วิทย์คอม เขาเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้างครับ ?

คือผมตอนนี้อยู่ ม4 เรียนสาย ศิลป์คำนวน (คณิต-อังกฤษ) แล้วอยากเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บ php พัฒนาโปรแกรม ฯลฯ
แล้วจริงๆ ผมอยากเรียน วิศวะคอมพิวเตอร์ มากกว่า แต่ผมมาสายศิลป์คำนวนแล้ว จบไปคงไปวิศวะไม่ได้ เลยมาวิทย์คอมครับ

อยากรู้ว่าวิทย์คอมเขาเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง มีเอกอะไรบ้าง จบมาแล้วเขียนโปรแกรมเป็นไหมครับ
มันแอบข้องใจลึกๆ หัวเราะ หัวเราะหัวเราะประหลาดใจประหลาดใจ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
แต่ละ  คณะ  สาขา  ภาควิชา  เน้นคนละด้าน

สายสามัญ  ศิลป์คำนวณ  ก็เรียน  สาขา  ภาควิชา  วิทยาการคอมพิวเตอร์  วิศวกรรมคอมพิวเตอร์  ได้  ต้องขยันเพิ่ม

จะเขียนโปรแกรม  เป็น  ไหม  ขึ้นอยู่  กับ  แต่ละบุคคล  ว่าจะมีความขยันเยอะ แค่ไหน จะเก็บเกี่ยวเอา ความรู้ มาได้เยอะ แค่ไหน บางคน เรียนจบ สาขา ภาควิชา คอมพิวเตอร์ แล้ว ยังเขียนโปรแกรม ไม่เป็น เพราะ เอามา ประยุกต์ ใช้งาน ไม่เป็น

บางคน  คิดว่า  ตัวเอง  ถนัด  และ  เรียนได้  แต่  เรียนจริง  ๆ  เรียน  ไม่ไหว  ไม่รอด  มีทุกปี  ย้าย  คณะ  สาขา  ภาควิชา

ถ้า  ถนัด  เขียนโปรแกรม  สาขา  ภาควิชา  คอมพิวเตอร์
ถ้า  ถนัด  ออกแบบ  พัฒนาเกม  สาขา  ภาควิชา  เกม  ก็มีเรียน  เขียนโปรแกรม

คอมพิวเตอร์  อ่านอย่างเดียวไม่ได้  ต้องปฏิบัติด้วย
เขียนโปรแกรม  ต้องเก่ง  คณิตศาสตร์  ภาษาอังกฤษ E ด้วยถึงจะดี  อ่านให้เข้าใจ  ปิดหนังสือ  เขียนตามความเข้าใจของเรา  อย่าเขียนตามหนังสือ  เพราะ  หนังสือ  ก็มีข้อผิดพลาด  ถ้าเขียนโปรแกรม  ตามหนังสือ  แล้วบอกว่า  เขียนโปรแกรม  เป็น  ได้  ใคร  ๆ  ก็เขียนโปรแกรม  เป็น  ได้

คอมพิวเตอร์ทุกสาขา  ภาควิชาหนีการเขียนโปรแกรมไม่พ้น  คอมพิวเตอร์แต่ละสาขา  ภาควิชาเน้นคนละด้าน  
คอมพิวเตอร์  หลักสูตรวิทยาศาสตร  จะมีหลายสาขา  ภาควิชาให้เลือกเรียนเยอะ

คอมพิวเตอร์ทุกสาขา  ภาควิชา  จะเรียนเหมือนกัน  3  วิชา  ฐานข้อมูล Database  
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย Data Communication and Network  วิเคราะห์และออกแบบระบบ System Analysis and Design SA จะต่างกันตรง  ชื่อวิชา  รหัสวิชา

คอมพิวเตอร์  หลักสูตรวิทยาศาสตร  จะเน้น  การเขียนโปรแกรม
คอมพิวเตอร์  หลักสูตรวิทยาศาสตร  จะเน้น  การเขียนโปรแกรม  ภาษาจาวา  ภาษาจาวา  ต้องมีพื้นฐาน  ภาษาซี
คอมพิวเตอร์  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร  จะเน้น  ซอฟต์แวร์  และ  ฮาร์ดแวร์
คอมพิวเตอร์  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร  จะเน้น  ซอฟต์แวร์  และ  ฮาร์ดแวร์  การเขียนโปรแกรม  ภาษาจาวา  ภาษาจาวา  ต้องมีพื้นฐาน  
ภาษาซี
สาขา  ภาควิชา  วิทยาการคอมพิวเตอร์  วิศวกรรมซอฟต์แวร์  หลักสูตรวิทยาศาสตร  จะเน้น  การเขียนโปรแกรม
สาขา  ภาควิชา  วิทยาการคอมพิวเตอร์  วิศวกรรมซอฟต์แวร์  หลักสูตรวิทยาศาสตร  จะเน้น  การเขียนโปรแกรม  ภาษาจาวา  ภาษาจาวา  ต้องมีพื้นฐาน  ภาษาซี
สาขา  ภาควิชา  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หลักสูตรวิทยาศาสตร  จะเน้น  การเขียนโปรแกรม
สาขา  ภาควิชา  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หลักสูตรวิทยาศาสตร  จะเน้น  การเขียนโปรแกรม  ภาษาจาวา  ภาษาจาวา  ต้องมีพื้นฐาน  ภาษาซี  การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย Data Communication and Network  จะเรียนจับฉ่าย  จะเรียน  วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ บริหาร เรียนจบ จะได้ หลักสูตรวิทยาศาสตร
สาขา  ภาควิชา  วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน  หลักสูตรวิทยาศาสตร  จะเน้น  การเขียนโปรแกรม
สาขา  ภาควิชา  วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน  หลักสูตรวิทยาศาสตร  จะเน้น  การเขียนโปรแกรม  ภาษาจาวา  ภาษาจาวา  ต้องมีพื้นฐาน  ภาษาซี
สาขา  ภาควิชา  วิศวกรรมคอมพิวเตอร์  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร  จะเน้น  ซอฟต์แวร์  และ  ฮาร์ดแวร์
สาขา  ภาควิชา  วิศวกรรมคอมพิวเตอร์  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร  จะเน้น  ซอฟต์แวร์  และ  ฮาร์ดแวร์  การเขียนโปรแกรม  ภาษาจาวา  
ภาษาจาวา  ต้องมีพื้นฐาน  ภาษาซี

คอมพิวเตอร์  แต่ละ  มหาวิทยาลัย  จะอยู่ใน  คณะ  ที่แตกต่างกันไป
คอมพิวเตอร์  แต่ละ  มหาวิทยาลัย  จะใช้ชื่อสาขา  ภาควิชา  ที่แตกต่างกันไป

วิศวกรรมศาสตร์  ทุกสาขา  ภาควิชา  ต้องได้เรียน  ฟิสิกส์  วิศวกรรมศาสตร์  ฟิสิกส์  คณิตศาสตร์  คำนวณ  ต้องได้

เจาะลึก "วิทยาการคอมพิวเตอร์" http://www.youtube.com/watch?v=Z9SdHDdJcUU

เจาะลึกวิศวะคอมพิวเตอร์ http://www.youtube.com/watch?v=3-Jf7SUahzo
อยากเรียนวิศวะคอมฯ ต้องดู ! http://www.youtube.com/watch?v=27UyuFFOP10

ถามวิศวะ : วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาฯ http://www.youtube.com/watch?v=PEpzr0fKyJs

บุคลิกภาพของผู้เรียน
.มีเหตุมีผลในการตัดสินใจ
.มีความกระตือรือร้นในการเรียน
.ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์  เน้นที่ความเข้าใจถึงศาสตร์และศิลป์ของการพัฒนาซอฟต์แวร์  โดยมีพื้นฐานอย่างดีในด้าน  Algorithm, Data Structure และ  Discrete
Mathematics นักศึกษาจะต้องมีความเชี่ยวชาญอย่างสูงในวิทยาการแบบ  Object โดยใช้ภาษา  Java และเทคโนโลยี .Netสามารถพัฒนาระบบ  Database ได้  สามารถเขียน
โปรแกรม  Web based ได้  สามารถออกแบบโดยใช้ภาษา  UML ได้  มีความเข้าใจในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้านSecurity, Web Service และ  Computer Architecture
ทักษะที่นักศึกษาต้องมี  คือ
.  ออกแบบ Object-Oriented Software โดยใช้ภาษา  UML
.  สามารถใช้  CASE Tool ได้
.  สามารถเขียนภาษา  Java ในระดับ  J2EE ได้
.  สามารถใช้เทคโนโลยี.Net ในการสร้าง  Web Service ได้
.  สามารถออกแบบ  Database Application ที่เป็น  Web based ได้  โดยใช้  Oracle database หรือ  Microsoft SQL Server ได้
อาชีพที่เปิดกว้างสำหรับผู้ที่มีความสนใจที่จะทำงานที่น่าท้าทายยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่สำเร็จสาขานี้จะ สามารถทำงานเป็น
.  Software Developer
.  Programmer
.  Software Test Engineer
.  Network Engineer
.  Programmer
.  System Administrator

สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาซอฟต์แวร์  เป็นกิจกรรมที่วับซ้อนที่สุดของมนุษยชาติ  เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  ปัจจุบันมีวิทยาการที่เกิดขึ้นใหม่  ๆ  ที่เริ่มทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์  เกิดตามหลัก
"วิศวกรรมศาสตร์"  ซึ่งสามารถลดโอกาสล้มเหลวได้Oriented Technology, ภาษา  UML, การจัดทำ  Software Quality Assurance, กระบวนการบริหารโครงการ,  เรื่อง
CMMเศร้าCapability Maturity Model)
นักศึกษาจะได้ทักษะดังนี้
.  สามารถออกแบบซอฟต์แวร์ที่มีโครงสร้างดี  โดยใช้ภาษา  UML
.  สามารถประยุกต์เทคโนโลยี  CMM:กับองค์กร
.  สามารถทดสอบซอฟต์แวร์โดยกรรมวิธีมาตรฐาน
.  สามารถใช้  Case Tool ได้
.  สามารถเขียนโปรแกรมโดยใช้เทคโนโลยี.Net หรือ  J2EE
อาชีพที่นักศึกษาทำได้  มีดังนี้
.  วิศวกรซอฟต์แวร์
.  นักพัฒนาซอฟต์แวร์
.  โปรแกรมเมอร์
.  ผู้เชี่ยวชาญ  Case Tool
.  Consultant(เมื่อมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว)
ศึกษาหลักการและกระบวนการในการพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่   ตั้งแต่การรวบรวมความต้องการของผู้ใช้   การวิเคราะห์การออกแบบ   การวางกรอบการทดสอบ   การกำหนดฐานข้อมูล   การเขียนโปรแกรม   และการทดสอบ   ฯลฯ   ครบทั้งวงจรของการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยเทคโนโลยีที่ทันสมัยตามข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานสากลเช่น   ISO   และ   CMMI   ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศในปัจจุบัน

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเศและการสื่อสารได้ร่างขึ้นโดยอาศัยเกณฑ์ที่ตั้งโดยสมาคม ACM (Association of Computing Machinery) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาจัดทำขึ้นและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก การศึกษาเน้นการจัดเตรียมบัณฑิตให้รองรับงานเทคโนโลยีสารสนเทศในส่วนของธุรกิจ ภาครัฐ ความต้องการในวงการแพทย์ ความต้องการในวงการศึกษา และความต้องการในธุรกิจอื่น ๆ ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อรองรับความต้องการขององค์กร และผู้ใช้งานในองค์กรในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในและต่างประเทศ
อาชีพ
- นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ
- นักพัฒนาโปรแกรมใช้ภาษา Java
- ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
- ผู้จัดการโครงการสารสนเทศ
- นักพัฒนาเว็บไซต์
มุ่งเน้นการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันไป   เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการดูแลบริหารจัดการระบบเครือข่าย   ระบบฐานข้อมูล   ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์   การป้องกันภัยของระบบรวมทั้งการดูแลจัดการข้อมูลสารสนเทศในองค์กรของรัฐและเอกชน   นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการเขียนโปรแกรมประยุกต์ทางด้านข้อมูลสารสนเทศด้วย

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เกี่ยวกับ   การสร้างโปรแกรมบน Windows Platform การออกแบบระบบเครือข่าย การวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล และการสร้างเว็บไซต์
โอกาสในอนาคต
    นักจัดการด้าน IT นักติดตั้งและวางระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบเพื่อตัดสินใจ ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งส่วนราชการ และเอกชน
เพื่อนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงาน

อาชีพ   Web design   การจัดการข้อมูล(Database Management)   เขียนโปรแกรมบนมือถือ   programmer   วิเคราะห์และออกแบบระบบ(System Analysis)

ประกอบอาชีพ   การออกแบบระบบเครือข่าย โปรแกรมเมอร์ หรือ ผู้ดูแลระบบในด้านต่าง ๆ ผู้สร้าง และ ดูแลเว็บไซต์

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน
เพื่อผลิตบุคลากรทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มีทักษะความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ที่ทำงานในสภาวะแวดล้อมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์แท๊บเลต หรือสมาร์ทโฟน ซึ่งมีความต้องการนักพัฒนาซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์เคลื่อนจำนวนมากอย่างมีนัยสำคัญ  ทั้งนี้เป็นความสอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ที่ต้องการมุ่งสู่ความเป็นเลิศในเทคโนโลยี การวิจัย และการผลิตบัณฑิตที่เก่งและดี อาชีพหลักที่เป็นได้ มีดังนี้
•    นักวิทยาการคอมพิวเตอร์หรือนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
•    นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ระบบงานฐานข้อมูล และโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์โมบาย
•    นักวิชาชีพอิสระที่สามารถใช้วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์กับการทำงานบนอุปกรณ์โมบาย  
ศึกษาศาสตร์ของการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์   ที่เน้นทฤษฎี   แนวคิด   อัลกอริทึม(Algorithms)   ตรรกะการออกแบบระบบงาน   การใช้งานฐานข้อมูล   การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน   โดยผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์เช่น   ระบบงานฐานข้อมูล   รวมทั้งการแก้ไขปัญหาทางด้านซอฟต์แวร์   นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถที่จะเขียนโปรแกรมประยุกต์ที่สอดคล้องกับความต้องการ   ของภาครัฐและเอกชน

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นสาขาที่เหมาะกับคนที่สนใจทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์  ผู้ที่มีพื้นฐานด้านไฟฟ้า  อิเลคทรอนิกส์  วิศวกรรมศาสตร์  วิทยาศาสตร์  จะสามารถเรียนใน
สาขานี้ได้ดี  การเรียนจะมุ่งเน้นทักษะการออกแบบระบบดิจิทัล  ระบบควบคุมที่ใช้ซอฟต์แวร์ระดับแก่นโดยใช้ภาษา  C และ  Visual C++ ตลอดจนภาษา  Java บางครั้งก็ต้อง
ใช้ภาษา  Assembly นักศึกษาจะสามารถออกแบบระบบ  Digital ได้  ซึ่งประกอบด้วย  อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟตแวร์ที่สร้างพิเศษสำหรับงานนั้น
ทักษะหลักที่จะได้รับการศึกษา
.  ออกแบบระบบควบคุมด้วยดิจิตอล  และซอฟตแวร์ควบคุม
.  ออกแบบซอฟต์แวร์ควบคุมโดยภาษา C
.  ออกแบบระบบเว็บบอร์ด  โดยใช้ภาษา HTML
.  ออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ระดับ  VLSI
อาชีพหลักที่นักศึกษาทำได้มีดังนี้
.  การบริการระบบ  Internet
.  วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
.  วิศวกรควบคุม
.  Software Developer
.  System Engineer
.  Multimedia System Engineer
ศึกษาพื้นฐานทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบคอมพิวเตอร์   การออกแบบ   สร้าง   ทดสอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบสมองกลฝังตัว   (Embeded System)   การออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้งานด้าน   VLSI(Very Large Scale Integrated Circuit)   การออกแบบ   ติดตั้งและควบคุมระบบเครือข่าย   รวมทั้งการเขียนโปรแกรมที่ใช้ประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการข้อมูลของระบบสารสนเทศในรูปแบบต่าง   ๆ   กัน

โอกาสในการทำงาน
ขึ้นกับสาขาที่ได้เลือกศึกษา   ผู้เรียนสามารถเลือกทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างกว้างขวาง   หรือเลือกทำงานในส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเช่น   นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์   ผู้ดูแลเว็บไซต์   นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ   โปรแกรมเมอร์   นักอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่