The Fault in Our Stars : อีกด้านหนึ่งของท้องฟ้าที่ไม่มีดาวบันดาล
คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมนิยายรักหรือหนังรักที่ซาบซึ้งตรึงใจที่สุดมักจะเป็นเรื่องที่จบลงด้วยความตาย
และเรื่องแต่งพาฝันทั้งหลายมักจะใช้ “ความตาย” เป็นเครื่องมือที่จะทำให้ผู้คนซาบซึ้งกับความรักของคนคู่หนึ่ง
เรื่องแต่งโรแมนติกหลายเรื่องมีตัวละครที่เป็นโรคร้ายรักษาไม่หาย แต่ช่วงเวลาก่อนตายนั้นได้พบกับความรักที่แสนซาบซึ้ง
ทำไมเรื่องราวแบบนี้จึงขายได้ และมีการผลิตซ้ำมานักต่อนัก
เพราะเราทุกคนล้วนอยากมี “ใครสักคน” ในเวลาที่เราเจ็บป่วยหรือเผชิญหน้ากับความตาย ….
เพราะเราล้วน {กลัวการถูกลืม}
เรื่องราวของ The Fault in Our Stars แทบจะไม่ต่างจากหนังแนว “โรค-รัก-ตาย” เรื่องอื่นๆ โดยตัวเนื้อหาเองก็ไม่ได้มีความสดใหม่หรือมีแง่มุมแหลมคมน่าสนใจมากมายนัก เป็นเรื่องที่เราเคยดูเคยอ่านมาแล้วทั้งสิ้น
ที่น่าชื่นชมคือการดำเนินเรื่อง บทภาพยนตร์และการแสดงในช่วงต้นไปถึงกลางเรื่อง มีความเป็นธรรมชาติ สดใสน่ารัก เป็นคุณสมบัติที่จะทำให้หนังฮิตได้ไม่ยาก และมันก็ฮิตจริงๆ แต่ดูไปดูมาก็เหมือนหนังแนวนี้เรื่องอื่นๆ จนกระทั่ง…..
การปรากฏตัวของนักเขียนนิยายในดวงใจของนางเอก และการไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้าน “แอนน์ แฟรงค์”
ไม่รู้ว่ารู้สึกไปเองหรือเปล่า ไม่ทราบว่าในหนังสือนิยายเป็นอย่างไร แต่เมื่อหนังดำเนินมาถึงจุดนี้ เหมือนมันกำลัง “ล้อเลียน” ตัวเอง และเสียดสีนิยายรักพาฝันแนวนี้ทุกเรื่อง
เมื่อการไปพบนักเขียนในดวงใจคนนั้น ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้นางเอก แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาคือ ความหยาบคายและเย็นชา
ในช่วงนี้ หนังกำลังออกจากเรื่องพาฝันมาเป็นเรื่องที่จริงจังขึ้น นักเขียนคือคนขายฝัน เขาจะเขียนให้สวยงามอย่างไรก็ได้ เช่นเดียวกับตัวนักเขียนนิยาย “The Fault in Our Stars “ เอง ตัวละครนักเขียนคนนี้เหมือนเป็นสัญลักษณ์บอกคนดูว่า ที่คุณดูและกำลังจะซาบซึ้งอยู่นี้ มันคือเรื่อง “พาฝัน”
การไปเยี่ยมบ้านของ “แอนน์ แฟรงค์” ยิ่งตอกย้ำให้ชัดเจนขึ้น เพราะแอนน์ แฟรงค์ไม่ได้เขียนนิยายพาฝัน หนังสือโด่งดังเล่มเดียวของเธอคือ “ไดอารี่บันทึกเรื่องจริง” เธอเขียนในสภาวะที่โหดร้ายสิ้นหวัง และเธออาจจะใช้การเขียนนี้เป็นเหมือนการปลอบประโลมและหลีกหนีก็เป็นได้
นิยายพาฝัน ก็คือการหลีกหนีความเป็นจริงโดยใช้ข้อมูลความเป็นจริงมาแต่งเติม
แอนน์ แฟรงค์ในหนัง ยังเป็นสัญลักษณ์ถึงความหวัง แม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด
และตัวละครนักเขียนนั้นก็ยังกลับมายั่วล้อความเป็นไปของหนังในตอนท้ายๆอีกด้วย (ด้วยภาพของนักแสดงอย่าง Willem Dafoe ทำให้ตัวละครนี้ดูมีความสำคัญและเป็นสัญลักษณ์ยิ่งขึ้น)
จึงรู้สึกว่า ฉากเยี่ยมบ้านแอนน์ แฟรงค์ เป็นฉากที่ดีที่สุดของหนังเรื่องนี้ เหมือนมันได้พาคนดูกลับมาพิจารณาความเป็นจริง แต่ฉากนี้กลับมีความขัดแย้งในตัวเองอย่างที่สุด เมื่อนางเอกและพระเอกจูบกันอย่างดูดดื่มครั้งแรกตรงนั้นเอง มันทำให้คนดูมาเจอความจริงชั่วครู่เดียว และบอกด้วยว่าต่อไปนี้กำลังจะกลับสู่นิยายโรแมนติกพาฝันอีกครั้ง
ด้วยสัญลักษณ์ที่รู้สึกหรือคิดไปเองว่ามันกำลังล้อเลียนความเป็นนิยายพาฝันของตัวเองนี้ ทำให้หลังจากฉากนั้น ค้านในใจตลอดเวลาที่ดูว่า…. ฉันกำลังดูเรื่องแต่ง…. และช่วงหลังของหนังค่อนข้างยืดเยื้อและน่ารำคาญ รู้สึกขึ้นมาว่ามันเวิ่นเว้อยาวนานเกินไป และฉากเศร้าซึ้งดูบีบบังคับจนรู้สึกถึงความไม่สมจริงหรือเป็นธรรมชาติเช่นช่วงแรกๆของหนัง
เมื่อดูหนังเรื่องนี้จบลง พบว่าตัวเองไม่ได้ซาบซึ้งสะเทือนใจกับมันมากนัก มีหนังแนวนี้เรื่องก่อนๆที่กระชากใจและเรียกน้ำตาแห่งความประทับใจได้ดีกว่า ด้วยจังหวะที่เป็นธรรมชาติมากกว่า และสร้างความผูกพันกับตัวละครได้มากกว่า อาจจะเพราะไม่ชอบหน้าตาและบุคลิกของพระเอกเลยก็เป็นได้ ส่วนนางเอกของเรื่องคือ Shailene Woodley แสดงได้ดีที่สุด แต่ก็ขัดใจกับตัวละครแม่ที่รับบทโดย Laura Dern ทั้งที่จริงๆชอบเธอ แต่ด้วยหน้าตาท่าทางเธอทำให้ออกมาดูตลกในหลายฉาก สิ่งที่ติดตาคือหนังมีภาพและฉากสวยๆน่าจดจำหลายฉาก
แต่ไม่ว่าจะเป็นหนังแนวนี้เรื่องไหนๆ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่อง “พาฝัน” เรากำลังจะตาย เป็นโรคร้าย แต่กลับมีรักโรแมนติกแสนหวานเกิดขึ้น มีคนรักเราและอยู่เคียงข้างกัน ได้พบรักที่มีความหมายในช่วงสุดท้ายของชีวิต
นั่นเพราะมี “นักเขียน” ที่ได้วาดดาวที่สุกใสสว่างบนท้องฟ้าที่มืดมิด เช่นเดียวกับนักเขียนนิยายต้นฉบับของหนังเรื่องนี้
แต่ในชีวิตจริง อีกด้านของท้องฟ้าที่ไม่มีใคร “บันดาล” ถ้าเป็นโรคร้าย ถ้าเรากำลังจะตาย และไม่มีรักโรแมนติกใดๆเกิดขึ้น ไม่มีใครมาชอบ ไม่มีการออกเดท อยู่เพียงลำพังคนเดียวและรู้สึกอ้างว้างแสนสาหัส ไม่เหมือนนิยายพาฝัน
มันคงจะเป็นท้องฟ้าที่มืดมิด ….. แต่ฉันหวังว่าตอนนั้นคุณยังจะคงเข้มแข็ง มีความสุข มองโลกในแง่ดี และ “บันดาล”กำลังใจให้ตัวเอง โดยไม่ต้องเพ้อฝันโหยหาความรักเหมือนในนิยาย
ท้องฟ้าด้านหนึ่งมีดาวสุกใส อีกด้านนั้นมืดมิด ความจริงและจินตนาการเหมือนกระจกต่างมุม ….. ถ้าความจริงมันเจ็บปวด ลองมองท้องฟ้าด้านที่มีดาวอยู่เต็ม ใช้จินตนาการหลีกหนีความจริงบ้างก็ได้ พระเจ้าอาจให้ “จินตนาการ”กับมนุษย์เพราะเหตุนี้ก็ได้ เพราะความจริงโหดร้าย ฝันถึงดวงดาวบ้างจะเป็นไร เช่นเดียวกับแอนน์ แฟรงค์ ที่เขียนความฝันความหวังของเธอลงในไดอารี่
และนั่นก็อาจเป็นเหตุผลที่มีการสร้างหนังรักพาฝันให้คนได้ดู….
คะแนน 6-7/10
[CR] The Fault in Our Stars : อีกด้านหนึ่งของท้องฟ้าที่ไม่มีดาวบันดาล (สปอยล์)
คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมนิยายรักหรือหนังรักที่ซาบซึ้งตรึงใจที่สุดมักจะเป็นเรื่องที่จบลงด้วยความตาย
และเรื่องแต่งพาฝันทั้งหลายมักจะใช้ “ความตาย” เป็นเครื่องมือที่จะทำให้ผู้คนซาบซึ้งกับความรักของคนคู่หนึ่ง
เรื่องแต่งโรแมนติกหลายเรื่องมีตัวละครที่เป็นโรคร้ายรักษาไม่หาย แต่ช่วงเวลาก่อนตายนั้นได้พบกับความรักที่แสนซาบซึ้ง
ทำไมเรื่องราวแบบนี้จึงขายได้ และมีการผลิตซ้ำมานักต่อนัก
เพราะเราทุกคนล้วนอยากมี “ใครสักคน” ในเวลาที่เราเจ็บป่วยหรือเผชิญหน้ากับความตาย ….
เพราะเราล้วน {กลัวการถูกลืม}
เรื่องราวของ The Fault in Our Stars แทบจะไม่ต่างจากหนังแนว “โรค-รัก-ตาย” เรื่องอื่นๆ โดยตัวเนื้อหาเองก็ไม่ได้มีความสดใหม่หรือมีแง่มุมแหลมคมน่าสนใจมากมายนัก เป็นเรื่องที่เราเคยดูเคยอ่านมาแล้วทั้งสิ้น
ที่น่าชื่นชมคือการดำเนินเรื่อง บทภาพยนตร์และการแสดงในช่วงต้นไปถึงกลางเรื่อง มีความเป็นธรรมชาติ สดใสน่ารัก เป็นคุณสมบัติที่จะทำให้หนังฮิตได้ไม่ยาก และมันก็ฮิตจริงๆ แต่ดูไปดูมาก็เหมือนหนังแนวนี้เรื่องอื่นๆ จนกระทั่ง…..
การปรากฏตัวของนักเขียนนิยายในดวงใจของนางเอก และการไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้าน “แอนน์ แฟรงค์”
ไม่รู้ว่ารู้สึกไปเองหรือเปล่า ไม่ทราบว่าในหนังสือนิยายเป็นอย่างไร แต่เมื่อหนังดำเนินมาถึงจุดนี้ เหมือนมันกำลัง “ล้อเลียน” ตัวเอง และเสียดสีนิยายรักพาฝันแนวนี้ทุกเรื่อง
เมื่อการไปพบนักเขียนในดวงใจคนนั้น ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้นางเอก แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาคือ ความหยาบคายและเย็นชา
ในช่วงนี้ หนังกำลังออกจากเรื่องพาฝันมาเป็นเรื่องที่จริงจังขึ้น นักเขียนคือคนขายฝัน เขาจะเขียนให้สวยงามอย่างไรก็ได้ เช่นเดียวกับตัวนักเขียนนิยาย “The Fault in Our Stars “ เอง ตัวละครนักเขียนคนนี้เหมือนเป็นสัญลักษณ์บอกคนดูว่า ที่คุณดูและกำลังจะซาบซึ้งอยู่นี้ มันคือเรื่อง “พาฝัน”
การไปเยี่ยมบ้านของ “แอนน์ แฟรงค์” ยิ่งตอกย้ำให้ชัดเจนขึ้น เพราะแอนน์ แฟรงค์ไม่ได้เขียนนิยายพาฝัน หนังสือโด่งดังเล่มเดียวของเธอคือ “ไดอารี่บันทึกเรื่องจริง” เธอเขียนในสภาวะที่โหดร้ายสิ้นหวัง และเธออาจจะใช้การเขียนนี้เป็นเหมือนการปลอบประโลมและหลีกหนีก็เป็นได้
นิยายพาฝัน ก็คือการหลีกหนีความเป็นจริงโดยใช้ข้อมูลความเป็นจริงมาแต่งเติม
แอนน์ แฟรงค์ในหนัง ยังเป็นสัญลักษณ์ถึงความหวัง แม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด
และตัวละครนักเขียนนั้นก็ยังกลับมายั่วล้อความเป็นไปของหนังในตอนท้ายๆอีกด้วย (ด้วยภาพของนักแสดงอย่าง Willem Dafoe ทำให้ตัวละครนี้ดูมีความสำคัญและเป็นสัญลักษณ์ยิ่งขึ้น)
จึงรู้สึกว่า ฉากเยี่ยมบ้านแอนน์ แฟรงค์ เป็นฉากที่ดีที่สุดของหนังเรื่องนี้ เหมือนมันได้พาคนดูกลับมาพิจารณาความเป็นจริง แต่ฉากนี้กลับมีความขัดแย้งในตัวเองอย่างที่สุด เมื่อนางเอกและพระเอกจูบกันอย่างดูดดื่มครั้งแรกตรงนั้นเอง มันทำให้คนดูมาเจอความจริงชั่วครู่เดียว และบอกด้วยว่าต่อไปนี้กำลังจะกลับสู่นิยายโรแมนติกพาฝันอีกครั้ง
ด้วยสัญลักษณ์ที่รู้สึกหรือคิดไปเองว่ามันกำลังล้อเลียนความเป็นนิยายพาฝันของตัวเองนี้ ทำให้หลังจากฉากนั้น ค้านในใจตลอดเวลาที่ดูว่า…. ฉันกำลังดูเรื่องแต่ง…. และช่วงหลังของหนังค่อนข้างยืดเยื้อและน่ารำคาญ รู้สึกขึ้นมาว่ามันเวิ่นเว้อยาวนานเกินไป และฉากเศร้าซึ้งดูบีบบังคับจนรู้สึกถึงความไม่สมจริงหรือเป็นธรรมชาติเช่นช่วงแรกๆของหนัง
เมื่อดูหนังเรื่องนี้จบลง พบว่าตัวเองไม่ได้ซาบซึ้งสะเทือนใจกับมันมากนัก มีหนังแนวนี้เรื่องก่อนๆที่กระชากใจและเรียกน้ำตาแห่งความประทับใจได้ดีกว่า ด้วยจังหวะที่เป็นธรรมชาติมากกว่า และสร้างความผูกพันกับตัวละครได้มากกว่า อาจจะเพราะไม่ชอบหน้าตาและบุคลิกของพระเอกเลยก็เป็นได้ ส่วนนางเอกของเรื่องคือ Shailene Woodley แสดงได้ดีที่สุด แต่ก็ขัดใจกับตัวละครแม่ที่รับบทโดย Laura Dern ทั้งที่จริงๆชอบเธอ แต่ด้วยหน้าตาท่าทางเธอทำให้ออกมาดูตลกในหลายฉาก สิ่งที่ติดตาคือหนังมีภาพและฉากสวยๆน่าจดจำหลายฉาก
แต่ไม่ว่าจะเป็นหนังแนวนี้เรื่องไหนๆ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่อง “พาฝัน” เรากำลังจะตาย เป็นโรคร้าย แต่กลับมีรักโรแมนติกแสนหวานเกิดขึ้น มีคนรักเราและอยู่เคียงข้างกัน ได้พบรักที่มีความหมายในช่วงสุดท้ายของชีวิต
นั่นเพราะมี “นักเขียน” ที่ได้วาดดาวที่สุกใสสว่างบนท้องฟ้าที่มืดมิด เช่นเดียวกับนักเขียนนิยายต้นฉบับของหนังเรื่องนี้
แต่ในชีวิตจริง อีกด้านของท้องฟ้าที่ไม่มีใคร “บันดาล” ถ้าเป็นโรคร้าย ถ้าเรากำลังจะตาย และไม่มีรักโรแมนติกใดๆเกิดขึ้น ไม่มีใครมาชอบ ไม่มีการออกเดท อยู่เพียงลำพังคนเดียวและรู้สึกอ้างว้างแสนสาหัส ไม่เหมือนนิยายพาฝัน
มันคงจะเป็นท้องฟ้าที่มืดมิด ….. แต่ฉันหวังว่าตอนนั้นคุณยังจะคงเข้มแข็ง มีความสุข มองโลกในแง่ดี และ “บันดาล”กำลังใจให้ตัวเอง โดยไม่ต้องเพ้อฝันโหยหาความรักเหมือนในนิยาย
ท้องฟ้าด้านหนึ่งมีดาวสุกใส อีกด้านนั้นมืดมิด ความจริงและจินตนาการเหมือนกระจกต่างมุม ….. ถ้าความจริงมันเจ็บปวด ลองมองท้องฟ้าด้านที่มีดาวอยู่เต็ม ใช้จินตนาการหลีกหนีความจริงบ้างก็ได้ พระเจ้าอาจให้ “จินตนาการ”กับมนุษย์เพราะเหตุนี้ก็ได้ เพราะความจริงโหดร้าย ฝันถึงดวงดาวบ้างจะเป็นไร เช่นเดียวกับแอนน์ แฟรงค์ ที่เขียนความฝันความหวังของเธอลงในไดอารี่
และนั่นก็อาจเป็นเหตุผลที่มีการสร้างหนังรักพาฝันให้คนได้ดู….
คะแนน 6-7/10