ความรู้รอบตัวที่เราอยากจะนำมาฝากคุณค่ะ จะได้ลองคำนวนดูก่อนพิจารณาส่งของหรือซื้อของเพื่อเอาเข้ามาเป็นของฝาก รู้ล่วงหน้าหากมีการเรียกเก็บภาษีขาเข้ากับคุณ
อันดับแรก สิ่งที่คุณควรทราบคือ วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีศุลกากร และภาษีสรรพสามิต
การจัดเก็บภาษีศุลกากร
1. เป็นการหารายได้ให้กับรัฐบาล
2. เพื่อคุ้มกันอุตสาหกรรมภายในประเทศ
3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ
4. เพื่อเป็นการส่งเสริมหรือจำกัดการบริโภค
ตามเอกสารหน้าที่ 2 ศุลกากรระบุไว้ว่า "
หากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย รัฐบาลจะจัดเก็บอากรขาเข้าในอัตราค่อนข้างสูงเพื่อให้ประชาชนบริโภคน้อยลง ถ้าเป็นสินค้าที่มีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การศึกษาและกีฬา การเกษตรกรรม เป็นต้น รัฐบาลจะจัดเก็บอากรขาเข้าในอัตราที่ต่ำ"
ส่วนวัตถุประสงค์ในการเก็บภาษีสรรพสามิต จะคล้ายคลึงกับภาษีศุลกากร
1. เป็นรายได้ของรัฐบาล
2. เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริโภค
3. เป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บจากสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือยไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน ผู้ที่มีรายได้สูงเท่านั้นที่จะบริโภคได้ ฉะนั้นจึงเป็นการควบคุมการบริโภคของประชาชนได้ทางหนึ่ง
ดังนั้นนี่ก็คือสาเหตว่าทำไมภาษีที่เจ้าหน้าที่เรียกเก็บสินค้าแบรนด์เนมจำพวก กระเป๋า รองเท้า น้ำหอม หรือของอื่นที่จัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยจำนวนค่อนข้างสูง
อันดับที่สอง คิอ วิธีการกำหนดราคาศุลกากร หรือ เรียกง่ายๆ คือ ฐานภาษี
การกำหนดราคาศุลกากรตามหลักการของแกตต์ (GATT Valuation คือ ราคาจากองค์การศุลกากรโลก World Trade Organization: WTO) มี 6 วิธี ดังนี้
1. การกำหนดราคาศุลกากรตาม
วิธีที่ 1 ราคาซื้อขายของที่นำเข้า
2. การกำหนดราคาศุลกากร
วิธีที่ 2 ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน
3. การกำหนดราคาศุลกากร
วิธีที่ 3 ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน
4. การกำหนดราคาศุลกากร
วิธีที่ 4 ราคาหักทอน
5. การกำหนดราคาศุลกากร
วิธีที่ 5 ราคาคำนวณ
6. การกำหนดราคาศุลกากร
วิธีที่ 6 ราคาย้อนกลับ
ดูรายละเอียดได้ในเอกสารที่แนบด้านล่างจากหน้า 2- 10 นะคะ
อันดับที่สาม คิอ ต้องเข้าใจ พิกัดอัตราภาษีศุลกากร และสินค้าจำพวกไหนบ้างที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
เพราะสินค้าทุกอย่างถูกเก็บภาษีไม่เท่ากัน พิกัดอัตราศุลกากร คือ การจำแนกประเภทสินค้าออกเป็นประเภทต่างๆ โดยการจัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบเพื่อ
ประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี พิกัดอัตราศุลกากรขาเข้า ประกอบด้วย 21 หมวด (97 ตอน) ดังนั้นของแต่ละอย่างจะมีอัตราเรียกเก็บภาษีที่ต่างกัน โปรดดูรายละเอียดของสินค้าย่อยในแต่ละหมวดตามเอกสารหน้า 11-19 ด้านล่างนี้นะคะ
นอกจากภาษีศุลกากรแล้ว คุณควรทราบด้วยว่าสินค้าบางอย่างก็มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตด้วยเช่นกัน การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตมีทั้งหมด 21 รายการ ดังนี้คือ
1.
สุรา
2.หินอ่อนและหินแกรนิตที่แปรรูปแล้ว (ได้รับการยกเว้นภาษี)
3. ไพ่
4. น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
5. สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
6. เครื่องไฟฟ้ า
7. แก้วและเครื่องแก้ว
8.
รถยนต์
9. เรือ
10. สลากกินแบ่ง (ได้รับการยกเว้นภาษี)
11. พรมและสิ่งปูพื้นอื่นๆ
12. รถจักรยานยนต์
13. ยาสูบ
14. แบตเตอรี่
15. เครื่องดื่ม
16. สนามแข่งม้า
17. สนามกอล์ฟ
18. กิจการโทรคมนาคม
19. ไนต์คลับและดิสโก้เธค
20. สถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด
21.
ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
อันดับที่สี่ คิอ ของที่ได้รับการยกเว้นอากร มีอะไรบ้าง
โดยหลักแล้วของทุกชนิดที่นำเข้าราชอาณาจักรหรือนำออกจากราชอาณาจักรจะต้องเสียอากรแต่มีบางชนิดที่กฎหมายกำหนดให้เป็นของที่ได้รับการยกเว้นอากรซึ่งมี 18 ประเภท ยกตัวอย่างคร่าวๆ
ประเภทที่ 1
ของส่งออก รวมทั้งของที่ส่งกลับไป ซึ่งนำกลับเข้ามาภายใน 1 ปีโดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปแต่ประการใดและในเวลาที่ส่งออกนั้นได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาแล้ว ได้รับยกเว้นอากร
ประเภทที่ 2
ของที่นำเข้ามาในประเทศไทยซึ่งได้เสียอากรไว้ครบถ้วนแล้ว และภายหลังส่งกลับออกไปซ่อม ณ ต่างประเทศ หากนำกลับเข้ามาภายในหนึ่งปี หลังจากที่ได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาซึ่งได้ออกให้ในขณะที่ได้ส่งออกแล้ว ได้รับยกเว้นอากร ...
ประเภทที่ 4
รางวัลและเหรียญตราที่ทางต่างประเทศมอบให้แก่บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อเป็นเกียรติในความดีเด่น ทางศิลปะ วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ การกีฬา หรือบริการสาธารณะหรือเพื่อเป็นเกียรติประวัติในความสำเร็จหรือ พฤติกรรมอันเป็นสาธารประโยชน์แต่เฉพาะรางวัลนั้นจะต้องอยู่ในดุลพินิจของอธิบดีกรมศุลกากรที่จะพึงพิจารณาตามแต่จะเห็นสมควร อีกส่วนหนึ่งด้วย ได้รับยกเว้นอากร
ประเภทที่ 5
ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง หรือใช้ในวิชาชีพ และมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ เว้นแต่รถยนต์ อาวุธปืนและกระสุนปืน และ เสบียง แต่สุรา บุหรี่ ซิการ์หรือยาเส้นซึ่งเป็นของส่วนตัวที่ผู้เดินทางนำเข้ามาพร้อมกับตนนั้น อธิบดีกรมศุลกากรอาจออกข้อกำหนดยกเว้นอากรให้ได้ตามที่เห็นสมควรเป็นแห่งๆ ไป แต่ต้องไม่เกินปริมาณดังนี้ ก.
บุหรี่สองร้อยมวน หรือซิการ์ หรือยาเส้นอย่างละสองร้อยห้าสิบกรัม
หรือหลายชนิดรวมกันมี น้ำหนักทั้งหมดสองร้อยห้าสิบกรัม แต่ทั้งนี้บุหรี่ต้องไม่เกินสองร้อยมวน ข.
สุราหนึ่งลิตร
ประเภทที่ 6
ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้วที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเนื่องในการย้ายภูมิลำเนา และมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ...
ประเภทที่ 11
ของที่นำเข้ามาหรือส่งออกไปเพื่อบริจาคเป็นการสาธารณกุศลแก่ประชาชนโดยผ่านส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศล หรือเป็นของที่นำเข้ามาเพื่อให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศล
ประเภทที่ 12
ของที่นำเข้าโดยทางไปรษณีย์ ซึ่งแต่ละหีบห่อมีราคาไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือของที่นำเข้าทางสนามบินศุลกากร ซึ่งแต่ละรายมีราคาไม่เกินหนึ่งพันบาท ...
ประเภทที่ 14
ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ได้แต่เพียงเป็นตัวอย่างและไม่มีราคาในทางการค้า...
ประเภทที่ 16
ของที่นำเข้ามาสำหรับคนพิการใช้โดยเฉพาะ หรือใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการตามหลักเกณฑ์ ...
รายละเอียดทั้งหมดสามารถดูได้จากเอกสารด้านล่างหน้า 24-29 ค่ะ
อันดับที่ห้า คิอ คุณควรรู้อัตรา อากรขาเข้าและอัตราภาษีสรรพสามิตมีอะไรบ้าง
ตัวอย่างอากรขาเข้าสำหรับรถยนต์ (หน้า 29-31)
ตัวอย่างอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ (หน้า 47-50)
ตัวอย่างอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำหอม (หน้า 50)
ตัวอย่างตารางคำนวณอากรขาเข้ารถยนต์ ข้อมูลของกรมศุลกากรจากอินเตอร์เน็ต
ถ้าราคารถอยู่ที่ 100 อัตราอากรทั้งหมด = 213.171 หรือ 213.171%จากราคารถที่นำเข้า นั่นเอง
อันดับที่หก คิอ คุณสามารถชำระภาษีด้วยวิธีใด้บ้าง
การชำระภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตผ่านกรมศุลกากร หรือด่านศุลกากรได้ 2 วิธีดังนี้คือ
1. การชำระค่าภาษีอากร ณ กรมศุลกากร เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรได้ออกเลขที่ใบขนสินค้าให้แล้ว สามารถไปชำระค่าภาษีอากร ณ หน่วยการเงินของท่า หรือที่ หรือสนามบินที่นำของเข้า/ส่งของออก โดยแจ้งเลขที่ใบขนสินค้าและจำนวนค่าภาษีอากร เพื่อยื่นขอชำระค่าภาษีอากร
เป็นเงินสด หรือแคชเชียร์เช็คหรือบัตรภาษี เมื่อเจ้าหน้าที่หน่วยการเงินได้รับชำระค่าภาษีอากรแล้ว จะสั่งพิมพ์และลงนามในใบเสร็จรับเงิน เพื่อมอบใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระค่าภาษีอากรทันที
2. ชำระเงินผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer : EFT) (ดูรายละเอียดได้ในหน้า 32-33)
เอกสาร ภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิต
โปรดตรวจสอบราคาศุลกากร อัตราอากรขาเข้าและอัตราภาษีสรรพสามิตจากข้อมูลล่าสุดก่อนการนำเข้าที่
กรมศุลกากร
http://www.customs.go.th/
กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th/
แนะนำ ภาษีนำเข้า คืออะไร คิดอย่างไรและต้องจ่ายเท่าไหร่
อันดับแรก สิ่งที่คุณควรทราบคือ วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีศุลกากร และภาษีสรรพสามิต
การจัดเก็บภาษีศุลกากร
1. เป็นการหารายได้ให้กับรัฐบาล
2. เพื่อคุ้มกันอุตสาหกรรมภายในประเทศ
3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ
4. เพื่อเป็นการส่งเสริมหรือจำกัดการบริโภค
ตามเอกสารหน้าที่ 2 ศุลกากรระบุไว้ว่า "หากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย รัฐบาลจะจัดเก็บอากรขาเข้าในอัตราค่อนข้างสูงเพื่อให้ประชาชนบริโภคน้อยลง ถ้าเป็นสินค้าที่มีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การศึกษาและกีฬา การเกษตรกรรม เป็นต้น รัฐบาลจะจัดเก็บอากรขาเข้าในอัตราที่ต่ำ"
ส่วนวัตถุประสงค์ในการเก็บภาษีสรรพสามิต จะคล้ายคลึงกับภาษีศุลกากร
1. เป็นรายได้ของรัฐบาล
2. เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริโภค
3. เป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บจากสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือยไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน ผู้ที่มีรายได้สูงเท่านั้นที่จะบริโภคได้ ฉะนั้นจึงเป็นการควบคุมการบริโภคของประชาชนได้ทางหนึ่ง
ดังนั้นนี่ก็คือสาเหตว่าทำไมภาษีที่เจ้าหน้าที่เรียกเก็บสินค้าแบรนด์เนมจำพวก กระเป๋า รองเท้า น้ำหอม หรือของอื่นที่จัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยจำนวนค่อนข้างสูง
อันดับที่สอง คิอ วิธีการกำหนดราคาศุลกากร หรือ เรียกง่ายๆ คือ ฐานภาษี
การกำหนดราคาศุลกากรตามหลักการของแกตต์ (GATT Valuation คือ ราคาจากองค์การศุลกากรโลก World Trade Organization: WTO) มี 6 วิธี ดังนี้
1. การกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 1 ราคาซื้อขายของที่นำเข้า
2. การกำหนดราคาศุลกากรวิธีที่ 2 ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน
3. การกำหนดราคาศุลกากรวิธีที่ 3 ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน
4. การกำหนดราคาศุลกากรวิธีที่ 4 ราคาหักทอน
5. การกำหนดราคาศุลกากรวิธีที่ 5 ราคาคำนวณ
6. การกำหนดราคาศุลกากรวิธีที่ 6 ราคาย้อนกลับ
ดูรายละเอียดได้ในเอกสารที่แนบด้านล่างจากหน้า 2- 10 นะคะ
อันดับที่สาม คิอ ต้องเข้าใจ พิกัดอัตราภาษีศุลกากร และสินค้าจำพวกไหนบ้างที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
เพราะสินค้าทุกอย่างถูกเก็บภาษีไม่เท่ากัน พิกัดอัตราศุลกากร คือ การจำแนกประเภทสินค้าออกเป็นประเภทต่างๆ โดยการจัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบเพื่อ
ประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี พิกัดอัตราศุลกากรขาเข้า ประกอบด้วย 21 หมวด (97 ตอน) ดังนั้นของแต่ละอย่างจะมีอัตราเรียกเก็บภาษีที่ต่างกัน โปรดดูรายละเอียดของสินค้าย่อยในแต่ละหมวดตามเอกสารหน้า 11-19 ด้านล่างนี้นะคะ
นอกจากภาษีศุลกากรแล้ว คุณควรทราบด้วยว่าสินค้าบางอย่างก็มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตด้วยเช่นกัน การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตมีทั้งหมด 21 รายการ ดังนี้คือ
1. สุรา
2.หินอ่อนและหินแกรนิตที่แปรรูปแล้ว (ได้รับการยกเว้นภาษี)
3. ไพ่
4. น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
5. สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
6. เครื่องไฟฟ้ า
7. แก้วและเครื่องแก้ว
8. รถยนต์
9. เรือ
10. สลากกินแบ่ง (ได้รับการยกเว้นภาษี)
11. พรมและสิ่งปูพื้นอื่นๆ
12. รถจักรยานยนต์
13. ยาสูบ
14. แบตเตอรี่
15. เครื่องดื่ม
16. สนามแข่งม้า
17. สนามกอล์ฟ
18. กิจการโทรคมนาคม
19. ไนต์คลับและดิสโก้เธค
20. สถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด
21. ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
อันดับที่สี่ คิอ ของที่ได้รับการยกเว้นอากร มีอะไรบ้าง
โดยหลักแล้วของทุกชนิดที่นำเข้าราชอาณาจักรหรือนำออกจากราชอาณาจักรจะต้องเสียอากรแต่มีบางชนิดที่กฎหมายกำหนดให้เป็นของที่ได้รับการยกเว้นอากรซึ่งมี 18 ประเภท ยกตัวอย่างคร่าวๆ
ประเภทที่ 1 ของส่งออก รวมทั้งของที่ส่งกลับไป ซึ่งนำกลับเข้ามาภายใน 1 ปีโดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปแต่ประการใดและในเวลาที่ส่งออกนั้นได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาแล้ว ได้รับยกเว้นอากร
ประเภทที่ 2 ของที่นำเข้ามาในประเทศไทยซึ่งได้เสียอากรไว้ครบถ้วนแล้ว และภายหลังส่งกลับออกไปซ่อม ณ ต่างประเทศ หากนำกลับเข้ามาภายในหนึ่งปี หลังจากที่ได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาซึ่งได้ออกให้ในขณะที่ได้ส่งออกแล้ว ได้รับยกเว้นอากร ...
ประเภทที่ 4 รางวัลและเหรียญตราที่ทางต่างประเทศมอบให้แก่บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อเป็นเกียรติในความดีเด่น ทางศิลปะ วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ การกีฬา หรือบริการสาธารณะหรือเพื่อเป็นเกียรติประวัติในความสำเร็จหรือ พฤติกรรมอันเป็นสาธารประโยชน์แต่เฉพาะรางวัลนั้นจะต้องอยู่ในดุลพินิจของอธิบดีกรมศุลกากรที่จะพึงพิจารณาตามแต่จะเห็นสมควร อีกส่วนหนึ่งด้วย ได้รับยกเว้นอากร
ประเภทที่ 5 ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง หรือใช้ในวิชาชีพ และมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ เว้นแต่รถยนต์ อาวุธปืนและกระสุนปืน และ เสบียง แต่สุรา บุหรี่ ซิการ์หรือยาเส้นซึ่งเป็นของส่วนตัวที่ผู้เดินทางนำเข้ามาพร้อมกับตนนั้น อธิบดีกรมศุลกากรอาจออกข้อกำหนดยกเว้นอากรให้ได้ตามที่เห็นสมควรเป็นแห่งๆ ไป แต่ต้องไม่เกินปริมาณดังนี้ ก. บุหรี่สองร้อยมวน หรือซิการ์ หรือยาเส้นอย่างละสองร้อยห้าสิบกรัม หรือหลายชนิดรวมกันมี น้ำหนักทั้งหมดสองร้อยห้าสิบกรัม แต่ทั้งนี้บุหรี่ต้องไม่เกินสองร้อยมวน ข. สุราหนึ่งลิตร
ประเภทที่ 6 ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้วที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเนื่องในการย้ายภูมิลำเนา และมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ...
ประเภทที่ 11 ของที่นำเข้ามาหรือส่งออกไปเพื่อบริจาคเป็นการสาธารณกุศลแก่ประชาชนโดยผ่านส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศล หรือเป็นของที่นำเข้ามาเพื่อให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศล
ประเภทที่ 12 ของที่นำเข้าโดยทางไปรษณีย์ ซึ่งแต่ละหีบห่อมีราคาไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือของที่นำเข้าทางสนามบินศุลกากร ซึ่งแต่ละรายมีราคาไม่เกินหนึ่งพันบาท ...
ประเภทที่ 14 ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ได้แต่เพียงเป็นตัวอย่างและไม่มีราคาในทางการค้า...
ประเภทที่ 16 ของที่นำเข้ามาสำหรับคนพิการใช้โดยเฉพาะ หรือใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการตามหลักเกณฑ์ ...
รายละเอียดทั้งหมดสามารถดูได้จากเอกสารด้านล่างหน้า 24-29 ค่ะ
อันดับที่ห้า คิอ คุณควรรู้อัตรา อากรขาเข้าและอัตราภาษีสรรพสามิตมีอะไรบ้าง
ตัวอย่างอากรขาเข้าสำหรับรถยนต์ (หน้า 29-31)
ตัวอย่างอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ (หน้า 47-50)
ตัวอย่างอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำหอม (หน้า 50)
ตัวอย่างตารางคำนวณอากรขาเข้ารถยนต์ ข้อมูลของกรมศุลกากรจากอินเตอร์เน็ต
ถ้าราคารถอยู่ที่ 100 อัตราอากรทั้งหมด = 213.171 หรือ 213.171%จากราคารถที่นำเข้า นั่นเอง
อันดับที่หก คิอ คุณสามารถชำระภาษีด้วยวิธีใด้บ้าง
การชำระภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตผ่านกรมศุลกากร หรือด่านศุลกากรได้ 2 วิธีดังนี้คือ
1. การชำระค่าภาษีอากร ณ กรมศุลกากร เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรได้ออกเลขที่ใบขนสินค้าให้แล้ว สามารถไปชำระค่าภาษีอากร ณ หน่วยการเงินของท่า หรือที่ หรือสนามบินที่นำของเข้า/ส่งของออก โดยแจ้งเลขที่ใบขนสินค้าและจำนวนค่าภาษีอากร เพื่อยื่นขอชำระค่าภาษีอากรเป็นเงินสด หรือแคชเชียร์เช็คหรือบัตรภาษี เมื่อเจ้าหน้าที่หน่วยการเงินได้รับชำระค่าภาษีอากรแล้ว จะสั่งพิมพ์และลงนามในใบเสร็จรับเงิน เพื่อมอบใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระค่าภาษีอากรทันที
2. ชำระเงินผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer : EFT) (ดูรายละเอียดได้ในหน้า 32-33)
เอกสาร ภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิต
โปรดตรวจสอบราคาศุลกากร อัตราอากรขาเข้าและอัตราภาษีสรรพสามิตจากข้อมูลล่าสุดก่อนการนำเข้าที่
กรมศุลกากร http://www.customs.go.th/
กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th/