีที่เก็บ ให้นำไปธนาคารพาณิชย์อื่นที่อยู่ติดกันนั้น ได้สร้างคำถามให้เด็กน้อยไร้เดียงสาว่า "ทำไมเขาไม่รับฝากเงินหนูคะ" จนกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์และข้อสงสัยในสังคมว่า การรับฝากเหรียญของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันใช้หลักเกณฑ์ใดในการตอบรับหรือปฏิเสธการรับฝาก มีค่าธรรมเนียมการรับฝากอย่างไร และหากธนาคารไม่รับฝากตัวลูกค้าเองจะต้องดำเนินการอย่างไรกับเหรียญที่เหมือนไร้ค่าในปัจจุบันนี้
เบื้องต้นจากการสอบถามไปยังศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ทราบว่า ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้เข้าไปกำกับดูแลเรื่องการรับฝากหรือไม่รับฝากเหรียญกษาปณ์ของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากเป็นการทำข้อตกลงของชมรมธนาคาร ซึ่งแต่ละธนาคารจะตั้งหลักเกณฑ์และค่าธรรมเนียมการรับฝากเหรียญกษาปณ์ไว้ อาทิ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร้อยละ1ของมูลค่าเหรียญกษาปณ์, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ฝากเงินไม่เกิน 2,000บาท ไม่คิดค่าบริการ หากยอดเงินฝากส่วนที่เกิน2,000บาท คิดร้อยละ1 ,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 2 ของมูลค่าที่ฝากหรือแลกเงินทั้งหมดตั้งแต่100 เหรียญขึ้นไป, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) ไม่เกิน500เหรียญ ไม่คิดค่าธรรมเนียม ตั้งแต่ 501เหรียญขึ้นไป ร้อยละ1ของมูลค่ารวม, ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ร้อยละ2ของมูลค่ารวม หรือของยอดเงินฝากส่วนที่เกิน100บาท ยอดเงินฝากต่ำกว่า100บาท ไม่คิดค่าบริการ, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ตั้งแต่ 200เหรียญ ขึ้นไปอัตราค่าบริการร้อยละ2ของจำนวนรวมมูลค่าเหรียญขั้นต่ำ20บาท
ทั้งนี้ กฎกระทรวงได้กำหนดจำนวนเหรียญกษาปณ์ที่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย กล่าวคือ เหรียญ1สตางค์ ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน5บาท,เหรียญ5, 10, 25, 50สตางค์ ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน10บาท,เหรียญ1บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน500บาท, เหรียญ5 บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน500บาทและเหรียญ10บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน1,000บาท
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) 1213
หากธนาคารพาณิชย์ปฏิเสธการรับฝากเหรียญ สามารถร้องเรียนมายัง ศคง. โดยส่ง Email มาที่ fcc@bot.or.thและระบุข้อมูลดังนี้
1. ชื่อ – นามสกุลจริงของผู้ร้องเรียน
2. ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้
3. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
4. รายละเอียดเรื่องร้องเรียน
5. เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ หากมีเหรียญเป็นจำนวนมาก สามารถรวบรวมเหรียญดังกล่าวไปแลกคืนได้ที่สำนักบริหารเงินตรา กรมธนารักษ์ โทร. 0-2280-7404-8
ขอบคุณข้อมูลจาก : นสพ.เดลินิวส์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้