นักธุรกิจห้ามยุ่งการเมือง'จริยธรรม-คอร์รัปชั่น'ต้องปฏิรูป : ทีมข่าวเครือเนชั่นรายงาน
บ้านเมืองกำลังก้าวเข้าสู่การปฏิรูปและการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามโรดแม็พที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วางไว้ "ทีมข่าวเครือเนชั่น" ได้มีโอกาสพูดคุยกับ
จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งได้แสดงมุมมองเกี่ยวกับการปฏิรูปและรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง
"ต้องแบ่งแยกเด็ดขาดระหว่างธุรกิจกับการเมือง เพราะการเมืองคือการเข้ามาทำภารกิจหน้าที่ให้กับประเทศชาติ ส่วนคนที่ยังประกอบธุรกิจยังต้องการทำการค้าหากำไร จึงไม่ควรเข้ามาอยู่ในการเมือง"
"แต่บ้านเราไม่ใช่ ทุกวันนี้เราเข้าใจว่าเสรีนิยมแบบบ้านเรา ใครทำได้ก็ทำเอา สังคมทุนนิยมและเสรีนิยมแบบบ้านเราจึงเปิดโอกาสให้คนที่มีกำลังทรัพย์มากๆ ซึ่งก็คือภาคธุรกิจเท่านั้นและต้องเป็นธุรกิจรายใหญ่ด้วย ทุนนิยมใหญ่เข้ามาในการเมือง เห็นได้จากหัวหน้าพรรคการเมือง เจ้าของพรรคการเมืองที่มีเงินน้อย ก็กลายเป็นพรรคกระยาจกไป เงินร้อยล้านตอนนี้ยังน้อยไปในการทำพรรคการเมือง"
จรัญ การแก้วัฒนธรรมการเมืองแบบทุนนิยมข้างต้นนั้นต้องอาศัยกติกาใหม่ โดย
กฎเหล็กข้อแรก ที่ต้องเกิดขึ้นและมีความเห็นตรงกันเลยว่า การเมืองกับธุรกิจต้องแยกเด็ดขาดจากกัน ไม่มีทั้ง "นอมินี" หรือการส่งตัวแทน "แฝงตัว" เข้ามา เพราะคนเหล่านี้เข้ามาแล้วกอบโกย
จรัญ บอกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว กฎหมายของไทยตั้งแต่รัฐธรรมนูญลงไปจนถึงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ต้องกำหนดไม่ให้พรรคการเมืองมีเงินสนับสนุนจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งเพียงแหล่งเดียว ผู้ประกอบการ บริจาคเงินให้พรรคการเมืองได้ แต่ต้องจำกัดวงเงิน เพื่อป้องกันเข้ามาเป็นนายทุนพรรค และ
ห้ามไม่ให้เข้ามาบริหารพรรคการเมือง ส่ง "หุ่นเชิด" ซึ่งเป็นตัวแทนของตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อเข้ามาก็ไม่ได้
"
คุณจะมาทำงานให้สังคม ประเทศชาติ คุณตัดขาดจากธุรกิจหรือยัง ถ้าคุณเห็นว่ายังไม่รวย ยังไม่พอ คุณอย่าเข้ามา คุณไปทำมาหากินจนรวยล้นฟ้าจนสะใจแล้วจึงค่อยเข้ามาช่วยทำงานงานให้สังคม" จรัญ บอกว่า สำหรับบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนกติกาเหล่านี้ จะต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง และให้ตัดสิทธิการดำรงตำแหน่งทางการเมือง
รวมทั้งไม่ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและมีโทษทางอาญา "ลองนึกดูซิ สมมุติว่าผมมีธุรกิจของผม ของเครือข่ายผมเต็มไปหมด นั่นหมายถึงผมมีคู่แข่ง แต่ผมเข้าไปคุมอำนาจรัฐ เป็นคนคุมกติกา ง่ายๆ ไม่ต้องให้ผมเป็นอะไรมาก แค่ให้ผมเป็นไลน์แมนคอยยกธงกีฬาฟุตบอล แต่ผมมีส่วนได้เสียกับทีมนั้น ทีมนี้ หรือแค่ไปเล่นพนันฟุตบอลไว้ แล้วผมคอยยกธง อย่างนี้ก็แย่แล้ว ดังนั้น คนที่มาคุมอำนาจรัฐต้องตัดขาดจากธุรกิจ เพราะเป็นคนที่จะมาวางกฎระเบียบจึงต้องเป็นธรรมและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ"
http://www.komchadluek.net/detail/20140713/188088.html
มันช่างสุดยอดอะไรเช่นนี้เหล่าคนดีพิทักษ์โลก
นักธุรกิจห้ามยุ่งการเมือง จรัญ ภักดีธนากุล
นักธุรกิจห้ามยุ่งการเมือง'จริยธรรม-คอร์รัปชั่น'ต้องปฏิรูป : ทีมข่าวเครือเนชั่นรายงาน
บ้านเมืองกำลังก้าวเข้าสู่การปฏิรูปและการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามโรดแม็พที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วางไว้ "ทีมข่าวเครือเนชั่น" ได้มีโอกาสพูดคุยกับ จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งได้แสดงมุมมองเกี่ยวกับการปฏิรูปและรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง
"ต้องแบ่งแยกเด็ดขาดระหว่างธุรกิจกับการเมือง เพราะการเมืองคือการเข้ามาทำภารกิจหน้าที่ให้กับประเทศชาติ ส่วนคนที่ยังประกอบธุรกิจยังต้องการทำการค้าหากำไร จึงไม่ควรเข้ามาอยู่ในการเมือง"
"แต่บ้านเราไม่ใช่ ทุกวันนี้เราเข้าใจว่าเสรีนิยมแบบบ้านเรา ใครทำได้ก็ทำเอา สังคมทุนนิยมและเสรีนิยมแบบบ้านเราจึงเปิดโอกาสให้คนที่มีกำลังทรัพย์มากๆ ซึ่งก็คือภาคธุรกิจเท่านั้นและต้องเป็นธุรกิจรายใหญ่ด้วย ทุนนิยมใหญ่เข้ามาในการเมือง เห็นได้จากหัวหน้าพรรคการเมือง เจ้าของพรรคการเมืองที่มีเงินน้อย ก็กลายเป็นพรรคกระยาจกไป เงินร้อยล้านตอนนี้ยังน้อยไปในการทำพรรคการเมือง"
จรัญ การแก้วัฒนธรรมการเมืองแบบทุนนิยมข้างต้นนั้นต้องอาศัยกติกาใหม่ โดย กฎเหล็กข้อแรก ที่ต้องเกิดขึ้นและมีความเห็นตรงกันเลยว่า การเมืองกับธุรกิจต้องแยกเด็ดขาดจากกัน ไม่มีทั้ง "นอมินี" หรือการส่งตัวแทน "แฝงตัว" เข้ามา เพราะคนเหล่านี้เข้ามาแล้วกอบโกย
จรัญ บอกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว กฎหมายของไทยตั้งแต่รัฐธรรมนูญลงไปจนถึงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ต้องกำหนดไม่ให้พรรคการเมืองมีเงินสนับสนุนจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งเพียงแหล่งเดียว ผู้ประกอบการ บริจาคเงินให้พรรคการเมืองได้ แต่ต้องจำกัดวงเงิน เพื่อป้องกันเข้ามาเป็นนายทุนพรรค และห้ามไม่ให้เข้ามาบริหารพรรคการเมือง ส่ง "หุ่นเชิด" ซึ่งเป็นตัวแทนของตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อเข้ามาก็ไม่ได้
"คุณจะมาทำงานให้สังคม ประเทศชาติ คุณตัดขาดจากธุรกิจหรือยัง ถ้าคุณเห็นว่ายังไม่รวย ยังไม่พอ คุณอย่าเข้ามา คุณไปทำมาหากินจนรวยล้นฟ้าจนสะใจแล้วจึงค่อยเข้ามาช่วยทำงานงานให้สังคม" จรัญ บอกว่า สำหรับบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนกติกาเหล่านี้ จะต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง และให้ตัดสิทธิการดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งไม่ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและมีโทษทางอาญา "ลองนึกดูซิ สมมุติว่าผมมีธุรกิจของผม ของเครือข่ายผมเต็มไปหมด นั่นหมายถึงผมมีคู่แข่ง แต่ผมเข้าไปคุมอำนาจรัฐ เป็นคนคุมกติกา ง่ายๆ ไม่ต้องให้ผมเป็นอะไรมาก แค่ให้ผมเป็นไลน์แมนคอยยกธงกีฬาฟุตบอล แต่ผมมีส่วนได้เสียกับทีมนั้น ทีมนี้ หรือแค่ไปเล่นพนันฟุตบอลไว้ แล้วผมคอยยกธง อย่างนี้ก็แย่แล้ว ดังนั้น คนที่มาคุมอำนาจรัฐต้องตัดขาดจากธุรกิจ เพราะเป็นคนที่จะมาวางกฎระเบียบจึงต้องเป็นธรรมและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ"
http://www.komchadluek.net/detail/20140713/188088.html
มันช่างสุดยอดอะไรเช่นนี้เหล่าคนดีพิทักษ์โลก