คนบราซิลทั้งประเทศคงจะยังวิเคราะห์ ความพ่ายแพ้อย่างหมดรูป ให้กับเยอรมันไปอีกนาน และ “บทเรียน” ที่ได้
มาคงไม่ใช่เฉพาะทางด้านฟุตบอลเท่านั้น หากแต่จะมีผลกว้างไกลไปทั้งประเทศ
เพราะบราซิลเป็นประเทศฟุตบอล และทุกอย่างมีประเด็นเกี่ยวกับกีฬาลูกหนังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ประธานาธิบดีหญิงเหล็ก ดิลมา โรสเซฟ (Dilma Rousseff) ยอมรับกับ คริสเตียน อามันพัวร์ของซีเอ็นเอ็นว่า
“My nightmares never got so bad.”
แปลเป็นภาษาชาวบ้านก็คงจะเป็นทำนองว่า “นี่มันร้ายยิ่งกว่าฝันร้ายหลายเท่า...”
แน่นอนว่ากีฬาย่อมมีแพ้ชนะ และความพ่ายแพ้เป็นเรื่องธรรมดาของการแข่งขัน แต่ที่คนบราซิลทำใจไม่ได้จริง ๆ คือมันไม่ใช่ความพ่ายแพ้ธรรมดา, เพราะการตกรอบด้วยคะแนน 1-7 นั้นเสียฟอร์ม, เสียความรู้สึก, และเป็นการเสียขวัญอย่างยิ่ง
และเมื่อต้องแพ้ฮอลแลนด์ 0-3 ในรอบชิงตำแหน่งที่ 3 ก็ยิ่งตอกย้ำว่าฝีเท้าตกไปอย่างน่ากลัวยิ่ง
ประธานาธิบดีโรสเซฟยอมรับว่า ไม่เคยคิดเคยฝันว่าทีมฟุตบอลอันโด่งดังระดับโลกอย่างบราซิลจะแพ้หมดรูปได้ขนาดนี้
“ฉันเสียใจอย่างสุดซึ้งและมีความรู้สึกร่วมกับผู้สนับสนุน แต่ฉันรู้ว่าเราเป็นประเทศที่มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง นั่นคือเราสามารถจะรับการท้าทายของความลำบากยากเย็นไม่ว่าจะหนักหน่วงเพียงใด...”
ฟังแล้วก็คงเข้าใจได้ว่านั่นเป็นการปลอบใจทั้งตัวเองและคนทั้งประเทศ
เพราะเธอยอมรับว่าประชาชนคนบราซิล 200 ล้านคน ต่างก็ถือว่าตัวเองเป็นโค้ชทีมชาติฟุตบอลของตนทั้งนั้น ทุกคนมีความเห็นถึงความล้มเหลวครั้งนี้และทุกคนก็มีข้อเสนอว่าควรจะปรับปรุงทีมไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้อย่างไร
รัฐมนตรีกีฬาบราซิล นายอัลโด เรเบโล บอกว่า ได้เวลาที่จะต้อง “เขย่า” วงการกีฬาฟุตบอลของประเทศ และหนึ่งในข้อเสนอก็คือ บราซิลจะต้องเลิกส่งออกนักเตะฝีเท้าดีของตน เพราะนั่นทำให้เกิดช่องว่างในทีมชาติ
ประธานาธิบดีโรสเซฟ บอกว่าเธอเห็นด้วยว่าจะต้องเลิกส่งนักเตะออกนอกประเทศเพื่อจะได้สร้าง
“ช้างเผือก” ให้กับทีมระดับชาติของตน
ความพ่ายแพ้ครั้งนี้จะมีผลทางการเมืองต่อประธานาธิบดีโรสเซฟอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะตอนที่รัฐบาลของเธอเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ก็ถูกคนไม่เห็นด้วยวิพากษ์อย่างหนักว่าลงทุนเกินตัว ได้ไม่คุ้มเสีย และแม้วันเปิดสนาม ก็มีผู้คนบราซิลจำนวนหนึ่งตะโกนฮาป่าใส่เธอและรัฐบาลที่ใช้เงินภาษีประชาชนกับบอลโลก
ถ้าทีมบราซิลได้เป็นแชมป์โลก เสียงต่อต้านอาจจะเบากว่านี้ แต่เมื่อทีมเจ้าบ้านโดนถล่มอย่างหนักหน่วงเช่นนี้ ประธานาธิบดีที่กำลังต้องลงสนามเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ในเดือนตุลาคมนี้ก็ต้องเผชิญกับศึกหนักแน่นอน
เผลอ ๆ อาจแพ้หมดรูปเหมือนทีมฟุตบอลก็ได้
เธอไม่ใช่นักการเมืองธรรมดา เพราะระหว่างปี 1964-1984 บราซิลอยู่ใต้การปกครองของเผด็จการทหาร เธอต่อสู้ด้วยการเป็นผู้ก่อการร้ายในเมือง เธอถูกจับ และติดคุก 3 ปี และถูกทรมานบ่อยครั้ง
“แต่คุณต้องไม่ยอมให้การที่ศัตรูคุณทรมานทำให้คุณยอมแพ้ และประสบการณ์อันปวดร้าวนั้นทำให้ฉันเป็นคนเข้มแข็งถึงทุกวันนี้....” เธอบอก
บราซิลเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เรียกว่า BRIC (Brazil, Russia, India, China) ซึ่งทำให้ประเทศอเมริกาใต้แห่งนี้ยืนอยู่แถวหน้าของชาติที่มีเศรษฐกิจเฟื่องฟู
เธอก็ยอมรับว่าแม้ประเทศเธอจะก้าวข้าวเผด็จการทหารสู่ความเป็นประชาธิปไตย แต่ปัญหาคอร์รัปชันในแวดวงการเมืองและราชการก็ยังหลอกหลอนประชาชน
“เราต้องทุ่มเทกับการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาของชาติ เพราะเราต้องให้คนบราซิลที่มีรายได้ และคุณภาพชีวิตดีขึ้นแล้วสามารถรักษามันให้ยั่งยืน และเราต้องขับเคลื่อนเข้าสู่เศรษฐกิจความรู้และมูลค่าเพิ่มอย่างจริงจัง...” ผู้นำบราซิลย้ำ
ฟังแล้วคุ้น ๆ กับปัญหาบ้านเราในเกือบทุกทาง
ต่างกันตรงที่ว่าเรายังไม่ได้ขยับใกล้รอบคัดเลือกบอลโลก และยังมองไม่เห็นโอกาสนั้นในอนาคตอันใกล้นี้เลย
ฝรั่งเขาบอกว่าคำว่า team ไม่มี I
แปลว่าหากจะสร้างผลงานยิ่งใหญ่ต้องทำงานเป็นทีม และคำว่า team นั้นสังเกตให้ดีว่าไม่มีคำว่า I อยู่ในนั้น...ต้องเอาอัตตาตัวเอง
ข้อมูลจาก
http://www.bangkokbiznews.com/
ถ้าอยากทราบเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับทีมชาติบราซิล เข้าไปดูใน Blog ผมได้นะครับ
www.brazil.bloggang.com
เมื่อฟุตบอลพ่ายหมดรูป การเมืองบราซิลก็สั่นสะเทือน
คนบราซิลทั้งประเทศคงจะยังวิเคราะห์ ความพ่ายแพ้อย่างหมดรูป ให้กับเยอรมันไปอีกนาน และ “บทเรียน” ที่ได้
มาคงไม่ใช่เฉพาะทางด้านฟุตบอลเท่านั้น หากแต่จะมีผลกว้างไกลไปทั้งประเทศ
เพราะบราซิลเป็นประเทศฟุตบอล และทุกอย่างมีประเด็นเกี่ยวกับกีฬาลูกหนังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ประธานาธิบดีหญิงเหล็ก ดิลมา โรสเซฟ (Dilma Rousseff) ยอมรับกับ คริสเตียน อามันพัวร์ของซีเอ็นเอ็นว่า
“My nightmares never got so bad.”
แปลเป็นภาษาชาวบ้านก็คงจะเป็นทำนองว่า “นี่มันร้ายยิ่งกว่าฝันร้ายหลายเท่า...”
แน่นอนว่ากีฬาย่อมมีแพ้ชนะ และความพ่ายแพ้เป็นเรื่องธรรมดาของการแข่งขัน แต่ที่คนบราซิลทำใจไม่ได้จริง ๆ คือมันไม่ใช่ความพ่ายแพ้ธรรมดา, เพราะการตกรอบด้วยคะแนน 1-7 นั้นเสียฟอร์ม, เสียความรู้สึก, และเป็นการเสียขวัญอย่างยิ่ง
และเมื่อต้องแพ้ฮอลแลนด์ 0-3 ในรอบชิงตำแหน่งที่ 3 ก็ยิ่งตอกย้ำว่าฝีเท้าตกไปอย่างน่ากลัวยิ่ง
ประธานาธิบดีโรสเซฟยอมรับว่า ไม่เคยคิดเคยฝันว่าทีมฟุตบอลอันโด่งดังระดับโลกอย่างบราซิลจะแพ้หมดรูปได้ขนาดนี้
“ฉันเสียใจอย่างสุดซึ้งและมีความรู้สึกร่วมกับผู้สนับสนุน แต่ฉันรู้ว่าเราเป็นประเทศที่มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง นั่นคือเราสามารถจะรับการท้าทายของความลำบากยากเย็นไม่ว่าจะหนักหน่วงเพียงใด...”
ฟังแล้วก็คงเข้าใจได้ว่านั่นเป็นการปลอบใจทั้งตัวเองและคนทั้งประเทศ
เพราะเธอยอมรับว่าประชาชนคนบราซิล 200 ล้านคน ต่างก็ถือว่าตัวเองเป็นโค้ชทีมชาติฟุตบอลของตนทั้งนั้น ทุกคนมีความเห็นถึงความล้มเหลวครั้งนี้และทุกคนก็มีข้อเสนอว่าควรจะปรับปรุงทีมไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้อย่างไร
รัฐมนตรีกีฬาบราซิล นายอัลโด เรเบโล บอกว่า ได้เวลาที่จะต้อง “เขย่า” วงการกีฬาฟุตบอลของประเทศ และหนึ่งในข้อเสนอก็คือ บราซิลจะต้องเลิกส่งออกนักเตะฝีเท้าดีของตน เพราะนั่นทำให้เกิดช่องว่างในทีมชาติ
ประธานาธิบดีโรสเซฟ บอกว่าเธอเห็นด้วยว่าจะต้องเลิกส่งนักเตะออกนอกประเทศเพื่อจะได้สร้าง
“ช้างเผือก” ให้กับทีมระดับชาติของตน
ความพ่ายแพ้ครั้งนี้จะมีผลทางการเมืองต่อประธานาธิบดีโรสเซฟอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะตอนที่รัฐบาลของเธอเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ก็ถูกคนไม่เห็นด้วยวิพากษ์อย่างหนักว่าลงทุนเกินตัว ได้ไม่คุ้มเสีย และแม้วันเปิดสนาม ก็มีผู้คนบราซิลจำนวนหนึ่งตะโกนฮาป่าใส่เธอและรัฐบาลที่ใช้เงินภาษีประชาชนกับบอลโลก
ถ้าทีมบราซิลได้เป็นแชมป์โลก เสียงต่อต้านอาจจะเบากว่านี้ แต่เมื่อทีมเจ้าบ้านโดนถล่มอย่างหนักหน่วงเช่นนี้ ประธานาธิบดีที่กำลังต้องลงสนามเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ในเดือนตุลาคมนี้ก็ต้องเผชิญกับศึกหนักแน่นอน
เผลอ ๆ อาจแพ้หมดรูปเหมือนทีมฟุตบอลก็ได้
เธอไม่ใช่นักการเมืองธรรมดา เพราะระหว่างปี 1964-1984 บราซิลอยู่ใต้การปกครองของเผด็จการทหาร เธอต่อสู้ด้วยการเป็นผู้ก่อการร้ายในเมือง เธอถูกจับ และติดคุก 3 ปี และถูกทรมานบ่อยครั้ง
“แต่คุณต้องไม่ยอมให้การที่ศัตรูคุณทรมานทำให้คุณยอมแพ้ และประสบการณ์อันปวดร้าวนั้นทำให้ฉันเป็นคนเข้มแข็งถึงทุกวันนี้....” เธอบอก
บราซิลเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เรียกว่า BRIC (Brazil, Russia, India, China) ซึ่งทำให้ประเทศอเมริกาใต้แห่งนี้ยืนอยู่แถวหน้าของชาติที่มีเศรษฐกิจเฟื่องฟู
เธอก็ยอมรับว่าแม้ประเทศเธอจะก้าวข้าวเผด็จการทหารสู่ความเป็นประชาธิปไตย แต่ปัญหาคอร์รัปชันในแวดวงการเมืองและราชการก็ยังหลอกหลอนประชาชน
“เราต้องทุ่มเทกับการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาของชาติ เพราะเราต้องให้คนบราซิลที่มีรายได้ และคุณภาพชีวิตดีขึ้นแล้วสามารถรักษามันให้ยั่งยืน และเราต้องขับเคลื่อนเข้าสู่เศรษฐกิจความรู้และมูลค่าเพิ่มอย่างจริงจัง...” ผู้นำบราซิลย้ำ
ฟังแล้วคุ้น ๆ กับปัญหาบ้านเราในเกือบทุกทาง
ต่างกันตรงที่ว่าเรายังไม่ได้ขยับใกล้รอบคัดเลือกบอลโลก และยังมองไม่เห็นโอกาสนั้นในอนาคตอันใกล้นี้เลย
ฝรั่งเขาบอกว่าคำว่า team ไม่มี I
แปลว่าหากจะสร้างผลงานยิ่งใหญ่ต้องทำงานเป็นทีม และคำว่า team นั้นสังเกตให้ดีว่าไม่มีคำว่า I อยู่ในนั้น...ต้องเอาอัตตาตัวเอง
ข้อมูลจาก http://www.bangkokbiznews.com/
ถ้าอยากทราบเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับทีมชาติบราซิล เข้าไปดูใน Blog ผมได้นะครับ www.brazil.bloggang.com