เยาวชนรุ่งในประชาคมอาเซียน อนาคตจากสายอาชีวะ

หลายคนมักมองว่าการเรียนอาชีวศึกษาเป็นเหมือนเด็กประเภทสอง มีความรุนแรงแฝง และไม่มีทางไป ซึ่งภาพลักษณ์เหล่านี้เป็นอุปสรรคสำคัญที่พ่อแม่ไม่ยอมส่งลูกไปเรียนในสายนี้ แต่ปัจจุบันสังคมกำลังเปลี่ยนแปลงไป อีกไม่นานการศึกษาสายอาชีพจะกลายเป็นยุทธศาสตร์ของการพัฒนาชาติ เยาวชนไทยที่เข้าสู่สายอาชีพจะเป็นแรงงานไม่เพียงในประเทศเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสในตลาดแรงงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
                        สถิติของสนง.สถิติแห่งชาติที่ระบุจบคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรม ตกงานสูง เรื่องนี้คาดเดาได้ไม่ยาก เพราะทั้งสองคณะยอดฮิต มีการแตกออกมาเป็นหลายสาขา หากรู้จักเลือกเรียนสาขาที่ขาดแคลนและทุ่มเทให้กับการเรียนจนเป็นผู้ที่มีศักยภาพสูงก็ย่อมเป็นที่ต้องการของนายจ้าง ตรงกันข้ามหากเรียนไปตามหลักสูตรแต่ไม่พัฒนาตนเองให้เหนือกว่าคนอื่น ๆ โอกาสตกงานก็ย่อมมีสูงเป็นธรรมดา
"ฝีมือชนคือ คนที่เรียนสายอาชีวะ ซึ่งเป็นทั้งนักคิดและนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญในวิชาชีพ และเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชาติ" ในอนาคตคุณภาพแรงงานจึงไม่ใช่เพียงการจบปริญญาแต่ขึ้นอยู่กับการทำงานที่มีคุณภาพ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นไปได้สูงที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม และฟิลิปปินส์ จะเข้ามาศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษาในไทย และจะเข้ามาอยู่ในตลาดแรงงานบ้านเรา หากไม่เตรียมตัวให้พร้อม ประเทศเพื่อนบ้านก็จะมายึดครองสัดส่วนของตลาดแรงงานในกลุ่มนี้
                       คนที่จบ วิศวะ โดยการเรียนม.ปลาย แล้วมาต่อ ป.ตรี 4 ปี  กับคนที่เรียน ปวช 3 ปี และ ปวส 2 ปี ป.ตรี อีก 3 ปี-3 ปีครึ่ง คุณคิดเหมือนเราไหม ? ว่าเด็กที่เรียนอาชีวะมาก่อนจะเก่งในเรื่องภาควิชาปฏิบัติเพราะได้ปฏิบัติมาตั้งแต่ตอนเรียน ปวช และในภาคทฤษฎีเด็กพวกนี้ก็ได้เรียนมาเหมือนกัน ซึ่งต่างจากเส้นทางที่เด็กเรียนม.ปลายและมาต่อป.ตรี เท่าที่รู้มาจากประสบการณ์จริงเวลาทำงานจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาในวิชาชีพได้เลยจะมีก็แต่ความคิดที่เป็นหลักการ เวลาเกิดปัญหาอะไรขึ้นก็มักจะจ้างซัพพลายเออร์ข้างนอกเข้ามาแก้ปัญหา ซึ่งต่างจากเด็กที่เคยเรียนสายอาชีวะมาก่อนมักจะสามารถแก้ปัญหาในเชิงปฏิบัติได้ดีช่วยประหยัดคอสให้บริษัท เด็กพวกนี้เลยเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานค่อนข้างสูงกว่า
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่