SOUTHERN SEA BOARD
ขอความคิดเห็นขุดดคลองคอคอดกระจากช่องเขาที่บ้านราชกรูด-ระนอง
เรื่อง การขุดคลองคอคอดกระจากช่องเขาที่บ้านราชกรูด-ระนอง
โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยพบว่า
1 ขาดการค้นคว้าวิจัยที่ก่อให้เกิดนวัตกรรม เพื่อใช้ในการแข่งขัน KNOW HOW และ TECHNOLOGY ได้มาจากการร่วมลงทุน หากประเทศไทยไม่เป็นเป้าที่น่าลงทุน สิ่งที่มีอยู่ก็จะล้าสมัยไป
2. ค่าแรงงานสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดเกินกว่าความสามารถในการปรับตัวของผู้ประกอบการที่อาศัยต้นทุนแรงงานที่ถูก ต้องทิ้งแผ่นดินไทย ย้ายฐานไปสู่ชาติที่มีต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่า ถ้าเป็น SME ที่สายป่านสั้น ก็จะล้มหายตายจากไป มนุษย์เงินเดือนย่อมเดือดร้อน ทั้งการลด ชลอ เงินเดือน และตกงาน
3. ทรัพยากรธรรมชาติมีไม่เพียงพอแก่จำนวนประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อเพลิงและพลังงานที่ต้องนำเข้าและสูญเสียเงินตราในปริมาณสูง
4. ยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางของ ASEAN ทางบก อาจเป็นเพียงทางผ่านที่ไม่มีมูลค่าเพิ่มตอบแทนเพียงพอแก่รายจ่ายที่จะเลี้ยงดูประชากรของประเทศก็ได้
ดังนั้นประเทศไทยในระยะยาว อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น FAIL STATE หากไม่แก้ไขโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ มีเพียงโครงการ SOUTHERN SEA BOARD ที่มีผลตอบแทนการลงทุนสูงเพียงพอที่จะช่วยนำประเทศเพื่อความอยู่รอดได้ หากเปรียบเทียบกับเขตเศรษฐกิจพิเศษเซิงเจิ้น ที่มี GDP เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 28% ต่อปี ติดต่อกันมา 28 ปีแล้ว สามารถเพิ่ม GDP และลดสัดส่วนต้นทุน LOGISTIC ของประเทศมากกว่าโครงการรถไฟรางคู่ หลายเท่า
คลองคอคอดกระ สามารถลดเวลาเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกาได้ 3 วันเดินเรือ ตามสภาพของความลึกร่องน้ำ จะมีเรือเดินสมุทรระวานบรรทุกไม่เกิน 75,000 t. d w ผ่านประมาณ 15.000 ลำต่อเดือน หรือ 180,000 ลำต่อปี เหลือเรือ SUPER TANKER ไม่เกิน 200,000 t. d w ผ่านช่องแคบมะละกา ไม่เกิน 300,000 t. d w ผ่านช่องแคบ LOMBOK และไม่เกิน 400,000 t. d w ผ่านทวีป AUSTRALIA จำนวนน้อยและมีแนวโน้มเรือจะลดขนาดลง หากมี ทุนลอยในฝั่งทะเลอันดามัน ท่อส่งเชื้อเพลิง นิคมปิโตรเคมีที่มี คลังน้ำมัน โรงกลั่น โรงแยกก๊าซ โรงงานผลิตปิโตรเคมี คลังของเหลวและส่งต่อผ่านท่าเรือน้ำลึก หรือทุ่นลอย ในฝั่งอ่าวไทย
อุปสรรคที่ทำให้โครงการขุดคลองคอคอดกระของโครงการ SOUTHERN SEA BOARD ที่แล้วมาไม่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากลักษณะธรณีวิทยาที่ทิวเขาฝั่งระนองเป็นหินแข็งและส่วนหนึ่งเป็นหิน GRANITE ที่เจาะยาก เกิดปัญหาคล้ายกับสมัยประธานาธิบดี รูสเวลท์ แห่งสหรัฐอเมริกาที่ขุดคลองปานามา เมื่อ 70 ปีก่อน พบกับช่องเขาหิน GRANITE ไม่อาจาเจาะผ่านทำให้ต้องสร้างเขื่อนยกเรือเดินสมุทรข้ามไปอีกฟากหนึ่ง และเป็นสาเหตุประเทศไทยให้ต้องหาทางเลือกในเส้นทางอื่นๆมาเปรียบเทียบ ซึ่งประสพปัญหามากกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความมั่นคงของประเทศ
ในโครงการขยายคลองปานามาที่เพิ่งขยายเสร็จสิ้น ได้ใช้วิธีขยายคลองด้วยการสร้าง PLATFORM ลอยน้ำขนาดยักษ์ชื่อว่า TITON ซึ่งมี VERTICAL ROCK BORING MACHINES จำนวนมาก ตั้งเป็นตาตารางหมากรุก แถวและตอนห่างเท่ากัน เพื่อเจาะฝังระเบิดทำทุ่งระเบิดที่จุดชนวนระเบิดพร้อมกัน และมี PLATFORM รอยน้ำที่ติดเครื่องตักยักษ์ตักเอาตะกอนที่เกิดจากการระเบิดออก ทำให้ความกว้างและความลึกของคลองปานามาเพิ่มมากขึ้น
TECHNOLOGY หัวเจาะหิน GRANITE เกิดจากความก้าวหน้าของ TECHNOLOGY ขุดเจาะอุโมงที่ใช้แบบ เฟือง 3 ลูก อยู่ 3 มุม ของ 3 เหลี่ยมด้านเท่า เอียง 45 องศากับแนวดิ่ง มีฟันของเฟือง เป็นรูปลูกเต๋าติดกับตัวเฟืองโดย 1 ฟันเว้นหลอ 1 ฟัน
ปัจจุบันมีระเบิดที่มีแรงระเบิดต่อน้ำหนักเปรียบเทียบสูงกว่า TNT มากเช่น C4 เป็นต้น รูที่เจาะเท่ากันแรงระเบิดจะมากกว่าทำให้ระยะห่างของตาหมากรุกขยายมากขึ้นหรือเจาะรูเล็กลง
ทางธรณีวิทยาของหิน GRANITE เกิดจากการหลอมรวมตัวจนแน่นจากเนื้อละอองฝุ่นละเอียด ทำให้การเจาะหินละเอียดที่แน่นและลื่นจึงเจาะได้ลำบากกว่าหินอื่นทั่วไปที่จะมีรอยแตก MICRO CRACKS อยู่ภายใน แต่การที่อัดกันแน่นก็เป็นจุดอ่อนให้ใช้ไฟที่ร้อนทำให้เกิดการขยายตัวแยกออกได้ง่ายกลายเป็นละอองฝุ่นละเอียดในอุณหภูมิระดับ1800 องศา มีการเจาะหินด้วยท่อเป่าลมร้อน ลมที่เป่าออกจากท่อทำให้หิน GRANITE กลายเป็นรูที่ละอองฝุ่นปลิวออกไปพร้อมกับลมร้อนข้างท่อ สามารถเจาะหิน โดยไม่สัมผัสผนังของรูเจาะได้อย่างรวดเร็ว การเป่าลมร้อนอุณหภูมิ 1800 องศา สามารถทำได้ง่ายๆด้วยการเป่าพ่นเปลวร้อนของก๊าซ LPG หรือใช้เครื่องเชื่อมตัดเหล็ก OXY-ACETYLENE BLOW PIPE
ในประวัติศาสตร์ไทย พระยาตรังนุประดิษฐ์ (กอ ซิม บี้) ได้ตัดถนนข้ามเขาพับผ้าที่จังหวัดตรังที่มีความสูงกว่า 1000 เมตร โดยการใช้การสุมไฟเผาแล้วลาดน้ำทันทีที่ไฟดับ หินจะปริแตกออกแล้วใช้สิ่ว ฆ้อน สกัดออก การสุมไฟมีอุณหภูมิประมาณ 1200 องศา แล้วลาดน้ำ สามารถใช้ไฟจากการลุกไหม้ของน้ำมันก๊าซแล้ว QUENCH ด้วยน้ำทันที
หากมีการนำเอา TECHNOLOGY ของหัวเจาะชนิดนี้ ระเบิดสมัยใหม่ และการใช้ความร้อนมาใช้ตั้งแต่ในสมัย 70 ปีที่แล้ว คลองปานามา คงสามารถขุดคลองในระดับน้ำทะเลและไม่ต้องมาเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการยกเรือเดินสมุทรทุกๆลำที่ผ่านด้วยการสร้างเขื่อนยกเรือ ให้ลอยข้ามช่องเขาหิน GRANITE ไปสู่อีกฟากหนึ่ง
หากจะให้เลือกระหว่างความลำบากในการขุดเจาะหินกับความมั่นคงของประเทศที่ต้องไปขุดที่ปลายด้ามขวาน แล้ว เพื่อเป็นทางผ่านของ โครงการ SOUTHERN SEA BOARD ที่เป็น เขตเศษฐกิจพิเศษไทย ที่ประกอบด้วย คลองไทย ท่าเรือน้ำลึกไทย นิคมอุตสาหกรรมไทย มหานครไทย โดยมีเขตปริมณฑล เมืองอุตสาหกรรมอาหาร คลองประมงข้ชายฝั่งในลุ่มน้ำหลังสวน เกาะท่องเที่ยว ในฝั่งอันดามัน นิคมอุตสาหกรรมทั่วไป และเขตชุมชนที่อยู่อาศัย ในฝั่งอ่าวไทย แม้การขุดเจาะที่ลำบากกว่าและใช้งบประมาณเพิ่มบ้างในส่วนที่ต้องขุดคลองด้วยการเจาะหินหักด้วยระยะทางที่ใกล้กว่า แต่เงินลงทุนรวมกลับถูกกว่าและผลตอบแทนการลงทุนจากระยะทางที่ใกล้ส่วนหัวขวานของประเทศและกรุงเทพมากกว่าสามารถใช้อรรถประโยชน์มากยิ่งขึ้น การคืนทุนจึงเร็วกว่าและให้ผลตอบแทนต่อ GDP ที่สูงกว่า
โครงสร้างแผนงาน
ทำเลที่ตั้ง ที่ละติจูด 98 องศา 22 ลิบดา ตะวันออก 9 องศา 44 ลิบดา เหนือ ในทะเลระหว่างเกาะพะยาม และเกาะค้างคาว ขุดร่องน้ำ เข้าสู่ฝั่งที่ บ้านราชกรูด ระนอง ละติจูด 98 องศา 38 ลิบดา ตะวันออก ลองติจูด 9 องศา 55 ลิบดา เหนือ ขุดคลองผ่านช่องเขาที่กว้างเพียงพอที่จะขุดคลองผ่าน ช่องเขาลดความสูงของทิวเขา จาก 850 เมตรลงมาเหลือเพียง 350 เมตร และยังเป็นเนินเพียงหย่อมๆ เนินค่อยๆลาดต่ำลงไปสู่อำเภอพะโต๊ะและที่ราบเมื่อใกล้ลุ่มของแม่น้ำหลังสวน สามารถลดการเจาะระเบิดหินแข็งที่อาจมีหิน GRANITE ลงได้มาก และเมื่อผ่านช่องเขานี้จะพบกับที่ที่เป็นกรรมสิทธิของหลวงทางด้านเหนือรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าผืนใหญ่ตั้งแต่ด้านหนึ่งที่เรียบทิวเขาจังหวัดระนองตามแนวทางหลวงแผ่นดินสาย 4 ไปจนจรดมุมของรูป 3 เหลี่ยมในจังหวัดชุมพรที่ทางหลวงสาย 41 ด้านอ่าวไทย หากไต่ตามที่หลวงของด้าน 3 เหลี่ยมขึ้นไปสู่อ่าวไทยการเวณคืนจะมีน้อยที่สุด โดยแนวคลองออกสู่ด้านอ่าวไทย เริ่มที่บริเวณเกาะพิทักษ์และสามารถถมทะเลสร้างนิคมและท่าเรือน้ำลึกได้ถึงเกาะกุลา โดยไม่มีป่าชายเลน และจะเหลือที่ด้านทิศเหนือของคลองที่สามารถสร้างมหานครได้โดยใช้ที่ของรัฐให้มากที่สุดและเวนคืนน้อยเท่าทีทำได้
คลองไทย แนวคลองขุดให้เป็นเส้นตรงให้มากที่สุดในระดับความลึก 18 เมตร จากระดับน้ำทะเล กว้าง 300 เมตร คลองนี้รับเรือเดินสมุทรที่ระวานขับน้ำไม่เกินกว่า 75,000 T d w ผ่านได้ แต่ไม่อนุญาตให้เรือ SUPER TANKER บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ เข้าจากเหตุผลของความมั่นคงและการให้นิคมอุตสาหกรรมไทยสามารถเก็บ กลั่น แยกและผลิตเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมและปิโตเคมี
ท่าเรือน้ำลึกไทย เป็นท่าเรือน้ำลึกที่อยู่ปลายสุดเลยเขตรั้วของนิคมอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ล่องน้ำลึก 18 เมตรจากระดับน้ำทะเล มี TANKS YARD สำหรับคลังของเหลว และมีท่าและคลังของแข็งปิดป้องกันฝุ่นสำหรับเรือ BULK เหล็ก โลหะและถ่านหิน เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม
นิคมอุตสาหกรรมไทย เกิดจากการถมทะเลด้านอ่าวไทย มีลักษณะเป็น PETRO CHEMICAL COMPLEX ที่มีทั้งโรงกลั่น โรงแยกก๊าซ โรงงานเคมีภัณฑ์ มีโรงไฟฟ้า CO GENERATION และอุตสาหกรรมหนัก เช่นโรงงานถลุงเหล็ก ถลุงอลูมิเนียม อู่ต่อเรือและโรงไฟฟ้าถ่านหิน เขตถมทะเลที่ไม่มีปัญหาในเรื่องสภาวะแวดล้อมจะอยู่ใกล้ฝั่ง เขตที่อาจมีปัญหาสิ่งแวดล้อมจะอยู่ห่างไกลจากชายฝั่ง โดยมีมาตรการการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับในนิคมมาบตาพุด
ท่อน้ำมันและก๊าซ ด้านทะเลอันดามันจากทุ่นลอยนอกทะเล ลอดใต้ทะเลเข้าสู่ GREEN BELT ระหว่างคลองประมงและคลองไทยเเพื่อเข้าโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซในนิคม มีการเชื่อมต่อกับระบบท่อก๊าซใต้ทะเลฝั่งอ่าวไทยและมีทุ่นลอยจากนิคมอุตสาหกรรมไทยไปยังทุ่นลอยนอกแนวกันคลื่นท่าเรือน้ำลึกไทย
มหานครไทยเป็นมหานครทันสมัยเต็มไปด้วยตึกระฟ้า ระบบคมนาคม ระบบขนส่งมวลชน ระบบสื่อสาร ระบบโทรคมนาคม และระบบสาธารณูปโภคที่สมบูรณ์ เพื่อเป็นศูนย์การค้า การพาณิชน์ การเงินและการบริการ แหล่งสำคัญแหล่งหนึ่งโลก
นิคมอุตสาหกรรมทั่วไป อยู่ระหว่างทางหลวงแผ่นดินสาย 41 ฝั่งไกลจากทะเลกับมหานครไทยเป็นนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เอกชนที่ผังเมืองกำหนดให้เป็นเขตนิคมไร้มลพิษมีระบบถนนและขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกันเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเขตเศษฐกิจพิเศษไทย
ชุมชนเมืองเขตที่อยู่อาศัย อยู่ระหว่างทางหลวงแผ่นดินสาย 41 ฝั่งทะเลและนิคมอุตสาหกรรมไทย ในพื้นที่เอกชนที่ผังเมืองกำหนดให้เป็นเขตที่อยู่อาศัยโดยมีระบบถนนและขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกันเพื่อเป็นส่วนหนี่งของเขตเศษฐกิจพิเศษไทย
คลองเรือประมงเชื่อม 2 ฝั่งสมุทร หากจะลดปัญหาการเวณคืนด้วยการแลกที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวประมงที่ต้องการหน้าทะเลสำหรับการแล่นเรือออกจับสัตว์น้ำ สามารถทำคลองประมงขนานกับคลองไทย ทางด้านทิศใต้ ขนาดกว้าง 60 เมตร ลึก 10 เมตร ชายฝั่งลาดเอียงจอดเรือ 20 เมตร มี GREEN BELT ขั้นอยู่ระหว่างคลองไทยและคลองประมง สามารถสร้างทางรถไฟ ฝังท่อน้ำมันและก๊าซรวมทั้งติดตั้งกังหันลม ซึ่งจะทำให้เรือประมงสามารถแล่นออกทะเลได้ทั้งสองฝั่งที่คลื่นลมต่างกัน ทำให้ฤดูจับปลานานขึ้น เป็นที่หลบคลื่นลม และไม่เสียหน้าทะเลจากคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง คลองนี้มีประโยชน์ที่เรือเรียบชายฝั่งระวางขับน้ำไม่เกิน 8,000 t d w และเรือประมงแก้ปัญหาเรือเล็กเข้ามาปะปนกับเรือเดินสมุทรในคลองไทย
เมืองอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทางด้านใต้ของคลองมีทางหลวงแผ่นดินสาย 4006 เชื่อม 2 ฝั่ง ทำให้มีศักยภาพเป็นศูนย์กลางตลาดกลางประมงเช่นเดียวกับสมุทรสาคร และตลาดกลางการเกษตรของลุ่มน้ำหลังสวนเช่นเดียวกับตลาดไท จึงกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เช่น อาหาร ฮารัล เป็นต้น
มีต่อครับ
vvv
vv
v
*** ปิดโหวต วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2557 เวลา 11:14:41 น.
SOUTHERN SEA BOARD ขอร่วมแสดงความคิดเห็นขุดดคลองคอคอดกระจากช่องเขาที่บ้านราชกรูด-ระนอง
ขอความคิดเห็นขุดดคลองคอคอดกระจากช่องเขาที่บ้านราชกรูด-ระนอง
เรื่อง การขุดคลองคอคอดกระจากช่องเขาที่บ้านราชกรูด-ระนอง
โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยพบว่า
1 ขาดการค้นคว้าวิจัยที่ก่อให้เกิดนวัตกรรม เพื่อใช้ในการแข่งขัน KNOW HOW และ TECHNOLOGY ได้มาจากการร่วมลงทุน หากประเทศไทยไม่เป็นเป้าที่น่าลงทุน สิ่งที่มีอยู่ก็จะล้าสมัยไป
2. ค่าแรงงานสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดเกินกว่าความสามารถในการปรับตัวของผู้ประกอบการที่อาศัยต้นทุนแรงงานที่ถูก ต้องทิ้งแผ่นดินไทย ย้ายฐานไปสู่ชาติที่มีต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่า ถ้าเป็น SME ที่สายป่านสั้น ก็จะล้มหายตายจากไป มนุษย์เงินเดือนย่อมเดือดร้อน ทั้งการลด ชลอ เงินเดือน และตกงาน
3. ทรัพยากรธรรมชาติมีไม่เพียงพอแก่จำนวนประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อเพลิงและพลังงานที่ต้องนำเข้าและสูญเสียเงินตราในปริมาณสูง
4. ยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางของ ASEAN ทางบก อาจเป็นเพียงทางผ่านที่ไม่มีมูลค่าเพิ่มตอบแทนเพียงพอแก่รายจ่ายที่จะเลี้ยงดูประชากรของประเทศก็ได้
ดังนั้นประเทศไทยในระยะยาว อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น FAIL STATE หากไม่แก้ไขโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ มีเพียงโครงการ SOUTHERN SEA BOARD ที่มีผลตอบแทนการลงทุนสูงเพียงพอที่จะช่วยนำประเทศเพื่อความอยู่รอดได้ หากเปรียบเทียบกับเขตเศรษฐกิจพิเศษเซิงเจิ้น ที่มี GDP เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 28% ต่อปี ติดต่อกันมา 28 ปีแล้ว สามารถเพิ่ม GDP และลดสัดส่วนต้นทุน LOGISTIC ของประเทศมากกว่าโครงการรถไฟรางคู่ หลายเท่า
คลองคอคอดกระ สามารถลดเวลาเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกาได้ 3 วันเดินเรือ ตามสภาพของความลึกร่องน้ำ จะมีเรือเดินสมุทรระวานบรรทุกไม่เกิน 75,000 t. d w ผ่านประมาณ 15.000 ลำต่อเดือน หรือ 180,000 ลำต่อปี เหลือเรือ SUPER TANKER ไม่เกิน 200,000 t. d w ผ่านช่องแคบมะละกา ไม่เกิน 300,000 t. d w ผ่านช่องแคบ LOMBOK และไม่เกิน 400,000 t. d w ผ่านทวีป AUSTRALIA จำนวนน้อยและมีแนวโน้มเรือจะลดขนาดลง หากมี ทุนลอยในฝั่งทะเลอันดามัน ท่อส่งเชื้อเพลิง นิคมปิโตรเคมีที่มี คลังน้ำมัน โรงกลั่น โรงแยกก๊าซ โรงงานผลิตปิโตรเคมี คลังของเหลวและส่งต่อผ่านท่าเรือน้ำลึก หรือทุ่นลอย ในฝั่งอ่าวไทย
อุปสรรคที่ทำให้โครงการขุดคลองคอคอดกระของโครงการ SOUTHERN SEA BOARD ที่แล้วมาไม่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากลักษณะธรณีวิทยาที่ทิวเขาฝั่งระนองเป็นหินแข็งและส่วนหนึ่งเป็นหิน GRANITE ที่เจาะยาก เกิดปัญหาคล้ายกับสมัยประธานาธิบดี รูสเวลท์ แห่งสหรัฐอเมริกาที่ขุดคลองปานามา เมื่อ 70 ปีก่อน พบกับช่องเขาหิน GRANITE ไม่อาจาเจาะผ่านทำให้ต้องสร้างเขื่อนยกเรือเดินสมุทรข้ามไปอีกฟากหนึ่ง และเป็นสาเหตุประเทศไทยให้ต้องหาทางเลือกในเส้นทางอื่นๆมาเปรียบเทียบ ซึ่งประสพปัญหามากกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความมั่นคงของประเทศ
ในโครงการขยายคลองปานามาที่เพิ่งขยายเสร็จสิ้น ได้ใช้วิธีขยายคลองด้วยการสร้าง PLATFORM ลอยน้ำขนาดยักษ์ชื่อว่า TITON ซึ่งมี VERTICAL ROCK BORING MACHINES จำนวนมาก ตั้งเป็นตาตารางหมากรุก แถวและตอนห่างเท่ากัน เพื่อเจาะฝังระเบิดทำทุ่งระเบิดที่จุดชนวนระเบิดพร้อมกัน และมี PLATFORM รอยน้ำที่ติดเครื่องตักยักษ์ตักเอาตะกอนที่เกิดจากการระเบิดออก ทำให้ความกว้างและความลึกของคลองปานามาเพิ่มมากขึ้น
TECHNOLOGY หัวเจาะหิน GRANITE เกิดจากความก้าวหน้าของ TECHNOLOGY ขุดเจาะอุโมงที่ใช้แบบ เฟือง 3 ลูก อยู่ 3 มุม ของ 3 เหลี่ยมด้านเท่า เอียง 45 องศากับแนวดิ่ง มีฟันของเฟือง เป็นรูปลูกเต๋าติดกับตัวเฟืองโดย 1 ฟันเว้นหลอ 1 ฟัน
ปัจจุบันมีระเบิดที่มีแรงระเบิดต่อน้ำหนักเปรียบเทียบสูงกว่า TNT มากเช่น C4 เป็นต้น รูที่เจาะเท่ากันแรงระเบิดจะมากกว่าทำให้ระยะห่างของตาหมากรุกขยายมากขึ้นหรือเจาะรูเล็กลง
ทางธรณีวิทยาของหิน GRANITE เกิดจากการหลอมรวมตัวจนแน่นจากเนื้อละอองฝุ่นละเอียด ทำให้การเจาะหินละเอียดที่แน่นและลื่นจึงเจาะได้ลำบากกว่าหินอื่นทั่วไปที่จะมีรอยแตก MICRO CRACKS อยู่ภายใน แต่การที่อัดกันแน่นก็เป็นจุดอ่อนให้ใช้ไฟที่ร้อนทำให้เกิดการขยายตัวแยกออกได้ง่ายกลายเป็นละอองฝุ่นละเอียดในอุณหภูมิระดับ1800 องศา มีการเจาะหินด้วยท่อเป่าลมร้อน ลมที่เป่าออกจากท่อทำให้หิน GRANITE กลายเป็นรูที่ละอองฝุ่นปลิวออกไปพร้อมกับลมร้อนข้างท่อ สามารถเจาะหิน โดยไม่สัมผัสผนังของรูเจาะได้อย่างรวดเร็ว การเป่าลมร้อนอุณหภูมิ 1800 องศา สามารถทำได้ง่ายๆด้วยการเป่าพ่นเปลวร้อนของก๊าซ LPG หรือใช้เครื่องเชื่อมตัดเหล็ก OXY-ACETYLENE BLOW PIPE
ในประวัติศาสตร์ไทย พระยาตรังนุประดิษฐ์ (กอ ซิม บี้) ได้ตัดถนนข้ามเขาพับผ้าที่จังหวัดตรังที่มีความสูงกว่า 1000 เมตร โดยการใช้การสุมไฟเผาแล้วลาดน้ำทันทีที่ไฟดับ หินจะปริแตกออกแล้วใช้สิ่ว ฆ้อน สกัดออก การสุมไฟมีอุณหภูมิประมาณ 1200 องศา แล้วลาดน้ำ สามารถใช้ไฟจากการลุกไหม้ของน้ำมันก๊าซแล้ว QUENCH ด้วยน้ำทันที
หากมีการนำเอา TECHNOLOGY ของหัวเจาะชนิดนี้ ระเบิดสมัยใหม่ และการใช้ความร้อนมาใช้ตั้งแต่ในสมัย 70 ปีที่แล้ว คลองปานามา คงสามารถขุดคลองในระดับน้ำทะเลและไม่ต้องมาเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการยกเรือเดินสมุทรทุกๆลำที่ผ่านด้วยการสร้างเขื่อนยกเรือ ให้ลอยข้ามช่องเขาหิน GRANITE ไปสู่อีกฟากหนึ่ง
หากจะให้เลือกระหว่างความลำบากในการขุดเจาะหินกับความมั่นคงของประเทศที่ต้องไปขุดที่ปลายด้ามขวาน แล้ว เพื่อเป็นทางผ่านของ โครงการ SOUTHERN SEA BOARD ที่เป็น เขตเศษฐกิจพิเศษไทย ที่ประกอบด้วย คลองไทย ท่าเรือน้ำลึกไทย นิคมอุตสาหกรรมไทย มหานครไทย โดยมีเขตปริมณฑล เมืองอุตสาหกรรมอาหาร คลองประมงข้ชายฝั่งในลุ่มน้ำหลังสวน เกาะท่องเที่ยว ในฝั่งอันดามัน นิคมอุตสาหกรรมทั่วไป และเขตชุมชนที่อยู่อาศัย ในฝั่งอ่าวไทย แม้การขุดเจาะที่ลำบากกว่าและใช้งบประมาณเพิ่มบ้างในส่วนที่ต้องขุดคลองด้วยการเจาะหินหักด้วยระยะทางที่ใกล้กว่า แต่เงินลงทุนรวมกลับถูกกว่าและผลตอบแทนการลงทุนจากระยะทางที่ใกล้ส่วนหัวขวานของประเทศและกรุงเทพมากกว่าสามารถใช้อรรถประโยชน์มากยิ่งขึ้น การคืนทุนจึงเร็วกว่าและให้ผลตอบแทนต่อ GDP ที่สูงกว่า
โครงสร้างแผนงาน
ทำเลที่ตั้ง ที่ละติจูด 98 องศา 22 ลิบดา ตะวันออก 9 องศา 44 ลิบดา เหนือ ในทะเลระหว่างเกาะพะยาม และเกาะค้างคาว ขุดร่องน้ำ เข้าสู่ฝั่งที่ บ้านราชกรูด ระนอง ละติจูด 98 องศา 38 ลิบดา ตะวันออก ลองติจูด 9 องศา 55 ลิบดา เหนือ ขุดคลองผ่านช่องเขาที่กว้างเพียงพอที่จะขุดคลองผ่าน ช่องเขาลดความสูงของทิวเขา จาก 850 เมตรลงมาเหลือเพียง 350 เมตร และยังเป็นเนินเพียงหย่อมๆ เนินค่อยๆลาดต่ำลงไปสู่อำเภอพะโต๊ะและที่ราบเมื่อใกล้ลุ่มของแม่น้ำหลังสวน สามารถลดการเจาะระเบิดหินแข็งที่อาจมีหิน GRANITE ลงได้มาก และเมื่อผ่านช่องเขานี้จะพบกับที่ที่เป็นกรรมสิทธิของหลวงทางด้านเหนือรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าผืนใหญ่ตั้งแต่ด้านหนึ่งที่เรียบทิวเขาจังหวัดระนองตามแนวทางหลวงแผ่นดินสาย 4 ไปจนจรดมุมของรูป 3 เหลี่ยมในจังหวัดชุมพรที่ทางหลวงสาย 41 ด้านอ่าวไทย หากไต่ตามที่หลวงของด้าน 3 เหลี่ยมขึ้นไปสู่อ่าวไทยการเวณคืนจะมีน้อยที่สุด โดยแนวคลองออกสู่ด้านอ่าวไทย เริ่มที่บริเวณเกาะพิทักษ์และสามารถถมทะเลสร้างนิคมและท่าเรือน้ำลึกได้ถึงเกาะกุลา โดยไม่มีป่าชายเลน และจะเหลือที่ด้านทิศเหนือของคลองที่สามารถสร้างมหานครได้โดยใช้ที่ของรัฐให้มากที่สุดและเวนคืนน้อยเท่าทีทำได้
คลองไทย แนวคลองขุดให้เป็นเส้นตรงให้มากที่สุดในระดับความลึก 18 เมตร จากระดับน้ำทะเล กว้าง 300 เมตร คลองนี้รับเรือเดินสมุทรที่ระวานขับน้ำไม่เกินกว่า 75,000 T d w ผ่านได้ แต่ไม่อนุญาตให้เรือ SUPER TANKER บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ เข้าจากเหตุผลของความมั่นคงและการให้นิคมอุตสาหกรรมไทยสามารถเก็บ กลั่น แยกและผลิตเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมและปิโตเคมี
ท่าเรือน้ำลึกไทย เป็นท่าเรือน้ำลึกที่อยู่ปลายสุดเลยเขตรั้วของนิคมอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ล่องน้ำลึก 18 เมตรจากระดับน้ำทะเล มี TANKS YARD สำหรับคลังของเหลว และมีท่าและคลังของแข็งปิดป้องกันฝุ่นสำหรับเรือ BULK เหล็ก โลหะและถ่านหิน เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม
นิคมอุตสาหกรรมไทย เกิดจากการถมทะเลด้านอ่าวไทย มีลักษณะเป็น PETRO CHEMICAL COMPLEX ที่มีทั้งโรงกลั่น โรงแยกก๊าซ โรงงานเคมีภัณฑ์ มีโรงไฟฟ้า CO GENERATION และอุตสาหกรรมหนัก เช่นโรงงานถลุงเหล็ก ถลุงอลูมิเนียม อู่ต่อเรือและโรงไฟฟ้าถ่านหิน เขตถมทะเลที่ไม่มีปัญหาในเรื่องสภาวะแวดล้อมจะอยู่ใกล้ฝั่ง เขตที่อาจมีปัญหาสิ่งแวดล้อมจะอยู่ห่างไกลจากชายฝั่ง โดยมีมาตรการการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับในนิคมมาบตาพุด
ท่อน้ำมันและก๊าซ ด้านทะเลอันดามันจากทุ่นลอยนอกทะเล ลอดใต้ทะเลเข้าสู่ GREEN BELT ระหว่างคลองประมงและคลองไทยเเพื่อเข้าโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซในนิคม มีการเชื่อมต่อกับระบบท่อก๊าซใต้ทะเลฝั่งอ่าวไทยและมีทุ่นลอยจากนิคมอุตสาหกรรมไทยไปยังทุ่นลอยนอกแนวกันคลื่นท่าเรือน้ำลึกไทย
มหานครไทยเป็นมหานครทันสมัยเต็มไปด้วยตึกระฟ้า ระบบคมนาคม ระบบขนส่งมวลชน ระบบสื่อสาร ระบบโทรคมนาคม และระบบสาธารณูปโภคที่สมบูรณ์ เพื่อเป็นศูนย์การค้า การพาณิชน์ การเงินและการบริการ แหล่งสำคัญแหล่งหนึ่งโลก
นิคมอุตสาหกรรมทั่วไป อยู่ระหว่างทางหลวงแผ่นดินสาย 41 ฝั่งไกลจากทะเลกับมหานครไทยเป็นนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เอกชนที่ผังเมืองกำหนดให้เป็นเขตนิคมไร้มลพิษมีระบบถนนและขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกันเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเขตเศษฐกิจพิเศษไทย
ชุมชนเมืองเขตที่อยู่อาศัย อยู่ระหว่างทางหลวงแผ่นดินสาย 41 ฝั่งทะเลและนิคมอุตสาหกรรมไทย ในพื้นที่เอกชนที่ผังเมืองกำหนดให้เป็นเขตที่อยู่อาศัยโดยมีระบบถนนและขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกันเพื่อเป็นส่วนหนี่งของเขตเศษฐกิจพิเศษไทย
คลองเรือประมงเชื่อม 2 ฝั่งสมุทร หากจะลดปัญหาการเวณคืนด้วยการแลกที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวประมงที่ต้องการหน้าทะเลสำหรับการแล่นเรือออกจับสัตว์น้ำ สามารถทำคลองประมงขนานกับคลองไทย ทางด้านทิศใต้ ขนาดกว้าง 60 เมตร ลึก 10 เมตร ชายฝั่งลาดเอียงจอดเรือ 20 เมตร มี GREEN BELT ขั้นอยู่ระหว่างคลองไทยและคลองประมง สามารถสร้างทางรถไฟ ฝังท่อน้ำมันและก๊าซรวมทั้งติดตั้งกังหันลม ซึ่งจะทำให้เรือประมงสามารถแล่นออกทะเลได้ทั้งสองฝั่งที่คลื่นลมต่างกัน ทำให้ฤดูจับปลานานขึ้น เป็นที่หลบคลื่นลม และไม่เสียหน้าทะเลจากคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง คลองนี้มีประโยชน์ที่เรือเรียบชายฝั่งระวางขับน้ำไม่เกิน 8,000 t d w และเรือประมงแก้ปัญหาเรือเล็กเข้ามาปะปนกับเรือเดินสมุทรในคลองไทย
เมืองอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทางด้านใต้ของคลองมีทางหลวงแผ่นดินสาย 4006 เชื่อม 2 ฝั่ง ทำให้มีศักยภาพเป็นศูนย์กลางตลาดกลางประมงเช่นเดียวกับสมุทรสาคร และตลาดกลางการเกษตรของลุ่มน้ำหลังสวนเช่นเดียวกับตลาดไท จึงกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เช่น อาหาร ฮารัล เป็นต้น
มีต่อครับ
vvv
vv
v