.......ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แวต เป็นภาษีสำหรับผู้บริโภคเท่านั้น
เมื่อเราออกไปจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการ
ผู้ประกอบการค้าจะคิดคำนวณภาษีและบวกไปกับราคาสินค้าและบริการไว้เรียบร้อยแล้ว
โดยมีการแยกราคาสินค้า และภาษีมูลค่าเพิ่มให้เห็นชัดเจนในใบเสร็จรับเงิน หรือ ใบกำกับภาษี
เช่น เราจ่ายค่าสินค้า 535 บาทจะเป็นราคาสินค้าจริง 500 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 35 บาท
......แม้ทุกวันนี้ ประชาชนทุกคนต้องเสียภาษีเงินได้ หรือ ภงด.อยู่แล้ว
แต่บางคนรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ก็ไม่ต้องเสียภาษี
และยังสามารถขอคืนลดหย่อนได้ในกรณีต่างๆ อีก
ขณะที่ภาษีนิติบุคคล ที่เป็นรายได้จากห้างร้าน บริษัทต่างๆ ไม่พอที่จะใช้พัฒนาประเทศ
และยังมีกลุ่มคนที่มีรายได้แต่แอบไม่เสียภาษีอีก
ภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นภาษีทางอ้อมที่บังคับให้ผู้บริโภคทุกคนต้องเสียภาษี
และเมื่อเวลาที่รัฐบาลมีรายได้ไม่พอพัฒนาประเทศ
การปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่ได้เม็ดเงินมากและรวดเร็วที่สุด
.....โดยภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย แต่เดิมได้ถูกกำหนดไว้ที่ 10%
แต่เมื่อหลายปีก่อนรัฐบาลต้องการให้ประชาชนได้มีการใช้จ่ายมากขึ้น
เพื่อให้มีแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ จึงได้ลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือเพียงแค่ 7%
ซึ่งถือว่าเป็นอัตราต่ำสุดในอาเซียน
โดยมี 3 ประเทศที่ไม่ได้จัดเก็บได้แก่ บรูไน มาเลเซีย และเมียนมาร์
ในปีหน้า จะมีการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
จึงต้องปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มให้สอดคล้องกับประเทศอื่นในอาเซียนด้วย
.....กระทรวงการคลังศึกษาพบว่า
การเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม จาก 7 เปอร์เซ็นต์เป็น 10 เปอร์เซ็นต์
มีผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 1.82 เปอร์เซ็นต์
และการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 เปอร์เซ็นต์
จะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจลดลง 0.015 เปอร์เซ็นต์
แม้ภาษีมูลค่าเพิ่ม อาจเรียกได้ว่า เป็นภาษีถ้วนหน้า
เพราะทุกคนต้องจ่ายเมื่อจับจ่ายใช้สอย
แต่กลุ่มนิติบุคคล บริษัท ห้างร้าน สามารถขอหักภาษีคืนได้
ต่างจากบุคคลทั่วๆไปที่มีเงินเดือน รายได้ ต้องรับภาระไว้ทั้งภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในส่วนระบบแวตเองนั้น ก็ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างทั่วถึง
เพราะพ่อค้าแม่ขายตามตลาดขายของไม่เคยมีใบเสร็จ
เครดิต : ข่าว 7สี
.........ทำไมต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อเราออกไปจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการ
ผู้ประกอบการค้าจะคิดคำนวณภาษีและบวกไปกับราคาสินค้าและบริการไว้เรียบร้อยแล้ว
โดยมีการแยกราคาสินค้า และภาษีมูลค่าเพิ่มให้เห็นชัดเจนในใบเสร็จรับเงิน หรือ ใบกำกับภาษี
เช่น เราจ่ายค่าสินค้า 535 บาทจะเป็นราคาสินค้าจริง 500 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 35 บาท
......แม้ทุกวันนี้ ประชาชนทุกคนต้องเสียภาษีเงินได้ หรือ ภงด.อยู่แล้ว
แต่บางคนรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ก็ไม่ต้องเสียภาษี
และยังสามารถขอคืนลดหย่อนได้ในกรณีต่างๆ อีก
ขณะที่ภาษีนิติบุคคล ที่เป็นรายได้จากห้างร้าน บริษัทต่างๆ ไม่พอที่จะใช้พัฒนาประเทศ
และยังมีกลุ่มคนที่มีรายได้แต่แอบไม่เสียภาษีอีก
ภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นภาษีทางอ้อมที่บังคับให้ผู้บริโภคทุกคนต้องเสียภาษี
และเมื่อเวลาที่รัฐบาลมีรายได้ไม่พอพัฒนาประเทศ
การปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่ได้เม็ดเงินมากและรวดเร็วที่สุด
.....โดยภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย แต่เดิมได้ถูกกำหนดไว้ที่ 10%
แต่เมื่อหลายปีก่อนรัฐบาลต้องการให้ประชาชนได้มีการใช้จ่ายมากขึ้น
เพื่อให้มีแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ จึงได้ลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือเพียงแค่ 7%
ซึ่งถือว่าเป็นอัตราต่ำสุดในอาเซียน
โดยมี 3 ประเทศที่ไม่ได้จัดเก็บได้แก่ บรูไน มาเลเซีย และเมียนมาร์
ในปีหน้า จะมีการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
จึงต้องปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มให้สอดคล้องกับประเทศอื่นในอาเซียนด้วย
.....กระทรวงการคลังศึกษาพบว่า
การเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม จาก 7 เปอร์เซ็นต์เป็น 10 เปอร์เซ็นต์
มีผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 1.82 เปอร์เซ็นต์
และการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 เปอร์เซ็นต์
จะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจลดลง 0.015 เปอร์เซ็นต์
แม้ภาษีมูลค่าเพิ่ม อาจเรียกได้ว่า เป็นภาษีถ้วนหน้า
เพราะทุกคนต้องจ่ายเมื่อจับจ่ายใช้สอย
แต่กลุ่มนิติบุคคล บริษัท ห้างร้าน สามารถขอหักภาษีคืนได้
ต่างจากบุคคลทั่วๆไปที่มีเงินเดือน รายได้ ต้องรับภาระไว้ทั้งภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในส่วนระบบแวตเองนั้น ก็ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างทั่วถึง
เพราะพ่อค้าแม่ขายตามตลาดขายของไม่เคยมีใบเสร็จ
เครดิต : ข่าว 7สี