คอลัมน์ Hello เซเลบ มติชนรายวัน 16 กรกฎาคม 2557
"อาชีพนักบินทำให้น็อดรู้ว่างานที่ได้บริการคนอื่น ส่งผู้อื่นให้ถึงที่หมายอย่างปลอดภัยเป็นอย่างไร หลายครั้งน็อดเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในงานของเขา มีคนมองว่าเราเก่ง ก็ภูมิใจในอาชีพนี้"
แรกเริ่มด้วยความประทับใจในวัยเด็กที่มีต่อภาพของอาชีพนักบิน ว่าเท่และดูสมาร์ต กลายเป็นแรงบันดาลใจเล็กๆ ของผู้หญิงชื่อ "น็อด" ชนันภรณ์ รสจันทน์ อดีตมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2548 เดินตามรอยฝันมาตลอดเกือบ 10 ปี และวันนี้เธอก็ได้เป็นกัปตันนางงาม แห่งสายการบินไทยแอร์เอเชียสมใจ
"ด้วยความที่คุณแม่เป็นพนักงานบริการบนเครื่องบินของการบินไทย ทำให้น็อดได้มีโอกาสขึ้นเครื่องบินตั้งแต่อายุ 11 เดือน แล้วเมื่อก่อนกฎระเบียบยังไม่เคร่งขนาดนี้ น็อดก็ได้เข้าไปในห้องนักบิน จำได้ว่า ตอนเห็นห้องนักบินครั้งแรกตื่นตาตื่นใจมาก มีปุ่มกดเยอะไปหมด ก็คิดว่าคนที่ขับเครื่องบินได้ต้องเก่งมากแน่ๆ จากนั้นก็คิดเสมอว่าอยากเป็นนักบิน"
ชนันภรณ์เริ่มต้นวัยเด็กด้วยการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนฉัตรวิทยา ธุรกิจของครอบครัว ก่อนจะเข้าเรียนที่โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา จากนั้นเดินทางไปเรียนที่ Francis Lewis Le High School ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก่อนที่ความคิดถึงบ้านทำให้เธอกลับมาเป็นนักเรียนทุนให้เปล่าที่สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ ด้วยการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า ในยุคที่วิศวกรรมการบินยังไม่แพร่หลายในไทย
เมื่อเรียนจบ ก็ถือเป็นช่วงจังหวะเวลาที่พอดิบพอดีกับการสานต่อความฝัน เมื่อสายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดรับนักบินหญิงประจำสายการบินรุ่นแรก และน็อดก็คิดว่าโชคดีที่เมื่อโตขึ้น ผู้หญิงก็สามารถเป็นนักบินได้แล้ว เธอจึงเข้าไปฝ่าด่านการสอบคัดเลือกที่เรียกว่า "โหดหิน" ตั้งแต่รอบแรก
"ขั้นตอนการสอบคัดเลือกนักบิน ก็จะต้องสอบทั้งความรู้ทั่วไป ภาษาอังกฤษ และข้อสอบอย่างฟิสิกส์ เคมี ชีวะ จากนั้นก็ไปตรวจร่างกาย สอบสัมภาษณ์กว่า 5-6 ขั้นตอน ซึ่งตอนแรกไม่คิดว่าจะผ่านด้วยซ้ำ เพราะเป็นรุ่นแรก และข้อสอบเก่าของสายการบินอื่นที่มาทดลองทำไม่เหมือนกับข้อสอบเราเลย ช่วงเวลาในห้องสอบก็คิดว่าต้องมาใหม่เสียแล้ว"
ปรากฏว่าเธอสอบผ่าน
แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง น็อดก็ตัดสินใจเข้าประกวดมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ก่อนจะได้รับตำแหน่งในปีนั้น และภารกิจหลักอย่างหนึ่งคือการเป็นเจ้าภาพที่ดีในเวทีประกวดมิสยูนิเวิร์สที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ เหล่าศิษย์การบินก็เริ่มฝึกเสียแล้ว ทำให้เธอต้องรีบกลับมาเรียนทันที
"ตอนนั้นกว่าน็อดจะมาฝึก เพื่อนๆ ก็เรียนทฤษฎีอย่างสภาพแวดล้อม และระบบของเครื่องบินเล็กไปแล้ว น็อดไปช่วงเวลาฝึกบินกับเครื่องบินเล็กจริงๆ แล้ว ก็ต้องไปตามทบทวนและเรียนของใหม่ไปด้วยทันที เริ่มจากเครื่องบินเล็ก 1 เครื่องยนต์ ฝึกทักษะอื่นๆ จนชำนาญ และฝึกการบินด้วยเครื่องนำร่อง ต้องปิดตาบ้างเพื่อเรียนรู้ตามเครื่องวัด ก่อนจะได้เรียนการบินพาณิชย์ที่เครื่องโบอิ้ง 737-300 จนได้ตำแหน่งนักบินผู้ช่วย และได้บินกับเครื่องบิน แอร์บัส 320-300"
เก็บชั่วโมงบินมานาน จนกระทั่งได้สอบเป็น "กัปตัน" หรือที่เรียกว่า evaluation process สอบทฤษฎี สัมภาษณ์ และการสอบบิน ฝึกบุคลิกภาพ ความกล้าตัดสินใจ แบบเข้มข้น
แบบที่ชนันภรณ์เผยว่า กัปตันต้องรับผิดชอบชีวิตผู้โดยสารเครื่องบินทั้งลำ ต้องเป็นตัวแทนบริษัท และตัวแทนประเทศ ทำให้ต้องมีวุฒิภาวะและแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดี กว่าจะได้ติด 4 ขีด เป็นกัปตันเต็มตัวแบบวันนี้จึงไม่ง่าย เพราะต้องใช้เวลาเกือบ 10 ปี คอยดูพฤติกรรมการบินทั้งหมดก่อนสอบด้วย
นอกจากการสอบสุดหินแล้ว ชีวิตจริงของนักบินก็ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ต้องก้าวเข้าสู่สนามที่มีแต่ผู้ชายเป็นหลัก ด้วยรุ่นพี่นักบินหลายคนก็มาจากสายทหาร
"แรกเริ่มเลย เรากำลังสู้กับทัศนคติและมุมมองของคน หากบอกฝรั่งว่าเราทำอาชีพนักบินเขาก็อาจจะมองเป็นเรื่องปกติ แต่กับไทยมันไม่ใช่เขาจะมองเราแปลก ซึ่งมันเป็นกำแพงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สิ่งนี้เราเปลี่ยนยาก ไม่ใช่ว่าเราทำอะไรไม่ได้แล้วสามารถฝึกได้ แต่มันคือความคิดที่เราเปลี่ยนไม่ได้ แม้จะต่างเรื่องสรีระ แต่ความสามารถผู้หญิงไม่แพ้ผู้ชายอยู่แล้ว
"ผู้ร่วมงานจะไม่เคยเจอผู้หญิงมาก่อน เขาไม่รู้วิธีจะปฏิบัติกับผู้หญิงอย่างไร เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ของผู้หญิงเราก็พูดไม่ได้เพราะเขาจะไม่เข้าใจ หรือบางคนก็อาจสงสัยในความสามารถของเรา การปรับตัวเข้าหากันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย น็อดต้องบอกตัวเองเสมอว่าถ้าอยากทำอาชีพนี้อยู่ ก็ต้องทนทุกอย่างให้ได้"
บินมานานจนขึ้นขวบปีที่ 10 ก็มีบ้างที่เจองานหนัก แม้ว่าจะโชคดีที่ไม่เคยต้องบินเครื่องที่มีปัญหามาก่อน แต่สภาพอากาศก็เป็นสิ่งที่นักบินหลายคนห้ามไม่ได้ อย่างเช่น ทริปที่ฮ่องกง ซึ่งน็อดเล่าว่า ช่วงกลางปีจะเป็นช่วงที่มรสุมพัดเข้าตลอด ทำให้ต้องใช้แรงพยุงเครื่องเพื่อผ่านมรสุมทั้งลมและฟ้าที่ผ่ามาอยู่ตลอดเวลา เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นสำคัญ ซึ่งแม้จะหนักแต่ก็ภูมิใจ
แม้ว่าจะเป็นกัปตันแล้ว แต่ชนันภรณ์ในวัย 32 ปี ก็ยังรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้เอ่ยชื่อกัปตันบนเครื่องบินผู้พาผู้โดยสารเดินทางอย่างปลอดภัย เฉกเช่นเมื่อครั้งบินครั้งแรก
แต่ทั้งหมดคือความภูมิใจในความสำเร็จ และการเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ได้
"น็อดรู้ว่าทุกอย่างในชีวิตไม่ได้มาด้วยพรสวรรค์ เป็นสิ่งที่ต้องพยายามอย่างมาก อาจจะเหมือนฝัน เพราะตอนเด็กๆ น็อดคิดว่ามันยากกับการเป็นนักบิน แต่เราก็ถึงฝันเราได้เร็ว ผลพลอยได้ส่วนหนึ่งคือเราเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นได้ ต้องขอบคุณคนที่เข้ามาชื่นชมเพราะถ้าไม่ได้ตระหนักว่าคนอื่นกำลังมองเราอยู่ เราก็คงไม่ได้สำรวจว่าเราบกพร่องอะไรอย่างทุกวันนี้"
และทั้งหมดนี้คือความภูมิใจของกัปตันหญิงคนนี้
สุดหินภารกิจนักบิน
นอกจากคุณสมบัติ 5 ข้อนักบินไม่ควรมีอย่างการไม่เชื่อฟัง, การทำอะไรไม่คิดให้รอบคอบ, คนคิดในแง่ลบ มีแต่เรื่องที่ร้าย, ไม่เชื่อฟังในกฎเกณฑ์ และเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไปแล้ว
ชนันทร์ภรณ์ยังเผยเกร็ดเล็กๆ เกี่ยวกับการเป็นนักบินว่า
- เรื่องสุขภาพสำคัญมาก นอกจากต้องแข็งแรงแล้ว ผู้มีสายตาไม่ดี หรือมีปัญหาเรื่องการฟัง ไม่อาจเป็นนักบินได้
- แม้ว่าจะมีส่วนสูงถึงมาตรฐานที่ 170 ซม. แต่หากช่วงขาและช่วงตัวไม่บาลานซ์กันก็ไม่อาจเป็นนักบินได้
- นักบินไม่อาจบริจาคเลือดได้ นอกจากเหตุสุดวิสัยและต้องพักฟื้น 3 วันเป็นขั้นต่ำ
- นักบินต้องงดสุราอย่างน้อย 10 ชม.ก่อนบิน และห้ามสูบบุหรี่และดื่มสุราบนเครื่องบิน
- หากนักบินอยากดำน้ำ ต้องมีเวลาพักน้ำ 3 วัน จึงจะปฏิบัติหน้าที่ได้
- แม้ว่าจะมีนักบินหญิงเทียบกับสัดส่วนนักบินชายเพียงแค่ 5% จากนักบินชาย 300 กว่าคน แต่การรับสมัครนักบินก็ไม่ได้มีการระบุเพศไว้แต่อย่างไร
กัปตัน.. นางงาม ก้าวนี้ไม่มีง่ายของ ชนันภรณ์ รสจันทน์ มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2548
"อาชีพนักบินทำให้น็อดรู้ว่างานที่ได้บริการคนอื่น ส่งผู้อื่นให้ถึงที่หมายอย่างปลอดภัยเป็นอย่างไร หลายครั้งน็อดเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในงานของเขา มีคนมองว่าเราเก่ง ก็ภูมิใจในอาชีพนี้"
แรกเริ่มด้วยความประทับใจในวัยเด็กที่มีต่อภาพของอาชีพนักบิน ว่าเท่และดูสมาร์ต กลายเป็นแรงบันดาลใจเล็กๆ ของผู้หญิงชื่อ "น็อด" ชนันภรณ์ รสจันทน์ อดีตมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2548 เดินตามรอยฝันมาตลอดเกือบ 10 ปี และวันนี้เธอก็ได้เป็นกัปตันนางงาม แห่งสายการบินไทยแอร์เอเชียสมใจ
"ด้วยความที่คุณแม่เป็นพนักงานบริการบนเครื่องบินของการบินไทย ทำให้น็อดได้มีโอกาสขึ้นเครื่องบินตั้งแต่อายุ 11 เดือน แล้วเมื่อก่อนกฎระเบียบยังไม่เคร่งขนาดนี้ น็อดก็ได้เข้าไปในห้องนักบิน จำได้ว่า ตอนเห็นห้องนักบินครั้งแรกตื่นตาตื่นใจมาก มีปุ่มกดเยอะไปหมด ก็คิดว่าคนที่ขับเครื่องบินได้ต้องเก่งมากแน่ๆ จากนั้นก็คิดเสมอว่าอยากเป็นนักบิน"
ชนันภรณ์เริ่มต้นวัยเด็กด้วยการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนฉัตรวิทยา ธุรกิจของครอบครัว ก่อนจะเข้าเรียนที่โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา จากนั้นเดินทางไปเรียนที่ Francis Lewis Le High School ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก่อนที่ความคิดถึงบ้านทำให้เธอกลับมาเป็นนักเรียนทุนให้เปล่าที่สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ ด้วยการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า ในยุคที่วิศวกรรมการบินยังไม่แพร่หลายในไทย
เมื่อเรียนจบ ก็ถือเป็นช่วงจังหวะเวลาที่พอดิบพอดีกับการสานต่อความฝัน เมื่อสายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดรับนักบินหญิงประจำสายการบินรุ่นแรก และน็อดก็คิดว่าโชคดีที่เมื่อโตขึ้น ผู้หญิงก็สามารถเป็นนักบินได้แล้ว เธอจึงเข้าไปฝ่าด่านการสอบคัดเลือกที่เรียกว่า "โหดหิน" ตั้งแต่รอบแรก
"ขั้นตอนการสอบคัดเลือกนักบิน ก็จะต้องสอบทั้งความรู้ทั่วไป ภาษาอังกฤษ และข้อสอบอย่างฟิสิกส์ เคมี ชีวะ จากนั้นก็ไปตรวจร่างกาย สอบสัมภาษณ์กว่า 5-6 ขั้นตอน ซึ่งตอนแรกไม่คิดว่าจะผ่านด้วยซ้ำ เพราะเป็นรุ่นแรก และข้อสอบเก่าของสายการบินอื่นที่มาทดลองทำไม่เหมือนกับข้อสอบเราเลย ช่วงเวลาในห้องสอบก็คิดว่าต้องมาใหม่เสียแล้ว"
ปรากฏว่าเธอสอบผ่าน
แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง น็อดก็ตัดสินใจเข้าประกวดมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ก่อนจะได้รับตำแหน่งในปีนั้น และภารกิจหลักอย่างหนึ่งคือการเป็นเจ้าภาพที่ดีในเวทีประกวดมิสยูนิเวิร์สที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ เหล่าศิษย์การบินก็เริ่มฝึกเสียแล้ว ทำให้เธอต้องรีบกลับมาเรียนทันที
"ตอนนั้นกว่าน็อดจะมาฝึก เพื่อนๆ ก็เรียนทฤษฎีอย่างสภาพแวดล้อม และระบบของเครื่องบินเล็กไปแล้ว น็อดไปช่วงเวลาฝึกบินกับเครื่องบินเล็กจริงๆ แล้ว ก็ต้องไปตามทบทวนและเรียนของใหม่ไปด้วยทันที เริ่มจากเครื่องบินเล็ก 1 เครื่องยนต์ ฝึกทักษะอื่นๆ จนชำนาญ และฝึกการบินด้วยเครื่องนำร่อง ต้องปิดตาบ้างเพื่อเรียนรู้ตามเครื่องวัด ก่อนจะได้เรียนการบินพาณิชย์ที่เครื่องโบอิ้ง 737-300 จนได้ตำแหน่งนักบินผู้ช่วย และได้บินกับเครื่องบิน แอร์บัส 320-300"
เก็บชั่วโมงบินมานาน จนกระทั่งได้สอบเป็น "กัปตัน" หรือที่เรียกว่า evaluation process สอบทฤษฎี สัมภาษณ์ และการสอบบิน ฝึกบุคลิกภาพ ความกล้าตัดสินใจ แบบเข้มข้น
แบบที่ชนันภรณ์เผยว่า กัปตันต้องรับผิดชอบชีวิตผู้โดยสารเครื่องบินทั้งลำ ต้องเป็นตัวแทนบริษัท และตัวแทนประเทศ ทำให้ต้องมีวุฒิภาวะและแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดี กว่าจะได้ติด 4 ขีด เป็นกัปตันเต็มตัวแบบวันนี้จึงไม่ง่าย เพราะต้องใช้เวลาเกือบ 10 ปี คอยดูพฤติกรรมการบินทั้งหมดก่อนสอบด้วย
นอกจากการสอบสุดหินแล้ว ชีวิตจริงของนักบินก็ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ต้องก้าวเข้าสู่สนามที่มีแต่ผู้ชายเป็นหลัก ด้วยรุ่นพี่นักบินหลายคนก็มาจากสายทหาร
"แรกเริ่มเลย เรากำลังสู้กับทัศนคติและมุมมองของคน หากบอกฝรั่งว่าเราทำอาชีพนักบินเขาก็อาจจะมองเป็นเรื่องปกติ แต่กับไทยมันไม่ใช่เขาจะมองเราแปลก ซึ่งมันเป็นกำแพงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สิ่งนี้เราเปลี่ยนยาก ไม่ใช่ว่าเราทำอะไรไม่ได้แล้วสามารถฝึกได้ แต่มันคือความคิดที่เราเปลี่ยนไม่ได้ แม้จะต่างเรื่องสรีระ แต่ความสามารถผู้หญิงไม่แพ้ผู้ชายอยู่แล้ว
"ผู้ร่วมงานจะไม่เคยเจอผู้หญิงมาก่อน เขาไม่รู้วิธีจะปฏิบัติกับผู้หญิงอย่างไร เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ของผู้หญิงเราก็พูดไม่ได้เพราะเขาจะไม่เข้าใจ หรือบางคนก็อาจสงสัยในความสามารถของเรา การปรับตัวเข้าหากันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย น็อดต้องบอกตัวเองเสมอว่าถ้าอยากทำอาชีพนี้อยู่ ก็ต้องทนทุกอย่างให้ได้"
บินมานานจนขึ้นขวบปีที่ 10 ก็มีบ้างที่เจองานหนัก แม้ว่าจะโชคดีที่ไม่เคยต้องบินเครื่องที่มีปัญหามาก่อน แต่สภาพอากาศก็เป็นสิ่งที่นักบินหลายคนห้ามไม่ได้ อย่างเช่น ทริปที่ฮ่องกง ซึ่งน็อดเล่าว่า ช่วงกลางปีจะเป็นช่วงที่มรสุมพัดเข้าตลอด ทำให้ต้องใช้แรงพยุงเครื่องเพื่อผ่านมรสุมทั้งลมและฟ้าที่ผ่ามาอยู่ตลอดเวลา เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นสำคัญ ซึ่งแม้จะหนักแต่ก็ภูมิใจ
แม้ว่าจะเป็นกัปตันแล้ว แต่ชนันภรณ์ในวัย 32 ปี ก็ยังรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้เอ่ยชื่อกัปตันบนเครื่องบินผู้พาผู้โดยสารเดินทางอย่างปลอดภัย เฉกเช่นเมื่อครั้งบินครั้งแรก
แต่ทั้งหมดคือความภูมิใจในความสำเร็จ และการเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ได้
"น็อดรู้ว่าทุกอย่างในชีวิตไม่ได้มาด้วยพรสวรรค์ เป็นสิ่งที่ต้องพยายามอย่างมาก อาจจะเหมือนฝัน เพราะตอนเด็กๆ น็อดคิดว่ามันยากกับการเป็นนักบิน แต่เราก็ถึงฝันเราได้เร็ว ผลพลอยได้ส่วนหนึ่งคือเราเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นได้ ต้องขอบคุณคนที่เข้ามาชื่นชมเพราะถ้าไม่ได้ตระหนักว่าคนอื่นกำลังมองเราอยู่ เราก็คงไม่ได้สำรวจว่าเราบกพร่องอะไรอย่างทุกวันนี้"
และทั้งหมดนี้คือความภูมิใจของกัปตันหญิงคนนี้
สุดหินภารกิจนักบิน
นอกจากคุณสมบัติ 5 ข้อนักบินไม่ควรมีอย่างการไม่เชื่อฟัง, การทำอะไรไม่คิดให้รอบคอบ, คนคิดในแง่ลบ มีแต่เรื่องที่ร้าย, ไม่เชื่อฟังในกฎเกณฑ์ และเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไปแล้ว
ชนันทร์ภรณ์ยังเผยเกร็ดเล็กๆ เกี่ยวกับการเป็นนักบินว่า
- เรื่องสุขภาพสำคัญมาก นอกจากต้องแข็งแรงแล้ว ผู้มีสายตาไม่ดี หรือมีปัญหาเรื่องการฟัง ไม่อาจเป็นนักบินได้
- แม้ว่าจะมีส่วนสูงถึงมาตรฐานที่ 170 ซม. แต่หากช่วงขาและช่วงตัวไม่บาลานซ์กันก็ไม่อาจเป็นนักบินได้
- นักบินไม่อาจบริจาคเลือดได้ นอกจากเหตุสุดวิสัยและต้องพักฟื้น 3 วันเป็นขั้นต่ำ
- นักบินต้องงดสุราอย่างน้อย 10 ชม.ก่อนบิน และห้ามสูบบุหรี่และดื่มสุราบนเครื่องบิน
- หากนักบินอยากดำน้ำ ต้องมีเวลาพักน้ำ 3 วัน จึงจะปฏิบัติหน้าที่ได้
- แม้ว่าจะมีนักบินหญิงเทียบกับสัดส่วนนักบินชายเพียงแค่ 5% จากนักบินชาย 300 กว่าคน แต่การรับสมัครนักบินก็ไม่ได้มีการระบุเพศไว้แต่อย่างไร