Pop Teen
นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ kenshiro843@gmail.com
มติชนสุดสัปดาห์ 11-17 กรกฎาคม 2557
ว่ากันว่าในช่วงที่เครื่องเกมซูเปอร์นินเทนโดออกวางจำหน่ายครั้งแรกในญี่ปุ่น เครื่องเกมนี้ขายดีมากถึงขั้นเกิดโกลาหลจนรัฐบาลญี่ปุ่นต้องออกมาประกาศให้นินเทนโดบอกวันเวลาและสถานที่ที่จะวางขายล่วงหน้า
นอกจากนี้มันยังไปเตะตาความสนใจจากแก๊งยากูซ่าจนทำให้ให้ทางนินเทนโดต้องตัดสินใจปรับเปลี่ยนการขนย้ายสินค้าไปตอนกลางคืนเพื่อป้องกันการปล้นชิงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
ปี ค.ศ.1990 เป็นอีกปีที่อุตสาหกรรมเกมต้องจารึกเรื่องราวไว้ในประวัติศาสตร์ เมื่อนินเทนโดค่ายเกมที่เคยประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามจากเครื่องเกมแฟมิคอม ได้ตัดสินใจปล่อยเครื่องเกมเครื่องใหม่ออกวางจำหน่าย หลังจากลังเลอยู่นานและปล่อยให้คู่แข่งอย่างเซก้าวางขายเครื่องเกมเมกะไดรฟ์มาก่อนถึงสองปี
ซูเปอร์แฟมิคอมเป็นเครื่องเกมที่ไม่ได้มีรูปร่างล้ำสมัยเหมือนเมกะไดรฟ์หน้าตาออกจะกระเดียดไปทางโบราณเสียด้วยซ้ำ
ภาพกราฟิก 16 บิต ก็ไม่ได้ถือว่าสวยงามหวือหวาแตกต่างจากเครื่องเล่นอื่นๆ ในท้องตลาด
ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนซอฟต์แวร์เกมก็ไม่ได้ถูกผลิตขึ้นมามาก แต่น่าแปลกที่ทุกเกมกลับครองใจผู้เล่นได้ทุกเพศทุกวัย หลายต่อหลายเกม เช่น Super Mario World, Street Fighter II, Perfect Eleven (เปลี่ยนชื่อเป็น Winning Eleven ในเวลาต่อมา) สนุกเข้าขั้น "คลาสสิค" จนทุกวันนี้ก็ยังมีคนคิดถึงกลับไปเล่นอยู่บ่อยๆ
ซูเปอร์แฟมิคอมขายทั่วโลกเป็นจำนวนเกือบ 50 ล้านเครื่อง ว่ากันว่าการตัดสินใจลงทุนพัฒนาซูเปอร์นินเทนโดในครั้งนั้นเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุดครั้งหนึ่งที่ช่วยขยายอำนาจให้อดีตบริษัทผลิตไพ่แฮนด์เมดเล็กๆจากเกียวโตกลายเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเกมและเคยเป็นถึงองค์กรที่มีมูลค่าสูงที่สุดอันดับสามในญี่ปุ่น
ชื่อนินเทนโดเขียนด้วยตัวอักษรคันจิแปลตรงตัวว่า "รางวัลจากสวรรค์" แต่โดยความหมายแฝงแล้ว ฟูจิซาโร ยามาอุจิ ผู้ก่อตั้งที่เป็นศิลปินนักแกะสลักชั้นเยี่ยม ต้องการสื่อว่านินเทนโดคือกิจการที่ดำเนินการด้วยหลัก "เราเชื่อในสิ่งที่ทำ"
หรือให้พูดภาษาบ้านๆ ก็อาจจะเป็น "ทำงานหนักเข้าไว้ ที่เหลือก็แล้วแต่โชคชะตาแล้วกันวะ!"
ตั้งแต่ปี ค.ศ.1889 จนถึงปี ค.ศ.1953 นินเทนโดเป็นบริษัทที่ขึ้นชื่อในเรื่องของสินค้าไพ่แฮนด์เมด ในแต่ละปีขายได้ถึง 600,000 สำรับ
ต่อมาเมื่อความนิยมของการเล่นไพ่ลดลง บริษัทก็ได้ทดลองทำสินค้าต่างๆ หลากหลายประเภท ตั้งแต่ข้าวต้มสำเร็จรูป ธุรกิจโรงแรมม่านรูด แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนักจนเกือบล้มละลาย
กระทั่งช่วงปี ค.ศ.1960 ที่กลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้งจากการตั้งตัวเป็นบริษัทผลิตของเล่นเต็มรูปแบบ
ปี ค.ศ.1980 ค่ำคืนหนึ่งระหว่างรับประทานอาหารค่ำร่วมกับเพื่อนเก่าที่เป็นเจ้าของกิจการอิเล็กทรอนิกส์ ฮิโรชิ ยามาอุ ผู้มีศักดิ์เป็นเหลนของผู้ก่อตั้ง เกิดปิ๊งไอเดียนำเอาไมโครโปรเซสเซอร์มาใช้เพื่อความบันเทิงภายในบ้าน เขาเริ่มศึกษาธุรกิจนี้อย่างจริงจังและพบสินค้าที่น่าสนใจที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด คือเครื่องเล่นเกมของอะตาริ จนท้ายที่สุดก็พัฒนาสินค้าของตัวเองขึ้นมาได้สำเร็จ
เริ่มจากเกมตู้ยอดฮิต "ดองกี้คองก์" ต่อด้วยเครื่องพกพา "เกมแอนด์วอช" และเครื่องเกมเขย่าโลกอย่าง "แฟมิคอม" ที่ขายได้ถึง 61 ล้านเครื่อง และเป็นจุดเริ่มต้น "ยุคทองของวิดีโอเกม" อย่างแท้จริง
ปรัชญาหลักที่นินเทนโดใช้ในตอนนั้นคือ "using old materials in new ways" หรือ "ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นเทพ แต่ต้องรู้จักเอาลักษณะเด่นของเทคโนโลยีมาผลิตของเล่นในต้นทุนที่ต่ำที่สุด ขายในราคาถูกที่สุด และต้องตอบสนองความบันเทิงของลูกค้าได้ครบ"
ดูเหมือนว่าปรัชญานี้จะเป็นสิ่งที่นินเทนโดใช้เสมอมา เครื่องแฟมิคอมที่กราฟิกสู้เมกะไดรฟ์ของเซก้าไม่ได้เลยแต่กลับเป็นเจ้าตลาดอยู่หลายปี เกมบอยรุ่นแรกที่จอเป็นเพียง LCD ขาวดำแต่กลับเอาชนะคู่แข่งจอสีอย่างเกมเกียร์ได้สบายๆ หรือแม้กระทั่งเครื่องเกม Wii ที่เทคโนโลยีด้อยกว่า Play Station3 อย่างเห็นได้ชัดก็ยังมียอดขายที่มากกว่าแบบไม่เห็นฝุ่น
บางทีสิ่งที่นินเทนโดให้ความสำคัญมากที่สุดและกลายเป็นหมัดเด็ดมัดใจคนมากที่สุดคือ"ความสนุก" และ "ความบันเทิง"
อีกสิ่งที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้ดีคือ "มาริโอ" ช่างประปามีหนวดที่กระโดดสูงได้เป็นเมตร แถมยังชอบกิน "เห็ดเพิ่มพลัง" กลายเป็นมาริโอตัวเบ้อเริ่ม
มาริโอเปรียบเสมือนมิกกี้เมาส์ของ วอลต์ ดิสนีย์ (ช่วงยุค 90 เด็กจดจำมาริโอ้ได้ดีกว่ามิกกี้เมาส์เสียอีก) มันนำแสดงนำในเกมมากกว่า 200 เกม และสร้างรายได้ให้กับนินเทนโดหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นตัวละครที่ทุกคนรัก ถึงกับมีคนพูดว่าถ้านินเทนโดไม่มีมาริโอ บริษัทก็ไม่มีทางขยายตลาดไปฝั่งสหรัฐอเมริกาได้
มากไปกว่านั้น มาริโอยังเหมือนเป็นฮีโร่ที่ค่อยกอบกู้วิกฤติของนินเทนโด้เสมอมา ในยามที่เครื่องเกมขายไม่ดี หรือไม่เป็นที่นิยม นินเทนโดจะเข็นเกมใหม่ๆ ทีมีมาริโอเป็นตัวชูโรงเพื่อจูงใจให้คนซื้ออยู่เสมอ
ปรัชญาทั้งหมดนี้ประคับประคองให้นินเทนโดเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเกมมาตลอด 30 ปี จนกระทั่งช่วง 2-3 ปี มานี้ที่ดูเหมือนว่ามาริโอ พระเอกของเราจะเริ่มกระโดดไม่ขึ้นเสียแล้ว
ต้นปีที่ผ่านมา วงการเกมเกิดการสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ เมื่อ ซาโทรุ อิวาตะ ประธานบริษัทนินเทนโดคนปัจจุบันออกมาประกาศว่าบริษัทกำลังประสบภาวะขาดทุนครั้งแรกในรอบ 30 ปีถึง 3 ปีติดต่อกัน
ระหว่างเดือนเมษายนปี ค.ศ.2013 ถึงเดือนมีนาคมปี ค.ศ.2014 นินเทนโดขาดทุนถึง 457 ล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุมาจากยอดขายที่ไม่เข้าเป้าของเครื่องเล่นเกม "Wii U" ซึ่งทำยอดขายรวมได้เพียงประมาณ 6 ล้านเครื่อง ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง Play Station 4 และ Xbox One เนื่องจากขาดเกมที่เป็นตัวเลือกอันหลากหลาย
เรื่องนี้ร้อนถึงขั้นที่ ซาโทรุ อิวาตะ ต้องประกาศลดเงินเดือนตัวเองลงครึ่งหนึ่ง พร้อมๆ กับสมาชิกบอร์ดบริหารคนอื่นที่จะลดเงินเดือนตัวเองลง 20-30 เปอร์เซ็นต์
ปัจจุบันพฤติกรรมผู้เล่นเกมเปลี่ยนไปมากนะครับ ความนิยมของเกมออนไลน์และเกมบนสมาร์ตโฟนที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการเกมคอนโซลโดยเฉพาะนินเทนโดซึ่งมีคอนเทนต์สำหรับครอบครัวเป็นหลัก ก็สูญเสียผู้เล่นไปให้กับสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตที่มีแอพพลิเคชั่นเกมที่เล่นได้ง่ายๆ และบางเกมก็สามารถเล่นได้ฟรีด้วยซ้ำ
แต่รู้ทั้งรู้ว่าความนิยมของคนไปอยู่ในสมาร์ตโฟนกันหมดแล้ว นินเทนโดก็ยังไม่ยอมปรับตัว ยึดมั่นในปรัชญาเดิมๆ ของพวกเขา ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา นินเทนโดค่อนข้างปกป้องเกมและตัวละครในเกมของตนเอง พวกเขาจะพัฒนาเกมออกมาเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ของตนเองเท่านั้น โดยไม่เปิดให้นำไปเล่นกับแพลตฟอร์มอื่นๆ
อิวาตะให้สัมภาษณ์ยืนกรานจุดยืนของตัวเองว่า
"การแพร่ระบาดของสมาร์ตโฟนในทุกวันนี้ไม่ได้หมายถึงบทอวสานของเครื่องเล่นเกมคอนโซลเพราะมันไม่ง่ายแบบนั้น และไม่ได้แปลว่าเราจะส่งเกมมาริโอลงมือถือ"
ไม่น่าเชื่อว่าปรัชญาของนินเทนโดที่ให้ความสำคัญกับ "ความสนุก" จะกลับมาทิ่มแทงพวกเขาเสียเอง พวกเขาอาจลืมไปว่า "ความสนุก" ของคนยุค 90 กับยุค 2010 แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
นี่คือกรณีศึกษาสำคัญที่ควรค่าแก่การเอาไปเป็นบทเรียน วิกฤติของนินเทนโดครั้งนี้ไม่ต่างจากสิ่งที่โนเกียเคยเจอ หรือโกดักเคยเจอนั่นคือ ปรับตัวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลง
ทางนินเทนโดยังไม่ได้ประกาศแผนการกอบกู้วิกฤติที่ชัดเจนในระยะยาวแต่เบื้องต้นได้ปล่อยเกมมาริโอคาร์ต 8 ออกมาแล้ว ฮีโร่คนเดิมของพวกเขาถูกคาดหวังให้เป็น "ไพ่ตาย" ใบสุดท้ายที่อาจสร้างจุดเปลี่ยนพาเจ้าของของมันกดปุ่มรีสตาร์ตแล้วกลับมาสู่เส้นทางการแข่งขันอีกครั้ง แต่ถ้าเกิดยอดขายยังคงไม่เป็นตามเป้า และทางองค์กรยังไม่คิดจะปรับตัว
ถึงตอนนั้น ต่อให้เป็น "เห็ดเพิ่มพลัง" ก็ไม่อาจช่วยได้ทันเวลา
เกมโอเวอร์? ทำไมนินเทนโดจึงตกต่ำ!?
นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ kenshiro843@gmail.com
มติชนสุดสัปดาห์ 11-17 กรกฎาคม 2557
ว่ากันว่าในช่วงที่เครื่องเกมซูเปอร์นินเทนโดออกวางจำหน่ายครั้งแรกในญี่ปุ่น เครื่องเกมนี้ขายดีมากถึงขั้นเกิดโกลาหลจนรัฐบาลญี่ปุ่นต้องออกมาประกาศให้นินเทนโดบอกวันเวลาและสถานที่ที่จะวางขายล่วงหน้า
นอกจากนี้มันยังไปเตะตาความสนใจจากแก๊งยากูซ่าจนทำให้ให้ทางนินเทนโดต้องตัดสินใจปรับเปลี่ยนการขนย้ายสินค้าไปตอนกลางคืนเพื่อป้องกันการปล้นชิงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
ปี ค.ศ.1990 เป็นอีกปีที่อุตสาหกรรมเกมต้องจารึกเรื่องราวไว้ในประวัติศาสตร์ เมื่อนินเทนโดค่ายเกมที่เคยประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามจากเครื่องเกมแฟมิคอม ได้ตัดสินใจปล่อยเครื่องเกมเครื่องใหม่ออกวางจำหน่าย หลังจากลังเลอยู่นานและปล่อยให้คู่แข่งอย่างเซก้าวางขายเครื่องเกมเมกะไดรฟ์มาก่อนถึงสองปี
ซูเปอร์แฟมิคอมเป็นเครื่องเกมที่ไม่ได้มีรูปร่างล้ำสมัยเหมือนเมกะไดรฟ์หน้าตาออกจะกระเดียดไปทางโบราณเสียด้วยซ้ำ
ภาพกราฟิก 16 บิต ก็ไม่ได้ถือว่าสวยงามหวือหวาแตกต่างจากเครื่องเล่นอื่นๆ ในท้องตลาด
ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนซอฟต์แวร์เกมก็ไม่ได้ถูกผลิตขึ้นมามาก แต่น่าแปลกที่ทุกเกมกลับครองใจผู้เล่นได้ทุกเพศทุกวัย หลายต่อหลายเกม เช่น Super Mario World, Street Fighter II, Perfect Eleven (เปลี่ยนชื่อเป็น Winning Eleven ในเวลาต่อมา) สนุกเข้าขั้น "คลาสสิค" จนทุกวันนี้ก็ยังมีคนคิดถึงกลับไปเล่นอยู่บ่อยๆ
ซูเปอร์แฟมิคอมขายทั่วโลกเป็นจำนวนเกือบ 50 ล้านเครื่อง ว่ากันว่าการตัดสินใจลงทุนพัฒนาซูเปอร์นินเทนโดในครั้งนั้นเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุดครั้งหนึ่งที่ช่วยขยายอำนาจให้อดีตบริษัทผลิตไพ่แฮนด์เมดเล็กๆจากเกียวโตกลายเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเกมและเคยเป็นถึงองค์กรที่มีมูลค่าสูงที่สุดอันดับสามในญี่ปุ่น
ชื่อนินเทนโดเขียนด้วยตัวอักษรคันจิแปลตรงตัวว่า "รางวัลจากสวรรค์" แต่โดยความหมายแฝงแล้ว ฟูจิซาโร ยามาอุจิ ผู้ก่อตั้งที่เป็นศิลปินนักแกะสลักชั้นเยี่ยม ต้องการสื่อว่านินเทนโดคือกิจการที่ดำเนินการด้วยหลัก "เราเชื่อในสิ่งที่ทำ"
หรือให้พูดภาษาบ้านๆ ก็อาจจะเป็น "ทำงานหนักเข้าไว้ ที่เหลือก็แล้วแต่โชคชะตาแล้วกันวะ!"
ตั้งแต่ปี ค.ศ.1889 จนถึงปี ค.ศ.1953 นินเทนโดเป็นบริษัทที่ขึ้นชื่อในเรื่องของสินค้าไพ่แฮนด์เมด ในแต่ละปีขายได้ถึง 600,000 สำรับ
ต่อมาเมื่อความนิยมของการเล่นไพ่ลดลง บริษัทก็ได้ทดลองทำสินค้าต่างๆ หลากหลายประเภท ตั้งแต่ข้าวต้มสำเร็จรูป ธุรกิจโรงแรมม่านรูด แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนักจนเกือบล้มละลาย
กระทั่งช่วงปี ค.ศ.1960 ที่กลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้งจากการตั้งตัวเป็นบริษัทผลิตของเล่นเต็มรูปแบบ
ปี ค.ศ.1980 ค่ำคืนหนึ่งระหว่างรับประทานอาหารค่ำร่วมกับเพื่อนเก่าที่เป็นเจ้าของกิจการอิเล็กทรอนิกส์ ฮิโรชิ ยามาอุ ผู้มีศักดิ์เป็นเหลนของผู้ก่อตั้ง เกิดปิ๊งไอเดียนำเอาไมโครโปรเซสเซอร์มาใช้เพื่อความบันเทิงภายในบ้าน เขาเริ่มศึกษาธุรกิจนี้อย่างจริงจังและพบสินค้าที่น่าสนใจที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด คือเครื่องเล่นเกมของอะตาริ จนท้ายที่สุดก็พัฒนาสินค้าของตัวเองขึ้นมาได้สำเร็จ
เริ่มจากเกมตู้ยอดฮิต "ดองกี้คองก์" ต่อด้วยเครื่องพกพา "เกมแอนด์วอช" และเครื่องเกมเขย่าโลกอย่าง "แฟมิคอม" ที่ขายได้ถึง 61 ล้านเครื่อง และเป็นจุดเริ่มต้น "ยุคทองของวิดีโอเกม" อย่างแท้จริง
ปรัชญาหลักที่นินเทนโดใช้ในตอนนั้นคือ "using old materials in new ways" หรือ "ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นเทพ แต่ต้องรู้จักเอาลักษณะเด่นของเทคโนโลยีมาผลิตของเล่นในต้นทุนที่ต่ำที่สุด ขายในราคาถูกที่สุด และต้องตอบสนองความบันเทิงของลูกค้าได้ครบ"
ดูเหมือนว่าปรัชญานี้จะเป็นสิ่งที่นินเทนโดใช้เสมอมา เครื่องแฟมิคอมที่กราฟิกสู้เมกะไดรฟ์ของเซก้าไม่ได้เลยแต่กลับเป็นเจ้าตลาดอยู่หลายปี เกมบอยรุ่นแรกที่จอเป็นเพียง LCD ขาวดำแต่กลับเอาชนะคู่แข่งจอสีอย่างเกมเกียร์ได้สบายๆ หรือแม้กระทั่งเครื่องเกม Wii ที่เทคโนโลยีด้อยกว่า Play Station3 อย่างเห็นได้ชัดก็ยังมียอดขายที่มากกว่าแบบไม่เห็นฝุ่น
บางทีสิ่งที่นินเทนโดให้ความสำคัญมากที่สุดและกลายเป็นหมัดเด็ดมัดใจคนมากที่สุดคือ"ความสนุก" และ "ความบันเทิง"
อีกสิ่งที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้ดีคือ "มาริโอ" ช่างประปามีหนวดที่กระโดดสูงได้เป็นเมตร แถมยังชอบกิน "เห็ดเพิ่มพลัง" กลายเป็นมาริโอตัวเบ้อเริ่ม
มาริโอเปรียบเสมือนมิกกี้เมาส์ของ วอลต์ ดิสนีย์ (ช่วงยุค 90 เด็กจดจำมาริโอ้ได้ดีกว่ามิกกี้เมาส์เสียอีก) มันนำแสดงนำในเกมมากกว่า 200 เกม และสร้างรายได้ให้กับนินเทนโดหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นตัวละครที่ทุกคนรัก ถึงกับมีคนพูดว่าถ้านินเทนโดไม่มีมาริโอ บริษัทก็ไม่มีทางขยายตลาดไปฝั่งสหรัฐอเมริกาได้
มากไปกว่านั้น มาริโอยังเหมือนเป็นฮีโร่ที่ค่อยกอบกู้วิกฤติของนินเทนโด้เสมอมา ในยามที่เครื่องเกมขายไม่ดี หรือไม่เป็นที่นิยม นินเทนโดจะเข็นเกมใหม่ๆ ทีมีมาริโอเป็นตัวชูโรงเพื่อจูงใจให้คนซื้ออยู่เสมอ
ปรัชญาทั้งหมดนี้ประคับประคองให้นินเทนโดเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเกมมาตลอด 30 ปี จนกระทั่งช่วง 2-3 ปี มานี้ที่ดูเหมือนว่ามาริโอ พระเอกของเราจะเริ่มกระโดดไม่ขึ้นเสียแล้ว
ต้นปีที่ผ่านมา วงการเกมเกิดการสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ เมื่อ ซาโทรุ อิวาตะ ประธานบริษัทนินเทนโดคนปัจจุบันออกมาประกาศว่าบริษัทกำลังประสบภาวะขาดทุนครั้งแรกในรอบ 30 ปีถึง 3 ปีติดต่อกัน
ระหว่างเดือนเมษายนปี ค.ศ.2013 ถึงเดือนมีนาคมปี ค.ศ.2014 นินเทนโดขาดทุนถึง 457 ล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุมาจากยอดขายที่ไม่เข้าเป้าของเครื่องเล่นเกม "Wii U" ซึ่งทำยอดขายรวมได้เพียงประมาณ 6 ล้านเครื่อง ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง Play Station 4 และ Xbox One เนื่องจากขาดเกมที่เป็นตัวเลือกอันหลากหลาย
เรื่องนี้ร้อนถึงขั้นที่ ซาโทรุ อิวาตะ ต้องประกาศลดเงินเดือนตัวเองลงครึ่งหนึ่ง พร้อมๆ กับสมาชิกบอร์ดบริหารคนอื่นที่จะลดเงินเดือนตัวเองลง 20-30 เปอร์เซ็นต์
ปัจจุบันพฤติกรรมผู้เล่นเกมเปลี่ยนไปมากนะครับ ความนิยมของเกมออนไลน์และเกมบนสมาร์ตโฟนที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการเกมคอนโซลโดยเฉพาะนินเทนโดซึ่งมีคอนเทนต์สำหรับครอบครัวเป็นหลัก ก็สูญเสียผู้เล่นไปให้กับสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตที่มีแอพพลิเคชั่นเกมที่เล่นได้ง่ายๆ และบางเกมก็สามารถเล่นได้ฟรีด้วยซ้ำ
แต่รู้ทั้งรู้ว่าความนิยมของคนไปอยู่ในสมาร์ตโฟนกันหมดแล้ว นินเทนโดก็ยังไม่ยอมปรับตัว ยึดมั่นในปรัชญาเดิมๆ ของพวกเขา ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา นินเทนโดค่อนข้างปกป้องเกมและตัวละครในเกมของตนเอง พวกเขาจะพัฒนาเกมออกมาเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ของตนเองเท่านั้น โดยไม่เปิดให้นำไปเล่นกับแพลตฟอร์มอื่นๆ
อิวาตะให้สัมภาษณ์ยืนกรานจุดยืนของตัวเองว่า
"การแพร่ระบาดของสมาร์ตโฟนในทุกวันนี้ไม่ได้หมายถึงบทอวสานของเครื่องเล่นเกมคอนโซลเพราะมันไม่ง่ายแบบนั้น และไม่ได้แปลว่าเราจะส่งเกมมาริโอลงมือถือ"
ไม่น่าเชื่อว่าปรัชญาของนินเทนโดที่ให้ความสำคัญกับ "ความสนุก" จะกลับมาทิ่มแทงพวกเขาเสียเอง พวกเขาอาจลืมไปว่า "ความสนุก" ของคนยุค 90 กับยุค 2010 แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
นี่คือกรณีศึกษาสำคัญที่ควรค่าแก่การเอาไปเป็นบทเรียน วิกฤติของนินเทนโดครั้งนี้ไม่ต่างจากสิ่งที่โนเกียเคยเจอ หรือโกดักเคยเจอนั่นคือ ปรับตัวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลง
ทางนินเทนโดยังไม่ได้ประกาศแผนการกอบกู้วิกฤติที่ชัดเจนในระยะยาวแต่เบื้องต้นได้ปล่อยเกมมาริโอคาร์ต 8 ออกมาแล้ว ฮีโร่คนเดิมของพวกเขาถูกคาดหวังให้เป็น "ไพ่ตาย" ใบสุดท้ายที่อาจสร้างจุดเปลี่ยนพาเจ้าของของมันกดปุ่มรีสตาร์ตแล้วกลับมาสู่เส้นทางการแข่งขันอีกครั้ง แต่ถ้าเกิดยอดขายยังคงไม่เป็นตามเป้า และทางองค์กรยังไม่คิดจะปรับตัว
ถึงตอนนั้น ต่อให้เป็น "เห็ดเพิ่มพลัง" ก็ไม่อาจช่วยได้ทันเวลา