ช่วงราคา DILUTION EFFECT เพิ่มทุน ปันผล และ วอแรนท์ !! สำหรับมือใหม่

กระทู้คำถาม
หุ้นขึ้น XR เพิ่มทุน จะ Dilute ทั้งหมด 4 ช่วง  (สมมุติวันนี้วันที่ 1/5/2557)

ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยุ่กับเจ้ามือด้วย (เดาใจธรรมาภิบาลของบริษัทดูจากประวัติที่เคยเพิ่มทุนก็ได้ครับ)

สมมุติ คุณเป็นเจ้ามือ หุ้นชื่อ XX แล้วคุณต้องการเงินจากคนที่ถือหุ้น อยู่ๆคุณประกาศเพิ่มทุน คงไม่มีใครยอมจ่ายตังเพิ่มทุนให้ เพราะไม่มีใครรู้
ว่าบริษัทจะดีขึ้นอย่างที่ว่าไว้หรือป่าว และ ราคามันจะลงมากกว่าที่เพิ่มทุนไหม (ให้ดูเหตุผลของบริษัทด้วยนะว่าเอาเงินเพิ่มทุนไปทำอะไร)

เพื่อให้เป็นไปตามแผนของเจ้ามือ เวลาเจ้ามือจะลาก หากหุ้นไหนมีสภาพคล่องสูง แสดงว่าวอลุ่ม ต้องเยอะ
ถ้าเจ้ามือลากเองคนเดียวคงเหนื่อยแย่ จึงต้องใช้วิธี ตั้ง Bid เยอะๆ หลอก เพื่อให้คนโยนฝั่ง offer หรือลากตอนแรกๆ นอกนั้นให้รายย่อย
ดันเอง เพื่อที่ จะให้หุ้นตัวนั้น ติด Cash balance สังเกตุจากช่วง Cash balance ช่วงขาขึ้น  = เจ้าทำนิว high  
เสริมนิดนึง หุ้นที่ติด Cash balance จะขึ้นเครื่องหมาย TS หรือ CA หลังหุ้นตัวนั้นๆ

เอาล่ะ พอติด cash balance ละ เสร็จเจ้ามือเลยทีนี้ เพราะจะต้อง ใช้เงินสดในการซื้อขาย เจ้ามือสร้างราคาขึ้นได้ง่ายขึ้น เพราะถ้าเจ้ามือมีเงินสดมากพอ ก็ใช้วิธีลากยาวๆทีเดียว ขึ้นมาเลยได้ เพราะ ปริมาณซื้อขายในวันของหุ้นตัวนั้นจะลดลง

วันที่ 1/5/2557
สมมุติให้หุ้น XX  ราคาอยุ่ที่ 3 บาท/หุ้น

วันที่ 5/5/2557
เจ้าลากให้หุ้นตัวนี้ ไปอยุ่ที่ 10 บาท/หุ้น พร้อมกับประกาศว่าจะมีมติให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์เพิ่มทุนในวันที่ 10/5/2557  (วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XR)
โดยให้สิทธิ์เพิ่มทุนในอัตรา 3 หุ้นเก่า : 1 หุ้นใหม่ ในราคา 2 บาท/หุ้น  จ่ายตังเพิ่มทุนวันที่ 15/5/2557 - 20/5/2557

ดังนั้น หากคุณเป็นเจ้ามือ คุณก็ต้องลากหุ้นตัวนั้นให้สูงๆ พอสูงได้ประมาณนึงที่ตั้งใจไว้ ก็ประกาศมีมติให้เพิ่มทุน
และเจ้าจะทุบ เพื่อให้ผู้ที่ถือหุ้นติดที่ราคาสูงๆ จะได้ยอมจ่ายเงินเพิ่มทุน เหมือนโดน
บังคับ ถ้าไม่เพิ่มก็ต้องขายก่อนวันเพิ่มทุน แต่ต้องยอม Cut loss ดังนั้นเจ้าจึงต้องลากสูงๆแล้วทุบ ให้รายย่อยติดที่ราคาสูงๆ


Dilute ช่วงแรก
วันที่ 6/5/2557
เจ้าทุบ ราคาเหลือ 3 บาท/ หุ้น (ราคาเพิ่มทุน 2 บาท/หุ้น)
ซึ่งเจ้าพยายามพยุงไว้ให้ราคาสูงกว่าราคาเพิ่มทุน เพื่อให้รายย่อยมั่นใจว่าเพิ่มทุนแล้วราคาจะไม่ต่ำกว่าเดิม
ส่วนคนที่ ติดดอยที่ราคา 10 บาท/หุ้น ก็ทำใจไว้ว่าจะ ขาย หรือ จะเพิ่มทุน ถ้าไม่เพิ่ม จะเสียสิทธิ์ฟรีๆ เพราะยังต้องเจอช่วง dilute
อีก 3 ช่วง

Dilute ช่วงที่ 2
ก่อนวันที่ 10/5/2557 (วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XR) ก่อนหน้าวันนั้นสัก 5 วัน ราคาจะ dilute เหตุเพราะ ส่วนนึงมีคนเทขายออกมา
อาจรวมถึงเจ้ามือด้วย  เพื่อให้ยอมเพิ่มทุน โดยส่วนมาก จะ dilute แบบไม่มีโอกาศขายอ่ะ เหมือนจำยอมต้องเพิ่มทุน ถ้ายิ่งถือใกล้ XR
ถ้าถือถึงวันที่ขึ้นเครื่องหมาย XR จะมีสิทธิ์เพิ่มทุน  คนเพิ่มทุน ก็มี 2 แบบ คนที่ทุนต่ำอยุ่แล้ว เพิ่มทุนเพื่อได้ปริมาณเพิ่มขึ้น
กับคนที่ ติดดอย ยอมถือถึงเพิ่มทุน เพื่อที่จะได้ถัวลง (ต้องมั่นใจบริษัทในอนาคตนะ) ถ้าหุ้นไม่ดี ก็ขายดีกว่า..

Dilute ช่วงที่ 3
ปกติเครื่องหมาย XR จะขึ้นอาทิตย์นึง ช่วงนั้น หุ้นจะทรงๆ นิ่งๆ แต่พอถึงวันจ่ายตังเพิ่มทุนล่ะ
จ่ายตังเพิ่มทุนวันที่ 15/5/2557 - 20/5/2557 เจ้าจะลากอีกทีก่อนจ่ายตัง เพื่อให้มั่นใจว่าเพิ่มทุนแล้ว ราคากระดาน คงไม่ต่ำกว่าราคาเพิ่มทุนนะ
แต่ มันจะมีคนที่ติดดอย กับ ทุนต่ำ เทขายออก บางส่วน เพื่อเอาตังไปเพิ่มทุน  ต้องขายหุ้นตัวเองออก
ในอัตรา 3 หุ้นเก่า : 1 หุ้นใหม่ ต้องขายออก 1 ส่วน จาก 3 ส่วน แล้วเอาเงินตรงนั้นไปจ่ายเงินเพิ่มทุน ดังนั้น ราคาจะ dilute ช่วงจ่ายตังเพิ่มทุนนี่แหละ   ในกรณีไม่มีตัง หรือ ทุนต่ำจริงๆ

Dilute ช่วงที่ 4
วันที่คนที่จ่ายตังเพิ่มทุน หุ้นเข้าพอร์ต วันนั้น ราคาหุ้นจะ dilute เพราะ คนที่ติดดอยสูง จากการโดนลาก ไหนจะคนที่มีทุนต่ำ ได้เพิ่มทุนถัวต่ำ
ลงไปอีก เทขายทำกำไร นั่นแหละ ราคาจะ dilute  ลงไปอีก ส่วนใหญ่ จะเข้า 4-5 สัปดาห์ หลังจ่ายตัง

สรุป ช่วงที่ราคา Dilute มี 4 ช่วง

1. วันที่ 1/5/2557 (วันสมมุติ) นี่คือช่วงราคา Dilute แรก  ช่วงที่คณะกรรมการมีมติประกาศว่า จะมีสิทธิ์เพิ่มทุน ในวันที่ 5/5/2557 (ขึ้น XR)

2. ก่อน วันที่ 5/5/2557 (วันสมมุติ) ก่อนวันที่ขึ้นเครื่องหมาย XR  เพราะเจ้ามือทุบ เพื่อให้ยอมจ่ายตังเพิ่มทุน

3. วันที่ 15/5/2557 - 20/5/2557  วันที่จ่ายตังเพิ่มทุน เจ้าต้องพยายามพยุงราคาในกระดานให้สูงกว่าราคาเพิ่มทุน เพื่อให้คน
   เชื่อมั่นแล้วยอมเพิ่มทุน แต่จะมีคน เทขายเยอะ มาจากไม่มีตัง หรือทุนต่ำๆ  (ขายออก 1 ส่วน จาก 3 ส่วน) เพื่อเอาตังมาเพิ่มทุน

4. วันที่คนที่จ่ายตังเพิ่มทุน หุ้นเข้าพอร์ต วันนั้น ราคาหุ้นจะ dilute เพราะ คนที่ติดดอยสูง จากการโดนลาก ไหนจะคนที่ทุนต่ำ ได้เพิ่มทุน
ได้ราคาต่ำกว่าเดิมอีก เทขายทำกำไร  ราคาจะ dilute ลงไปอีก ส่วนใหญ่ จะเข้า 4-5 สัปดาห์ หลังจ่ายตัง

มันไม่แน่นอนเสมอไป  ผมถึงใช้คำว่า "อาจจะ" เพราะทุกอย่างขึ้นกับเจ้ามือล้วนๆ




ขอเพิ่มเติมนิดนึงนะครับ  สำหรับช่วงปันผล  จะขึ้นเครื่องหมาย XD หรือ SD ช่วงที่ Dilution Effect

จะ Dilute ช่วง วันที่ขึ้นเครื่องหมาย และหลังจากวันนั้น (ใครถือถึงวันขึ้น XD จะมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล)

วันนั้น หุ้นแต่ละหุ้นจะมีมูลค่าลดลง เนื่องจากกำไรของ “ทั้งบริษัท” ยังเท่าเดิม แต่ “ปริมาณหุ้นในตลาด” มีมากขึ้น จึงส่งผลให้ “กำไรต่อหุ้น” (Earnings per Share หรือ EPS) ลดต่ำลง เนื่องจากมี  “ตัวหาร” มากขึ้น

เช่น สมมุติทั้งบริษัทมีกำไร 1,400 ล้านบาท เดิมมีหุ้นอยู่ในตลาด 700 ล้านหุ้น EPS จึงเท่ากับ 2 บาท ต่อมา เมื่อปริมาณจ่ายปันผลเป็นหุ้นในอัตรา 7: 1 หุ้นในตลาดจึงเพิ่มขึ้นเป็น 800 ล้านหุ้น ทำให้ EPS ลดลงเหลือ 1400 / 800 = 1.75 บาท ดังนั้น ตามตรรกะแล้ว ราคาหุ้นในตลาดก็ควรจะปรับลดลงตามสัดส่วนเช่นกัน

เพราะฉะนั้น ผลของการจ่ายปันผลเป็น “เงินสด” กับการจ่ายเป็น “หุ้น” จึงไม่เหมือนกัน เพราะการได้ปันผลเป็นเงินสด เราได้เงินจริงๆ โดยไม่เสียอะไรไป แต่การจ่ายปันผลเป็นหุ้นจะเป็นการ “ลดทอนมูลค่า” ของหุ้นในมือเราไปพร้อมๆ กัน (แม้เราจะมีสัดส่วนความเป็นเจ้าของอยู่เท่าเดิม เนื่องจากผู้ถือหุ้นทุกคนได้รับแจกหุ้นเท่าๆ กัน)

โดยมากแล้ว จุดประสงค์ของบริษัทในการจ่ายปันผลเป็นหุ้นคือ ต้องการเก็บเงินสดเอาไว้เพื่อใช้ขยายกิจการ แต่ก็ต้องการที่จะจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นด้วย (ส่วนหนึ่งอาจเพราะต้องการรักษาระดับราคาหุ้นในตลาดไว้ ไม่ให้นักลงทุนผิดหวัง) จึงจ่ายออกมาในรูปของหุ้นแทน




ส่วน หุ้นวอแรนท์ หรือหุ้นลูกนะครับ เช่น -w1 , -w2  (วันที่ใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นแม่จะขึ้น XW )  ช่วงที่ Dilution Effect

หุ้นนี้ ถ้าจะซื้อนะครับให้ดูที่วันที่ใช้สิทธิ์ จากข่าวใน www.set.or.th ในเอกสาร สำคัญมากนะ หากถึงวันนั้นเราจะต้องใช้สิทธิ์
ซื้อ ซึ่ง ราคาอาจจะมากกว่าหุ้นแม่ก็ได้ หุ้น warrant + ราคาใช้สิทธิ์ หากมากกว่าหรือเท่ากับ หุ้นแม่ ควรเลี่ยง และควรดูวันหมดอายุ
ยิ่งใกล้วันหมดอายุ คนยิ่งขาย เพราะหากหมดอายุ จะกลายเป็นไม่มีค่าทันที  

ช่วง Dilute ของหุ้นวอเรนท์ จะอยุ่ที่ช่วงใช้สิทธิ์นี่แหละ ยิ่งใกล้ใช้สิทธิ์ 1 เดือน ต่อให้ หุ้นแม่วิ่ง ตัวลูกก็นิ่งนะครับ เพราะ ไม่มีใครอยากใช้สิทธิ์
ควรหลีกเลี่ยงก่อนวันหมดอายุ 1 ปี ยิ่งดี

ทั้งนี้ทั้งนั้นนะครับ ไม่ว่าจะเป็น ช่วงเพิ่มทุน ช่วงปันผล ช่วงใช้สิทธิ์วอเเรนท์
ควรเลือกหุ้นตามสภาพคล่อง เพราะสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นมากเกินไปก็นำมาสู่การเกิด price dilution มากตาม
ไปด้วย อีกทั้งเป็นภาระของผู้ถือหุ้นที่ต้องหาเงินมาจ่ายให้กับบริษัท ดังนั้นบริษัทต้องวางแผนการ
เพิ่มสภาพคล่องโดยคำนึงการเปลี่ยนแปลงของราคา และปริมาณหุ้น รวมไปถึงภาระต่อผู้ถือหุ้น ใน
กรณีวอแรนท์จะมีความซับซ้อนในประเด็นข้างต้นมากขึ้น เพราะต้องวางแผนระยะเวลาในการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญ


คนส่วนใหญ่มองว่า สภาพคล่องเป็นข้อดี แต่ผมมองว่า มันไม่ดี เพราะต้องจัดการกับอารมณ์สูง
ซึ่งหากสภาพคล่องต่ำ แน่นอนมันช้า แต่มันก็ทำให้เรามีสติ เวลาจะทำอะไร จะได้ไม่ผิดพลาด ครับ

ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่