เห็นพุทธศาสนิกชนคนไทย พูดถึงพระสงฆ์ในแง่มุมไม่ดี แง่มุมจับผิด รู้สึกสะเทือนใจครับ บางคนตั้งกระทู้ถาม พระดูหนังอาบัติไหม พระเล่นคอมอาบัติไหม ที่เลวร้ายไปกว่านั้น พระบางท่านอาบัติแต่ยังไม่ขาดจากความเป็นพระ คือยังมีศีล 227 อยู่ เพียงแค่ขาดตกบพกพร่องในศีล แต่คนส่วนใหญ่ที่ศีล 5 ยังไม่สมบูรณ์ กลับไปด่าไปวิจารณ์ท่าน ก็รู้สึกห่วงว่า ถ้ายังเป็นเช่นนี้ต่อไป สักวันประเทศไทยจะเหมือนอินเดียครับ คือ ไร้ศาสนาพุทธ สมัยผมเรียน เคยได้ยินบ่อยๆว่า ต่อไปพระอาทิตย์จะขึ้นทิศตะวันตก หมายความว่า พระพุทธศาสนาจะไปเจริญที่ประเทศทางตะวันตก ส่วนเอเชียเราจะเสื่อม ก็คิดว่าอาจเป็นไปได้ถ้าพุทธศาสนิกชนบางส่วนยังมิจฉาทิฏฐิเช่นนี้.....
พระสงฆ์เมื่อบวชมาแล้ว ภารกิจท่านเยอะครับ และพาให้เครียด บางครั้งเห็นท่านรีแลกซ์บ้างผมจึงเข้าใจ คือผมนี่โตมากับวัดเลยครับ พระที่บวชเรียน ย้ำครับ บวชเรียน ไม่ใช่แค่บวชตามประเพณี 7 วัน 15 วัน แล้วลาสิกขา แบบนั้นไม่ค่อยมีหน้าที่อะไรมาก แต่พระที่บวชมาเพื่อเรียนนั้น ทุกๆวันจะต้องเรียนนักธรรมกับบาลีครับ นักธรรมก็คือธรรมะเบื้องต้น แต่ก็ไม่ได้ง่ายนะครับ เป็นหลักสูตรไล่ตั้งแต่ นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก ส่วนใหญ่ 3 ปีก็จบครับ หลักสูตรละปี
แต่บางคนก็หลายปี เพราะสอบไม่ผ่าน ปีหนึ่งสอบครั้งหนึ่ง ที่ยากกว่านักธรรมคือ เรียนภาษาบาลี ก็ภาษาที่พระสวดมนต์นั่นแหละครับ ถ้าอยากรู้ว่ายากแค่ไหน
ก็ลองถามตัวเองครับว่า เราแปลได้ไหม แต่ที่พระท่านเรียนนั้น ถ้าจบหลักสูตร สามารถพูดสนทนาและแต่งประโยคเป็นบาลีได้เลยครับ
หลักสูตรบาลี ก็สอบปีละครั้ง เริ่มจากปีแรก สอบไวยากรณ์ภาษาบาลี และสอบแปล เนื้อหาที่แปลก็มาจากพระไตรปิฎก มีหนังสือมีตำราให้อ่านไว้สอบ
ปีแรกสอบผ่านเรียกว่า สอบได้ประโยค 1-2 รับประกาศนียบัตรกันไป ปีต่อมาสอบได้อีก ก็ได้ประโยค 3 ความพิเศษอยู่ตรงนี้ครับ ตั้งแต่ประโยค 3 ขึ้นไปจะมีคำว่า มหา นำหน้า สมมติว่า พระสมศักดิ์เมื่อสอบบาลีได้ประโยค 3 ก็จะกลายเป็น พระมหาสมศักดิ์ เวลาเขียนชื่อตัวเองก็ต้องมีมหาด้วยทุกครั้ง ตอนนี้เมื่อพระมหาเจอกัน ถ้าจะนั่งตามลำดับสงฆ์ก็จะเรียงลำดับจากประโยคที่สอบได้ คือ พระมหาที่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค ก็จะนั่งก่อน 3 ประโยค แม้ว่าพรรษาตนจะน้อยกว่าก็ตามครับ เข้าใจไหมครับ ปกติพระสงฆ์จะนั่งเรียงตามลำดับพรรษา ใครบวชก่อน พรรษามากกว่า ก็นั่งก่อน แต่สำหรับพระมหานี้ ถือว่ามีความรู้ทางพระมากกว่า มียศมากกว่า ถือว่าเป็นบัณฑิต ดังนั้น พระที่บวชมา วันหนึ่งๆจะต้องเรียนหนังสือ เรียนบาลีครับ เรียนกันตั้งแต่เช้าถึงเย็น กลับกุฏิที่พักก็ต้องทำการบ้าน ต้องท่องบาลี ต้องหัดแปล ต้องท่องศัพท์ เหมือนที่เราๆเรียนภาษาอังกฤษนั่นแหละครับ แต่บาลียากกว่ามากๆ ยากอย่างไร ภาษาบาลีมีเพศครับเหมือนภาษาฝรั่งเศส มีเพศชาย เพศหญิง และไม่มีเพศ เวลาอยู่ในประโยคก็ใช้หลักภาษาต่างกัน นอกจากเรียนบาลีที่หนักแล้ว ก็ต้องมีกิจนิมนต์ มีหน้าที่ในวัด เยอะแยะมากมาย ยิ่งพระบวชเรียนที่บวชใหม่ๆ ยิ่งน่าปวดหัวยิ่งเครียด ไหนจะต้องเรียนบาลี ต้องท่องศัพท์ ต้องอ่านหนังสือ ยังจะต้องท่องบทสวดมนต์อีก แต่ละบทก็ยาว ท่องยังไม่ได้หมด ปรากฏว่า มีกิจนิมนต์ไปสวดที่บ้านโยม สวดได้สองบท นอกนั้นนั่งพนมมือเฉยๆ เพราะยังท่องไม่ได้ ยังจำไม่หมด โยมเห็นพระไม่สวดก็มักจะมองหน้า พระก็ยิ่งเครียด กลับมาก็ต้องรีบเปิดมนต์พิธีท่องจำ ท่องไม่ทันไร ก็ต้องท่องบาลีต่ออีก ยิ่งช่วงใกล้สอบประจำปี บางวัดติวกันตั้งแต่เช้ายัน5 ทุ่ม ถ้าถามว่า เรียนบาลีเพื่ออะไร ก็คงต้องถามเราๆว่า อ่านหนังสือฉบับภาษาอังกฤษทำไม ในเมื่อก็มีฉบับแปลเป็นภาษาไทยให้อ่าน
เมื่อชีวิตต้องเครียดต้องลำบาก บางทีก็มีผ่อนคลายบ้าง ก็ไม่เห็นจะเป็นไรครับ ถ้าอาบัตินั้นเพียงเล็กน้อย อ้อ อันนี้ผมพูดแต่เรื่องเรียนนะครับ เพราะเห็นว่าการเรียนมันหนักมาก นอกจากเรียนแล้ว เวลาที่เหลือท่านทำอะไร ก็ทำวัตรสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม บิณฑบาต ตามกิจของสงฆ์ทั่วๆไปครับ ช่วงที่ว่างจากการเรียนนานๆ คือปิดเทอมนั่นแหละ ก็จะเข้าค่ายปฏิบัติธรรม ชำระศีลให้บริสุทธิ์ ที่เราเห็นป้ายตามวัดต่างๆว่า จัดงานปริวาสกรรม นั่นแหละครับ
วันหนึ่งๆ พระสงฆ์ท่านทำอะไรบ้าง
พระสงฆ์เมื่อบวชมาแล้ว ภารกิจท่านเยอะครับ และพาให้เครียด บางครั้งเห็นท่านรีแลกซ์บ้างผมจึงเข้าใจ คือผมนี่โตมากับวัดเลยครับ พระที่บวชเรียน ย้ำครับ บวชเรียน ไม่ใช่แค่บวชตามประเพณี 7 วัน 15 วัน แล้วลาสิกขา แบบนั้นไม่ค่อยมีหน้าที่อะไรมาก แต่พระที่บวชมาเพื่อเรียนนั้น ทุกๆวันจะต้องเรียนนักธรรมกับบาลีครับ นักธรรมก็คือธรรมะเบื้องต้น แต่ก็ไม่ได้ง่ายนะครับ เป็นหลักสูตรไล่ตั้งแต่ นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก ส่วนใหญ่ 3 ปีก็จบครับ หลักสูตรละปี
แต่บางคนก็หลายปี เพราะสอบไม่ผ่าน ปีหนึ่งสอบครั้งหนึ่ง ที่ยากกว่านักธรรมคือ เรียนภาษาบาลี ก็ภาษาที่พระสวดมนต์นั่นแหละครับ ถ้าอยากรู้ว่ายากแค่ไหน
ก็ลองถามตัวเองครับว่า เราแปลได้ไหม แต่ที่พระท่านเรียนนั้น ถ้าจบหลักสูตร สามารถพูดสนทนาและแต่งประโยคเป็นบาลีได้เลยครับ
หลักสูตรบาลี ก็สอบปีละครั้ง เริ่มจากปีแรก สอบไวยากรณ์ภาษาบาลี และสอบแปล เนื้อหาที่แปลก็มาจากพระไตรปิฎก มีหนังสือมีตำราให้อ่านไว้สอบ
ปีแรกสอบผ่านเรียกว่า สอบได้ประโยค 1-2 รับประกาศนียบัตรกันไป ปีต่อมาสอบได้อีก ก็ได้ประโยค 3 ความพิเศษอยู่ตรงนี้ครับ ตั้งแต่ประโยค 3 ขึ้นไปจะมีคำว่า มหา นำหน้า สมมติว่า พระสมศักดิ์เมื่อสอบบาลีได้ประโยค 3 ก็จะกลายเป็น พระมหาสมศักดิ์ เวลาเขียนชื่อตัวเองก็ต้องมีมหาด้วยทุกครั้ง ตอนนี้เมื่อพระมหาเจอกัน ถ้าจะนั่งตามลำดับสงฆ์ก็จะเรียงลำดับจากประโยคที่สอบได้ คือ พระมหาที่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค ก็จะนั่งก่อน 3 ประโยค แม้ว่าพรรษาตนจะน้อยกว่าก็ตามครับ เข้าใจไหมครับ ปกติพระสงฆ์จะนั่งเรียงตามลำดับพรรษา ใครบวชก่อน พรรษามากกว่า ก็นั่งก่อน แต่สำหรับพระมหานี้ ถือว่ามีความรู้ทางพระมากกว่า มียศมากกว่า ถือว่าเป็นบัณฑิต ดังนั้น พระที่บวชมา วันหนึ่งๆจะต้องเรียนหนังสือ เรียนบาลีครับ เรียนกันตั้งแต่เช้าถึงเย็น กลับกุฏิที่พักก็ต้องทำการบ้าน ต้องท่องบาลี ต้องหัดแปล ต้องท่องศัพท์ เหมือนที่เราๆเรียนภาษาอังกฤษนั่นแหละครับ แต่บาลียากกว่ามากๆ ยากอย่างไร ภาษาบาลีมีเพศครับเหมือนภาษาฝรั่งเศส มีเพศชาย เพศหญิง และไม่มีเพศ เวลาอยู่ในประโยคก็ใช้หลักภาษาต่างกัน นอกจากเรียนบาลีที่หนักแล้ว ก็ต้องมีกิจนิมนต์ มีหน้าที่ในวัด เยอะแยะมากมาย ยิ่งพระบวชเรียนที่บวชใหม่ๆ ยิ่งน่าปวดหัวยิ่งเครียด ไหนจะต้องเรียนบาลี ต้องท่องศัพท์ ต้องอ่านหนังสือ ยังจะต้องท่องบทสวดมนต์อีก แต่ละบทก็ยาว ท่องยังไม่ได้หมด ปรากฏว่า มีกิจนิมนต์ไปสวดที่บ้านโยม สวดได้สองบท นอกนั้นนั่งพนมมือเฉยๆ เพราะยังท่องไม่ได้ ยังจำไม่หมด โยมเห็นพระไม่สวดก็มักจะมองหน้า พระก็ยิ่งเครียด กลับมาก็ต้องรีบเปิดมนต์พิธีท่องจำ ท่องไม่ทันไร ก็ต้องท่องบาลีต่ออีก ยิ่งช่วงใกล้สอบประจำปี บางวัดติวกันตั้งแต่เช้ายัน5 ทุ่ม ถ้าถามว่า เรียนบาลีเพื่ออะไร ก็คงต้องถามเราๆว่า อ่านหนังสือฉบับภาษาอังกฤษทำไม ในเมื่อก็มีฉบับแปลเป็นภาษาไทยให้อ่าน
เมื่อชีวิตต้องเครียดต้องลำบาก บางทีก็มีผ่อนคลายบ้าง ก็ไม่เห็นจะเป็นไรครับ ถ้าอาบัตินั้นเพียงเล็กน้อย อ้อ อันนี้ผมพูดแต่เรื่องเรียนนะครับ เพราะเห็นว่าการเรียนมันหนักมาก นอกจากเรียนแล้ว เวลาที่เหลือท่านทำอะไร ก็ทำวัตรสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม บิณฑบาต ตามกิจของสงฆ์ทั่วๆไปครับ ช่วงที่ว่างจากการเรียนนานๆ คือปิดเทอมนั่นแหละ ก็จะเข้าค่ายปฏิบัติธรรม ชำระศีลให้บริสุทธิ์ ที่เราเห็นป้ายตามวัดต่างๆว่า จัดงานปริวาสกรรม นั่นแหละครับ