โดย ชาคริต เพชรอินทร์
สุดสัปดาห์หนึ่งของเดือนก่อน ผมต้องตื่นเพราะเสียงไลน์จาก “พี่ต๋อย” เรือโทจีระศักดิ์ พลายบัว อดีตนายทหารเรือ และพี่ที่ทำงานเก่า ชักชวนไปเที่ยวปากน้ำประแส อ.แกลง จ.ระยอง
บอกตรงๆเวลานั้น เคยแต่ได้ยินชื่อนะ ปากน้ำประแส แต่ไม่รู้ว่ามีสถานที่เที่ยวอะไรบ้าง ผมก็ไลน์ถามพี่ต๋อยไปเช่น แต่พี่ต๋อยตอบไปเถอะน่า สถานที่เที่ยวเยอะแยะ
พอผมตั้งตัวได้ ก็ชักชวนเพื่อนอีก 3 คนไปด้วย ว่าแล้วก็เก็บเสื้อผ้ายัดใส่กระเป๋า พา “น้องจูน” รถรักพร้อมเพื่อนฝูงมุ่งหน้าสู่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ระหว่างทางขับผ่าน ก็เลยแวะไหว้หลวงพ่อโสธร ที่วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา และไหว้พระพิฆเนศ ที่สถานอุทยานพระพิฆเนศ ในบริเวณใกล้เคียงกัน
กว่าจะออกจากฉะเชิงเทราก็ประมาณ บ่ายโมงกว่าๆ มุ่งหน้าผ่านบ้านบึง เข้าสู่อำเภอแกลง เพื่อนัดเจอกับพี่ต๋อยและเพื่อนอีก 3 คน รวมทริปนี้ 8 คนพอดี
เส้นทางที่ขับไปปากน้ำประแสเป็นถนน 2 เลนที่ดีพอสมควร ระหว่างทางพบกับป้ายท่องเที่ยวหลายแห่ง อาทิ อ่าวคุ้งกระเบน แหลมแม่พิม แหลมสน อนุสาวรีย์สุนทรภู่ ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เรือรบหลวงประแส ฯลฯ
เราเลยถึงบางอ้อว่า ปากน้ำประแสนี้ มีที่เที่ยวเยอะจริงๆ
กว่าจะถึงโฮมสเตย์ที่พี่ต๋อยจองให้เรา ก็เป็นเวลาเย็นมากแล้ว เราพักที่ “ลูกน้ำโฮมสเตย์”กัน
โฮมสเตย์ที่นี่ก็เป็นบ้านของชาวบ้านในชุมชนปากน้ำประแสนั่นแหละครับ ที่ร่วมมือกันจัดเป็นโฮมสเตย์ไว้คอยต้อนรับนักท่องเที่ยว ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า บางครั้งมีมาพักเป็นรถบัส แบ่งกันนอนตามบ้านต่างๆ
ลูกน้ำโฮมสเตย์ที่เราไปพัก เป็นบ้านสองชั้น เราขึ้นไปชั้นสอง จัดแบ่งออกเป็น 2 ห้อง ๆหนึ่งติดแอร์นอนได้ 4 คนอีกห้องหนึ่งมีพัดลม นอนได้ 4 คนเช่นกัน ราคาก็ไม่แพง ห้องแอร์หัวละ 350 บาท ห้องพัดลมหัวละ 300 บาท พร้อมอาหารเช้า และมีรถเครื่องสามล้อที่พานักท่องเที่ยวไป ชมสถานที่ต่างๆในชุมชนปากน้ำประแส
หลังจากเก็บของเข้าที่พักแล้ว เราก็เดินทางไปพบกับไต้ก๋งเรือประมงหนุ่มคนหนึ่งชื่อ คุณศุภณัฏฐ์ บำเพ็ญทาน หรือเรียกว่า ไต๋ติส และภรรยาคือ คุณชล ลูกสาวนายกเทศบาล ต.ชุมชนปากน้ำประแส
ไต๋ติส แกเป็นชาวประมงหนุ่มอายุ 44 ปี แกอาสาพาไปเที่ยว เย็นวันนั้น แกพาเราไปชม ความงามของชุมชนประแสที่สะพานประแสสิน ซึ่งสะพานแห่งนี้ สร้างโดยกรมทางหลวงชนบท สร้างเสร็จแล้ว แต่ยังไม่เปิดให้ประชาชนใช้อย่างเป็นทางการ พวกเราโชคดีที่ได้ขึ้นไปดูความงาม จากจุดสูงสุดมองเห็นชุมชนปากน้ำประแสทั้งหมด สวยงามจริงๆครับ
จากนั้นเราก็เดินทางไปดูตะเคียนยักษ์อายุ 500 ปีที่วัดตะเคียนงาม ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนชาวประมงที่ชุมชนประแสได้อาศัยต้นตะเคียนยักษ์แห่งนี้ เป็นที่บอกทางกลับบ้าน เพราะต้นสูงใหญ่ มองเห็นได้แต่ไกล
ค่ำวันนั้น ไต๋ติสและภรรยาพาเราไปทานอาหารที่ร้านอาหารครัวมารวย เป็นร้านอาหาร ตามสั่งธรรมดา แต่อาหารอร่อยเกือบทุกอย่าง และที่สำคัญราคาไม่แพงอีกด้วย ร้านนี้จะอยู่ ออกจากชุมชนไปสักหน่อย แต่คุ้มค่ากว่าที่จะจ่ายค่าอาหารแพงๆในร้านตามริมหาดต่างๆ ขอกระซิบบอกว่า ราคาอาหารต่างกันราวฟ้ากับดินนะครับ ประหยัดไปเยอะมากๆ
ที่นี่เราได้พบกับ “พี่นุ” เอกชัย เนตรมณี หัวหน้างานส่งเสริมการท่องเที่ยว เทศบาลปากน้ำประแส มานั่งเล่าถึงประวัติความเป็นมาของชุมชนประแสให้เราได้ฟัง พี่นุบอกว่า คำว่า “ประแส” เพี้ยนมาจากคำว่า “ปี่แซ” ในภาษาจีน ซึ่งแปลว่า ทุ่งนา ทุ่งโล่ง แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ท่านทรงสันนิษฐานว่า ประแส น่าจะหมายถึง การที่กระแสน้ำทั้งตะวันออกและตะวันตกมาปะทะกัน
ที่ประแสนี้ มีอาหารแปลกอีกชนิดหนึ่งก็คือ ผักกระชับ
ผักกระชับนี่ เห็นว่าจะมีทานกันเฉพาะที่ปากน้ำประแส ไต๋ติสเล่าให้ฟังว่า ผักกระชับนี้ จะมีเม็ดเป็นหนาม เวลาเดินไปในพงหญ้า จะติดมากับขากางเกง เม็ดกระชับตอนแรกยังกินไม่ได้ เขาว่ามีพิษ ต้องเอาเม็ดไปแช่น้ำ ทิ้งไว้ 2-3 เดือน เพื่อล้างพิษออก และจากนั้นมันก็จะงอกออกมา คล้ายกับถั่วงอก ก็เก็บเอาส่วนที่มันงอกออกมาทานเป็นอาหาร ทำแกงต่างๆ หรือจะยำผักกระชับ กับกุ้ง ขายกันเป็นกิโลๆหลายร้อยบาท
คืนที่เราไป ทางร้านบอกว่า ผักกระชับหมดแล้ว เลยนึกในใจว่า คงอดลิ้มชิ้มรสชาติ เป็นแน่แท้
แต่เจ้าของร้านครัวมารวย ก็ใจดี ไปค้นผักทั้งหมดในร้าน พบว่า มีผักกระชับอยู่นิดหน่อย เลยเอามายำให้เราทาน ปรากฏว่า รสชาติมันเหมือนมีรสซ่าๆ นิดหน่อย แต่อร่อยมาก หาทางที่ ไหนไม่ได้อีกแล้ว นอกจากที่ปากน้ำประแสนี้
คืนนั้น เราสนทนากันอย่างสนุกสนาน จนสมควรแก่เวลา จึงขอลากลับโฮมสเตย์ จริงๆ แล้วคืนนั้นเรามีโปรแกรมจะไปดูหิ่งห้อยที่ทุ่งโปรงทอง แต่คงต้องงดไปก่อน เพื่อเช้าจะได้ออกไป เดินป่าชายเลน และทุ่งโปรงทอง ดูพระอาทิตย์ขึ้นแทน
เช้าของอีกวันหนึ่ง คุณลูกน้ำเจ้าของโฮมสเตย์ พาเราไปส่งที่ทางเดินป่าชายเลนของชุมชน เราเดินทางตามผ่านป่าชายเลนไปสักพักหนึ่ง ก็ไปทะลุถึงทุ่งโปรงทอง
ท่านผู้อ่านจะตะลึงกับภาพที่ปรากฏหน้าท่านที่ทุ่งโปรงทอง เพราะจะเป็นทุ่งกว้างใหญ่ มีสีเขียวสลับกับสีทองที่สะท้อนแดดงามยามเช้า และใครได้ไปก็คงอดจะเก็บภาพอัศจรรย์เช่นนี้ ไม่ได้
หลังจากชมความงามแล้ว พวกเราก็เดินทางไปตลาดประแส ซึ่งเป็นตลาดเล็กๆเพื่อหา อาหารใส่ท้อง พร้อมกับเดินดูความเป็นอยู่ของผู้คนในตลาด ระหว่างทางก็ยังได้พบบ่อน้ำจืด ขนาดใหญ่อายุนับร้อยปี
จากนั้น เราแวะไปที่ชุมชนเทศบาลตำบลปากน้ำประแส พบกับคุณยายหลายท่าน กำลังขมักเขม่นกับการทำผักชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ใบขลู่”
ใบขลู่ เป็นพืชที่ขึ้นบนป่าชายเลน มีลักษณะใบหยักแบบฟันเลื่อย เป็นพืชสมุนไพรมีสรรพ คุณแก้โรคเบาหวาน ลดความดัน ช่วยขับปัสสาวะ ลดคลอเรสเตอรอล ฯลฯ
ชาวบ้านเขาจะเก็บใบขลู่ตั้งแต่ 6 โมงเช้า นำต้นสดมาปลิดเอาแต่ใบ นำมาล้างน้ำ 2-3 น้ำ แล้วเอาไปนึ่ง เพื่อลดความกร่อย ผึ่งใส่ตะแกงให้น้ำตก แล้วคั่วโดยใช้ไฟอ่อน เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อรา แล้วนำไปอบด้วยความร้อน 175 องศา 30 นาที เพื่อคงความหอม เราก็จะได้ชาใบขลู่ มาชงกับน้ำร้อนรับประทาน
ที่นี่เอง เราได้พบกับลุงชโลม วงศ์ทิม อายุ 70 ปี ประธานชุมชนฯ และเป็นผู้ที่จะนำเรา ลงเรือล่องไปตามป่าชายเลน
แม้จะแดดร้อนเปรี้ยงในเวลาประมาณ 10 โมง แต่เราก็ลงเรือไปด้วยความตื่นเต้น กับป่าชายเลนสองฝั่ง มีแต่ต้นโกงกางขึ้นเต็มไปหมด บางช่วงของเส้นทาง ก็จะพบกับแหล่งเลี้ยง หอยนางรม แขวนอยู่ริมน้ำใกล้กับป่าชายเลนเป็นระยะๆ ฟาร์มหอยแห่งนี้ ลุงชโลมก็เป็นคน ทำขึ้นเอง
เรานั่งเรือไปจนสุดป่าชายเลน ก็ไปทะลุถึงปากน้ำแสมผู้ ซึ่งเป็นรอยต่อที่จะไปออกทะเล ตอนนั้นสายตาก็เบิกกว้าง มองเห็นวิวทิวทัศน์ท้องทะเลกว้างใหญ่ไพศาลอยู่ตรงหน้าเรา มองเห็นเกาะมันใน เกาะมันนอกอยู่ไกลไปลิบๆ
ขณะที่ปากน้ำแสมผู้ ก็จะมีชาวประมงบางคน เดินลากไม้ที่มีลักษณะเป็นรูปตัว T คว่ำ เพื่อหาหอยขาว หรือ บางแห่งเรียกว่า หอยตลับ
เราถามว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ลากไปแล้วเจอหอย กับเจอหิน ชาวบ้านบอกว่า ถ้าหินเสียงมันจะดังแน่นกว่า เสียงเปลือกหอย อืม...ก็เป็นความรู้อีกอย่างหนึ่ง แต่หูผมในขณะนั้นคงแยกไม่ออกระหว่างเสียงหิน กับเสียงเปลือกหอย เพราะตา มือ กล้อง จับจ้องอยู่กับภาพท้องทะเลเบื้องหน้ามากกว่า
น้ำที่ปากน้ำแสมผู้นี้ ท่านผู้อ่าน สามารถลงจากเรือไปเดินได้ เพราะน้ำตื้น แต่น้ำใส มองเห็นปลาตัวเล็กกระโดดขึ้นจากน้ำด้วย
เราชื่นชมกับธรรมชาติได้สักพักหนึ่ง แดดเริ่มร้อนเปรี้ยงปร้างมาแล้ว ตัวเริ่มถูกเผาเกรียม ขึ้น จึงต้องขอตัวเดินทางกลับไปที่พักแล้ว
พอถึงฝั่ง เราก็เตรียมเงินไว้ให้ลุงชโลมที่พาเรานั่งเรือไป แกกลับไม่ยอมรับ แกจะพาเราไป ฟรีๆ เราก็เลยบอกไม่ได้ครับลุง เราขยั้นขยอขอให้รับไว้เถอะ แล้ว เราบอกเราจะกลับมาอีก แกถึง ยอมรับเงินของเรา
ชาวบ้านชุมชนประแสแห่งนี้ที่เราพบเจอ และเห็นระหว่างทาง เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยไมตรีดี กับพวกเรา ทั้งๆไม่ได้รู้จักกัน ไม่ได้เป็นญาติโกโหติกา เพิ่งรู้จักและเพิ่งเจอกันครั้งแรกแท้ๆ เป็นความโชคดีของพวกเราจริงๆ
จริงๆสถานที่ท่องเที่ยวที่ชุมชนประแส ยังมีอีกหลายแห่งที่เราไม่ได้เดินทางไปชม เนื่องจากภาระกิจการงานของแต่ละคน ทำให้เราอยู่ชมได้เพียง 1 คืนกับอีกวันกว่าๆเท่านั้น ก่อนกลับเราก็แวะไปดูสถานที่ที่เป็นเอกลักษณ์ของปากน้ำประแสก็คือ “เรือรบหลวงประแส” ซึ่งเป็นเรือฟรีเกต เคยร่วมรบกับสงครามเกาหลีมาแล้ว ผมเก็บรวบรวมประวัติของเรือรบหลวงแห่งนี้ รวมถึงการลากเรือขึ้นฝั่งมาเป็นอนุสาวรีย์ของชาวชุมชนประแส แล้วผมจะนำมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อๆไปครับ
ปากน้ำประแส รับประกันว่า ถ้าท่านได้ไปแล้วครั้งหนึ่ง จะต้องกลับไปอีกแน่นอนครับ
สุขใจเมื่อไปปากน้ำประแส ระยอง
สุดสัปดาห์หนึ่งของเดือนก่อน ผมต้องตื่นเพราะเสียงไลน์จาก “พี่ต๋อย” เรือโทจีระศักดิ์ พลายบัว อดีตนายทหารเรือ และพี่ที่ทำงานเก่า ชักชวนไปเที่ยวปากน้ำประแส อ.แกลง จ.ระยอง
บอกตรงๆเวลานั้น เคยแต่ได้ยินชื่อนะ ปากน้ำประแส แต่ไม่รู้ว่ามีสถานที่เที่ยวอะไรบ้าง ผมก็ไลน์ถามพี่ต๋อยไปเช่น แต่พี่ต๋อยตอบไปเถอะน่า สถานที่เที่ยวเยอะแยะ
พอผมตั้งตัวได้ ก็ชักชวนเพื่อนอีก 3 คนไปด้วย ว่าแล้วก็เก็บเสื้อผ้ายัดใส่กระเป๋า พา “น้องจูน” รถรักพร้อมเพื่อนฝูงมุ่งหน้าสู่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ระหว่างทางขับผ่าน ก็เลยแวะไหว้หลวงพ่อโสธร ที่วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา และไหว้พระพิฆเนศ ที่สถานอุทยานพระพิฆเนศ ในบริเวณใกล้เคียงกัน
กว่าจะออกจากฉะเชิงเทราก็ประมาณ บ่ายโมงกว่าๆ มุ่งหน้าผ่านบ้านบึง เข้าสู่อำเภอแกลง เพื่อนัดเจอกับพี่ต๋อยและเพื่อนอีก 3 คน รวมทริปนี้ 8 คนพอดี
เส้นทางที่ขับไปปากน้ำประแสเป็นถนน 2 เลนที่ดีพอสมควร ระหว่างทางพบกับป้ายท่องเที่ยวหลายแห่ง อาทิ อ่าวคุ้งกระเบน แหลมแม่พิม แหลมสน อนุสาวรีย์สุนทรภู่ ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เรือรบหลวงประแส ฯลฯ
เราเลยถึงบางอ้อว่า ปากน้ำประแสนี้ มีที่เที่ยวเยอะจริงๆ
กว่าจะถึงโฮมสเตย์ที่พี่ต๋อยจองให้เรา ก็เป็นเวลาเย็นมากแล้ว เราพักที่ “ลูกน้ำโฮมสเตย์”กัน
โฮมสเตย์ที่นี่ก็เป็นบ้านของชาวบ้านในชุมชนปากน้ำประแสนั่นแหละครับ ที่ร่วมมือกันจัดเป็นโฮมสเตย์ไว้คอยต้อนรับนักท่องเที่ยว ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า บางครั้งมีมาพักเป็นรถบัส แบ่งกันนอนตามบ้านต่างๆ
ลูกน้ำโฮมสเตย์ที่เราไปพัก เป็นบ้านสองชั้น เราขึ้นไปชั้นสอง จัดแบ่งออกเป็น 2 ห้อง ๆหนึ่งติดแอร์นอนได้ 4 คนอีกห้องหนึ่งมีพัดลม นอนได้ 4 คนเช่นกัน ราคาก็ไม่แพง ห้องแอร์หัวละ 350 บาท ห้องพัดลมหัวละ 300 บาท พร้อมอาหารเช้า และมีรถเครื่องสามล้อที่พานักท่องเที่ยวไป ชมสถานที่ต่างๆในชุมชนปากน้ำประแส
หลังจากเก็บของเข้าที่พักแล้ว เราก็เดินทางไปพบกับไต้ก๋งเรือประมงหนุ่มคนหนึ่งชื่อ คุณศุภณัฏฐ์ บำเพ็ญทาน หรือเรียกว่า ไต๋ติส และภรรยาคือ คุณชล ลูกสาวนายกเทศบาล ต.ชุมชนปากน้ำประแส
ไต๋ติส แกเป็นชาวประมงหนุ่มอายุ 44 ปี แกอาสาพาไปเที่ยว เย็นวันนั้น แกพาเราไปชม ความงามของชุมชนประแสที่สะพานประแสสิน ซึ่งสะพานแห่งนี้ สร้างโดยกรมทางหลวงชนบท สร้างเสร็จแล้ว แต่ยังไม่เปิดให้ประชาชนใช้อย่างเป็นทางการ พวกเราโชคดีที่ได้ขึ้นไปดูความงาม จากจุดสูงสุดมองเห็นชุมชนปากน้ำประแสทั้งหมด สวยงามจริงๆครับ
จากนั้นเราก็เดินทางไปดูตะเคียนยักษ์อายุ 500 ปีที่วัดตะเคียนงาม ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนชาวประมงที่ชุมชนประแสได้อาศัยต้นตะเคียนยักษ์แห่งนี้ เป็นที่บอกทางกลับบ้าน เพราะต้นสูงใหญ่ มองเห็นได้แต่ไกล
ค่ำวันนั้น ไต๋ติสและภรรยาพาเราไปทานอาหารที่ร้านอาหารครัวมารวย เป็นร้านอาหาร ตามสั่งธรรมดา แต่อาหารอร่อยเกือบทุกอย่าง และที่สำคัญราคาไม่แพงอีกด้วย ร้านนี้จะอยู่ ออกจากชุมชนไปสักหน่อย แต่คุ้มค่ากว่าที่จะจ่ายค่าอาหารแพงๆในร้านตามริมหาดต่างๆ ขอกระซิบบอกว่า ราคาอาหารต่างกันราวฟ้ากับดินนะครับ ประหยัดไปเยอะมากๆ
ที่นี่เราได้พบกับ “พี่นุ” เอกชัย เนตรมณี หัวหน้างานส่งเสริมการท่องเที่ยว เทศบาลปากน้ำประแส มานั่งเล่าถึงประวัติความเป็นมาของชุมชนประแสให้เราได้ฟัง พี่นุบอกว่า คำว่า “ประแส” เพี้ยนมาจากคำว่า “ปี่แซ” ในภาษาจีน ซึ่งแปลว่า ทุ่งนา ทุ่งโล่ง แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ท่านทรงสันนิษฐานว่า ประแส น่าจะหมายถึง การที่กระแสน้ำทั้งตะวันออกและตะวันตกมาปะทะกัน
ที่ประแสนี้ มีอาหารแปลกอีกชนิดหนึ่งก็คือ ผักกระชับ
ผักกระชับนี่ เห็นว่าจะมีทานกันเฉพาะที่ปากน้ำประแส ไต๋ติสเล่าให้ฟังว่า ผักกระชับนี้ จะมีเม็ดเป็นหนาม เวลาเดินไปในพงหญ้า จะติดมากับขากางเกง เม็ดกระชับตอนแรกยังกินไม่ได้ เขาว่ามีพิษ ต้องเอาเม็ดไปแช่น้ำ ทิ้งไว้ 2-3 เดือน เพื่อล้างพิษออก และจากนั้นมันก็จะงอกออกมา คล้ายกับถั่วงอก ก็เก็บเอาส่วนที่มันงอกออกมาทานเป็นอาหาร ทำแกงต่างๆ หรือจะยำผักกระชับ กับกุ้ง ขายกันเป็นกิโลๆหลายร้อยบาท
คืนที่เราไป ทางร้านบอกว่า ผักกระชับหมดแล้ว เลยนึกในใจว่า คงอดลิ้มชิ้มรสชาติ เป็นแน่แท้
แต่เจ้าของร้านครัวมารวย ก็ใจดี ไปค้นผักทั้งหมดในร้าน พบว่า มีผักกระชับอยู่นิดหน่อย เลยเอามายำให้เราทาน ปรากฏว่า รสชาติมันเหมือนมีรสซ่าๆ นิดหน่อย แต่อร่อยมาก หาทางที่ ไหนไม่ได้อีกแล้ว นอกจากที่ปากน้ำประแสนี้
คืนนั้น เราสนทนากันอย่างสนุกสนาน จนสมควรแก่เวลา จึงขอลากลับโฮมสเตย์ จริงๆ แล้วคืนนั้นเรามีโปรแกรมจะไปดูหิ่งห้อยที่ทุ่งโปรงทอง แต่คงต้องงดไปก่อน เพื่อเช้าจะได้ออกไป เดินป่าชายเลน และทุ่งโปรงทอง ดูพระอาทิตย์ขึ้นแทน
เช้าของอีกวันหนึ่ง คุณลูกน้ำเจ้าของโฮมสเตย์ พาเราไปส่งที่ทางเดินป่าชายเลนของชุมชน เราเดินทางตามผ่านป่าชายเลนไปสักพักหนึ่ง ก็ไปทะลุถึงทุ่งโปรงทอง
ท่านผู้อ่านจะตะลึงกับภาพที่ปรากฏหน้าท่านที่ทุ่งโปรงทอง เพราะจะเป็นทุ่งกว้างใหญ่ มีสีเขียวสลับกับสีทองที่สะท้อนแดดงามยามเช้า และใครได้ไปก็คงอดจะเก็บภาพอัศจรรย์เช่นนี้ ไม่ได้
หลังจากชมความงามแล้ว พวกเราก็เดินทางไปตลาดประแส ซึ่งเป็นตลาดเล็กๆเพื่อหา อาหารใส่ท้อง พร้อมกับเดินดูความเป็นอยู่ของผู้คนในตลาด ระหว่างทางก็ยังได้พบบ่อน้ำจืด ขนาดใหญ่อายุนับร้อยปี
จากนั้น เราแวะไปที่ชุมชนเทศบาลตำบลปากน้ำประแส พบกับคุณยายหลายท่าน กำลังขมักเขม่นกับการทำผักชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ใบขลู่”
ใบขลู่ เป็นพืชที่ขึ้นบนป่าชายเลน มีลักษณะใบหยักแบบฟันเลื่อย เป็นพืชสมุนไพรมีสรรพ คุณแก้โรคเบาหวาน ลดความดัน ช่วยขับปัสสาวะ ลดคลอเรสเตอรอล ฯลฯ
ชาวบ้านเขาจะเก็บใบขลู่ตั้งแต่ 6 โมงเช้า นำต้นสดมาปลิดเอาแต่ใบ นำมาล้างน้ำ 2-3 น้ำ แล้วเอาไปนึ่ง เพื่อลดความกร่อย ผึ่งใส่ตะแกงให้น้ำตก แล้วคั่วโดยใช้ไฟอ่อน เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อรา แล้วนำไปอบด้วยความร้อน 175 องศา 30 นาที เพื่อคงความหอม เราก็จะได้ชาใบขลู่ มาชงกับน้ำร้อนรับประทาน
ที่นี่เอง เราได้พบกับลุงชโลม วงศ์ทิม อายุ 70 ปี ประธานชุมชนฯ และเป็นผู้ที่จะนำเรา ลงเรือล่องไปตามป่าชายเลน
แม้จะแดดร้อนเปรี้ยงในเวลาประมาณ 10 โมง แต่เราก็ลงเรือไปด้วยความตื่นเต้น กับป่าชายเลนสองฝั่ง มีแต่ต้นโกงกางขึ้นเต็มไปหมด บางช่วงของเส้นทาง ก็จะพบกับแหล่งเลี้ยง หอยนางรม แขวนอยู่ริมน้ำใกล้กับป่าชายเลนเป็นระยะๆ ฟาร์มหอยแห่งนี้ ลุงชโลมก็เป็นคน ทำขึ้นเอง
เรานั่งเรือไปจนสุดป่าชายเลน ก็ไปทะลุถึงปากน้ำแสมผู้ ซึ่งเป็นรอยต่อที่จะไปออกทะเล ตอนนั้นสายตาก็เบิกกว้าง มองเห็นวิวทิวทัศน์ท้องทะเลกว้างใหญ่ไพศาลอยู่ตรงหน้าเรา มองเห็นเกาะมันใน เกาะมันนอกอยู่ไกลไปลิบๆ
ขณะที่ปากน้ำแสมผู้ ก็จะมีชาวประมงบางคน เดินลากไม้ที่มีลักษณะเป็นรูปตัว T คว่ำ เพื่อหาหอยขาว หรือ บางแห่งเรียกว่า หอยตลับ
เราถามว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ลากไปแล้วเจอหอย กับเจอหิน ชาวบ้านบอกว่า ถ้าหินเสียงมันจะดังแน่นกว่า เสียงเปลือกหอย อืม...ก็เป็นความรู้อีกอย่างหนึ่ง แต่หูผมในขณะนั้นคงแยกไม่ออกระหว่างเสียงหิน กับเสียงเปลือกหอย เพราะตา มือ กล้อง จับจ้องอยู่กับภาพท้องทะเลเบื้องหน้ามากกว่า
น้ำที่ปากน้ำแสมผู้นี้ ท่านผู้อ่าน สามารถลงจากเรือไปเดินได้ เพราะน้ำตื้น แต่น้ำใส มองเห็นปลาตัวเล็กกระโดดขึ้นจากน้ำด้วย
เราชื่นชมกับธรรมชาติได้สักพักหนึ่ง แดดเริ่มร้อนเปรี้ยงปร้างมาแล้ว ตัวเริ่มถูกเผาเกรียม ขึ้น จึงต้องขอตัวเดินทางกลับไปที่พักแล้ว
พอถึงฝั่ง เราก็เตรียมเงินไว้ให้ลุงชโลมที่พาเรานั่งเรือไป แกกลับไม่ยอมรับ แกจะพาเราไป ฟรีๆ เราก็เลยบอกไม่ได้ครับลุง เราขยั้นขยอขอให้รับไว้เถอะ แล้ว เราบอกเราจะกลับมาอีก แกถึง ยอมรับเงินของเรา
ชาวบ้านชุมชนประแสแห่งนี้ที่เราพบเจอ และเห็นระหว่างทาง เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยไมตรีดี กับพวกเรา ทั้งๆไม่ได้รู้จักกัน ไม่ได้เป็นญาติโกโหติกา เพิ่งรู้จักและเพิ่งเจอกันครั้งแรกแท้ๆ เป็นความโชคดีของพวกเราจริงๆ
จริงๆสถานที่ท่องเที่ยวที่ชุมชนประแส ยังมีอีกหลายแห่งที่เราไม่ได้เดินทางไปชม เนื่องจากภาระกิจการงานของแต่ละคน ทำให้เราอยู่ชมได้เพียง 1 คืนกับอีกวันกว่าๆเท่านั้น ก่อนกลับเราก็แวะไปดูสถานที่ที่เป็นเอกลักษณ์ของปากน้ำประแสก็คือ “เรือรบหลวงประแส” ซึ่งเป็นเรือฟรีเกต เคยร่วมรบกับสงครามเกาหลีมาแล้ว ผมเก็บรวบรวมประวัติของเรือรบหลวงแห่งนี้ รวมถึงการลากเรือขึ้นฝั่งมาเป็นอนุสาวรีย์ของชาวชุมชนประแส แล้วผมจะนำมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อๆไปครับ
ปากน้ำประแส รับประกันว่า ถ้าท่านได้ไปแล้วครั้งหนึ่ง จะต้องกลับไปอีกแน่นอนครับ