ป.ป.ช.ลงมติ 7-0 ชี้มูลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความผิดฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายในโครงการจำนำข้าว ในขณะที่ คสช.เพิ่งอนุมัติให้ยิ่งลักษณ์ทัวร์ยุโรป 20 วันตามคำขอ
คดีนี้มีนักกฎหมายตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ป.ป.ช.ควรจะต้องชี้มูลบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีพาณิชย์ ที่ต้องข้อหาทุจริต ก่อนชี้มูลว่ายิ่งลักษณ์ปล่อยปละละเลยหรือรู้เห็นให้บุญทรงทุจริตหรือไม่ แต่ ป.ป.ช.กลับไม่ทำเช่นนั้น เพราะ ป.ป.ช.กล่าวโทษอดีตนายกฯว่ามีความผิดในฐานะผู้รับผิดชอบนโยบาย ดำเนินนโยบายไปแล้วเห็นว่าเกิดความเสียหาย เกิดการทุจริตในขั้นตอนต่างๆ แล้วกลับเพิกเฉย ไม่ระงับยับยั้ง ยังดำเนินโครงการต่อไปทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงที่สุดของประเทศ (ซ้ำยังพ่วงข้อหาชาวนาฆ่าตัวตายเพราะไม่ได้เงินเข้ามา ทั้งที่นั่นเป็นปัญหาการตีความขัดแย้งกับ กกต.ช่วงเลือกตั้ง)
ผมไม่ได้จะแย้งว่าจำนำข้าวไม่เสียหาย ไม่มีทุจริต แต่นี่ ป.ป.ช.กำลังเอา “ความรับผิดทางการเมือง” ว่าด้วยการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด เสียหาย มาเป็น “ความผิดอาญา” ตามมาตรา 157 ทั้งที่คนละเรื่องกัน
คือถ้าพิสูจน์ได้ว่ามีการทุจริตจำนำข้าว โดยยิ่งลักษณ์รู้เห็น ไม่ต้องรับตังค์หรอก แค่รู้ว่าบุญทรงสมคบบริษัทมาประมูลซื้อข้าวไปในราคาต่ำแล้วไม่จัดการ ก็มีความผิดอาญาฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ อย่างนั้นไม่ว่ากัน
แต่นี่ท่านกำลังชี้ว่าการที่ยิ่งลักษณ์ดำเนินนโยบายจำนำข้าวตามที่พรรค เพื่อไทยหาเสียง ตามที่ให้สัญญาประชาคมไว้กับประชาชน แล้วมันล้มเหลว เสียหาย เกิดปัญหาทุจริตกันมากมาย ถือเป็นความผิดอาญาซึ่งต้องติดคุก ท่านกำลังทำให้เส้นแบ่งของความรับผิดทางการเมือง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ และความผิดทางอาญา เลอะเลือนไปหมด
ขณะเดียวกันยังเป็นการเพิ่มอำนาจ ป.ป.ช.เข้าไปชี้ผิดนโยบาย ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต ถ้าพรรคการเมืองนำเสนอนโยบาย “ประชานิยม” ที่ ป.ป.ช.เกลียดนักเกลียดหนา แล้วเกิดอะไรเสียหายขึ้นมา ป.ป.ช.ก็สามารถชี้มูลความผิดได้ทันที ถือเป็นความผิดต่อหน้าที่ก็ถอดถอน ถือเป็นความผิดอาญาก็ส่งฟ้อง
ทั้งที่การดำเนินนโยบายผิดพลาดเสียหายเป็นเรื่องทางการเมือง ซึ่งประชาชนจะรุมด่า สภาฯจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ และพรรคการเมืองนั้นก็จะเสียคะแนนนิยมไป ส่วนใครทุจริตก็ต้องแยกเอาผิดอาญาเป็นรายๆ
ไม่เช่นนั้นก็กลายเป็นการ “ทำแท้งนโยบาย” พรรคการเมืองจะไม่สามารถเสนอนโยบายที่ท้าทายอีก เพราะถ้านโยบายผิดต้องติดคุกใครจะกล้าเสนอ ซึ่งส่งผลย้อนไปอีก ว่าถ้าพรรคการเมืองไม่สามารถหาเสียงด้วยนโยบายแล้วเราจะเลือกตั้งพรรคการ เมืองเข้าไปทำไม
การวินิจฉัยแบบนี้ถ้าจะเอากันจริงๆ ก็เอาผิดได้ทุกรัฐบาล เพราะไม่มีทางที่ใครจะทำถูกทุกข้อ เว้นเสียแต่พรรคการเมืองเลิกหาเสียงด้วยนโยบาย เหลือแต่จุดขายหน่อมแน้ม หรือนามธรรมเหมือนการเมืองยุคก่อนไทยรักไทยซึ่งเขียนนโยบาย 10 หน้า อ่านไม่รู้เรื่อง จับต้องไม่ได้ ไม่รู้จะแก้ปัญหาให้ประชาชนอย่างไร แต่ถ้าบอก “30 บาทรักษาทุกโรค” อาจผิดก็ได้ เพราะวันนี้บุคลากรสาธารณสุขก็พูดเซ็งแซ่ว่าทำให้เสียหาย แม้แต่ ร.พ.ศิริราชยังบอกว่าขาดทุนต้องควักเงินอุดหนุนปีละ 400 ล้าน
สอดคล้องกันจริงกับ กกต.ที่เสนอไม่ให้พรรคการเมืองหาเสียงด้วยนโยบายประชานิยม ล้มล้างความหมายของการเลือกตั้ง ให้เหลือแค่เลือกนักการเมืองไปเป็น “ปลัดประเทศ” นั่งเป็นเจว็ดแล้วให้ระบบราชการ เทคโนแครต กำหนดนโยบาย
http://www.kaohoon.com/online/93757/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81-%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%87.htm#
นโยบายผิดติดคุก ... ใบตองแห้ง
คดีนี้มีนักกฎหมายตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ป.ป.ช.ควรจะต้องชี้มูลบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีพาณิชย์ ที่ต้องข้อหาทุจริต ก่อนชี้มูลว่ายิ่งลักษณ์ปล่อยปละละเลยหรือรู้เห็นให้บุญทรงทุจริตหรือไม่ แต่ ป.ป.ช.กลับไม่ทำเช่นนั้น เพราะ ป.ป.ช.กล่าวโทษอดีตนายกฯว่ามีความผิดในฐานะผู้รับผิดชอบนโยบาย ดำเนินนโยบายไปแล้วเห็นว่าเกิดความเสียหาย เกิดการทุจริตในขั้นตอนต่างๆ แล้วกลับเพิกเฉย ไม่ระงับยับยั้ง ยังดำเนินโครงการต่อไปทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงที่สุดของประเทศ (ซ้ำยังพ่วงข้อหาชาวนาฆ่าตัวตายเพราะไม่ได้เงินเข้ามา ทั้งที่นั่นเป็นปัญหาการตีความขัดแย้งกับ กกต.ช่วงเลือกตั้ง)
ผมไม่ได้จะแย้งว่าจำนำข้าวไม่เสียหาย ไม่มีทุจริต แต่นี่ ป.ป.ช.กำลังเอา “ความรับผิดทางการเมือง” ว่าด้วยการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด เสียหาย มาเป็น “ความผิดอาญา” ตามมาตรา 157 ทั้งที่คนละเรื่องกัน
คือถ้าพิสูจน์ได้ว่ามีการทุจริตจำนำข้าว โดยยิ่งลักษณ์รู้เห็น ไม่ต้องรับตังค์หรอก แค่รู้ว่าบุญทรงสมคบบริษัทมาประมูลซื้อข้าวไปในราคาต่ำแล้วไม่จัดการ ก็มีความผิดอาญาฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ อย่างนั้นไม่ว่ากัน
แต่นี่ท่านกำลังชี้ว่าการที่ยิ่งลักษณ์ดำเนินนโยบายจำนำข้าวตามที่พรรค เพื่อไทยหาเสียง ตามที่ให้สัญญาประชาคมไว้กับประชาชน แล้วมันล้มเหลว เสียหาย เกิดปัญหาทุจริตกันมากมาย ถือเป็นความผิดอาญาซึ่งต้องติดคุก ท่านกำลังทำให้เส้นแบ่งของความรับผิดทางการเมือง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ และความผิดทางอาญา เลอะเลือนไปหมด
ขณะเดียวกันยังเป็นการเพิ่มอำนาจ ป.ป.ช.เข้าไปชี้ผิดนโยบาย ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต ถ้าพรรคการเมืองนำเสนอนโยบาย “ประชานิยม” ที่ ป.ป.ช.เกลียดนักเกลียดหนา แล้วเกิดอะไรเสียหายขึ้นมา ป.ป.ช.ก็สามารถชี้มูลความผิดได้ทันที ถือเป็นความผิดต่อหน้าที่ก็ถอดถอน ถือเป็นความผิดอาญาก็ส่งฟ้อง
ทั้งที่การดำเนินนโยบายผิดพลาดเสียหายเป็นเรื่องทางการเมือง ซึ่งประชาชนจะรุมด่า สภาฯจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ และพรรคการเมืองนั้นก็จะเสียคะแนนนิยมไป ส่วนใครทุจริตก็ต้องแยกเอาผิดอาญาเป็นรายๆ
ไม่เช่นนั้นก็กลายเป็นการ “ทำแท้งนโยบาย” พรรคการเมืองจะไม่สามารถเสนอนโยบายที่ท้าทายอีก เพราะถ้านโยบายผิดต้องติดคุกใครจะกล้าเสนอ ซึ่งส่งผลย้อนไปอีก ว่าถ้าพรรคการเมืองไม่สามารถหาเสียงด้วยนโยบายแล้วเราจะเลือกตั้งพรรคการ เมืองเข้าไปทำไม
การวินิจฉัยแบบนี้ถ้าจะเอากันจริงๆ ก็เอาผิดได้ทุกรัฐบาล เพราะไม่มีทางที่ใครจะทำถูกทุกข้อ เว้นเสียแต่พรรคการเมืองเลิกหาเสียงด้วยนโยบาย เหลือแต่จุดขายหน่อมแน้ม หรือนามธรรมเหมือนการเมืองยุคก่อนไทยรักไทยซึ่งเขียนนโยบาย 10 หน้า อ่านไม่รู้เรื่อง จับต้องไม่ได้ ไม่รู้จะแก้ปัญหาให้ประชาชนอย่างไร แต่ถ้าบอก “30 บาทรักษาทุกโรค” อาจผิดก็ได้ เพราะวันนี้บุคลากรสาธารณสุขก็พูดเซ็งแซ่ว่าทำให้เสียหาย แม้แต่ ร.พ.ศิริราชยังบอกว่าขาดทุนต้องควักเงินอุดหนุนปีละ 400 ล้าน
สอดคล้องกันจริงกับ กกต.ที่เสนอไม่ให้พรรคการเมืองหาเสียงด้วยนโยบายประชานิยม ล้มล้างความหมายของการเลือกตั้ง ให้เหลือแค่เลือกนักการเมืองไปเป็น “ปลัดประเทศ” นั่งเป็นเจว็ดแล้วให้ระบบราชการ เทคโนแครต กำหนดนโยบาย
http://www.kaohoon.com/online/93757/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81-%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%87.htm#