ข่าวจากญี่ปุ่นที่กลายเป็น talk of the town ไปทั่วโลกในรอบอาทิตย์นี้
ไม่ใช่เรื่องข้อพิพาทกับจีน
ไม่ใช่เรื่องการทำสถิติใหม่ของรถไฟความเร็วสูงที่เร็วได้มากขึ้นไปอีก
ไม่ใช่เรื่องความน่ารักของหมี รีลักคุมะ
ไม่ใช่เรื่องที่โดราเอมอนได้เป็นทูตของการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
ทว่า เป็นการข่าวศิลปินหญิงวัย 42 ปี ชื่อ Megumi Igarashi ถูกตำรวจจับกุมดำเนินคดีข้อหาอนาจาร
อันเนื่องมาจากเธอได้ใช้เครื่องสแกนเนอร์ สแกนอวัยวะเพศของเธอ แล้วส่งไฟล์นั้นให้แก่ผู้บริจาคเงินสนับสนุนโครงการสร้างเรือที่จำลองแบบ "จิ๋ม" ของเธอ โดยที่เธอตั้งใจเอาไว้ว่า เรือคายักลำนี้จะเดินทางไป "แสดง" ทั่วโลก
ฉันเข้าใจว่า เหมือนเป็ดเหลืองของศิลปินดัตช์ ที่เดินทางไปทั่วโลกเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ตำรวจตีความการส่งไฟล์ให้แก่ผู้สนับสนุนทางการเงินของโครงการศิลปะชิ้นนี้ว่าหมายถึงการ "ขาย", "ครอบครอง" วัตถุอนาจาร จึงเข้าทำการจับกุมตัวเธอ
อย่างไรก็ตาม หลังการจับกุม เรื่องนี้กลายเป็นข่าวพาดหัวของหนังสือพิมพ์ทั้งโลก และเป็นดีเบตที่สั่นสะเทือนสังคมญี่ปุ่นทั้งสังคม
มีการระดมรายชื่อให้ปล่อยตัว อิการาชิ หรือชื่อที่เธอใช้ทำงานในฐานะนักวาดการ์ตูนว่า Rokudenashi-ko ซึ่งแปลว่า Good for Nothing Girl ในเว็บ Change.org.com
และในที่สุดเธอก็ได้รับการปล่อยตัวแล้ว
สําหรับคนนอกสังคมญี่ปุ่นรวมทั้งตัว ฉันออกจะตกใจกับข่าวนี้ เพราะในการรับรู้ของเรา จะมีสังคมไหนที่มีขันติธรรมต่อความ "เพี้ยน" ในเรื่องเพศมากไปกว่าสังคมญี่ปุ่นอีกหรือ?
งานภาพพิมพ์แกะไม้อีโรติกแสนพิสดารว่าด้วยการร่วมเพศของสตรีกับปลาหมึกยักษ์ หรือสัตว์ในเทพนิยายอื่นๆ ก็เป็นต้นแบบแห่งงานอีโรติกคลาสสิคอันลือลั่นและเป็นตำนาน
ยังไม่นับว่าอุตสาหกรรมหนังโป๊ของญี่ปุ่นนั้นขึ้นชื่อเรื่องความ "แปลก" ซึ่งได้กลายเป็นแขนงหนึ่งของสุนทรียศาสตร์ซึ่งแสนจะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองอย่างสูงยิ่ง
หรือการบุกเบิกหนังโป๊สำหรับผู้สูงวัย การที่ดาราเอวีได้รับการยอมรับในฐานะเซเลบริตี้
อันเป็นสิ่งที่แทบจะจินตนาการไม่ได้เลยว่าจะเกิดขึ้นได้กับสังคมไทย
ยังไม่นับความอิโรติกในงานการ์ตูนหรือ "มังกะ" ที่แฟนมังกะก็คงจะรู้ดีว่ามีบรรเจิดของจินตนาการขนาดไหนหรือแม้กระทั่งอีกแขนงหนึ่งของความรักความหวามไหวเชิงกามารมณ์ระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ ตัวการ์ตูน อะนิเมะ ต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่แม้จะไม่สามัญ แต่ก็ยอมรับได้ เข้าใจได้ในสังคมญี่ปุ่น
อะไรๆ ก็เป็นไปได้ขนาดนี้ แล้วทำไม การทำแม่พิมพ์จิ๋มของศิลปินผู้หญิงคนหนึ่งจึงเกือบจะกลายเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้
คอลัมนิสต์ตะวันตกจำนวนไม่น้อยมองว่ากฎหมายอนาจารของญี่ปุ่นเป็นมรดกของวัฒนธรรม พิวริทัน ของอเมริกาผ่านรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นที่แมกอาเธอร์ซึ่งเป็นพิวริทันจ๋าได้วางเอาไว้ และทำให้การแสดงภาพอวัยวะเพศทั้งหญิงและชายผ่านสื่อเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย
ดังนั้น แม้หนังโป๊หรือเอวีจะเป็นเรื่องถูกกฎหมายแต่ก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขของการมีโมเสกไว้ที่ภาพอวัยวะเพศ
แต่จากยูทูบของ Igarashi (ดูได้ที่
http://www.huffingtonpost.com/2014/07/15/vagina-artist-arrest-japan_n_5588664.html) จะทำให้เราเข้าใจว่า เรื่องนี้เป็นมากกว่าข้อห้ามของกฎหมาย
เพราะการห้ามแสดงภาพอวัยวะเพศ ไม่ได้ห้ามเฉพาะภาพอวัยวะเพศหญิงแต่ห้ามทั้งของหญิงและของชาย
แต่สิ่งที่รบกวนจิตใจของ Igarashi คือการที่เธอเข้าใจไม่ได้ว่า ทำไมคำว่าอวัยวะเพศหญิง Manko (มังโกะ) จึงเป็นคำต้องห้าม ซึ่งในที่นี้ สำหรับเธอแล้ว มันเท่ากับว่า อวัยวะเพศ ซึ่งก็คือ อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผู้หญิงเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจเดียดฉันท์ น่าขยะแขยงอย่างเหลือแสน
Igarashi ต้องการจะรื้อมายาคติ (Demythtified) ว่าด้วย "จิ๋ม" ในสังคมญี่ปุ่นว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องอาย ต้องปิดบัง ซ่อนเร้น ต้องทำราวกับว่าไม่มี "มัน" อยู่ในโลกนี้จริงๆ หรือ?
Igarashi บอกว่า เธอมีความอยากรู้ มีความกังวลใจอยู่เนืองๆ ว่า "จิ๋ม" ของเธอเหมือนของคนอื่นหรือเปล่า? และถึงที่สุดแล้ว "จิ๋ม" ของเธอมีอะไรผิดปกติหรือเปล่า?
มากไปกว่านั้น เธอเห็นว่าสังคมปฏิบัติต่อ "จู๋" ในแบบที่ สบายๆ เป็นกันเอง มีอารมณ์ขัน วัตถุที่มีรูปร่างคล้ายอวัยวะเพศชาย เป็นสิ่งที่น่ารัก น่าเอ็นดู ขายได้ในวัฒนธรรมป๊อป
แม้แต่ผู้หญิงเอง ยังชอบเล่นกับภาพล้อหรือวัตถุที่ทำมาล้ออวัยวะเพศชาย เช่น ไอศกรีมแท่ง แต่กลับไม่มีอารมณ์ขันหรือความเป็นกันเองกับอวัยวะเพศหญิงเลย
ทุกครั้งที่เธอพูดคำว่า "มังโกะ" ออกไป ทุกคนจะหันมามองเธอเหมือนเป็นตัวประหลาด เหมือนกับว่าเธอกำลังก่ออาชญากรรม
ในที่นี่ฉันอยากจะขยายความว่า เหตุที่ Igarashi พยายามจะต่อสู้ในเรื่องนี้ก็เพราะ แม้แต่การพูดว่า "มังโกะ" ออกทีวีของเธอก็ถูกแทนที่ด้วยเสียง "ปี๊บบบบบบบ" คือถูกเซ็นเซอร์นั่นเอง
ในขณะที่รายการ "บันเทิง" ดาษๆ ในทีวีญี่ปุ่นนั้นการ "ละลาบละล้วง" ร่างกายผู้หญิงด้วยความหยาบโลน คือความตลกขบขันอย่างสามัญธรรมดา และไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ต้อง "โกรธ"
ทว่า การพูดถึง "มังโกะ" ในฐานะที่เป็นอวัยวะของร่างกายกลับเป็นเรื่องบัดสีบัดเถลิง
ดังนั้น Igarashi ไม่ได้ต้องการทำอะไรมากไปกว่า อยากจะให้ อวัยวะเพศหญิงเป็นอะไรที่สามารถอยู่กับชีวิตประจำวันของทุกคนได้อย่างเป็น "กันเอง" มากขึ้น มีความเป็น "ป๊อป" มากขึ้น
เธอจึงตั้ง Art Association of Genital หรือสมัชชาศิลปะอวัยวะเพศขึ้นมา โดยที่ตัวเธอเองเริ่มทำงานศิลปะจากแม่พิมพ์อวัยวะเพศของเธอเอง
จากนั้น นำมันไปประดับตกแต่งทำเคสไอโฟน และอื่นๆ เธอเรียกตัวเองว่า Deco Man Artist มาจากคำว่า Decoration Manko Artist หมายถึงศิลปินผู้ทำงานตกแต่งจิ๋ม (จากแม่พิมพ์)
Igarashi ยังตั้งใจจะทำ workshop ให้กับผู้หญิงที่สนใจอยากทำของใช้ในชีวิตประจำวันด้วยแม่พิมพ์จิ๋มของตน หรือสำหรับคนที่อยู่ไกลๆ เธอก็จะผลิตคู่มือ อุปกรณ์เพื่อทำแม่พิมพ์จิ๋มของตนเองด้วยตนเอง
จากนั้น แต่ละคนก็สามารถนำแม่พิมพ์นี้ไปประดับตกแต่งในสไตล์ที่ตนเองชอบและดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ไม่สอยตามชอบใจ
เธอยังหวังว่าในอนาคตนอกจากทำของใช้ชิ้นเล็กๆ อย่างเคสสมาร์ตโฟน เธอยังอยากทำที่นอนทรงจิ๋ม รถยนต์ทรงจิ๋ม ทำเรือทรงจิ๋ม
อย่างไรก็ตาม การทำแม่พิมพ์นี้ค่อนข้างยากจน กระทั่งมีเทคโนโลยีปริ๊นเตอร์ 3d ทำให้การทำแม่พิมพ์จิ๋มง่ายขึ้นมาก เพียงแค่ใช้สแกนเนอร์ สแกนจิ๋มในท่วงท่าของการถ่ายเซลฟ์ฟี่ จากนั้นนำไปเข้าเครื่องปริ๊นต์สามมิติ เราก็จะได้แม่พิมพ์จิ๋มออกมาอย่างง่ายดาย
Igarashi จึงทำเรือคายักจากแม่พิมพ์จิ๋มของเธอขึ้นมา ซึ่งถ้าเราดูรูปแล้วจะเห็นว่า มันเป็นเรือที่หน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูมากกว่าจะให้ความรู้สึกของความอนาจาร
กรณีการจับกุม Igarashi ได้ปลุกให้สังคมญี่ปุ่นหันมาสนใจความสองมาตรฐานในสังคมญี่ปุ่นและการกดขี่ ดูถูกผู้หญิง ทั้งนี้ ยังไม่นับว่า ประเด็น เกย์ และเลสเบี้ยน แทบจะไม่เป็นประเด็นที่ถูกอภิปรายกันอย่างจริงจังในสื่อมวลชนของญี่ปุ่น และคนญี่ปุ่นจำนวนมากยังทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้การมีอยู่ของเพศที่สาม ไม่ต้องพูดถึงการใช้ชีวิตคู่ อยู่กินกันฉันสามีภรรยาของคนเพศเดียวกันอันเป็นเรื่องที่แทบจะจินตนาการไม่ได้ (คิดเรื่องการแต่งงานกับตุ๊กตายางยังเข้าใจได้ง่ายกว่าคิดเรื่องการแต่งงานกันของเกย์)
สื่อเริ่มตั้งคำถามว่า ประเพณีการแห่ "ลึงก์" ของผู้ชาย Kanamara Matsuri นั้นเป็นงานเทศกาลรื่นเริงแห่งฤดูใบไม้ผลิที่ใครๆ ก็ไปร่วมสนุก โดยมิได้รู้สึกเดียดฉันท์
แล้วเมื่อไหร่กันที่โยนีของหญิงหายไปจากพื้นที่สาธารณะและแม้แต่ในร่องรอยของพิธีกรรมที่แห่แหนบูชาเทพเจ้าแห่งความบริบูรณ์ก็พลอยอันตรธานไปด้วย
แนวคิดว่าด้วยเรื่องเพศ ในฐานะที่เป็นสิ่งลามก อนาจาร ต้องปิดบังซ่อนเร้น กระมิดกระเมี้ยน หรือต้องปฏิบัติต่อมันราวกับว่าไม่มีมันอยู่ในโลกใบนี้ และการเกิดของเด็กทุกคนในโลกนี้ก็ล้วนเกิดมาจาก "ความรัก"
พอพูดว่า เราเกิดมาจากความรัก ก็ชวนให้นึกถึงภาพอาทิตย์อัสดง ท้องฟ้าสีทอง ดอกกุหลาบสีแดง สีชมพู การจุมพิตที่หลังมือของหญิงและชาย ชุดแต่งงานสีขาวบริสุทธิ์
ไม่ใช่ภาพอื่นๆ ที่เป็นต้นธารของการปฏิสนธิที่แท้จริง เป็นมรดกของความเป็นสมัยใหม่ กำเนิดกระฎุมพี (ที่ต้องการแยกตนเองออกมาจากชนชั้นล่างและชนชั้นสูง) และรัฐชาติ
ส่วนจะมีดีกรีความเข้มข้นแห่งความ "บริสุทธิ์" แค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่า ความเป็นสมัยใหม่นี้ได้ถูกนำไปผสมกับวัฒนธรรมเดิม โดยเฉพาะ "ศาสนา" และ "การเมือง" ในแต่ละท้องถิ่นอย่างไร
ดังนั้น การเป็นคำต้องห้ามของคำว่า Manko จึงไม่ได้ปรากฏแต่ในสังคมญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ปรากฏอย่างเป็นสากลในโลกสมัยใหม่ทุกแห่งในโลกนี้
แต่ด้วยความเป็น "สมัยใหม่" นี้ที่มีลัทธิเสรีนิยมประชาธิปไตยเป็นส่วนหนึ่งของมันมาตั้งแต่แรก สังคมสมัยใหม่จำนวนไม่น้อยจึงกระ
กระสนที่จะขยายพรมแดนแห่งเสรีภาพและความเสมอภาคออกไปเรื่อยๆ พร้อมๆ กับกระบวนการวิพากษ์ความเป็นสมัยใหม่เองจนหลายๆ สังคมได้เดินไปสู่ความเป็นหลังสมัยใหม่หรืออย่างน้อยที่สุดได้เดินไปสู่ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่พยายามอย่างที่สุดที่จะผดุงคุณค่าแห่งการมีขันติธรรมต่อความเชื่อ ความคิด ความศรัทธาของผู้คนที่แตกต่างกัน
บางสังคมพหุวัฒนธรรมเดินไปสุดขั้วเสียจนถูกท้วงติงว่า "ขันติธรรม" นี้หมายรวมถึงขันติธรรมต่อ "วัฒนธรรม" ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยหรือไม่ เช่น วัฒนธรรมที่ให้หญิงหม้ายต้องกระโดดเข้ากองไฟตายตามสามี หรือวัฒนธรรมที่บังคับการขริบ ตัด เฉือน อวัยวะเพศหญิง
ในสแกนดิเนเวีย การต่อสู้กับความ "ดัดจริต" แห่งศีลธรรมทางเพศสำเร็จถึงขั้นที่ผู้หญิงสามารถถอดเสื้อว่ายน้ำได้เสมอภาคเท่าเทียมกันกับผู้ชาย
เพราะมันไม่ยุติธรรมสักนิดที่ "นม" ของผู้หญิงจะต้องตกเป็นจำเลยแห่งความลามก อนาจาร เป็นวัตถุแห่งการส่งเสริมการประกอบอาชญากรรมทางเพศ เป็นเหตุแห่งการยั่วยุทางกามมารมณ์แต่เพียงฝ่ายเดียว
ดังนั้น โลกแห่งเสรีนิยมจึงมีแค่สองทางเลือก คือ ผู้ชายจะใส่ทูพีซ หรือวันพีซ ปิดนมตัวเองตอนว่ายน้ำ หรือจะยอมให้ผู้หญิงถอดเสื้อว่ายน้ำ
คงมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่รู้ว่าทำไมเราเลือกข้อที่สอง ไม่ใช่ข้อที่หนึ่ง
ที่ออสเตรเลีย นักศึกษามหาวิทยาลัยซิดนีย์ ได้ออกวารสารของนักศึกษาชื่อ Honi Soit ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1929 ด้วยปก 18 โยนีของนักศึกษาจนถูกเซ็นเซอร์
นักศึกษาที่ทำปกนี้ออกมาให้เหตุผลว่า มันไม่ใช่ความลามก อนาจาร แต่เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า vagina นั้นโดยทั่วไปแล้วมักได้รับการปฏิบัติสองแบบเท่านั้นจากสังคม คือในแบบที่ทำให้มันเป็นเรื่องกามารมณ์จนเกินกว่าเหตุ (sexualized) เช่น ในหนังโป๊ หรือทำให้มันเป็น "มลทิน" ของผู้หญิง (stigmatized) จนเกินกว่าเหตุ (ในแง่นี้ Igarashi ใช้คำว่า overly forbidden)
การทำวารสารปกโยนีขึ้นมาก็เพื่อจะให้เราได้จ้องมองมันใหม่ว่าสำหรับเรามันคืออะไรกันแน่
มันต่างจาก แขน และขา และอื่นๆ ในร่างกายของเราอย่างไร
ท้ายที่สุดมันคือส่วนที่สกปรกที่สุดในร่างกายจริงหรือไม่?
การปิดบัง ซ่อนเร้น ในแง่หนึ่งคือการหล่อเลี้ยงความปรารถนา ผู้หญิงและผู้ชายจำนวนมากบอกว่า ปิดดีกว่าเปิด เพราะการเปิด มันไม่เหลืออะไรให้ค้นหา
ผู้หญิงและผู้ชายจำนวนไม่น้อย หยามหยันผู้หญิงที่แต่งตัวเปิดเผย โชว์ทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายออกมาช่างไร้รสนิยม เพราะการแต่งตัวให้ยวนใจอย่างลึกซึ้งจนถึงที่สุดคือการปิดมิดชิดและเลือกจะเปิดเพียงเล็กน้อยเพื่อเร้าความอยากรู้อยากเห็นต่างหาก
ในแง่นี้ การ "ปิด" จึงไม่ใช่ "ปิด" เพื่อ "ดับ" ความปรารถนา และ "ปิด เพื่อเร่งเร้าแรงปรารถนาให้รุนแรงยิ่งกว่า ทรงประสิทธิภาพกว่า
จึงนำไปสู่คำถามว่า การส่งเสริมให้ "ปิด" มากกว่า "เปิด" นั้น จริงๆ แล้ว เป็นการ "ปิด" ในนามของความบริสุทธิ์ (puritanism) หรือ "ปิด" เพื่อจรรโลงความเร้าใจเรื่องเพศไว้เป็นความหรรษาของมนุษยชาติไว้ชั่วกาลนานกันแน่?
เพราะถึงที่สุดการ "เปิด" แบบที่ Igarashi ทำต่างหากที่จะทำให้ความอีโรติกทั้งปวงในโลกนี้ให้มลายหายไป เหลือแต่เพียงเรือหน้าตาตลกๆ ลำหนึ่งเท่านั้น!
อย่างไรก็ตาม แม้ความเป็นสมัยใหม่จะกดทับเรื่องทางเพศ โดยเฉพาะเพศของผู้หญิงอย่างสาหัส แต่ก็มีเพียงความเป็นสมัยใหม่เท่านั้นที่จะอนุญาตให้เราวิพากษ์การกดทับของมัน ก่อนจะเลือกปลด
จิ๋ม คุณธรรม ในทรรศนะของ คำผกา วิวาทะว่าด้วย ปรัชญา การเมือง เรื่องเพศสถานะ
ไม่ใช่เรื่องข้อพิพาทกับจีน
ไม่ใช่เรื่องการทำสถิติใหม่ของรถไฟความเร็วสูงที่เร็วได้มากขึ้นไปอีก
ไม่ใช่เรื่องความน่ารักของหมี รีลักคุมะ
ไม่ใช่เรื่องที่โดราเอมอนได้เป็นทูตของการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
ทว่า เป็นการข่าวศิลปินหญิงวัย 42 ปี ชื่อ Megumi Igarashi ถูกตำรวจจับกุมดำเนินคดีข้อหาอนาจาร
อันเนื่องมาจากเธอได้ใช้เครื่องสแกนเนอร์ สแกนอวัยวะเพศของเธอ แล้วส่งไฟล์นั้นให้แก่ผู้บริจาคเงินสนับสนุนโครงการสร้างเรือที่จำลองแบบ "จิ๋ม" ของเธอ โดยที่เธอตั้งใจเอาไว้ว่า เรือคายักลำนี้จะเดินทางไป "แสดง" ทั่วโลก
ฉันเข้าใจว่า เหมือนเป็ดเหลืองของศิลปินดัตช์ ที่เดินทางไปทั่วโลกเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ตำรวจตีความการส่งไฟล์ให้แก่ผู้สนับสนุนทางการเงินของโครงการศิลปะชิ้นนี้ว่าหมายถึงการ "ขาย", "ครอบครอง" วัตถุอนาจาร จึงเข้าทำการจับกุมตัวเธอ
อย่างไรก็ตาม หลังการจับกุม เรื่องนี้กลายเป็นข่าวพาดหัวของหนังสือพิมพ์ทั้งโลก และเป็นดีเบตที่สั่นสะเทือนสังคมญี่ปุ่นทั้งสังคม
มีการระดมรายชื่อให้ปล่อยตัว อิการาชิ หรือชื่อที่เธอใช้ทำงานในฐานะนักวาดการ์ตูนว่า Rokudenashi-ko ซึ่งแปลว่า Good for Nothing Girl ในเว็บ Change.org.com
และในที่สุดเธอก็ได้รับการปล่อยตัวแล้ว
สําหรับคนนอกสังคมญี่ปุ่นรวมทั้งตัว ฉันออกจะตกใจกับข่าวนี้ เพราะในการรับรู้ของเรา จะมีสังคมไหนที่มีขันติธรรมต่อความ "เพี้ยน" ในเรื่องเพศมากไปกว่าสังคมญี่ปุ่นอีกหรือ?
งานภาพพิมพ์แกะไม้อีโรติกแสนพิสดารว่าด้วยการร่วมเพศของสตรีกับปลาหมึกยักษ์ หรือสัตว์ในเทพนิยายอื่นๆ ก็เป็นต้นแบบแห่งงานอีโรติกคลาสสิคอันลือลั่นและเป็นตำนาน
ยังไม่นับว่าอุตสาหกรรมหนังโป๊ของญี่ปุ่นนั้นขึ้นชื่อเรื่องความ "แปลก" ซึ่งได้กลายเป็นแขนงหนึ่งของสุนทรียศาสตร์ซึ่งแสนจะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองอย่างสูงยิ่ง
หรือการบุกเบิกหนังโป๊สำหรับผู้สูงวัย การที่ดาราเอวีได้รับการยอมรับในฐานะเซเลบริตี้
อันเป็นสิ่งที่แทบจะจินตนาการไม่ได้เลยว่าจะเกิดขึ้นได้กับสังคมไทย
ยังไม่นับความอิโรติกในงานการ์ตูนหรือ "มังกะ" ที่แฟนมังกะก็คงจะรู้ดีว่ามีบรรเจิดของจินตนาการขนาดไหนหรือแม้กระทั่งอีกแขนงหนึ่งของความรักความหวามไหวเชิงกามารมณ์ระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ ตัวการ์ตูน อะนิเมะ ต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่แม้จะไม่สามัญ แต่ก็ยอมรับได้ เข้าใจได้ในสังคมญี่ปุ่น
อะไรๆ ก็เป็นไปได้ขนาดนี้ แล้วทำไม การทำแม่พิมพ์จิ๋มของศิลปินผู้หญิงคนหนึ่งจึงเกือบจะกลายเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้
คอลัมนิสต์ตะวันตกจำนวนไม่น้อยมองว่ากฎหมายอนาจารของญี่ปุ่นเป็นมรดกของวัฒนธรรม พิวริทัน ของอเมริกาผ่านรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นที่แมกอาเธอร์ซึ่งเป็นพิวริทันจ๋าได้วางเอาไว้ และทำให้การแสดงภาพอวัยวะเพศทั้งหญิงและชายผ่านสื่อเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย
ดังนั้น แม้หนังโป๊หรือเอวีจะเป็นเรื่องถูกกฎหมายแต่ก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขของการมีโมเสกไว้ที่ภาพอวัยวะเพศ
แต่จากยูทูบของ Igarashi (ดูได้ที่ http://www.huffingtonpost.com/2014/07/15/vagina-artist-arrest-japan_n_5588664.html) จะทำให้เราเข้าใจว่า เรื่องนี้เป็นมากกว่าข้อห้ามของกฎหมาย
เพราะการห้ามแสดงภาพอวัยวะเพศ ไม่ได้ห้ามเฉพาะภาพอวัยวะเพศหญิงแต่ห้ามทั้งของหญิงและของชาย
แต่สิ่งที่รบกวนจิตใจของ Igarashi คือการที่เธอเข้าใจไม่ได้ว่า ทำไมคำว่าอวัยวะเพศหญิง Manko (มังโกะ) จึงเป็นคำต้องห้าม ซึ่งในที่นี้ สำหรับเธอแล้ว มันเท่ากับว่า อวัยวะเพศ ซึ่งก็คือ อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผู้หญิงเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจเดียดฉันท์ น่าขยะแขยงอย่างเหลือแสน
Igarashi ต้องการจะรื้อมายาคติ (Demythtified) ว่าด้วย "จิ๋ม" ในสังคมญี่ปุ่นว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องอาย ต้องปิดบัง ซ่อนเร้น ต้องทำราวกับว่าไม่มี "มัน" อยู่ในโลกนี้จริงๆ หรือ?
Igarashi บอกว่า เธอมีความอยากรู้ มีความกังวลใจอยู่เนืองๆ ว่า "จิ๋ม" ของเธอเหมือนของคนอื่นหรือเปล่า? และถึงที่สุดแล้ว "จิ๋ม" ของเธอมีอะไรผิดปกติหรือเปล่า?
มากไปกว่านั้น เธอเห็นว่าสังคมปฏิบัติต่อ "จู๋" ในแบบที่ สบายๆ เป็นกันเอง มีอารมณ์ขัน วัตถุที่มีรูปร่างคล้ายอวัยวะเพศชาย เป็นสิ่งที่น่ารัก น่าเอ็นดู ขายได้ในวัฒนธรรมป๊อป
แม้แต่ผู้หญิงเอง ยังชอบเล่นกับภาพล้อหรือวัตถุที่ทำมาล้ออวัยวะเพศชาย เช่น ไอศกรีมแท่ง แต่กลับไม่มีอารมณ์ขันหรือความเป็นกันเองกับอวัยวะเพศหญิงเลย
ทุกครั้งที่เธอพูดคำว่า "มังโกะ" ออกไป ทุกคนจะหันมามองเธอเหมือนเป็นตัวประหลาด เหมือนกับว่าเธอกำลังก่ออาชญากรรม
ในที่นี่ฉันอยากจะขยายความว่า เหตุที่ Igarashi พยายามจะต่อสู้ในเรื่องนี้ก็เพราะ แม้แต่การพูดว่า "มังโกะ" ออกทีวีของเธอก็ถูกแทนที่ด้วยเสียง "ปี๊บบบบบบบ" คือถูกเซ็นเซอร์นั่นเอง
ในขณะที่รายการ "บันเทิง" ดาษๆ ในทีวีญี่ปุ่นนั้นการ "ละลาบละล้วง" ร่างกายผู้หญิงด้วยความหยาบโลน คือความตลกขบขันอย่างสามัญธรรมดา และไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ต้อง "โกรธ"
ทว่า การพูดถึง "มังโกะ" ในฐานะที่เป็นอวัยวะของร่างกายกลับเป็นเรื่องบัดสีบัดเถลิง
ดังนั้น Igarashi ไม่ได้ต้องการทำอะไรมากไปกว่า อยากจะให้ อวัยวะเพศหญิงเป็นอะไรที่สามารถอยู่กับชีวิตประจำวันของทุกคนได้อย่างเป็น "กันเอง" มากขึ้น มีความเป็น "ป๊อป" มากขึ้น
เธอจึงตั้ง Art Association of Genital หรือสมัชชาศิลปะอวัยวะเพศขึ้นมา โดยที่ตัวเธอเองเริ่มทำงานศิลปะจากแม่พิมพ์อวัยวะเพศของเธอเอง
จากนั้น นำมันไปประดับตกแต่งทำเคสไอโฟน และอื่นๆ เธอเรียกตัวเองว่า Deco Man Artist มาจากคำว่า Decoration Manko Artist หมายถึงศิลปินผู้ทำงานตกแต่งจิ๋ม (จากแม่พิมพ์)
Igarashi ยังตั้งใจจะทำ workshop ให้กับผู้หญิงที่สนใจอยากทำของใช้ในชีวิตประจำวันด้วยแม่พิมพ์จิ๋มของตน หรือสำหรับคนที่อยู่ไกลๆ เธอก็จะผลิตคู่มือ อุปกรณ์เพื่อทำแม่พิมพ์จิ๋มของตนเองด้วยตนเอง
จากนั้น แต่ละคนก็สามารถนำแม่พิมพ์นี้ไปประดับตกแต่งในสไตล์ที่ตนเองชอบและดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ไม่สอยตามชอบใจ
เธอยังหวังว่าในอนาคตนอกจากทำของใช้ชิ้นเล็กๆ อย่างเคสสมาร์ตโฟน เธอยังอยากทำที่นอนทรงจิ๋ม รถยนต์ทรงจิ๋ม ทำเรือทรงจิ๋ม
อย่างไรก็ตาม การทำแม่พิมพ์นี้ค่อนข้างยากจน กระทั่งมีเทคโนโลยีปริ๊นเตอร์ 3d ทำให้การทำแม่พิมพ์จิ๋มง่ายขึ้นมาก เพียงแค่ใช้สแกนเนอร์ สแกนจิ๋มในท่วงท่าของการถ่ายเซลฟ์ฟี่ จากนั้นนำไปเข้าเครื่องปริ๊นต์สามมิติ เราก็จะได้แม่พิมพ์จิ๋มออกมาอย่างง่ายดาย
Igarashi จึงทำเรือคายักจากแม่พิมพ์จิ๋มของเธอขึ้นมา ซึ่งถ้าเราดูรูปแล้วจะเห็นว่า มันเป็นเรือที่หน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูมากกว่าจะให้ความรู้สึกของความอนาจาร
กรณีการจับกุม Igarashi ได้ปลุกให้สังคมญี่ปุ่นหันมาสนใจความสองมาตรฐานในสังคมญี่ปุ่นและการกดขี่ ดูถูกผู้หญิง ทั้งนี้ ยังไม่นับว่า ประเด็น เกย์ และเลสเบี้ยน แทบจะไม่เป็นประเด็นที่ถูกอภิปรายกันอย่างจริงจังในสื่อมวลชนของญี่ปุ่น และคนญี่ปุ่นจำนวนมากยังทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้การมีอยู่ของเพศที่สาม ไม่ต้องพูดถึงการใช้ชีวิตคู่ อยู่กินกันฉันสามีภรรยาของคนเพศเดียวกันอันเป็นเรื่องที่แทบจะจินตนาการไม่ได้ (คิดเรื่องการแต่งงานกับตุ๊กตายางยังเข้าใจได้ง่ายกว่าคิดเรื่องการแต่งงานกันของเกย์)
สื่อเริ่มตั้งคำถามว่า ประเพณีการแห่ "ลึงก์" ของผู้ชาย Kanamara Matsuri นั้นเป็นงานเทศกาลรื่นเริงแห่งฤดูใบไม้ผลิที่ใครๆ ก็ไปร่วมสนุก โดยมิได้รู้สึกเดียดฉันท์
แล้วเมื่อไหร่กันที่โยนีของหญิงหายไปจากพื้นที่สาธารณะและแม้แต่ในร่องรอยของพิธีกรรมที่แห่แหนบูชาเทพเจ้าแห่งความบริบูรณ์ก็พลอยอันตรธานไปด้วย
แนวคิดว่าด้วยเรื่องเพศ ในฐานะที่เป็นสิ่งลามก อนาจาร ต้องปิดบังซ่อนเร้น กระมิดกระเมี้ยน หรือต้องปฏิบัติต่อมันราวกับว่าไม่มีมันอยู่ในโลกใบนี้ และการเกิดของเด็กทุกคนในโลกนี้ก็ล้วนเกิดมาจาก "ความรัก"
พอพูดว่า เราเกิดมาจากความรัก ก็ชวนให้นึกถึงภาพอาทิตย์อัสดง ท้องฟ้าสีทอง ดอกกุหลาบสีแดง สีชมพู การจุมพิตที่หลังมือของหญิงและชาย ชุดแต่งงานสีขาวบริสุทธิ์
ไม่ใช่ภาพอื่นๆ ที่เป็นต้นธารของการปฏิสนธิที่แท้จริง เป็นมรดกของความเป็นสมัยใหม่ กำเนิดกระฎุมพี (ที่ต้องการแยกตนเองออกมาจากชนชั้นล่างและชนชั้นสูง) และรัฐชาติ
ส่วนจะมีดีกรีความเข้มข้นแห่งความ "บริสุทธิ์" แค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่า ความเป็นสมัยใหม่นี้ได้ถูกนำไปผสมกับวัฒนธรรมเดิม โดยเฉพาะ "ศาสนา" และ "การเมือง" ในแต่ละท้องถิ่นอย่างไร
ดังนั้น การเป็นคำต้องห้ามของคำว่า Manko จึงไม่ได้ปรากฏแต่ในสังคมญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ปรากฏอย่างเป็นสากลในโลกสมัยใหม่ทุกแห่งในโลกนี้
แต่ด้วยความเป็น "สมัยใหม่" นี้ที่มีลัทธิเสรีนิยมประชาธิปไตยเป็นส่วนหนึ่งของมันมาตั้งแต่แรก สังคมสมัยใหม่จำนวนไม่น้อยจึงกระกระสนที่จะขยายพรมแดนแห่งเสรีภาพและความเสมอภาคออกไปเรื่อยๆ พร้อมๆ กับกระบวนการวิพากษ์ความเป็นสมัยใหม่เองจนหลายๆ สังคมได้เดินไปสู่ความเป็นหลังสมัยใหม่หรืออย่างน้อยที่สุดได้เดินไปสู่ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่พยายามอย่างที่สุดที่จะผดุงคุณค่าแห่งการมีขันติธรรมต่อความเชื่อ ความคิด ความศรัทธาของผู้คนที่แตกต่างกัน
บางสังคมพหุวัฒนธรรมเดินไปสุดขั้วเสียจนถูกท้วงติงว่า "ขันติธรรม" นี้หมายรวมถึงขันติธรรมต่อ "วัฒนธรรม" ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยหรือไม่ เช่น วัฒนธรรมที่ให้หญิงหม้ายต้องกระโดดเข้ากองไฟตายตามสามี หรือวัฒนธรรมที่บังคับการขริบ ตัด เฉือน อวัยวะเพศหญิง
ในสแกนดิเนเวีย การต่อสู้กับความ "ดัดจริต" แห่งศีลธรรมทางเพศสำเร็จถึงขั้นที่ผู้หญิงสามารถถอดเสื้อว่ายน้ำได้เสมอภาคเท่าเทียมกันกับผู้ชาย
เพราะมันไม่ยุติธรรมสักนิดที่ "นม" ของผู้หญิงจะต้องตกเป็นจำเลยแห่งความลามก อนาจาร เป็นวัตถุแห่งการส่งเสริมการประกอบอาชญากรรมทางเพศ เป็นเหตุแห่งการยั่วยุทางกามมารมณ์แต่เพียงฝ่ายเดียว
ดังนั้น โลกแห่งเสรีนิยมจึงมีแค่สองทางเลือก คือ ผู้ชายจะใส่ทูพีซ หรือวันพีซ ปิดนมตัวเองตอนว่ายน้ำ หรือจะยอมให้ผู้หญิงถอดเสื้อว่ายน้ำ
คงมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่รู้ว่าทำไมเราเลือกข้อที่สอง ไม่ใช่ข้อที่หนึ่ง
ที่ออสเตรเลีย นักศึกษามหาวิทยาลัยซิดนีย์ ได้ออกวารสารของนักศึกษาชื่อ Honi Soit ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1929 ด้วยปก 18 โยนีของนักศึกษาจนถูกเซ็นเซอร์
นักศึกษาที่ทำปกนี้ออกมาให้เหตุผลว่า มันไม่ใช่ความลามก อนาจาร แต่เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า vagina นั้นโดยทั่วไปแล้วมักได้รับการปฏิบัติสองแบบเท่านั้นจากสังคม คือในแบบที่ทำให้มันเป็นเรื่องกามารมณ์จนเกินกว่าเหตุ (sexualized) เช่น ในหนังโป๊ หรือทำให้มันเป็น "มลทิน" ของผู้หญิง (stigmatized) จนเกินกว่าเหตุ (ในแง่นี้ Igarashi ใช้คำว่า overly forbidden)
การทำวารสารปกโยนีขึ้นมาก็เพื่อจะให้เราได้จ้องมองมันใหม่ว่าสำหรับเรามันคืออะไรกันแน่
มันต่างจาก แขน และขา และอื่นๆ ในร่างกายของเราอย่างไร
ท้ายที่สุดมันคือส่วนที่สกปรกที่สุดในร่างกายจริงหรือไม่?
การปิดบัง ซ่อนเร้น ในแง่หนึ่งคือการหล่อเลี้ยงความปรารถนา ผู้หญิงและผู้ชายจำนวนมากบอกว่า ปิดดีกว่าเปิด เพราะการเปิด มันไม่เหลืออะไรให้ค้นหา
ผู้หญิงและผู้ชายจำนวนไม่น้อย หยามหยันผู้หญิงที่แต่งตัวเปิดเผย โชว์ทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายออกมาช่างไร้รสนิยม เพราะการแต่งตัวให้ยวนใจอย่างลึกซึ้งจนถึงที่สุดคือการปิดมิดชิดและเลือกจะเปิดเพียงเล็กน้อยเพื่อเร้าความอยากรู้อยากเห็นต่างหาก
ในแง่นี้ การ "ปิด" จึงไม่ใช่ "ปิด" เพื่อ "ดับ" ความปรารถนา และ "ปิด เพื่อเร่งเร้าแรงปรารถนาให้รุนแรงยิ่งกว่า ทรงประสิทธิภาพกว่า
จึงนำไปสู่คำถามว่า การส่งเสริมให้ "ปิด" มากกว่า "เปิด" นั้น จริงๆ แล้ว เป็นการ "ปิด" ในนามของความบริสุทธิ์ (puritanism) หรือ "ปิด" เพื่อจรรโลงความเร้าใจเรื่องเพศไว้เป็นความหรรษาของมนุษยชาติไว้ชั่วกาลนานกันแน่?
เพราะถึงที่สุดการ "เปิด" แบบที่ Igarashi ทำต่างหากที่จะทำให้ความอีโรติกทั้งปวงในโลกนี้ให้มลายหายไป เหลือแต่เพียงเรือหน้าตาตลกๆ ลำหนึ่งเท่านั้น!
อย่างไรก็ตาม แม้ความเป็นสมัยใหม่จะกดทับเรื่องทางเพศ โดยเฉพาะเพศของผู้หญิงอย่างสาหัส แต่ก็มีเพียงความเป็นสมัยใหม่เท่านั้นที่จะอนุญาตให้เราวิพากษ์การกดทับของมัน ก่อนจะเลือกปลด